Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2542
ผ่าหัวใจเซเว่น อีเลฟเว่น             
 


   
search resources

ซี.พี.เซเว่นอีเลฟเว่น, บมจ.
มนตรี แสงหิรัญ
เชาว์ รักษ์พงศ์ไพโรจน์




ร้านเซเว่นอีเลฟเว่น ได้ชื่อว่าเป็น ร้านค้าปลีกประเภทคอนวีเนียนสโตร์ มีสาขามากมายอยู่แทบทุกหัวมุมของถนน ในแต่ละปีเซเว่นอีเลฟเว่นจะเปิด สาขาไม่ต่ำกว่า 200 สาขา ถึงกับมีการ จดสถิติไว้ว่ามีสาขาเซเว่นอีเลฟเว่นเปิด ใหม่ทุกๆ 40 ชั่วโมง

สัญลักษณ์เลข 7 และ 11 แต่งแต้มด้วยสีเขียวส้มแดง ของร้านเซเว่น อีเลฟเว่น มีต้นกำเนิดมาจากสหรัฐ อเมริกา ซึ่งกลุ่มเจริญโภคภัณฑ์บินไปซื้อลิขสิทธิ์มาเปิดในไทยเมื่อ 12 ปีที่แล้ว เพื่อใช้เป็นแขนขาในการกระจายสินค้า และบริการไปสู่ผู้บริโภคปลายทาง

หลายคนอาจมองธุรกิจนี้เรื่องง่าย เหมือนกับการเปิดร้านขายของชำธรรมดา เพียงแค่หาทำเลดีๆ และเลือกสินค้าประเภทของใช้ประจำวันมาวางขายให้เหมาะกับคนซื้อ เพียงแค่นี้ก็ทำรายได้แล้ว ไม่ต้องอาศัยความสลับซับซ้อนใน เชิงธุรกิจเหมือนธุรกิจอื่น

แต่การบริหารร้านค้าที่มีสาขา 1,300 แห่งที่อยู่ทั่วประเทศ ซึ่งมีทั้งที่เป็นสาขาของเซเว่นอีเลฟเว่นเอง และ ขายแฟรนไชส์ให้ผู้สนใจ รวมถึงขายสิทธิให้กับผู้รับช่วงไปขาย ให้อยู่ภาย ใต้รูปแบบ (Format) เดียวกัน ต้องขายสินค้าเหมือนๆ กัน เปิดขายตลอด 24 ชั่วโมง ที่สำคัญต้องควบคุมร้านค้าเหล่านี้ให้มีรายได้คุ้มกับค่าใช้จ่าย ด้วย ผลกำไรต่อการขายสินค้าแต่ละชิ้นที่ไม่ได้มากมายอะไร ย่อมไม่ใช่เรื่องง่าย

การบริหารสินค้า การจัดส่งสินค้า ที่จะต้องถึงมือร้านค้าทั่วประเทศให้เร็ว ที่สุด บริหารคลังสินค้าไม่ให้มีสต็อกมากเกินไป และแผนตลาดที่สอดคล้อง กับพฤติกรรมของผู้บริโภคได้มากที่สุด คือโจทย์ที่เซเว่นอีเลฟเว่นต้องหาคำตอบให้ได้

"ข้อมูลการขาย" ที่สามารถเรียก ใช้งานได้ทันที จึงเปรียบเสมือนเป็น "หัวใจ" ของการทำธุรกิจร้านค้าแบบคอนวีเนียนสโตร์ และการใช้ข้อมูลให้เกิดประโยชน์ก็จำเป็นต้องพึ่งพาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอที) มาช่วยบันทึกข้อมูล และประมวลผลข้อมูลให้ทันท่วงที

ถึงกับมีการเปรียบเทียบอย่างไม่เป็นทางการว่า ธุรกิจที่ใช้ไอทีเป็นอันดับ สองรองจากบรรดาธนาคาร ก็คือ ธุรกิจ ค้าปลีกนี่เอง

"เราจะทำอย่างไรกับข้อมูลการขายทุกรายการที่มาจากลูกค้า ทั้ง 1,300 แห่งทั่วประเทศ แต่ละคนซื้อสินค้ารวม กันแล้วเป็นล้านๆ รายการ ที่ต้องเอามา ประมวล นี่คือความยุ่งยาก" มนตรี แสงหิรัญ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ กล่าวกับ "ผู้จัดการ" ในบ่ายวันหนึ่งบนอาคาร สีบุญเรือง ริมถนนสีลม ซึ่งเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่แห่งหนึ่งของซีพี เซเว่นอีเลฟเว่น

สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศจะขึ้นตรงกับ วิเชาว์ รักษ์พงศ์ไพโรจน์ รอง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทเทเลคอม เอเซีย คอร์ปอเรชั่น (ทีเอ) นอกจากงานด้านธุรกิจและบริการในทีเอแล้ว งานหลักของเขาในอีกด้านหนึ่งก็คือ วาง นโยบายด้านไอทีให้กับธุรกิจค้าปลีก

วิเชาว์ เป็นหลานของธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการบริหารกลุ่มเจริญโภคภัณฑ์ เคยทำงานอยู่ที่สหรัฐอเมริกาผ่านงานด้านจัดการระบบ ไอทีในบริษัทคอมพิวเตอร์ของอเมริกามาเป็นเวลานาน ก่อนจะถูกดึงตัวกลับมาทำงานในช่วงที่ซีพีขยายการลงทุนโทรศัพท์ และเมื่อเซเว่นอีเลฟเว่นต้อง ติดตั้งไอที วิเชาว์ต้องรับมาดูแล และรายงานตรงถึงธนินท์ ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่เชื่อมั่นกับไอทีทั้งในแง่ของการทำธุรกิจและการนำไปใช้

ส่วนมนตรี เป็นหนึ่งในผู้บริหารของสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่รับผิดชอบในด้านการปฏิบัติงาน แม้จะมีประสบการณ์ในงานด้านวิศวกรรมมาตลอด ตั้งแต่เรียนจบสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า ทั้งระดับปริญญาตรีและโท จาก มหาวิทยาลัยออริกอนสเตท สหรัฐ อเมริกา และเคยทำงานกับบริษัทเอสโซ่มา 10 ปีเต็ม ก่อนจะมาร่วมงานกับทีเอ ดูแลด้านการวางข่ายสาย

แต่การต้องรับผิดชอบวางระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) ซึ่งเปรียบเสมือนเป็น "หัวใจ" ของการบริหารร้านเซเว่นอีเลฟ เว่น มนตรียอมรับว่าไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะนับจากนี้เขาต้องเรียนรู้เรื่องราวธุรกิจค้าปลีก ที่ไม่ใช่เพียงแค่การอาศัยความรู้วิศวกรรมติดตั้งเครือข่ายให้เสร็จ แต่เขาต้องเรียนรู้ถึงการบริหาร การขายทำอย่างไรจึงจะบริหารข้อมูล ขายอย่างมีประสิทธิภาพ การบริหารระบบจัดส่งสินค้าให้เหมาะสมที่สุด

มนตรีบอกว่า คอนเซ็ปต์การจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของเซเว่นอีเลฟเว่น ได้แนวทางมาจากเซเว่นอีเลฟเว่นในประเทศญี่ปุ่น ด้วยเหตุผลที่ว่า ญี่ปุ่นล้ำหน้าในเรื่องของเทคโนโลยีและมีการนำไปใช้ได้ผลดีในหลายๆ เรื่อง แต่จะเลือกในสิ่งที่เขาทำ สำเร็จแล้วเอามาประยุกต์ใช้อีกครั้งหนึ่ง ไม่ได้ลอกมาทั้งหมด

โมเดลของการบริหารไอทีของเซเว่นอีเลฟเว่นในไทย ได้ถูกจัดวางไปตามกิจกรรมหลักในการทำธุรกิจในแต่ ละวัน ซึ่งจะเกี่ยวพันกับหน่วยงาน 4 ส่วนหลัก คือ ร้านค้า สำนักงานใหญ่ ศูนย์จัดส่งสินค้า และผู้ผลิตสินค้า (Suppliers)

ร้านค้าปลีกเซเว่นอีเลฟเว่นทั้ง หมดจะเป็นแหล่งข้อมูลดิบที่เกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้บริโภคโดยตรง หน้าที่ ของร้านค้าเหล่านี้นอกจากให้บริการลูกค้าให้รวดเร็วทันใจแล้ว จะต้องบริหารสินค้าให้ตรงใจผู้บริโภค และต้องจัดวางสินค้าในจำนวนที่เหมาะสม เท่าที่ต้องขาย ในจำนวน 200 รายการ ที่สำนักงานกำหนดมาให้

แต่ความซับซ้อนของความต้อง การใช้ไอทีไม่ได้มีมากไปกว่า การมีเพียง อุปกรณ์ 2 ชิ้น คือ เครื่องบันทึกเงินสด และพีซีอย่างละเครื่องเท่านั้น

ร้านเซเว่นอีเลฟเว่นทุกแห่งจะมีเครื่องบันทึกเงินสด ( Electronic Cash Register หรือ ECR) อุปกรณ์ชิ้นนี้ไม่ได้เป็นเทคโนโลยีล้ำยุคอะไร แต่หน้าที่ของมันคือ นอกจากคำนวณเงินที่ขายสินค้าได้ เครื่องนี้ยังเป็นแหล่งข้อมูลดิบที่เกี่ยวข้องกับผู้บริโภคโดยตรง เพราะทันทีที่สินค้าถูกขายออกไป ข้อมูล ทั้งหมดที่เกี่ยวกับตัวสินค้าที่ขายได้ทุกชิ้น ประเภท ยี่ห้อ ราคา จำนวน ข้อมูล เหล่านี้จะถูกส่งไปยังเครื่องพีซี ที่ตั้งอยู่ หลังร้าน

เครื่องพีซี จะทำหน้าที่จัดการข้อมูลภายในร้านทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการบริหารเงิน บริหารสินค้า ในทุกๆ เย็น ข้อมูลเหล่านี้จะส่งผ่าน (On-line) โทรศัพท์และโมเด็ม (Modem) ไปยังคอมพิวเตอร์ที่สำนักงานใหญ่

ในแต่ละวันข้อมูลนับล้านๆคำสั่ง เหล่านี้จะถูกส่งผ่านจากเครื่องพีซีจาก ร้านของเซเว่นอีเลฟเว่นทั้ง 1,300 สาขา วิ่งสายโทรศัพท์ผ่านโมเด็มมายังสำนัก งานใหญ่ เพื่อทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลเหล่านี้

การบริหารงานของเซเว่นอีเลฟ เว่นจะเป็นลักษณะรวมศูนย์ เมื่อสำนัก งานใหญ่ได้รับข้อมูลขายจากร้านค้าทั้ง หมดมาแล้ว ศูนย์คอมพิวเตอร์ที่สำนัก งานใหญ่ ซึ่งประกอบไปด้วยเครื่องคอม พิวเตอร์ระดับมินิคอมพิวเตอร์รุ่น AS/400 และระบบยูนิกซ์ (UNIX) อีกสิบกว่าตัว ในแต่ละวันสมองกลเหล่านี้จะต้องทำหน้าที่ประมวลผล (Processing) ข้อมูลนับล้านใบคำสั่งซื้อทันที

ฝ่ายจัดซื้อ จะนำข้อมูลคำสั่งซื้อสินค้าที่ถูกประมวลผลแล้ว ส่งผ่านสาย โทรศัพท์และโมเด็ม ไปยังศูนย์กระจาย สินค้าใหญ่ (Distribution Center) ที่ตั้งอยู่แถวบางบัวทอง ซึ่งเป็นคลังสินค้า ใหญ่ ที่จะป้อนให้กับร้านเซเว่นอีเลฟเว่น ทั่วประเทศ และจะมีคลังสินค้าย่อยอีก แห่ง ที่เป็นที่เก็บสินค้าประเภทเหล้า หนังสือ

เมื่อศูนย์กระจายสินค้าได้รับคำสั่ง ซื้อ จะนำข้อมูลไปวางแผนจัดส่งสินค้า ซึ่งใช้ระบบยูนิกซ์ในการบริหารข้อมูลเหล่านี้ เพื่อจัดเตรียมสินค้าไปส่งที่ร้าน เซเว่นอีเลฟเว่นทั่วประเทศให้ทันเวลา หากที่อยู่ใกล้ๆจะได้รับสินค้าภายในวันเดียวกับที่สั่งซื้อสินค้า แต่หากเป็นร้านต่างจังหวัดไกลๆออกก็จะได้รับของในวันรุ่งขึ้น

คำสั่งซื้อบางส่วนที่จะถูกส่งไป ยังผู้ผลิตโดยตรง ซึ่งจะเป็นผู้ผลิตราย ใหญ่ๆ เช่น ยูนิลีเวอร์, พรอคเตอร์ แอนด์แกรมเบิล จอห์นสันแอนด์จอนห์สัน ซึ่งผู้ผลิตเหล่านี้มีระบบ อีดีไอ (Electronic Data Interchange : EDI) ใช้งานอยู่แล้ว คำสั่งซื้อของเซเว่นอีเลฟเว่นจึงอยู่ในรูปแบบฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic order) ซึ่งมนตรีบอกว่า จากกระดาษ ใบสั่งซื้อที่เคยต้องใช้เป็นตั้งๆ เปลี่ยนไปใช้อีดีไอทำให้ลดต้นทุนไปได้เยอะมาก แต่อีดีไอยังใช้ไม่หมดเหมาะสำหรับ การสั่งออร์เดอร์มากๆ เท่านั้นจึงจะคุ้ม

ข้อมูลการขายที่ได้รับมาแต่ละวัน ยังต้องถูกนำประมวลผลเพื่อไปใช้ประโยชน์การบริหารร้านค้าปลีกทั้งหมด ไม่ว่าจะ เป็นการกำหนดนโยบาย การวางแผน การตลาด การบริหารคลังสินค้า ทั้งหมด นี้ต้องอาศัยข้อมูลมาช่วยในการตัดสินใจทั้งสิ้น

"สาขาแต่ละแห่ง จะขายสินค้า ได้ต่างกันไป หากร้านตั้งอยู่ใกล้โรงเรียน ของที่ขายได้จะเป็นขนมขบเคี้ยว แต่หากใกล้แหล่งชุมชนพวกเหล้าเบียร์ จะขายดี ข้อมูลที่ได้มาจะทำให้เราสามารถจัดสรรสินค้าให้เหมาะสมกับร้านค้าในแต่ละแห่ง และจะทำให้เราไม่ต้องมีสินค้าเก็บในสต็อกมากเกินไปด้วย้"

มนตรียืนยันว่า การบริหารสต็อก สินค้าภายในร้านเซเว่นอีเลฟเว่นทุกวัน นี้ได้ผลเกินมาตรฐาน เพราะมีสินค้าใน สต็อกอย่างมากเพียงแค่ 14 วันเท่านั้น ในขณะที่มาตรฐานกำหนดไว้คือ 20 วัน

เขาเล่าว่า ข้อมูลการขายที่ถูกนำ ไปประมวลจะถูกนำมาใช้ประโยชน์แม้แต่เรื่องเล็กๆ เช่นการขายสินค้าสดภาย ในร้าน เช่น การย่างไส้กรอก หรือนึ่งซาลาเปา จากข้อมูลการขาย จะทำให้รู้เลยว่า พนักงานจะต้องย่างไส้กรอกในช่วงเวลาใด จำนวนเท่าไหร่ เช่นเดียวกับซาลาเปาจะถูกนึ่งให้เหมาะสมกับความต้องการของแต่ละสาขาในแต่ละช่วงเวลา และไม่ให้อาหารประเภทนี้เสียรสชาติ

การออกแบบซอฟต์แวร์บนเครื่อง พีซีของที่นี่เป็นเรื่องสำคัญมาก โปร แกรมเมอร์จะพึ่งพาไมโครซอฟต์เป็นเครื่องมือ (TOOL) ในการเขียนโปร- แกรมใหม่ๆ เพื่อรองรับกับการขายสินค้า ใหม่ ๆ การทำตลาด หรือโปรโมชั่นใหม่ๆ เพื่อติดตามกิจกรรมใหม่ๆ ซึ่งจะถูกนำใส่ (Down Load) เครื่องพีซีของร้าน สาขาทั้ง 1,300 แห่ง เฉลี่ยเดือนละ 1 ครั้งเป็นอย่างต่ำ

"อย่างเวลาเอาสินค้าใหม่ๆ มาขาย เช่น ขายพ.ร.บ.รถยนต์ ก็ต้องเขียน โปรแกรมใหม่เพราะไม่ใช่สินค้าปกติ หรืออย่างเรามีทำโปรโมชั่นซื้อสินค้าแถมตุ๊กตา ก็ต้องทำโปรแกรมเข้าช่วย เพื่อติดตามข้อมูลว่าได้ผลหรือไม่ หรือทำโครงการขายหลอดตะเกียบ แถมข้าว กล้อง ก็ต้องทำระบบขายข้าวกล้อง ก็ต้องทำระบบแบ่งผลกำไรให้การไฟฟ้า อีกส่วนให้ชาวบ้านที่เอาข้าวกล้องมาส่ง"

ศูนย์คอมพิวเตอร์ ของเซเว่นอีเลฟเว่น จะมีพนักงานผลัดเปลี่ยนมา ดูแลตลอด 24 ชั่วโมง เช่นเดียวกับศูนย์ CALL CENTER จะมีพนักงานคอย รับเรื่องราวปัญหาของร้านค้า ไม่ว่าจะ เป็นแอร์เสีย ตู้เย็นเสีย มีหนูตายกี่ตัว ข้อมูลในส่วนนี้จะถูกเก็บบันทึกไว้เหมือนกับข้อมูลการขาย

มนตรี เปรียบเทียบความต้องการ ใช้ไอทีกับธุรกิจอื่นๆ ไว้ว่า ธุรกิจค้าปลีก ไม่ต้องการความหลากหลายแต่จะต้องเป็นระบบใหญ่ เพราะหัวใจของธุรกิจนี้คือ การที่ต้องจัดการกับข้อมูลจำนวน มาก

ความต้องการใช้ไอทีของเซเว่นอีเลฟเว่น จะถูกแบ่งออก 3 ลำดับ ลำดับแรกจะเป็นซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Appication Software) ที่ใช้งานอยู่ใน ธุรกิจทั่วไป เช่น ซอฟต์แวร์ระบบบัญชี ระบบบริหารคลังสินค้า ระบบสต็อก ซึ่ง จะรองรับในการบริหารสำนักงานทั่วไป

ลำดับสอง จะเป็นการนำเอาระบบ Supply chain management หรือการบริหารกระบวนการของสินค้า ตั้ง แต่การผลิตการจัดส่งไปจนถึงมือลูกค้า ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การส่งของให้ได้ตามเวลาที่ต้องการ และส่งได้รวดเร็วแม่นยำไม่มีสินค้าเหลือในสต็อกมากเกินไป

มนตรี ยกตัวอย่าง การนำอีดีไอมาใช้แทนใบสั่งของกับผู้ผลิตสินค้าราย ใหญ่ๆ ทำให้กระบวนการของการสั่งซื้อ สินค้าเร็วขึ้น เพราะไม่ต้องคีย์ข้อมูลซ้ำ ซ้อน ทำให้การจัดส่งสินค้าเร็วขึ้น และ ประหยัดต้นทุนในเรื่องกระดาษ เพราะ ไม่ต้องทำใบสั่งซื้อ และอุปกรณ์ที่เตรียม ไว้ในอนาคต สแกนบาร์โค้ด ซึ่งเป็นส่วน ที่จะทำให้ข้อมูลถูกต้อง และละเอียดมากขึ้นกว่าเดิม แต่ค่าใช้จ่ายจะสูงมาก จึงทดลองอยู่บางสาขาเท่านั้น

ส่วนที่สาม จะเป็นการนำเอาระบบCustomer Relationship Management ซึ่งเป็นกระบวนในการสร้างและ รักษาความสัมพันธ์กับลูกค้าในระยะยาว โดยจะอาศัยการวิเคราะห์ฐานข้อมูลเป็นสำคัญ

กระบวนนี้จะประกอบไปด้วย ระบบเก็บข้อมูลสินค้า (Datamart) ระบบข้อมูลคลังสินค้า (Dataware house) ซึ่งจะกว้างกว่าระบบแรก และ ระบบช่วยในสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support)

ข้อมูลที่ได้จากส่วนต่างๆเหล่านี้จะใช้ประโยชน์ในเรื่องโปรโมชั่นพิเศษให้เหมาะกับกลุ่มลูกค้า หรือการตัด สินใจที่จะเพิ่มหรือลดสินค้า ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยการวิเคราะห์ข้อมูลมาช่วยตัดสินใจ

"สมมติว่า เราจะเลิกขายขนมปัง จะต้องเอาข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการ ซื้อของลูกค้า เราจะพบว่าลูกค้ามักจะซื้อแยมคู่กับขนมปัง การเลิกขายขนมปัง จะทำให้เราเสียรายได้ในเรื่องของแยมไปด้วย"

หรือแม้แต่การทำโปรโมชั่น ขายไส้กรอกคู่กับสเลอปี้ ที่ทำให้เซเว่นอีเลฟ เว่นประสบความสำเร็จในเรื่องยอดขาย ก็ได้มาจากการวิเคราะห์ข้อมูลในส่วนนี้

อีกส่วนหนึ่งจะเป็นระบบปรับ ปรุงประสิทธิภาพภายใน (Workflow Automation) โปรแกรมอิเล็กทรอนิกส์เมล ของโลตัสโน้ต มาใช้ในการติดต่อสื่อสารภายในสำนักงานใหญ่ ที่อยู่บริเวณสีลม แต่แยกกันอยู่คนละตึก มาทดแทนการใช้กระดาษ

"ใบลาป่วย พักร้อน ลากิจ การเบิกจ่ายเงิน จัดซื้ออุปกรณ์ภายในจะผ่านระบบเวิร์คโฟล์ แบบฟอร์มต่างๆ จะ เป็นอิเล็กทรอนิกส์ฟอร์ม ส่งตามสายงานไปที่รับผิดชอบเพื่ออนุมัติ จะทำให้การทำงานคล่องตัวมากขึ้น"

ข้อมูลการขายที่ประมวลแล้ว ส่วนหนึ่งจะเข้าสู่อินทราเน็ต เพื่อเป็นข้อมูลภายในเพื่อใช้วางแผนธุรกิจ เช่น รายงานข่าว ค่าใช้จ่าย รายงานการปฏิบัติงานของหน่วยงานต่างๆ เพื่อเปรียบเทียบกับเป้าหมายที่บริษัทวางไว้

หลายคนอาจแปลกใจว่า ซีพีเป็น เจ้าของโครงข่ายไฟเบอร์ออพติกที่โยง ใยอยู่ทั่วกรุงเทพฯ แต่การส่งข้อมูลระหว่างสาขา 1,300 แห่งไปยังสำนัก งานใหญ่ ยังคงเป็นแค่สายโทรศัพท์และ โมเด็มธรรมดา ซึ่งมนตรีก็ไขข้อข้องใจ ว่า เทคโนโลยีทันสมัยที่สุดอาจไม่ใช่สิ่ง ที่ดีที่สุดสำหรับธุรกิจ สิ่งสำคัญของการ ลงทุนไอทีคือ ต้องให้สัมพันธ์กับเงินลงทุน Cost Effective มากที่สุด

"กำไรของธุรกิจแบบนี้แต่ละสาขาน้อยมาก อย่างการจะนำระบบสแกนเนอร์/บาร์โค้ด เราก็รู้ว่า ระบบนี้จะทำ ให้ข้อมูลถูกต้องและละเอียดขึ้น แต่เราก็ยังไม่ตัดสินใจนำมาใช้ เพราะต้นทุนสูงมาก ทั้งราคาเครื่องที่จะติดตั้งและต้องลงทุนเพิ่มขนาดของคอมพิวเตอร์ที่สำนักงานใหญ่ด้วย รวมแล้วอยู่ในระดับพันล้านบาท ตอนนี้ก็แค่ทดลองเฉพาะบางสาขา"

ไม่ใช่เรื่องแปลกใจที่พีซีในร้านเซเว่นอีเลฟเว่นบางแห่งเป็นแค่รุ่น 486 แถมมีหยากไย่ขึ้นอีกต่างหาก แต่ในอีกไม่กี่วันข้างหน้า อาจมีลูกค้าใช้สมาร์ทการ์ดซื้อของ จ่ายค่าน้ำค่าไฟโดยไม่ต้องพกเงินเลย หรืออาจมีเครื่องพีซีไว้ให้ส่งอีเมล ที่หน้าร้านเซเว่นอีเลฟเว่น หากผู้บริหารไอทีของเซเว่นอีเลฟเว่นเห็นว่าคุ้มค่า

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us