ว่ากันว่าเป็นของร้อนสุดๆ ไปเสีย แล้วสำหรับพ.ศ.นี้ ผลการวิจัยของบางสำนักอเมริกันพบว่าซีอีโอในสหรัฐฯ
ณ ปัจจุบัน มีโอกาสเสียเก้าอี้ได้มากกว่าเมื่อยุคก่อนหน้าถึงสามเท่าตัวทีเดียว
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในโมงยามที่อัตราการแข่งขันภายในภาคธุรกิจ นับแต่จะร้อนแรงขื้นเรื่อยๆ
พร้อมกับที่ตลาดงานบริหารคอยแต่จะ มีมือกระบี่จอมขมังเวทย์หน้าใหม่แจ้งเกิดขึ้นมาเบียดแทรกจอมเก๋าคนหน้าเก่าอย่างไม่ขาดสาย
ทศวรรษ 1990 แห่งโลกบริหารธุรกิจจะต้องถูกจารจารึกว่า เป็นทศวรรษฝันร้ายของเหล่าซีอีโอนับไม่ถ้วน
ด้วยว่าจอมยุทธ์นักบริหารมากหน้าหลายตาต้องพลาดพลั้งในกระแสการแข่งขันอันร้อนแรงดุเดือดเหนือจินตนา
การ ภายในบรรยากาศธุรกิจที่บริษัทธุรกิจชื่อดังในสหรัฐอเมริกาได้สร้างปรากฏการณ์การ
ใช้ผู้บริหารเปลืองที่สุด เท่าที่เคยมีมา ไล่นิ้วไปตามรายชื่อฟอร์จูน500
แล้วจะหนาว ซีอีโอในหลายต่อหลายบริษัทยักษ์ พากันถูกเด้งจากเก้าอี้ผู้บริหารหมายเลขหนึ่งเป็นว่าเล่น
ไม่ว่าจะเอคการ์ด ไฟฟ์เฟอร์ อดีตซีอีโอแห่ง คอมแพค คอมพิวเตอร์, บ็อบ อัล
เลน อดีตซีอีโอแห่ง เดลต้า แอร์ไลน์, จอห์น แอเคอร์ อดีตซีอีโอแห่ง ไอบีเอ็ม,
ฯลฯ ล้วนแต่เก่งกาจและทรงอำนาจ เป็นที่ยอมรับของโลกธุรกิจ แต่ไม่วายตกเก้าอี้อันตราย
- "เก้าอี้ซีอีโอ"
วิสัยทัศน์ตีบตันมิใช่ปัญหาหลัก
ในกระบวนการตามล่าหาคำตอบ เหล่าคุรุและเกจิอาจารย์แถวหน้า แห่งแวดวงการบริหารธุรกิจพยายามเสนอสมมุติฐานเท่ๆ
มาอธิบายปรากฏการณ์ การไล่โละซีอีโอกันเป็นหลายชุด ชุดคำอธิบายสุดยอดนิยมเห็นจะเป็นเรื่องความอ่อนด้อยของซีอีโอในวิสัยทัศน์แห่งการปรับตัว
เข้ากับโลกเทคโนโลยีสารสนเทศ ไปจนถึงเรื่องความผิดพลาดในการกำหนดทิศทางยุทธศาสตร์
บริษัท กรณีของ ไฟฟ์เฟอร์ อดีตซีอีโอแห่ง คอมแพค คอมพิวเตอร์ เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ถูกเอ่ยถึงหนาหูน่าดู
ยูเอสเอ ทูเดย์ ฟันธงว่าไฟฟ์เฟอร์ถูกคณะกรรมการบริหารแซะออกจากเก้าอี้ เพราะขาดสิ่งที่เรียกว่า
"วิสัยทัศน์แห่ง อินเตอร์เน็ต" ด้านนิวยอร์ก ไทมส์ ก็อื้ออ้าสนับสนุนข้อวินิจฉัยดังกล่าวไปด้วยอีกราย
โดยบอกว่าไฟฟ์เฟอร์หลุดเพราะใช้ยุทธศาสตร์ที่น่ากลัวว่าจะฉุดเอาบริษัทหลุดกระแสไป
ในทิศทางตรงข้ามกับที่บอร์ดเห็นว่าควรจะเป็น
บริหารฝันให้เป็นจริงคือสิ่งสำคัญ
เรื่องนี้ เบนจามิน รอสเซ่น ประธานคอมแพค มีเฉลย รอสเซ่นไม่ได้ออกมาสลักหลังยืนยันคำวินิจฉัยเท่ๆ
เหล่านั้นเลย ตรงกันข้าม รอสเซ่นบอก ว่า "ความเปลี่ยนแปลงด้านบุคลากรของ
คอมแพคไม่ได้เกิดขึ้นจากยุทธศาสตร์พื้นฐาน - เราคิดว่ายุทธศาสตร์ของเรา มีความมั่นคงใช้ได้แล้ว
- แต่ปัญหาทั้งหลายมันเกิดขึ้นจากด้านงานปฏิบัติการนี่แหละครับ แผนงานทั้งหลายของ
เราล้วนต้องเร่งรีบลงมือตัดสินใจ และ มุ่งสู่การทำให้บริษัทพัฒนาประสิทธิ
ภาพมากยิ่งๆ ขึ้นไป"
จิ้มนิ้วไว้ตรงนี้ได้เลยว่า ปัญหาการบริหารงานภาคปฏิบัติการเนี่ยละคือหลุมพรางอันตรายเป็นที่สุด
ที่ได้ฟัน บรรดาอัครมหาซีอีโอให้เสียผู้เสียคนเป็นว่าเล่น
การบริหารงานเละเทะย่ำแย่มิได้ มีความซับซ้อนนักหนา ซ้ำยังมีรูปธรรม ชัดเจนยิ่ง
อาทิว่า ไม่ผลักดันงานให้บรรลุผล, รีรอไม่ตัดสินใจ, ไม่สามารถทำตามที่ให้คำมั่นไว้
ฯลฯ
ความอ่อนด้อยในด้านการบริหาร งานมิได้หมายว่า ซีอีโอเคราะห์ร้ายซึ่งมีกระป๋องหนึ่งใบรองรับชะตากรรมรัน
ทด จะเป็นอะไรที่โง่หรือชั่วร้าย หามิได้ ตรงกันข้ามเลย จอมทัพผู้พลาดพลั้งหล่นจากปราสาทงาช้าง
ล้วนแต่เปี่ยมด้วยความฉลาดปราดเปรื่อง, มีไหวพริบมองธุรกิจแตกฉาน, อุทิศตัวในการงานอย่างสุดกำลัง
และประสบความสำเร็จไม่ใช่น้อยๆ ตลอดหลายต่อหลายปีที่กินตำแหน่งหมายเลขหนึ่ง
กรณีไฟฟ์เฟอร์นี้เห็นได้ชัด ว่ามีประวัติความสำเร็จตั้งมากมาย ไม่ว่าจะเรื่องของการปรับโครงสร้างคอมแพคให้กระฉับกระเฉง
ไปถึงเรื่องของการพัฒนาเงินๆ ทองๆ ให้แก่คอมแพค ในสารพัดด้าน อาทิ ด้านรายได้,
ผลกำไร และมูลค่าการตลาด และเอาเข้าจริงแล้ว เมื่อมีการตกกระป๋องจากเวทีหนึ่ง
โอกาสที่จะผงาดกลับขึ้นมาได้ในอีกเวที หนึ่งนับว่ามีสูงยิ่ง
ซีอีโอต้องเป็นซูเปอร์ฮีโร่ของแท้
แต่โลกธุรกิจยามนี้มีแต่คนใจร้อน และเอาแต่จะร้อนใจอยากเห็นผลตอบแทนทันตา
ความสุ่มเสี่ยงในการครอง เก้าอี้ซีอีโอจึงทวีขึ้นอย่างมหาศาล ยุคสมัยที่ตลาดเสรีขยายตัวเป็นว่าเล่น,
โมงยามที่ระบบเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ แข่งกันเปิดออกง้อตลาดโลก, แล้ว ไหนยังสิ่งแวดล้อมทางธุรกิจที่เต็มไปด้วยการขจัดอุปสรรคการค้าข้ามพรม
แดน ตลอดจนการก่อเกิดของพาณิชย์อิเล็กทรอนิก เหล่านี้ล้วนเร่งเร้าให้ทุก
ธุรกิจต้องแข่งขันกันอย่างโหดเข้มเกินจินตนาการ ยิ่งเมื่อระบบข่าวสารข้อมูล
บนเทคโนโลยีสารสนเทศเปิดโอกาสให้ ผู้บริโภคสามารถเปรียบเทียบสินค้าได้อย่างละเอียดลออและง่ายดาย
ความ บีบคั้นที่บริษัทต้องปรับตัวเพื่อขายก็ยิ่งดุเดือดรุนแรง บรรยากาศอย่างนี้นี่แหละที่ซีอีโอถูกทุกฝ่ายรอบตัวเรียกร้อง
ให้ต้องทำตัวเป็นพระเอกหนังอินเดีย เนรมิตให้ได้ทุกอย่าง บริหารงานให้ได้ตามเป้าที่สัญญิงสัญญา
ซึ่งหมายถึงว่า จะต้องได้โดยเร็วสมใจท่านผู้ถือหุ้นด้วย ด้วย ทอม เนฟฟ์ และเดย์ตัน
อ๊อกเดน สองนักล่าผู้บริหารมืออาชีพค่ายสเปนเซอร์ สจ๊วต เคยรายงานผลการศึกษาตลาดแรงงานระดับท็อปเอ็นว่า
แม้เก้าอี้ ของซีอีโอในบริษัทยักษ์ส่วนใหญ่ยังมั่นคงแข็งแรงดี แต่หากซีอีโอรายใดไม่สามารถสร้างผลงานตามคำสัญญาก็จะถูกเตะโด่งออกจากบริษัทในอัตราเร่ง
ที่เข้มข้นกว่าที่เคยเป็นๆ กันมา ต่อให้คณะกรรมการบริหารมีความเข้าอกเข้าใจ
ไม่รีบร้อนลุกขึ้นมาขับไล่ แต่ไม่ เร็วก็ช้าบริษัทใต้บังเหียนของซีอีโอผู้นั้นก็จะตกต่ำ
เปิดทางโล่งให้บริษัทถูกฮุบไปแต่โดยง่าย และแน่นอนว่า ผู้ที่เข้ามาเทกโอเวอร์ย่อมไม่เลี้ยงซีอีโอที่บริหารให้บริษัทถึงแก่กาลซวดเซ
เช่น ในกรณีของบริษัทดิจิตอล อิควิปเมนท์ ยุคของรอเบิร์ต ปาล์เมอร์ และกรณีของบริษัทรับเบอร์เมด
ยุคของวูลฟ์กัง ชมิตต์
ลั่นวาจาไว้ตรงนี้เลยว่า ใดๆ ก็ตาม ที่ซีอีโอเคยซ่อนไว้ใต้เก้าอี้นั้น
ล้วนถูกความบีบคั้นของตลาดกระชากออกมาเปล่าเปลือยเบื้องหน้าคณะกรรมการบริษัทและเหล่าผู้ถือหุ้น
หากไม่สามารถ ผลักดันผลงานตามนโยบายได้ ไม่เร็วก็ช้าพวกซีอีโอเหล่านี้เป็นต้องถูกพรากจากเก้าอี้ของพวกเขา
ปัญหาบุคลากร พาตายน้ำตื้น
ว่าแต่ว่า ซีอีโอท่านทำท่าไหน ถึง พลาดพลั้งในเชิงงานบริหารได้ ผลการ ศึกษาพบว่าจอมเซียนมือฉกาจถึงแก่กาลพลาดพลั้งตีลังกาเอาง่ายๆ
เพียงเพราะเรื่องหญ้าปากคอกอย่างปัญหาบุคลากรคนใกล้ตัวประเภทมือขวามือซ้าย
มือวางอันดับนี่แหละ รูปธรรมที่ปรากฏออกมามักวนเวียนอยู่กับว่า ความผิดพลาดในการวางคนให้เหมาะกับขอบเขตงานในความรับผิดชอบ
ไปถึงการละเลยที่จะแก้ปัญหาบุคลากรให้ทันเวลา ทันท่วงที
ซีอีโอเคราะห์ร้ายมักมีข้ออ้างตลอดจนระบบเหตุผลที่เสกสรรขึ้นมา ในกลไกป้องกันตัวเองจากความกดดันของปัญหา
การสำรวจตรวจสอบพบว่ามีแบบสุดยอดฮิต 6 ประการ ดังนี้
"คนนี้เก่ง คอยดูเหอะ เขาจะต้องประสบความสำเร็จ เชื่อผมเต๊อะ" ซีอีโอหลายราย
ผู้ต้องชะตากรรมเกี่ยว ข้องกับกระป๋อง เคยผ่านวิธีคิดตรงนี้มาแล้วด้วยตนเอง
หลังจากตั้งเด็กในคาถาของตัวขึ้นสู่ตำแหน่งสำคัญ ด้วยมั่นอกมั่นใจว่าหมอนั่น
ยัยคนนั้น เก่งกาจ ชาญฉลาดเกินใคร ตัวซีอีโอก็บอก ตัวเองให้เชื่อว่าวินิจฉัยของตนไม่มีทางผิดพลาดไปได้
ครั้นการณ์ปรากฏว่าเด็กของตัวทำไม่ได้ตามเป้าหมาย ซีอีโอ พี่เอื้อยก็ดูจะหมดปัญญาจัดการให้เป็นที่ถนัดถนี่
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกรณี เด็กของซีอีโอถูกวางตัวในฐานะว่าที่ตัว ตายตัวแทน
หรือฐานะมือวางอันดับสอง กรณีแบบนี้เกิดขึ้นมาไม่ใช่น้อยๆ โดยเป็นการพัฒนาขึ้นตามสายงาน
ทั้งๆ ที่ บุคคลนั้นๆ ยังไม่เคยถูกตรวจสอบฝีมือ การบริหารระดับสูงอย่างเป็นเรื่องเป็นราว
"คนนี้ เด็กผม" สไตล์ความคิดนี้มีให้เห็นในทุกแห่งของโลก ไม่ใช่เฉพาะแต่ในวัฒนธรรมการบริหารของคนตะวันออก
แต่ในสหรัฐฯก็มีออกเกลื่อน ความสัมพันธ์นาย-ลูกน้องทำนองนี้อาจเป็นกรณีที่ทั้งสองทำงานเป็นคู่หู
คู่สร้างคู่สมกันมาเนิ่นนาน หลายรายสนิทสนมกันถึงขนาดว่าหอบหิ้วครอบครัวไปพักร้อนด้วยกันเป็นปกติ
ดังนั้น การประเมิน การตัดสินความสามารถก็พลอยมัว พลอยเบลอร์ ไปด้วยความผูกพันส่วนตัว
กรณีโดดเด่นแห่งสไตล์สัมพันธ์ส่วนตัว ที่พาซีอีโอลงเหวไปด้วยกันกับลูกน้องคู่ใจ
มักหนีไม่พ้นตัวอย่างของลอยด์ รูสส์ แห่งเจเนอรัล มอเตอร์ส (จีเอ็ม) เมื่อต้นทศวรรษที่
90 หมาดๆ นี้เอง ในช่วงนั้น รูสส์เป็นผู้อำนวยการฝ่าย ขณะที่จีเอ็มมี รอเบิร์ต
สเตมเปิล เป็นซีอีโอ
เล่ากันว่าสเตมเปิลปลื้มรูสส์เอามากและไม่รั้งรอเลยที่จะโอบไหล่โอบ หลังของรูสส์
พร้อมกับประกาศให้กระจะแจ้งทั่วกันว่า "ลอยด์เป็นเด็กของผม" ข้างฝ่ายบอร์ดบริษัทเริ่มจะไม่ยักเอออวยด้วย
หลังจากที่ผลประกอบการของ จีเอ็มดำดิ่งสู่ก้นเหว ย่ำแย่ที่สุดเท่าที่เคยเป็นมา
ท้ายที่สุด กรรมการบริษัทถอดหัวโขนของสเตมเปิล และลดตำแหน่งของลอยด์ หลังนั้นมาอีกหกเดือน
สเตมเปิลถูกไล่ออก พร้อมกับที่รูสส์ก็ถูกเลิกจ้าง สองคู่หูจูงมือกันลาจีเอ็มไปในที่สุด
"ผมจะฝึกเขาขึ้นมาเอง" นั่นเป็น อีกหนึ่งปัญหาบุคลากรที่พาซีอีโอตกเก้าอี้มาแล้ว
ในคราวหนึ่งเมื่อสักสองสามปีที่แล้ว ซีอีโอนามกระเดื่องแห่งบริษัทผู้ผลิตรายยักษ์ระดับหนึ่งในห้าร้อยสุดยอดแห่งตารางของฟอร์จูน
เคย รับผู้บริหารแววดีอนาคตไกลที่ไม่ใช่ ลูกหม้อเข้ามากินตำแหน่งมือวางอันดับ
สอง พร้อมกับหมายจะให้บริหารฝ่ายปฏิบัติการภาคพื้นอเมริกาเหนือ ก่อนจะ ก้าวขึ้นมาจ่อคิวเป็นว่าที่ซีอีโอในท้ายที่สุด
อย่างไรก็ตาม โชคไม่เข้าข้างผู้บริหารหน้าใหม่รายนี้ ปีแรกเขาก็พลาด เป้าเสียแล้ว
สืบมาปีที่สองยังคงไปไม่ถึงเป้าหมายตามที่สัญญิงสัญญากับผู้ถือหุ้นไว้ บริษัทเสียหายน่าดูในสายตาของนักลงทุนในตลาดหุ้น
ซีอีโอ หัวรั้นมองไม่เห็นปัญหาพื้นฐาน กลับยืนยันสายตาเฉียบแหลมของตัวว่าเลือกคนมาไม่พลาด
และลงความเห็นว่าตัว ยัง ฝึกปรือเด็กของตัวไม่เพียงพอ จากนั้นก็ตั้งเป้าใหม่ว่าจะทุ่มเทฝึกปรือช่วยเหลือ
ให้หนักข้อใกล้ชิดยิ่งขึ้นไปอีก บางคน เมาธ์ว่าซีอีโอใจดี มีมนุษยธรรมมากเกิน
ไป ไม่สามารถลงดาบเด็กในคาถาของตัวได้ ลงท้าย ผลประกอบการเลววันเลวคืน ราคาหุ้นดำดิ่ง
แล้วก็ถึงคราว ที่บริษัทถูกซื้อ บอร์ดของบริษัทที่เข้าเทกโอเวอร์บริษัทรายนี้เขี้ยะผู้บริหารทั้งสองออกไปโดยไม่รอช้า
หนำซ้ำ ใน การปรับปรุงบริษัทขนานใหญ่นั้น ยังมีพนักงานอีกหลายพันชีวิตถูกเลิกจ้าง
เพราะเจ้าของรายใหม่บอกว่าสามารถผนวกสายปฏิบัติการหลายอย่างเข้าไว้ในโครงสร้างของบริษัทแม่
และใช้ทีมงานของบริษัทแม่รับภาระงานบริษัทแห่งนี้ไปได้อย่างง่ายดาย
"ตลาดหุ้นกับพวกสื่อมวลชนชอบเขา - ผมเอาเขาไว้ใกล้ตัวคงจะดีกว่า" ยามที่ผู้บริหารเบอร์รองๆ
ประสบความสำเร็จในการสร้างภาพลักษณ์สูงส่ง หรือสร้างสายสัมพันธ์เป็นอันดีกับหลายสถาบันสำคัญ
ซีอีโอก็ต้องหนักใจน่าดูว่าจะจัดการกับจอมสร้างภาพ แต่ฝีมือบริหารอ่อนด้อยได้อย่างไร
ทั้งที่รู้อยู่เต็มอกว่าตัวแสบเหล่า นี้มีจุดแข็งอยู่แค่เรื่องทำประชาสัมพันธ์
ตัวเอง อีกทั้งยังรู้ด้วยว่าฝีมือการบริหาร ของพวกเบอร์รองๆ เหล่านี้สร้างความเสียหายแก่ผลประกอบการของบริษัท
แต่ซีอีโอก็ไม่อยากเสี่ยงกับการที่เอาคน เหล่านี้ออก เพราะหวั่นว่าอาจทำให้ตัวเองและบริษัทพลอยเสียหายไปในสายตาของสาธารณะ
ดังนั้น โดยทั่วไป แล้ว ซีอีโอจะชะลอปัญหาไปเรื่อยๆ จนกว่าจะวิกฤตขึ้นมาจริงๆ
แต่ก็เป็นที่น่าเสียใจว่าหลายครั้งที่ซีอีโอก็ลงมือแก้ไขไม่ทันการณ์ และตัวเองกลับต้องถูกขับออกจากตำแหน่ง
ในฐานะผู้รับผิดชอบสูงสุด
"ช่วงหลังเนี่ยผมเอาคนออก เยอะแล้ว บอร์ดคงไม่ชอบถ้าผมไปแซะเข้าอีกราย"
วิธีคิดแบบนี้ไม่ใช่ไม่มีความสมเหตุสมผลรองรับ โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง เมื่อคำนึงถึงว่าพวกกรรมการบริหารอาจนึกเป็นห่วงว่า
ท่านซีอีโอไม่ดูแลพัฒนาบรรยากาศความเป็นผู้นำภายในบริษัท อย่างไรก็ตาม การทอดระยะลงดาบสังหารผู้บริหารระดับกลาง
ที่อ่อนด้อยฝีมือ อาจทำให้ปัญหาการบริหารงานภายในยิ่งทบทวีความยุ่งยาก กลายเป็นความเสียหายร้ายแรงต่อผลประกอบการของบริษัท
การทิ้งปัญหาค้างคาจึงเท่ากับปล่อยให้ปัญหาสาหัสหนักข้อขึ้นเรื่อยๆ กระทั่งเกินความสามารถที่ซีอีโอจะเยียวยาได้ทันท่วงที
ลงท้ายซีอีโอก็หนีไม่พ้นจะต้องเสียเก้าอี้หนึ่งตัวใหญ่ๆ เป็นราคาความล่าช้าในการแก้ปัญหางานบริหารของบริษัท
"หมอนี่มันเป็นงานอยู่บ้าง ผมว่าผมทนไอ้เลวที่ผมรู้ตื้นลึกหนาบางทุกขดไส้
ดีกว่าไปคว้าไอ้เลวที่ผมไม่เคยรู้จัก" นี้เป็นประโยคเพชรประโยคทองสำหรับพวกซีอีโอประเภทไม่มีความมั่นใจในวินิจฉัยของตนเอง
ว่าตนจะตาแหลมมองเห็นเพชรในหมู่ผู้คน มหาศาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความสามารถที่จะมองรู้ดูออกว่าผู้ใดกันแน่
คือนักบริหารยอดฝีมือตัวจริงที่ปะปนอยู่ ในบรรดาพวกที่ไม่ใช่ลูกหม้อ หรือในบรรดาพวกเสือข้ามห้วยมาจากอุตสาห-
กรรมอื่น
หกประโยคยอดนิยมข้างต้นเป็นอะไรที่ได้ยินเข้าหูบ่อยครั้งยิ่ง และเมื่อ
ใดที่มันแพลมจากสองเรียวปากของท่าน ผู้บริหาร หัวใจของท่านผู้ถือหุ้นก็เตรียม
ระทึกได้ว่า ปัญหาการบริหารงานภายใน บริษัทกำลังส่อเค้าย่ำแย่หนักเป็นแน่วแน่แล้ว
ถ้าวิธีคิดทั้งหกแบบเหล่านี้เป็นสัญญาณอันตราย แล้วผู้คนจะสามารถ ตั้งความคาดหวังอันใดกันได้เล่า
ตอบอย่างอุดมคติเลยก็ได้ว่า การลงมือดำเนินการแก้ปัญหาโดยไม่ชักช้านั่นแหละที่สำคัญเหนืออื่นใด
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในปัญหาบุคลากรนักบริหารระดับมือซ้ายมือขวาแห่งซีอีโอ
แลร์รี่ บอสสิดี้ ซีอีโอแห่งบริษัทอัลลายด์ ซิกแนล บอกสูตรสำเร็จว่า "หากคุณมีผู้บริหารระดับกลางอยู่สามสี่คนในองค์กร
และบางคนในจำนวนนี้มีปัญหาการบริหารไม่ได้ขาด คุณจะมามัวทำใจเย็นอยู่ไม่ได้หรอก
คุณต้องลุกขึ้นสร้างความเปลี่ยนแปลงโดยทันที" คำกล่าวของบอสสิดี้แม้จะฟังเป็นสูตรสำเร็จ
แต่ก็มิควรมองข้าม ทั้งนี้ คนใน วงการบอกกันว่าบอสสิดี้คือหนึ่งในซีอีโอที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดนายหนึ่งของสหรัฐฯทีเดียว
ในทางทฤษฎีแล้ว ซีอีโอจำต้องกล้าลงดาบเมื่อจำเป็น เพราะนอกจาก ที่การตัดสินใจโชะชะ
จะเป็นพื้นฐานการ แก้ปัญหาแล้ว มันยังเป็นขวัญกำลังให้ แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายด้วย
ตอนที่หลุยส์ เกอร์สเนอร์โดดเข้ากุมบังเหียนของไอบีเอ็ม เขาเซ็นคำสั่งเด็ดหัวผู้บริหารสำคัญ
ไปหลายรายน่าดู ตั้งแต่ตัวประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน, ผู้อำนวยการฝ่าย
บุคคล และผู้บริหารในสายงานสำคัญอื่นๆ อีกสามคน ปรากฏว่าราคาหุ้นตอบ รับการตัดสินใจดังกล่าวเป็นที่อึงคะนึง
โดยทะยานขึ้นมากว่าสิบเท่าตัวทีเดียว
ระบบงานเอื้อแก่การตัดสินใจ?
แต่กระนั้นก็ตาม แม้ซีอีโอคนเก่ง จะสามารถก้าวล่วงพ้นกับระเบิดในเรื่อง
ของคนใต้บังคับบัญชาแล้ว ซีอีโอยังต้อง ระวังกับระเบิดอันตรายอีกประการหนึ่ง
คือการถูกระบบที่ตนสร้างขึ้นมานั้นลวง ตาเอาเสียง่ายๆ อย่างงั้นเอง บ่อยครั้ง
ที่งานซึ่งเคลื่อนไหลไปแบบวันต่อวันจะ ทำให้ซีอีโอเลือนๆ ไปจากเป้าหมายของ
งาน และสูญเสียความฉับไวในการปรับ เปลี่ยนระบบให้ทันกับบริบทสังคมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
บ่อยครั้งที่ ระบบจะพาหลงให้คิดว่า ตัวระบบกระบวนงานนั่นเองที่เป็นแก่นสาระหลักขององค์กร
หายนะที่ตามมาจึงปรากฏกลายเป็นการพลาดเป้าตกกระ แสรสนิยมแห่งผู้บริโภคผู้มีอำเภอน้ำใจ
ผันผวนรวนเรเป็นที่สุด ขณะที่พวกบริษัทเกิดใหม่ ซึ่งยังปราศจากระบบอันแข็งแกร่ง
ปลอดจากกรอบบังตาอัน ตายตัวก็จะมีความอ่อนไหว กระฉับ กระเฉงมากกว่า มีความพร้อมจะเปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหวสูงกว่า
และจึงคว้าเอาความได้เปรียบตรงนี้ไปเต็มๆ
อาการชะงักงันในความเคลื่อนไหลของกระบวนงานคือภัยมืดที่กลืนกินศักยภาพการบริหารของซีอีโอโดยเฉพาะ
อย่างยิ่ง ในมิติที่สร้างความไม่มั่นใจที่จะทำการตัดสินใจให้โชะชะในเรื่องต่างๆ
ตั้งมากมาย ด้วยหวั่นผลกระทบที่อาจเกิดแก่องคาพยพอื่นๆ ของ ระบบและกระบวนงานโดยรวม
สภาพการณ์ทำนองนี้มักเกิดขึ้นกับซีอีโอประเภทยึดมั่นถือมั่นกับระบบอันแสนจะมั่นคงของพวกตัว
อีกทั้งเกิดกับซีอีโอประเภทตายซากหลังจากย่ำอยู่กับที่ในแวดวงของบริษัทหนึ่งๆ
มาอย่างต่อเนื่องเนิ่นนาน ซีอีโอเหล่านี้ แม้ในวันหนึ่งอาจตาสว่าง มองเห็นความอ่อนล้าของกระบวนการผลิตที่ไม่สามารถตอบสนองความเปลี่ยนแปลงของตลาด
แต่ซีอีโอก็จนปัญญาจะรื้อตัวระบบที่ดูว่าแสนจะลงตัวราบรื่นดีอยู่แล้ว
สภาพการณ์ที่ความชะงักงันในกระบวนงานไปสร้างความล่าช้าแก่การ ตัดสินใจ
คือปัญหาอมตะของทุกองค์กร อย่างไรก็ตาม เมื่อมาถึงยุคแห่งความฉับไวสูงสุดแห่งโลกอินเตอร์เน็ต
ปัญหา เรื่องนี้แท้จริงก็คือหายนะขององค์กรทีเดียว ผู้ที่มีประสบการณ์ตรงมาแล้วคือ
กิล อะเมลิโอ ในสมัยที่กินตำแหน่ง ซีอีโอของแอปเปิล คอมพิวเตอร์ ช่วงหนึ่งสั้นๆ
รอเจอร์ ซิโบนี่ ซีอีโอของบริษัทเอพิฟานี่ ซึ่งหากินเอิกเกริก ในด้านเทค
โนโลยีสารสนเทศย่านซิลิคอน แวล์เลย์ กล่าวเปรียบเทียบงานบริหารของตัวใน ปัจจุบัน
กับประสบการณ์ 20 ปี สมัยเป็นประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ (ซีโอโอ) ให้แก่บริษัทที่ปรึกษานามอุโฆษ
อย่าง เคพี เอ็มจี ว่าความแตกต่างฉกาจ ฉกรรจ์ของสองธุรกิจนี้อยู่ที่ความอุ้ยอ้าย
มากน้อยภายในระบบขององค์กร
ในฐานะผู้ผลิตซอฟต์แวร์ที่ช่วยให้ บริษัทธุรกิจที่หากินอยู่กับพาณิชย์อิเล็ก
ทรอนิกสามารถเก็บข้อมูลสไตล์การบริโภคของกลุ่มลูกค้า (ซึ่งจะบ่งชี้ความ โปรดปรานที่ผู้บริโภคกระทำธุรกรรมบน
อินเตอร์เน็ต) ซิโบนี่สามารถลงความเห็นเฉียบขาดลงมาได้เลยว่า ความเคลื่อนไหลในเอพิฟานี่เป็นไปอย่างฉับไวเหนือชั้นยิ่งเมื่อเทียบกับที่เคพีเอ็มจี
ด้วยว่าระบบงานของเอพิฟานี่สามารถถูกปรับเปลี่ยนได้เป็นว่าเล่น ไม่มีใครยอมให้เกิดความล่าช้า
ณ จุดใดหนึ่ง ซิโบนี่ให้ข้อคิดไว้ว่าธุรกิจที่มีอินโฟเทคเข้าไปเกี่ยวข้องย่อมเป็นธุรกิจที่มีการแข่งขันสูง
และจำต้องตัดสินใจด้วยความกระฉับกระเฉงรวดเร็วเป็นที่ยิ่ง เรียกว่าไม่มีเวลาให้ฝ่ายงานใดลังเล
ทอดหุ่ยการตัดสินใจ อันจะไปสร้างความชะงักงัน ณ พื้นที่จุดใดหนึ่งได้เลย
คิดเก่งอย่างเดียวไม่พอ
ปัญหาสำคัญยิ่งของซีอีโอจึงไม่พ้นเรื่องของการรังสรรค์ให้กลยุทธ์แห่ง แผนงานตามวิสัยทัศน์ต่างๆ
กลายเป็นจริงขึ้นมา และในกระบวนการสร้าง ฝันให้เป็นจริงนี้ ซีอีโอจำต้องบริหารทีม
ของตัวให้สามารถบรรลุเป้าหมายในความรับผิดชอบอย่างครบกระบวน
แน่นอนว่าการไล่จี้เอาผลงานจาก ประดามือรองๆ อย่างไม่ลดละ นับเป็น อะไรที่น่าเบื่อ
ไม่น่าสนุกเอาเลย แต่ต้อง ไม่ลืมว่าภาระหน้าที่สำคัญของซีอีโอย่อมหนีไม่พ้นการมองให้เห็นปัญหา
ที่เป็นอุปสรรคกีดขวางเส้นทางสู่ปลายทางฝัน และหากซีอีโอไม่สามารถบริหารทีมงานของตัวให้บรรลุในแต่ละเป้าหมายย่อย
เป้าหมายหลักชัยใหญ่ที่ซีอีโอรับปากไว้กับบอร์ดของบริษัทก็ย่อมไม่อาจบรรลุได้
ไม่มีใครค้านว่าภารกิจหมายเลขหนึ่งของคนซีอีโอจำต้องเป็นเรื่องของการมองทิศทางของบริษัท
การสร้างวิสัย ทัศน์ให้แก่องค์กร ไปจนถึงการรังสรรค์ กลยุทธ์ที่เฉียบขาดเพื่อความอยู่รอดและ
ความได้เปรียบเหนือคู่แข่ง แต่กระนั้น ก็ตาม ลำพังเพียงความคิดอย่างเดียว
ไม่มีทางจะเพียงพอแก่การอยู่รอดในโลกธุรกิจอันเผ็ดร้อนด้วยการแข่งขันสุดโหดได้
การผลักดันให้ความคิดเป็น จริงขึ้นมา จึงเป็นอะไรที่ซีอีโอจะดูดายหวังให้ระบบเนรมิตฝันให้เป็นจริงผ่าน
กลไกอัตโนมัติย่อมเป็นไปไม่ได้เป็นอันขาด ซีอีโอไม่อาจทึกทักหวังเอาง่ายๆ
ว่าซีโอโอของตัวจะสมบูรณ์แบบ ราวกับ ทำโคลนนิ่งสมองของตัวไปได้สองร้อยเปอร์เซ็นต์
ตรงกันข้าม ซีอีโอต้องวิ่งไล่กวดแข่งขันกับตัวเองไม่หยุดยั้งว่า เป้าหมาย
ของตัวนั้นเดินหน้าตามกำหนดการครบ ถ้วนเพียงใด งานบริหารจึงต้องครอบ คลุมไปถึงการปฏิบัติการ,
การตัดสินใจ, การติดตามงาน และการสร้างความสำเร็จให้แก่คำมั่นสัญญาทั้งหลายที่ไปลั่นวาจาไว้
ทุกวันนี้ จุดบอดงานบริหารของคุณอยู่ตรงไหนกันแน่ วันนี้ คุณตรวจสอบตัวเองแล้วหรือยัง?