หลังจากมีการเซ็นสัญญา CKD เพื่อผลิตชิ้นส่วนและประกอบรถยนต์ค่ายโฟล์กสวาเก้น
รุ่นพัสสาทใหม่ และ เอาดี้ A6 ระหว่างยนตรกิจกับโฟล์กสวาเก้นเมื่อกลางปีที่ผ่านมา
ประเด็นที่ได้รับ ความสนใจมากที่สุดคือ "บริษัทแม่จะเข้ามาลงทุนเองอีกหรือไม่ในอนาคต"
หรือ "จะมีเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ซ้ำรอยดังกรณีของบีเอ็มดับเบิลยูหรือไม่"
ซึ่งผู้บริหารของยนตรกิจกรุ๊ปส่วนใหญ่เลี่ยงที่จะตอบคำถามนี้ ตกเป็นหน้าที่ของวิทิต
ลีนุตพงษ์ คีย์แมนคนสำคัญของยนตรกิจฯที่จำต้องเป็นผู้ตอบคำถามนี้ "การทำธุรกิจรถยนต์
ขึ้นอยู่กับทั้ง 2 ฝ่าย เนื่องจากเป็นธุรกิจที่ต้องลงทุนในระยะยาว ไม่ใช่ลูกค้าซื้อไปวันนี้
อีก 4-5 ปีบริษัทที่ขายเจ๊งไป บริษัทแม่เขา ก็ต้องคำนึงถึงเรื่องนี้ และผู้นำเข้าในท้องถิ่นอย่างเราก็ต้องอยู่ในสถานะที่มีความแข็งแกร่งทางการเงิน
เพื่อจะเป็น การสร้างความมั่นใจให้แก่ลูกค้าได้ ผม กล้าพูดได้ว่ายนตรกิจ
กรุ๊ป มีความแข็ง แกร่งทางการเงินที่จะลงทุนเองได้ ซึ่งบริษัทแม่ได้พิจารณาแล้ว
เขาถึงไว้ใจเรา และไม่มีความจำเป็นต้องเข้ามาลงทุนเองทั้งหมด" นั่นคือคำตอบ
ที่เป็น ความมั่นใจของกลุ่มลีนุตพงษ์ หลังจาก ที่สูญเสียการบริหารและการทำตลาดรถบีเอ็มดับเบิลยูให้บริษัทแม่มาดูแลเอง
"สิ่งที่เราพยายามบอกคือธรรม ชาติของการทำธุรกิจรถยนต์จะต้องดูแล ความต่อเนื่องของลูกค้า
ถ้าบริษัทท้องถิ่นที่ทำธุรกิจนี้ไม่ถึงขั้นล้มพับไปบริษัท แม่ ก็ไม่มีความจำเป็นต้องเข้ามาลงทุน
เองเพราะในแง่ของการทำการตลาดและการขายบริษัทท้องถิ่นทำได้ดีกว่าอยู่แล้ว
และผมไม่กลัวหรอกว่าการ เป็นเพียงดิสทริบิวเตอร์ท้องถิ่นจะไม่สามารถแข่งขันกับบริษัทแม่ที่เข้ามาลงทุนเองได้"
เป็นคำตอบจากวิทิตที่อธิบายได้แจ่มแจ้ง ถึงจุดยืนของยนตรกิจกรุ๊ปในวันนี้ว่าไม่ต้องการ
"เฉือนหุ้น" ให้บริษัทแม่ที่เป็นคู่ค้า และจากข้อชี้แจงดังกล่าวได้สร้างรอยร้าวระหว่างยนตรกิจฯ
กับบีเอ็มดับเบิลยู ซึ่งเขาเองยอมรับว่า มุมมองของแต่ละบริษัท ไม่เหมือนกันสามารถมองได้ทั้งทางลบและทางบวก
พร้อมกันนั้นเขายังชี้แจง ถึงความสัมพันธ์ระหว่าง ยนตรกิจ กรุ๊ป กับบีเอ็มดับเบิลยู
พร้อมกับสัญญาธุรกิจที่ยังคงทำร่วมกันอย่างน้อยก็ยาวไปถึง 5 ปีข้างหน้าตามอายุของรถยนต์
บีเอ็มดับเบิลยูซี่รี่ส 5 ที่จะผลิตประมาณ 2,000 คันต่อปีว่า
"เรากับบีเอ็มฯ ก็ไม่ได้เป็นศัตรูกัน เรากับเขาก็ยังคบกันอยู่ดี เพียงแต่
view point อาจจะไม่ตรงกันเขาอยากจะทำเองผมก็ให้เขาลองเอง แต่ไม่ได้หมายความว่าเขาผิดหรือเราถูก
เราก็ยังร่วมมือกับเขาและพยายามที่จะสร้างความสัมพันธ์อันดีไว้ และยนตรกิจ
กรุ๊ป เองก็มีการปรับโครงสร้างการบริหารธุรกิจเป็นกลุ่มๆ เนื่องจากครอบครัวผมใหญ่
ฉะนั้นจะมีบางกลุ่มของครอบครัวร่วมงานกับบีเอ็มฯ ต่อไป บางกลุ่มทำในส่วนของโฟล์ก-เอาดี้
บางกลุ่มทำในส่วนของ CFA เป็นต้น และในส่วนของโรงงาน เรายังมีสัญญาผลิตให้บีเอ็มอยู่ในส่วนของซีรี่ส์
5 จนครบอายุ และซีรี่ส 3 ใหม่ ที่เรามีการแยก line การผลิตกันชัด เจน" เป็นคำชี้แจงของวิทิตเรื่องความ
สัมพันธ์ระหว่างยนตรกิจ กรุ๊ป และบีเอ็มดับเบิลยู
สำหรับการลงทุนจำนวน 10 ล้าน ดอยช์มาร์ก หรือประมาณ 200 ล้านบาทเพื่อปรับปรุงโรงงานในส่วนของการประกอบรถยนต์
โดย 80% ของเงินลงทุนเป็นการลงทุนในเรื่องของการ ประกอบตัวถังด้วยเทคโนโลยีใหม่สำหรับ
การเชื่อมตัวถังรถยนต์ด้วยแสงเลเซอร์ (Laser Beam Welding) และคอม พิว-เตอร์ในการสร้าง
Jig เพื่อประกอบรถยนต์ส่วนอีก 10% ของการลงทุนนำไป ใช้ในส่วนของการพ่นสีตัวถังรถยนต์
(Paint Shop) และส่วนที่เหลือนำไปใช้ในการ Modify Line การประกอบที่แตกต่างจากรถรุ่นอื่นที่โรงงานผลิตอยู่
เงินลงทุน 200 ล้านบาท นับเป็นเป็นเม็ดเงินค่อนข้างมากที่ยนตรกิจฯ ลงทุนในภาวะเช่นนี้
แต่วิทิตถือว่าเป็นการลงทุน เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของตลาดรถยนต์ที่นับวันจะรุนแรงมากขึ้น
"ในเมื่อทุกคนมี CKD เราต้อง มีบ้างเพื่อจะแข่งขันกับเขาได้ดังสำนวน ที่ว่า
"When you are in Rome, do as the Romans do." หรือ "เข้าเมืองตาหลิ่ว
ต้องหลิ่วตาตาม" เป็นเหตุผลที่วิทิตยกสำนวนมาอธิบายให้เข้าใจถึงการปฏิบัติตัวตามกระแสของ
"ยนตร-กิจ กรุ๊ป" ธุรกิจของกลุ่มตระกูล "ลีนุต พงษ์" ที่ยังคงเป็นกลุ่มตระกูลธุรกิจยานยนต์รายเดียวที่คงความเป็นผู้ถือครองหุ้นส่วนใหญ่ไว้ได้
โดยปราศจากการเข้ามายึดครองหุ้นของต่างชาติ แต่ กระนั้นเราต้องจับตาอย่างใกล้ชิด
เนื่องจากไม่มีมิตรแท้และ ศัตรูที่ถาวรในวงการธุรกิจ วันหนึ่งข้างหน้าหากยนตรกิจฯได้รับข้อเสนอเงื่อนไขชนิดที่ปฏิเสธไม่ได้
ยนตรกิจฯ คงจะฝืนกระแส แห่งความเป็นจริงไปไม่ได้
"ผู้จัดการ" ฉบับที่186 เมษายน 2542 ได้เสนอเรื่องราวบีเอ็มดับเบิลยู เอจี
ที่มีโอกาสสัมภาษณ์มร.เยซุส คอร์ โดบา ประธานบริษัท บายเยอริชเช่อ โมโทเรน
แวคร์เคอ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ดำเนินการธุรกิจรถยนต์ BMW ในประเทศไทยถึงนโยบายการทำงานและทิศทางเป้าหมายของบริษัทฯ
โดยเยซุสยังคงยืนยันความสัมพันธ์อันดีกับยนตรกิจ กรุ๊ปซึ่งนั่นคือมุมมองของฝรั่ง
ที่เข้ามาฮุบกิจการจากผู้นำเข้าไทย"