Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2542
อนุตร จาติกวิณช "คนหนุ่มไฟแรงสูง"             
 


   
search resources

อนุตร จาติกวณิช




เขาได้ฉายาว่าเป็น "หนุ่มไฟแรงสูง" เนื่องจากตำแหน่งหน้าที่รับผิดชอบในปัจจุบันล้วนแต่เกี่ยวข้องอยู่กับ พลังงานไฟฟ‰า ประกอบกับเป็นคนรุ่นใหม่ไฟแรง พลังการทำงานยังลุกโชน พร้อมที่จะลุยเพื่อความสำเร็จได้ทุกเมื่อ

อนุตร จาติกวณิช เป็นบุตรชาย คนที่ 2 ของ ไกรศรี จาติกวณิช อดีตประธานกรรมการบริษัท ผาแดง อินดัสตรี จำกัด (มหาชน) และปัจจุบันเป็นประธานบริษัท ไทยเซ็นทรัลเคมี จำกัด (มหาชน) ผู้เป็นน้องชายของเกษม จาติกวณิช อดีตผู้ว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ผู้ที่ยังคงอยู่ ในแวดวงของอุตสาหกรรมไฟฟ้า

พี่ชายคนเดียวของอนุตรคือ กรณ์ คนเดียวกับผู้ก่อตั้งบล.เจ เอฟ ธนาคม และดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการของบริษัทดังกล่าว ดูเหมือนว่าการทำ งานของสองพี่น้องจะแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง หนุ่มไฟแรงสูงคนนี้จากแผ่นดินไทยไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษตั้ง แต่ชั้นประถมศึกษาจนกระทั่งจบชั้นมัธยม จากนั้นย้ายไปศึกษาต่อปริญญา ตรีทางด้าน Material Science and Engineering ณ มหาวิทยาลัยลีห์ฮาย มลรัฐเพนซิลเวเนีย สหรัฐอเมริกา และ เริ่มต้นชีวิตการทำงานครั้งแรกกับบริษัท CS First Boston (สิงคโปร์) (ในช่วงปี 2535-2537) ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (EGAT) และบริษัท ผลิต ไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) (EGCO) ในโครงการแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่ครอบ คลุมถึงการขายทรัพย์สินของโรงไฟฟ้า ระยองและโรงไฟฟ้าขนอมของ EGAT ให้แก่ EGCO รวมไปถึงการเจรจาการ ซื้อขายไฟฟ้า การโอนย้ายทรัพย์สิน การคิดคำนวณค่าไฟฟ้า การบริหารความเสี่ยง และการศึกษาความเป็นไป ได้ของโครงการ โดยเขาเป็นหนึ่งในทีมงานของที่ปรึกษาโครงการดังกล่าว เพียงแค่งานแรกของเขาก็มีความ เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมไฟฟ้าแล้วต่อ จากนั้น เขาได้โดดเข้ามาทำงานในอุต-สาหกรรมไฟฟ้าอย่างเต็มตัว หลังจากที่รัฐบาลมีนโยบายเปิดทางให้เอกชนเข้า ไปมีส่วนร่วมในการผลิตไฟฟ้าป้อนให้แก่ EGAT แบ่งเป็นโครงการผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายเล็ก (SPP) และโครงการผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนอิสระ (IPP) โดยเข้า ร่วมงานกับบริษัท เหมราช จำกัด (มหาชน) ของสวัสดิ์ หอรุ่งเรือง เพื่อพัฒนาบริษัท พลังงานอุตสาหกรรม หรือ IP ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด

อนุตรมีความสนใจในเรื่องของการทำธุรกิจด้านพลังงานไฟฟ้าเป็นอย่างมาก ประกอบกับมีประสบการณ์จากการเข้าไปมีส่วนร่วมในการแปรรูป รัฐวิสาหกิจของการไฟฟ้าฯในครั้งนั้น ทำ ให้เขาได้รับความไว้วางใจจากคณะกรรมการของบริษัท เหมราช ให้เป็นกรรมการ ผู้จัดการ ที่มีหน้าที่กำกับดูแล การดำเนิน งานของ IP นอกจากนั้น เขายังมีตำแหน่งควบ อีก 3 ตำแหน่งคือ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอชเพาเวอร์ จำกัด, กรรมการผู้จัดการบริษัท บ่อวิน เพาเวอร์ จำกัด ซึ่งเขาเป็นผู้เข้าร่วมประมูลโครงการนี้ และได้รับการคัดเลือกจากการไฟฟ้าฯ ให้เป็นผู้ดำเนินการโครงการดังกล่าว รวมทั้งตำแหน่งกรรมการและผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการบริษัท เหมราชพัฒนา ที่ดิน จำกัด (มหาชน)

เพียงระยะเวลา 5 ปี เขามีโอกาส ได้สวมหมวกถึง 4 ใบ ในหน้าที่รับผิดชอบที่ดูเหมือนจะเกินตัว แต่ไม่เกินความสามารถ นับได้ว่าเป็นเรื่องที่น่าทึ่งสำหรับคนวัยเพียง 33 อย่างเขา ซึ่ง หลายๆ คนอาจจะเพียงแค่เริ่มต้นเท่า นั้นเอง

ภารกิจเร่งด่วนของ "H-Power" ที่อนุตรรีบสะสางให้เสร็จสิ้นมีอยู่ 4 เรื่องด้วยกัน อันดับแรกคือ เพิ่มประสิทธิภาพ และความไว้วางใจให้สูงสุดแก่บริษัทพลังงานอุตสาหกรรม หรือ Industrial Power (IP) ซึ่งปัจจุบันมีกำลังการผลิต ไฟฟ้าอยู่ที่ 120 MW โดยอนุตรได้ก่อตั้งบริษัท Operation Power Ser vices (OPS) ขึ้นมาเพื่อดูแลรักษาเครื่องจักรและกลไกการทำงานของโรงไฟฟ้าให้สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง "เราต้องทำงานหนักอย่างต่อเนื่อง เพื่อจะได้เป็นผู้นำในอุตสาหกรรมนี้"

เรื่องที่ 2 คือ การพัฒนาโครงการ โรงไฟฟ้าบ่อวิน ซึ่งอยู่ในระหว่างกระบวนการการหาเงินกู้ "จากสถานการณ์ เศรษฐกิจในปัจจุบัน ทำให้เราหาเงินได้ ยากมาก ซึ่งเราต้องการความสนับสนุน ของสถาบันการเงินภาครัฐในการจัดหา เงินกู้และค้ำประกันโครงการของเราใน ลักษณะ Project Finance" นั่นคือสิ่งที่เขาต้องการความร่วมมือจากภาครัฐ แต่กระนั้น เขาไม่ได้กังวลใจมากนักเกี่ยวกับการหาเงินของโครงการนี้ เนื่อง จากเขามั่นใจว่าโรงไฟฟ้าบ่อวิน เป็นโครงการที่ดีและไม่มีปัญหาในเรื่องของสิ่งแวดล้อมเข้ามาเกี่ยวข้อง รวมทั้งเขาเชื่อมั่นว่าผู้ถือหุ้นของโครงการนี้ อันประกอบด้วยเหมราช และ Tractebel ที่ถือผ่าน H-Power จะต้องทำทุกอย่าง เพื่อทำให้โครงการนี้สำเร็จ ซึ่งเขาคาดว่าจะหาเงินกู้ได้ครบภายในปีนี้ และจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างทันที

เรื่องที่ 3 คือ การเข้าไปซื้อกิจการ ของโรงไฟฟ้าอื่นทั้งที่สร้างเสร็จสมบูรณ์ แล้ว รวมทั้งที่กำลังใกล้จะเสร็จ "ผมเชื่อว่า ในอนาคตบรรดาบริษัทต่างๆใน อุตสาหกรรมไฟฟ้าที่อ่อนแอของไทยจะต้องมีการรวมกิจการกัน" ในขณะที่เขายืนยันความแข็งแกร่งของบริษัท H-POWER ว่ายังคงความแข็งแกร่งและความได้เปรียบไว้ได้อย่างแน่นอน และเรื่องสุดท้าย บริษัทฯได้ลงทุน ในการดำเนินการผลิตน้ำที่ปราศจาก แร่ธาตุ (Demineralized water) หรือน้ำดิบที่ใช้ในโรงงานอุต-สาหกรรม โดยก่อตั้งบริษัท Industrial Water Supply ขึ้นที่มาบตาพุด ซึ่งคาดว่าจะเริ่มผลิตได้ประมาณไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ โดยน้ำดิบที่ผลิตได้จะนำมาใช้เองและจำหน่าย แก่โรงงานอื่นในและนอกนิคมฯ ด้วย สำหรับมุมมองของชายหนุ่มผู้นี้ต่ออนาคตของผู้ผลิตไฟฟ้าอิสระเขามีความเห็นว่า ปัจจุบันความต้องการไฟฟ้าลดลงอย่างมาก ในขณะที่ EGAT มีโครงการโรงไฟฟ้าราชบุรี ซึ่งเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่กำลังอยู่ระหว่าง การก่อสร้าง รวมทั้งยังมีไฟฟ้าที่ EGAT ทำสัญญาซื้อขายจากโรงไฟฟ้า IPP อีก ด้วย ซึ่งหากโครงการ IPP ทุกรายเสร็จสมบูรณ์ ก็จะมีพลังงานไฟฟ้าล้นเกินความต้องการไปอีก 4-5 ปีข้าง หน้า ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีโรงไฟฟ้าใหม่ๆ เกิดขึ้นในระหว่างนั้น แต่อย่างไรก็ตาม หากมีโครงการ IPP บางโครงการไม่สำเร็จ หรือเศรษฐกิจอาจจะฟื้นตัวเร็ว กว่าที่คิด อาจจำเป็นที่จะต้องมีโครงการใหม่ๆ เกิดขึ้นในอีก 2-3 ปีข้างหน้า

ธุรกิจไฟฟ้าเป็นธุรกิจที่ต้องใช้เงินลงทุนมาก และต้องใช้เวลาในการพัฒนาเป็นเวลานานกว่าจะได้ทุนคืน ดังนั้นโอกาสการเกิดโครงการใหม่ๆ อาจจะทอด เวลายาวออกไปอีก 2-3 ปีข้างหน้า ซึ่งอนุตรคิดว่าเป็นผลดีต่อ H-Power ในการที่จะทำให้บริษัทบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้และเท่าที่ผ่านมา ได้พิสูจน์แล้วว่า "บริษัทที่จะอยู่รอดในอุตสาหกรรมนี้ได้จะต้องมีความรู้และเข้าใจอย่างแท้ จริงในอุตสาหกรรมนี้ รวมทั้งต้องมีความแข็งแกร่งทางด้านการเงินด้วย ส่วนบริษัทที่แห่เข้ามาทำอุตสาหกรรมนี้เพราะแฟชั่นกำลังได้รับบทเรียนว่าไม่สามารถอยู่รอดได้ ท้ายสุดต้องขายกิจการให้แก่บริษัทที่มีความแข็งแกร่งทั้งทางด้านเทคนิคและการเงินมากกว่าไป"

ถนนสายนี้ของอนุตรยังอีกยาวไกล ฝันที่เขาต้องการเห็นคือ "การที่บริษัทของเขาเป็นผู้นำในการผลิตไฟฟ้า เอกชนที่ดีที่สุดในประเทศ" เป็นหน้าที่ ของเราที่จะต้องเฝ้ามองว่า เขาจะทำสำเร็จหรือไม่... เรื่องราวการบริหารธุรกิจโรงไฟฟ้าของอนุตร จาติกวณิช เคยตีพิมพ์ใน"ผู้จัดการ" ฉบับ 187 เมษ. 2542

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us