"เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจว่าจะมีการเติบโตต่อไปอย่าง มั่นคงในภูมิภาคนี้
จำเป็นที่จะต้องมีการดำเนินการในเรื่องของเขตการค้าเสรีอาเซียน หรืออาฟตาให้เรียบร้อย
ซึ่งผมหวังว่า รัฐบาลไทยจะเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จลุล่วงได้ในอนาคตอันใกล้นี้
พิธีวางศิลาฤกษ์หรือ "พิธีวางหิน" "Stone laying ceremony" โรงงานผลิตรถยนต์บีเอ็มดับเบิลยู
หรือ บริษัท บีเอ็มดับเบิลยู แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) ณ นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้
จังหวัดระยอง เมื่อปลายเดือนพฤษภาคม 2542 ซึ่งพิธีในวันนี้ ถือเป็นก้าวสำคัญที่แสดงให้เห็นการทำ
งานของบีเอ็มดับเบิลยูที่มีอย่างต่อเนื่อง และเป็นการยืนยันว่า การก่อสร้างโรงงานประกอบรถยนต์บีเอ็มดับเบิลยู
ได้เริ่มขึ้นแล้ว และภาพที่เห็นในวันนั้น คือ ฝรั่งหัวแดงกับพิธีโบราณของไทยช่างเป็นภาพที่แปลกตายิ่ง
เนื่องจากโรงงานนี้ถือว่าเป็นโรงงานต่างด้าวที่มีชาวต่างชาติถือหุ้น 100%
จึงไม่จำ เป็นต้องทำพิธีดังกล่าวก็ได้ แต่เพื่อเป็น การให้เกียรติแก่เจ้าของบ้าน
จึงได้ปฏิบัติตามประเพณีดั้งเดิม ที่คนไทยปฏิบัติต่อเนื่องมาช้านาน
พิธีเริ่มประมาณ 11.00 น. แตกต่างจากคนไทยที่ส่วนใหญ่จะทำพิธีกันตั้งแต่เช้าตรู่
อาจเป็นเพราะให้เวลากับบรรดาผู้บริหารของบีเอ็มฯที่เพิ่งเดิน ทางมาถึงประเทศไทยในกลางดึกของคืนก่อนงานเท่านั้น
ระหว่างที่พราหมณ์ ผู้นำทำพิธีเริ่มบทสวดอัญเชิญเทวดา แขกผู้มาร่วมงานทั้งฝรั่งทั้งไทยต่างพยายามทำใจให้สงบเพื่อเพิ่มความขลังให้แก่พิธี
"ผมรู้สึกตื่นเต้นเป็นพิเศษกับงาน พิธีในวันนี้ เพราะนอกจากจะเป็นครั้งแรกที่ผมเดินทางมาประเทศไทยในฐานะของกรรมการบริหารบีเอ็มดับเบิลยู
เอจีแล้ว โรงงานแห่งนี้ยังเป็นโรงงานแห่งแรก ของเราในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่กลุ่มบริษัทบีเอ็มดับเบิลยูถือหุ้นเต็ม
100% นอกจากนั้น การก่อตั้งโรงงานบีเอ็มดับ เบิลยูในประเทศไทยยังถือเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์และแผนการทางธุรกิจ
ของเราที่มีต่อภูมิภาคนี้ในอนาคต อีกด้วย" เป็นคำกล่าวของดร.ฮอยส์ เทลส์
เช็ค กรรมการบริหารบีเอ็มดับเบิลยู เอจี ฝ่ายเศรษฐกิจและกิจการรัฐบาล ที่คาดหวังว่าประเทศไทย
จะเป็นฐานการ ผลิตรถยนต์เพื่อส่งออกไปจำหน่ายยังภูมิภาคนี้ พร้อมกันนั้น
ดร.เทลส์เช็คได้กล่าวฝากต่อไปยังรัฐบาลไทยอีกด้วยว่า
"ประเทศไทยน่าจะเป็นประเทศแรกที่ส่งสัญญาณบ่งบอกถึงการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างแท้จริง
ซึ่งเห็นได้ชัดจากตัวเลขจีดีพีที่ดีกว่าที่คาด การณ์ไว้ และอัตราเงินเฟ้อที่ลดลง
และ เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจว่าจะมีการเติบโตต่อไปอย่างมั่นคงในภูมิภาค
นี้ จำเป็นที่จะต้องมีการดำเนินการในเรื่องของเขตการค้าเสรีอาเซียน หรืออาฟตาให้เรียบร้อย
ซึ่งผมหวังว่า รัฐบาลไทยจะเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จลุล่วงได้ในอนาคตอันใกล้นี้
เพราะหากไม่เป็นเช่นนั้นแล้ว จะเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ ที่กลุ่มบีเอ็มดับเบิลยู
จะบรรลุเป้าหมายทางการส่งออกในภูมิภาคนี้ ดังเป้าหมายที่วางไว้"
นับตั้งแต่มีการเซ็นสัญญาเข้ามาลงทุนในประเทศไทย บีเอ็มดับเบิลยูมี เป้าหมายในการดำเนินธุรกิจอย่างชัดเจนและมีการดำเนินการเป็นขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง
เป็นรูปธรรมมาตลอด ในขณะ ที่บริษัท เดมเลอร์-ไครสเลอร์ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งบริษัทที่ประกาศตัวเข้ามาดำเนิน
ธุรกิจในเมืองไทยเอง แต่จนวันนี้เรายัง ไม่เห็นรูปธรรมที่ชัดเจนของเมอร์เซเดส-เบนซ์
(ประเทศไทย) เลย
(โปรดอ่าน "ผู้จัดการ" ฉบับที่ 186 มีนาคม 2542 โดยมีเนื้อหาครอบคลุมตั้งแต่ภาพรวมอุตสาหกรรมยานยนต์โลกที่มีแนวโน้มที่จะควบรวมกิจการกัน
ไปจนถึงสองบริษัทยักษ์ใหญ่ค่ายยุโรปคือ บีเอ็มดับเบิลยู เอจี และเดมเลอร์-ไครสเลอร์ที่เข้ามาฮุบกิจการในเมืองไทย
เองชนิดเต็ม 100% ประกอบด้วย)