Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2542
ฝรั่งรุกเข้าการเกษตรไทยแล้ว             
โดย วิรัตน์ แสงทองคำ
 


   
search resources

Agriculture




ความฝันของคนไทยในการสร้างอุตสาหกรรมเกษตรเพื่อการส่งออกมีมานานแล้ว ความพยายามก็มีมานานเช่นเดียวกัน ความเชื่อมั่นว่า ไทยเป็นสังคมเกษตร มีความรู้การเกษตรที่พร้อมจะก้าวสู่อุตสาหกรรมเกษตรสร้างมูลค่าเพิ่มต่อเนื่อง ก็มีมานานแล้ว ความเชื่อมั่น อุตสาห-กรรมเกษตรนี่ล่ะ คือทางออกและจุดแข็งทางเศรษฐกิจของไทยเมื่อเปรียบกับสังคมธุรกิจโลกมีมานานแล้ว และดูเหมือนจะมากขึ้นในยุคทบทวนตัวเองครั้งใหญ่ ปัจจุบัน

ความเชื่อมั่น และความฝันจะมากขึ้นเพียงใด ก็ตาม แต่ความจริงก็คือ คนไทยหลายรายประสบความล้มเหลวอย่างไม่เป็นท่า กับโครงการที่ว่านี้

กรณีล่าสุด สำราญ กัลยาณรุจ และ SAICO เป็นบทเรียนที่ควรจดจำ อย่างยิ่ง ยิ่งไปกว่านั้น ความล้มเหลวของSAICO ได้สร้างปรากฏการณ์ใหม่ อันทำลายความเชื่อมั่นด้งเดิมของเราก็คือ ฝรั่งกำลังเข้ามามิเพียงเป็นเจ้าของและ บริหารโรงงานอุตสาหกรรมเกษตร เท่านั้น พวกเขาจะเข้ามาสู่หัวใจของสังคมไทย ก็คือทำการเกษตร แข่งขันกับคนไทยด้วย

ผมไม่คิดว่าการ "ด่า" ฝรั่งจะมีประโยชน์ต่อการพัฒนาศักยภาพและประสิทธิภาพในการทำการเกษตร หรืออุตสาหกรรมเกษตร เพื่อให้มีความสามารถในการแข่งขันในระดับโลก แต่อย่างใด

การศึกษาความล้มเหลวของเรา และพยายามเรียนรู้ "ความรู้" ของฝรั่ง ความรู้ที่พวกเขาปรับเข้ากับ "ท้องถิ่น"ในโลกที่พวกเขาต้องการเข้าไปมีอิทธิพลได้เสมอๆ เป็นสิ่งที่ควรทำมากกว่า

SAICO เป็นชื่อย่อเรียกกันในตลาดหุ้น แต่ชื่อจริง ให้ความหมายชัดเจนในธุรกิจและก็ปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ เดิมชื่อ บริษัทสยามอุตสาหกรรม-การเกษตร(สับปะรด) จำกัด ต่อมาเปลี่ยนเป็นบริษัท สยามอุตสาหกรรมการเกษตร สับปะรดและอื่นๆ จำกัด เมื่อพยายามผลิตสินค้าอื่นๆ นอกจากสัปรดกระป่อง

SAICO ก่อตั้งในปี 2521 ภายใต้สถานการณ์ที่ผู้ก่อตั้งและเจ้าของแน่ใจในความเป็นไปได้ทางธุรกิจนี้พอสม ควร เมื่อเห็นความสำเร็จของอุตสาหกรรมชนิดเดียวกันในสังคมไทยมาแล้ว

สำราญ กัลยาณรุจ เป็นนักกฎ หมายอาวุโส มีความเชี่ยวชาญในเรื่องกฎหมายธุรกิจมากที่สุดคนหนึ่ง เขามีส่วนสำคัญในการบริหารธนาคารกสิกรไทยของตระกูลล่ำซำ ไปสู่ความสำเร็จ ตั้งแต่ยุคก่อนบัญชา ล่ำซำ ต่อเนื่องมา โดยเฉพาะเขาจะดูแลข้อกฎหมายในช่วงตระกูลล่ำซำ และธนาคารกสิกรไทย พัฒนากิจการร่วมทุนอย่างมากมายในช่วง 2503-2513 อันเป็นช่วงการส่งเสริมให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศไทย

ล่ำซำและกสิกรไทย "เอาการเอา งาน" มากที่สุดรายหนึ่ง ในการร่วมทุนกับต่างประเทศ โดยเฉพาะในโลกตะวันตก

ขณะเดียวกันสำราญ ในฐานะกรรมการธนาคารกสิกรไทยด้วย เขาก็เห็นการลงทุนส่วนตัวของกรรมการบางคน ในอุตสาหกรรมการเกษตร ซึ่งธนาคารแห่งนี้ให้การส่งเสริมมากเป็นพิเศษในช่วงนั้น ประสบความสำเร็จมา ก่อนหน้านั้นแล้วอย่างดี

โดยเฉพาะบรรยงค์ ล่ำซำ ร่วมทุนกับ DOLE แห่งสหรัฐฯ ในการผลิต สับปะรดกระป๋องส่งออกเริ่มมาตั้งแต่ปี 2509

ขณะเดียวกัน อุตสาหกรรมสับปะรดกระป๋อง นั่น เริ่มรุ่งเรืองมาก่อนแล้ว เช่น ความสำเร็จของพิพัฒน์ ตันติพิพัฒนพงศ์ ในการร่วมทุนกับMITSUBISHI มาก่อนตั้งแต่ปี 2505

สำราญ กัลยาณรุจ กว้านซื้อที่ ดินในจังหวัดระยองกว่า 3,000 ไร่ โดย ได้รับความช่วยเหลือทางเทคนิคการ ผลิตจากไต้หวัน โรงงานของเขาตั้งขึ้น ดูเหมือนจะไปได้ดีเพราะได้รับสิทธิพิเศษ ทางภาษีอย่างมากมายจากบีโอไอ

ความจริงก็คือนักกฎหมายธุรกิจ อาจเป็นคนละคนกับนักบริหารธุรกิจ แม้ว่าธุรกิจนั้นจะถูกปลูกฝังว่าเป็นสิ่งง่ายที่สุด เพราะเป็นภูมิปัญญาของสังคมไทยก็ตาม

แล้วปัญหาก็เกิดขึ้นตั้งแต่วันแรก อันเนื่องมาจาก SAICO ไม่สามารถควบ คุมกำลังการผลิต คุณภาพ ที่มาจากชาวไร่ในเครือข่ายได้เลย กิจการขาดทุนอย่างต่อเนื่อง ทั้งๆที่สินค้านี้มีความ ต้องการจากตลาดต่างประเทศค่อนข้างสูงตลอดมาจากที่ สำราญ มีความสัมพันธ์ดีกับนักลงทุนต่างประเทศ แต่ขณะเดียวกัน ก็มีปัญหา "หญ้าปากคอก" ก็คือไม่มีความสามารถในการจัดการการผลิต อย่างมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่การปลูก ควบคุมคุณภาพสับ-ปะรด ปริมาณที่มากพอ

ปัญหาพื้นฐาน ล้วนเกิดจากโครงสร้างการผลิตทางการเกษตรของเราจริงๆ และต้องยอมรับว่า ความล้มเหลวทำนองนี้ กรณี SAICO มิใช่กรณีแรก

ปัญหานี้ดำรงมาตั้งแต่วันแรก ที่ก่อตั้ง SAICO มาจนถึงนาทีสุดท้าย วันที่สำราญ กัลญาณรุจ ตัดสินใจขายกิจการให้ต่างชาติไป พร้อมกับตนเองก็เข้าไปนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาลสมิติเวช

Del Monte Group เป็นบริษัทที่ผลิตผลไม้กระป๋องใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในโลก ภายใต้ยี่ห้อ "Del Monte" โดยเน้นการผลิตสับปะรด และผลไม้ตามฤดูกาลบริษัทมีโรงงานผลิตทั้งที่ฟิลิปปินส์และเคนยา

สินค้าชื่อ "Del Monte" เกิดขึ้นเมื่อ 100 กว่าปี และเมื่อ 100 ปีก่อน กิจการนี้ก็รวมตัวกับโรงงานผลิตผลไม้กระป๋องในแคลิฟอร์เนีย 17 โรงกลาย เป็นผู้ผลิตผลไม้กระป๋องรายใหญ่ที่สุดในโลก

ปี 2469 ขยายธุรกิจไปถึงฟิลิปปินส์ ความสำเร็จของฟิลิปปินส์กลายเป็นโมเดลของการขยายตัวสู่ตลาดนอกสหรัฐฯ ตามแนวทางใหม่ในปัจจุบัน ทั้งๆ ที่กิจการมีปัญหามาก มายในสหรัฐฯ

กิจการนี้ประสบวิกฤติจากความตกต่ำทางเศรษฐกิจทั่วโลกในช่วงปี2474 แต่กระเตื้องขึ้นสลับกันไปมา ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เนื่องจากเป็นสินค้าผลิตป้อนกองทัพ

จากนั้น ก็ผ่านการเปลี่ยนมือเจ้าของด้วยการซื้อกิจการในเกมของการ M&A ในสหรัฐฯ หลายครั้งหลายหนในยุคสมัย แต่สิ่งหนึ่งที่ยังอยู่ก็คือ Brandname "Del Monte" ซึ่งกลายเป็นชื่อบริษัทมาตั้งแต่ปี 2510

ล่าสุดในปี 2540 ผู้ซื้อกิจการรายล่าสุดได้หา CEO คนใหม่ซึ่งมีความรู้ความชำนาญในธุรกิจนี้อย่างดี Richard Wolford, former president Dole Packaged Foods, ซึ่งก็อาจเป็นไปได้ว่าการมาของคนคนนี้ ธนาคารกสิกรไทย เจ้าหนี้รายใหญ่รายเดียว ซึ่งมีความสัมพันธ์ที่ดีกับDOLE มายาวนาน จึงสามารถจัด การปรับโครงสร้างหนี้สินของ SAICO ได้สำเร็จ พร้อมกับหาผู้ร่วมทุนมาใหม่ ทั้งๆ ก่อนหน้านั้น เหตุการณ์ยืดเยื้อ มานานเหลือเกิน

SAICO ขาดทุนอย่างต่อเนื่องตั้งแต่วันแรกจนมาถึงปี 2530-31 ก็มีกำไร ขึ้นอย่างประหลาด ในช่วงก่อนเข้าตลาด หุ้นในปี 2532 จากนั้นมา SAICO ก็ขาดทุนต่อเนื่องอีกเป็นนิจศีล แต่การเข้าตลาดหุ้นก็คงช่วยอะไรไม่ได้มาก

SAICO ผลิตสินค้าส่งออกภายใต้เครื่องหมายการค้าของผู้สั่งซื้อต่างประเทศทั้งสิ้นสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้า "SAICO" ไม่มีความหมายแต่อย่างใด โรงงานก็เป็นเครื่องจักรค่อนข้างเก่าซึ่งไม่ได้รับการพัฒนาเท่าทีควร สิ่งที่มีค่าค่อนข้างมากของบริษัท นี้ก็ คือที่ดิน

ที่ดินส่วนใหญ่หรือทั้งหมดมีประมาณ 3,300 ไร่ในจังหวัดระยอง ปัจจุบันขายให้ธนาคารกสิกรไทยไปหมดแล้วในราคาประมาณ 500 ล้านบาท (ทั้งๆ ที่ก่อนหน้าพยายามเสนอขายรายอื่นๆ ในราคากว่า 1,000 ล้าน บาท) เมื่อเดือนเมษายน 2542 เพื่อเป็นการหักลบกลบหนี้จำนวนหนึ่ง ในกระบวนการปรับโครงสร้างหนี้มีเงินต้น 1,015 ล้านบาท แล้วธนาคาร กสิกรไทยก็ให้ SAICO เช่าที่ดินนี้ต่อ โดยกำหนดเงื่อนไขสามารถซื้อคืนได้ภาย ใน 5 ปี

เมื่อ Del Monte เข้ามาถือหุ้นใหญ่ก็เข้าครอบครองพื้นที่เช่ากว่า3,000 ไร่ในการทำการเกษตรเพื่อตอบสนองโรงงานผลิตผลไม้กระป๋องต่อไป

จากนี้ไปการเกษตรไทยจึงเริ่มศักราชใหม่ด้วย "ฝรั่ง" เข้ามาร่วมวงไพบูลย์ด้วย

ความรู้ในการจัดการการเกษตรสมัยใหม่ ภายใต้พื้นที่ของตนเอง และเครือข่าย การพัฒนาพันธุ์ การควบคุมการผลิตให้สม่ำเสมอ การจัดการเพื่อต่อสู้กับธรรมชาติ ซึ่งครอบงำการผลิตเกษตรไทยตลอดมา เหล่านี้คือ "ความรู้" ของ "ฝรั่ง" ที่น่าติดตามอย่างยิ่ง

ในแต่ละปี สังคมไทยบริโภคผลผลิตจากต่างประเทศไม่น้อยเลย น่าประหลาดอย่างยิ่งผลไม้เหล่านั้น เคยราคาแพงลิ่วในอดีต แต่กลับถูกลงอย่างมาก ถูกมากกว่าผลไม้ไทยหลายชนิดในปัจจุบัน เป็นสินค้าที่มีขายตลอดปี คุณภาพสม่ำเสมอ การหีบห่อ จัดส่งอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ผลไม้ต่างประเทศเหล่านี้ ถูกวางตลาดในเมืองไทยอย่างทั่วถึง แม้แต่แผงตลาด สดเล็กๆ ในต่างจังหวัด ในขณะที่ผลไม้ไทยบางชนิดไปไม่ถึง

ผลไม้ต่างประเทศเหล่านี้ ก็มีเครื่องหมายการค้า "Del Monte" รวมอยู่ด้วยแล้ว ก่อนที่พวกเขาจะเข้ามายึด SAICO เสียอีก

นี่คือปรากฏการณ์ใหม่ในรากฐานของสังคมเศรษฐกิจไทย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us