Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2543
มิติของเวลาและระยะทาง             
 

   
related stories

e-banking ไร้ขีดจำกัด ธ.ไทยพาณิชย์
รากฐานไอที ที่มาของอินเทอร์เน็ตแบงกิ้ง
การเรียนรู้ของ ธนาคารไทยพาณิชย์
บีทูบี ทุกอย่างต้องเรียลไทม์

   
search resources

ธนาคารไทยพาณิชย์, บมจ.




สิ่งที่อินเทอร์เน็ตตอบสนองได้มากที่สุด ก็คือ เรื่องของเวลา และระยะทาง ที่ทำให้ธนาคาร ไม่มีข้อจำกัดในการนำเสนอสินค้า และบริการถึงมือลูกค้า

อีซี่แบงก์ ก็คือ อีกคำตอบหนึ่งของบริการหนึ่ง ที่จะตอบสนองในเรื่องเหล่านี้ กับการที่ลูกค้า จะไม่ต้องมา ที่สาขาของธนาคาร ที่อยู่ใกล้ที่สุดอีกต่อไป แต่บริการของธนาคารจะไปเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิต อยู่ในชีวิต นี่คือ คอนเซ็ปต์ของอีซี่แบงก์ในความหมายของวิชิต

"เป็นเรื่องของมิติระยะทาง คือ ไปอยู่นอกแบงก์ เป็นส่วนหนึ่ง ที่จะกลมกลืนเข้ากับวิถีชีวิตของผู้คน อยู่ใกล้กับลูกค้า ให้เขาใช้ได้สะดวกสบาย"

อีซี่แบงกิ้งนี้ จะรวมเอาบริการทางธนาคาร ผ่านทางตู้บริการ ฝากถอนเงิน โอนเงิน การซื้อประกันชีวิต เทเลโฟนแบงกิ้ง อินเทอร์เน็ตแบงกิ้ง เรียกว่า เป็นบริการนอกสถานที่ ที่ให้ลูกค้าใช้บริการด้วยตัวเอง ไม่ต้องไปธนาคาร

วิธีคิดของการเกิดบริการอีซี่แบงก์ ไม่แตกต่างไปจากอินเทอร์เน็ตแบงกิ้ง บริการธนาคารทางโทรศัพท์ (Telephone Banking) หรือแม้แต่เอทีเอ็ม

เกือบ 20 ปีที่แล้วธนาคารไทยพาณิชย์ ก็เคยประสบความสำเร็จมาแล้ว จากการนำเอทีเอ็มมาเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้งานของลูกค้า ให้หันมาใช้บริการด้วยตัวเอง แทน ที่จะเป็นการใช้บริการหน้าเคาน์เตอร์ ถึงแม้ทุกวันนี้เอทีเอ็มจะกลายเป็นส่วนหนึ่งในวิถีชีวิตประจำวันของผู้คนไปแล้ว จากการที่พวกเขาได้เรียนรู้ถึงความสะดวกของเครื่องเอทีเอ็ม ที่สามารถตอบสนองความต้องการได้ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่ต้องรอเวลาปิดเปิดของธนาคาร ที่ยังมี วันหยุดเสาร์ และอาทิตย์รวมอยู่ด้วย

แต่ถึงแม้ว่าเอทีเอ็มจะเป็นเครื่องสะท้อนความสำเร็จของการปฏิวัติในเรื่องของการให้บริการ แต่เอาเข้าจริงแล้ว เอทีเอ็มยังสามารถตอบสนองการใช้งานได้แค่บางส่วนเท่านั้น ลูกค้าพอใจ ที่ใช้แค่เพียงการถอนเงินออกจากตู้เอทีเอ็มเท่านั้น ทั้ง ที่ขีดความสามารถของเครื่องเอทีเอ็ม กลับทำมากกว่านั้น ตั้งแต่การฝาก และโอนเงิน

เมื่อคนส่วนใหญ่เริ่มเรียนรู้ และไว้ใจจะใช้บริการด้วยตัวเอง จากการกดปุ่มไม่กี่ปุ่มบนหน้าเครื่องเอทีเอ็ม สิ่งที่ธนาคารต้องทำต่อจากนี้ ก็คือ การดึงดูดให้ลูกค้าหันไปใช้ครื่องเอทีเอ็มแทนบริการหน้าเคาน์เตอร์ สิ่งที่ธนาคารต้องทำอย่างหนัก ก็คือ การผลักดันให้ลูกค้าใช้บริการเอทีเอ็ม สำหรับการฝากเงิน โอนเงิน ทำการชำระค่าโทรศัพท์ เพจเจอร์ อินเทอร์เน็ต แม้แต่การซื้อประกันภัย

นอกจากนี้ ธนาคารยังต้องสร้างทางเลือกใหม่ๆ ให้กับลูกค้ายังมีทางเลือก ที่จะใช้การบริการตนเอง ไม่ใช่แค่จากเครื่อง เอทีเอ็มเท่านั้น แต่ธนาคารยังรวมเอา "รูปแบบบริการตนเอง" อื่นๆ อย่างเทเลแบงกิ้ง อินเทอร์เน็ตแบงกิ้ง เข้ามารวมอยู่ในจุดบริการ อีซี่แบงกิ้ง

เมื่อลูกค้าเกิดข้อสงสัยในการใช้บริการ จะสามารถถามปัญหาได้จากวิดีโอวงจรปิด

จุดบริการของธนาคารในเวลานี้ แทน ที่จะอยู่แต่เฉพาะสาขา บริการของธนาคารจะออกไปหาลูกค้า อยู่ตามห้างสรรพสินค้า ไปเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิต เป็นจุดบริการในรูปแบบของเครื่อง kios ที่จะไปติดตั้งตามห้างสรรพสินค้า แหล่งชุมชน อีซี่แบงก์แห่งแรกจะตั้งอยู่ ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

แน่นอนว่า ประโยชน์ ที่ธนาคารจะได้รับจากการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ก็คือ บริการที่สะดวกขึ้น ไม่มีเงื่อนไขของระยะทาง หรือ เวลาปิดเปิดทำการของธนาคาร แต่หมายถึงต้นทุนของธนาคาร ที่จะประหยัดลงได้อย่างมหาศาล จากบริการใหม่ๆ เหล่านี้ บทบาทของเทคโนโลยีของอินเทอร์เน็ต ที่จะทำให้บริการเหล่านี้เกิดขึ้นได้จริง และถูกกว่า ที่แล้วมาไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเอทีเอ็ม หรือ เทเลโฟนแบงกิ้ง

ความหมายของการที่ต้องให้บริการแก่ลูกค้า ทุก ที่ทุกเวลา ยังรวมไปถึงการที่ธนาคารต้องมี portal web เว็บท่าทางด้านการเงิน (financial portal) ที่จะรวมเอาเว็บ ที่ให้บริการทางการเงิน ไม่ว่าจะเป็นของธนาคารไทยพาณิชย์เอง หรือ เว็บการเงินของธนาคารอื่นๆ รวมอยู่ในเว็บท่าแห่งนี้

"ในอนาคต ลูกค้าจะคาดหมายมากขึ้น เขาต้องการความสะดวก ต้องการข้อมูล เขาไม่อยากไป 10 แห่งแล้วต้องไปเลือกแต่อยากได้พร้อมกัน 10 แห่งแล้วได้อย่างที่เขาต้องการ"

ความหมายของการเป็น financial portal ของวิชิต ก็คือ เว็บนี้ ต้องมีบริการครบเครื่องทุกอย่างในเรื่องการเงิน มีบริการธนาคาร โอนเงิน ชำระเงินกู้เงินซื้อบ้าน

รวมถึงบริการเกี่ยวเนื่องกับการเงิน เช่น ซื้อขายหุ้น ซื้อหน่วยลงทุน เช่าซื้อรถยนต์ ประกันชีวิต ประกันภัย เพื่อสร้างทางเลือกให้กับเว็บท่าแห่งนี้ให้มากที่สุด และนี่ก็คือ ที่มาของ บริการซื้อขายหลักทรัพย์ หรือหน่วยลงทุน ที่จะเปิดให้บริการในเร็วๆ นี้

"สิ่งต่างเหล่านี้ จะต้องจับมารวมอยู่ในที่เดียวกัน เพื่อให้ลูกค้าคิดถึงบริการการเงินแล้ว จะเข้าไป ที่เว็บไซต์ของเรา ถ้าเรายังมีบริการของธนาคารธนาคารเดียว ถ้าเราไม่ทำเป็น portal แล้วมีคนอื่นทำ ลูกค้าก็จะไม่เข้ามา ที่เรา" วิชิตเล่า

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us