Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2542
"เรซอแนนซ์" แค่เริ่มต้นก็ใหญ่แล้ว             
 


   
search resources

เรซอแนนซ์
สมคิด ตันทัดวาณิชย์กุล
ราศรี บัวเลิศ
Crafts and Design




สมคิด ตันทัดวาณิชย์กุล เป็นคนสำคัญที่จะสานฝันของราศรี บัวเลิศ ในการบริหารเรซอแนนซ์ เซ็นเตอร์ และสินค้าไทยแบรนด์เนม เรซอ-แนนซ์ เพื่อบุกตลาดโลก ในขณะเดียวกัน เรซอแนนซ์จะมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้เธอขายพื้นที่ตึก RCK ทาวเวอร์มูลค่ากว่า 15,000ล้านบาท บนถนนสีลมนั้นได้ง่ายขึ้น

ราศรีมองเห็นโอกาส และพร้อมที่จะทุ่มเงิน แต่จะทำได้สำเร็จหรือ ไม่ อยู่ที่ฝีมือของสมคิด และ Jacqueline & Henri Boiffils สองนักออกแบบและสถาปนิกตกแต่งภายในชาวฝรั่งเศส เป็นผู้ให้ไอเดียในตัวสินค้า

งานเปิดตัวโครงการสู่ตลาดโลกครั้งแรกที่ฮ่องกง ด้วยงบประมาณที่ใช้ในวันเดียวไม่ต่ำกว่า 20 ล้านบาท เป็นการยืนยันอีกครั้งว่าคนอย่าง เธอทำอะไรเล็กๆ ไม่เป็นแน่นอน

มีคำถามเกิดขึ้นว่า ทำไม ราศรี บัวเลิศ ประธานกรรมบริหารกลุ่มแชแรนท์กรุ๊ป ผู้มีภาระใหญ่ในมือ คือการบริหาร โครงการอสังหาริมทรัพย์หลายตัวในมือ กลับมาสนใจธุรกิจสินค้าไทย เพื่อการส่งออกโดยใช้แบรนด์เนมว่า "เรซอแนนซ์" (RESONANCE) และ "เรซอแนนซ์ เซ็นเตอร์" ศูนย์สรรพสินค้าแหล่งรวมสินค้าไทย

ราศรีกำลังขายพื้นที่ตึกโรยัลทาวเวอร์เจริญกรุง (RCK) ซึ่งมีพื้นที่ทั้งหมดกว่า 300,000 ตารางเมตร มีทั้งส่วนที่เป็นพื้นที่ศูนย์การค้า ออฟฟิศ บิลดิ้ง และเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์หรู มีโครงการบ้านจัดสรรหลายโครงการที่กำลังพัฒนา มีโครงการโรงแรมที่ โรโตรัวประเทศนิวซีแลนด์ที่กำลังบริหาร

คำตอบมีง่ายๆก็เพราะว่า 1. ราศรีต้องการขายพื้นที่ตึก RCK ตึกใหญ่ที่เทกโอเวอร์ต่อมาจากอาจารย์รังสรรค์ต่อสุวรรณ ซึ่งเป็นงานหนักที่ท้าทายเธออย่างมากให้ได้เร็วที่สุด การที่มี เรซอแนนซ์ เซ็นเตอร์ ซึ่งอยู่บนโครงการ RCK เป็นจุดที่สร้างความมั่นใจให้กับลูกค้ารายอื่นๆ ที่เข้ามาซื้อพื้นที่ในโครงการเพราะมันหมายถึงว่าเมื่อเจ้า ของอาคารมีส่วนร่วมได้เสียในเรื่องผลประโยชน์ทางการค้าแล้ว ก็เชื่อมั่นว่าเขาต้องหาวิถีทางการทุ่มเทเพื่อให้กิจการนั้นประสบความสำเร็จ เช่นเดียวกับที่เดอะมอลล์ เซ็นทรัล ประสบ ความสำเร็จจากแนวความคิดนี้เช่นกัน

2. ราศรีมีเงินและเห็นช่องทางและโอกาสที่จะให้สินค้าไทยบุกตลาดโลกได้ โดยที่อาศัยช่วงจังหวะกำลังซื้อในประเทศต่ำและรัฐบาลได้มีนโยบายส่งเสริมการส่งออก ตอกย้ำความมั่นใจอีกครั้งด้วยการที่มีสถาปนิกชาวฝรั่งเศส สองคนสามีภรรยา Jacqueline&Henri Boiffils ซึ่งหลงใหลสินค้าฝีมือคนไทย และต้องการผสมผสานเอกลักษณ์ไทยและสไตล์ตะวันตกเข้าด้วยกัน เข้ามาร่วมทุนและดูแลการดีไซน์ และคัดเลือกสินค้าด้วยตัวเอง

แต่เรซอแนนซ์ จะประสบความสำเร็จได้หรือไม่ มีการกำหนดยุทธศาสตร์ในตัวสินค้า และวางยุทธวิธีทางด้านการตลาด ไว้อย่างไร สมคิด ตัน-ทัดวาณิชย์กุล เป็นผู้ที่ราศรีไว้วางใจ ให้เข้ามาบริหารศูนย์การค้า และสินค้าแบรนด์เนมใหม่นี้ ในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัทเรซอแนนซ์จำกัด

สมคิดเป็นผู้หนึ่งในวงการค้าปลีกที่มีประสบการณ์การทำงานมาจากหลายๆ ที่เช่นเคยเป็นผู้บริหารของOgilivy & Mather, Kodak Thailandและ Pepsi Cola นอกจากมาช่วย ราศรีอย่างเต็มตัวแล้ว ทุกวันนี้เขายังมีตำแหน่งกรรมการบริหารในเดอะ มอลล์ กรุ๊ป รับผิดชอบโครงการที่ได้รับมอบหมายจาก ศุภลักษณ์ อัมพุช โดยตรงเช่นงานขายพื้นที่ของเดอะ มอลล์ที่โคราช ซึ่งกำลังเร่งงานก่อสร้าง และงานขายพื้นที่เพื่อเปิดให้ทันรับปี 2000 รวมทั้งเป็นที่ปรึกษาของเดอะ มอลล์ในเรื่องขยายสาขาใหม่ด้วย และ ล่าสุดได้เข้าไปบริหารพื้นที่ขายในห้าง ดิเอ็มโพเรียม

"แรกเริ่มเราพูดกันแค่เรซอแนนซ์เซ็นเตอร์ แต่ทำไมเราไม่ทำธุรกิจห้างสรรพสินค้าแต่ออกมาในรูปของการส่งออก ด้วยนั่นคือสิ่งที่ผมคิดและคุณราศรีก็เห็นด้วย ก็คือเป็นศูนย์รวบรวมสินค้าทุกอย่างที่ผลิตโดยคนไทย ในโรงงานคนไทยที่มีฝีมือ และเราก็จัดเป็นศูนย์สรรพสินค้าเพื่อการส่งออก แต่เรามีหน้าที่คือเราต้องเลือกสั่งสินค้าที่มีคุณภาพดีที่สุด มีรูปแบบในการออกแบบไม่เหมือนใคร มีสไตล์ไม่เหมือนใคร แล้วสร้างสิ่งเหล่านี้เป็นยี่ห้อหนึ่งให้คนรู้จัก นี่คือจุดเริ่มต้นและกลยุทธ์ของเรา"

ในเมืองไทยเองขณะนี้ ร้านค้าผลิตภัณฑ์สินค้าไทยที่ดังๆ และเป็นที่นิยมแวะเวียนซื้อหาของชาวต่างชาติเช่น นารายณ์ภัณฑ์ ซึ่งจะเป็นศูนย์หัตถ- กรรมตุ๊กตาไทยเสียเป็นส่วนใหญ่ จิมทอมสัน ก็จะเน้นในเรื่องเครื่องแต่งกาย เช่นเดียวกับชินวัตรไหมไทยหรือร้านค้าในเกษรพลาซ่า โอเรียนเต็ลพลาซ่า สมคิดเอาร้านค้าเหล่านี้เป็นแบบอย่างในแนวการทำธุรกิจค้าปลีกเพราะเขารู้ว่าร้านค้าเหล่านั้น ไม่มีที่ไหนขาดทุนแต่ตัวสินค้านั้นเขาผสมผสานกันจากหลายๆที่ โดยตั้งใจจะดึงเอาจุดดีของแต่ละแห่งเข้ามา

"ผมศึกษาในเรื่องของจิมทอมสัน เพราะความเป็นจิมทอมสัน มันเป็นอมตะมากว่า 40-50 ปีแล้ว เป็นตำนานที่ฝรั่งอยากจะรู้จัก เป็นอะไรที่ต้องยกให้เขา ลูกค้าซื้อเพราะความเป็นจิมทอมสัน ไม่ได้ซื้อเพราะสินค้า นั่นคือความสำเร็จที่จิมทอมสันสร้างมา"

เรซอแนนซ์เองก็ต้องการอย่างนั้น แต่แน่นอนเขาต้องการเวลาที่เร็วกว่านั้น "ผมเชื่อว่าการเริ่มต้นทีละขั้น ค่อยๆ เก็บชื่อเสียงไป มันได้ แต่ไม่ทันกิน ความเชื่อถือจะไม่มีในยุคนี้ เราเองก็กำลังเริ่มนับ 1 แต่เราจะกระโดดข้าม ขั้นไปนับ 10 เลย" สมคิดยืนยัน

สินค้าไทยยี่ห้อนอกที่ชื่อ เรซอ-แนนซ์ ซึ่งแปลว่าจุดเริ่มต้นที่ก้อง กังวาน ยุทธวิธีทางการตลาดก็เลยยิ่งใหญ่เช่นเดียวกัน

สมคิดกำหนดไว้ว่า สิ่งที่จะได้ผลที่สุดในการบุกตลาดสินค้าใหม่ เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายคือผู้ซื้อรายใหม่ของโลกให้ได้นั้น ก็คือต้องยอมทุ่มทุนเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ และทุกงานที่เข้าร่วมต้องได้บูทในทำเลดีที่สุดเพื่อดึงดูดความสนใจของคนให้ได้มากที่สุด

เรซอแนนซ์เปิดตัวออกสู่ตลาดโลกครั้งแรกในงาน แสดงสินค้านานาชาติ "Hong Kong Gifts & House Fair 99" เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา

วันแรกวันเดียวในการเปิดงานที่ฮ่องกงนั้นสมคิดบอกว่าใช้เงินไปถึง 20 ล้านบาท รูปแบบของบูทดีไซน์ให้เป็นร้าน ร้านหนึ่งในพื้นที่ 200 ตร.ม. ที่มีของครบทุกอย่าง พร้อมๆกับแนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ออกแบบโดยBOIFFILS สิ่งที่สมคิดกำลังทำต่อไปก็คือ ให้ร้านค้าในต่างประเทศเปิดร้านค้าแบบเรซอแนนท์แล้วก็ขายสินค้าทุกอย่างครบวงจร อย่างเช่นภาพที่ได้เห็นในวันงาน รวมทั้งมีคนออกแบบร้านค้า ให้เสร็จเรียบร้อย ซึ่งถือว่าเป็นอีกทางหนึ่งในการทำส่งออกของเรซอแนนซ์ ในประเทศต่างๆ งานใหญ่อีกงานก็คือเตรียมออกงานแสดงสินค้าครั้งใหญ่ที่อเมริกาในเดือนกันยายนนี้ รวมทั้งได้มีแผนงานที่เตรียมจะขยายในลักษณะ Chain Store Duty Fee Shop รวมทั้งศูนย์การค้าอีกหลายแห่ง โดยคาดว่าจะสามารถเปิดได้ 5 สาขาได้ภายในปี 2000 นอกจากนั้นก็ยังเตรียมระบบขาย ตรงให้กับโรงแรม และอพาร์ตเมนต์ระดับหรู และร้านอาหารต่างๆ รวมทั้งแผนการขายผ่านทาง Mail Order, e-commercial และ Trading Firm

ในเมืองไทยจะมีการเปิดตัวโครงการเรซอแนนซ์เซ็นเตอร์ ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติ ประมาณเดือนสิงหาคม ซึ่ง มีกำหนดคร่าวๆ ว่าวันแรกคืองานเปิดตัว ส่วนอีก 2 วันต่อมาจะเป็นการจำหน่ายสินค้าของเรซอแนนซ์

ส่วนศูนย์การค้าเรซอแนนซ์เซ็น-เตอร์บนตึก RCK จะเปิดตัวประมาณต้นปี 2542 ซึ่งจะมีพื้นที่ประมาณ 10,000 ตร.ม. แบ่งออกเป็น 4 ชั้นด้วยกัน คือ ชั้นที่ 1 เป็นร้านค้าประเภท เพชรพลอยและอัญมณี จากในและต่างประเทศ ชั้นที่ 2 ประกอบด้วยกลุ่ม ร้านค้า Brand Name และ Exclu- sive Thailand Product ที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ทำจาก ผ้าไหม ผ้าฝ้าย และผ้าอื่นๆ รวมทั้งของที่ระลึก ส่วนชั้น 3 ซึ่งจะเป็นหัวใจที่สำคัญที่สุดเพราะเป็นดีพาร์ตเมนต์สโตร์จำหน่ายผลิตภัณฑ์และสินค้าเรซอแนนซ์ทุกประเภท ส่วนชั้น 4 จัดเป็นกลุ่มร้านค้า จำหน่ายโบราณวัตถุทุกประเทศในย่าน เอเชีย

จุดเด่นอย่างหนึ่งของ RCK ซึ่งเอื้อต่อการทำธุรกิจขายสินค้าไทยเป็นอย่างมากคือตึกนี้มีเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์หรูที่จัดให้เป็นไทม์แชริ่งถึง 700 ห้อง ซึ่งธุรกิจไทม์แชร์นี้ ราศรีได้เซ็นสัญญาร่วมมือกับบริษัทอาร์ซีไอ บริษัทไทม์แชร์รายใหญ่ของโลก ไปแล้วเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ซึ่งกลุ่มลูกค้าไทม์แชร์ส่วนใหญ่จะเป็นนักธุรกิจ และนักท่องเที่ยว ซึ่งสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในย่านถนนสีลมเองที่มีโรงแรมขนาดใหญ่ ที่มีชื่อเสียงหลายแห่งเป็นแหล่งการค้าของธุรกิจจิวเวลรีมีร้านค้าปลีกพวกแอนทีค และบริษัทนำเที่ยวต่างๆ ซึ่งก็คือคนต่างชาติที่มีกำลังซื้ออีกเช่นกัน

งานบริหารที่เรซอแนนซ์เซ็น-เตอร์นี้ สมคิดได้ มณฑิรา ลิมปนารมณ์ มือดีทางด้านการตลาดอีกคนหนึ่งมาเป็นรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ มณฑิรา มาจากห้างสรรพสินค้าโรบินสัน ล่าสุด รับผิดชอบงานที่ทอปซูเปอร์มาร์เก็ต เป็นอีกคนหนึ่งที่สมคิดย้ำว่าช่วยเขาได้มากทีเดียวกลยุทธ์ทางด้านการตลาดนั้นสมคิดกำลังรับบทบาทหนัก ส่วนกลยุทธ์ในตัวผลิตภัณฑ์ สถาปนิกสองคนสามีภรรยาจะต้องรับผิดชอบเช่นกันว่า ทุกอย่างที่เขาดีไซน์ออกมา คนที่จะสานต่อความคิดของเขานั้นจะต้องปฏิบัติได้ และได้ผลทางธุรกิจด้วย ไม่ใช่สวยอย่าง เดียวแต่ขายไม่ออก

สินค้าโดยทั่วไปที่จะเข้ามาใช้แบรนด์เนมของเรซอแนนซ์นั้นส่วนใหญ่ Jacqueline และ Henri จะเป็นผู้คัดเลือกเอง หรือดีไซน์แบบใหม่ บ้างเพื่อให้โรงงานรับไปทำ ที่ดีไซน์ใหม่หมดก็จะเป็นพวกเฟอร์นิเจอร์เช่น โต๊ะ ตู้ เตียง เป็นต้น

"คนไทยต้องเอาภูมิปัญญาชาวบ้านที่คิดแล้วฝรั่งใช้ได้ไปสู้กับเขา ไม่ใช่คิดแล้วใช้เอง แค่นั้นจบแน่ ตอนนี้ต้องแข่งอย่างเดียว คิดเอาของขายอย่างเดียวอยู่เฉยๆจะสู้จีน สู้เวียดนามและอินเดียไม่ได้ ปัจจุบันไหมอินเดียสีสวย และถูกมาก เครื่องเงินอินเดียก็สวยมากๆ เวียดนามสินค้าบางตัวพัฒนาเกินหน้าเกินคนไทยไปมาก ฟิลิปปินส์เขาจะเก่งมากเรื่องหวาย ซึ่งตอนนี้ตีไทยกระจุยไปแล้ว ตอนนี้เขาจะทำเรื่องผักตบชวา แม้การสานของเขาจะละเอียดสู้คนไทยไม่ได้ในวันนี้ก็จริง แต่แน่นอนต่อไปเขาต้องทำได้" เป็นความเห็นของอองรีที่กล่าวกับ "ผู้จัดการ" "สินค้าพื้นบ้านบางตัวได้รับเลือกไปลงในชอปของคริสเตียนดิออร์ อยากให้รู้ว่าทำไมเขาเลือกไปลงที่นั่น เพราะสินค้าอย่างเดียวกันนี่ถ้าลงจตุจักรก็หมดราคาแล้ว" สมคิดบอกว่าต้องพิถี พิถันมากที่สุดในงานดีไซน์ และงานฝีมือ ในขณะที่ราคาของเราถูกกว่ามาก

ในการเลือกสินค้าทางเรซอแนนซ์จะติดต่อผู้ค้าแต่ละจังหวัด ซึ่งคนกลุ่มนั้นก็จะไปรวบรวมงานจากพวกชมรม พวกมูลนิธิต่างๆ เสนอเข้ามา และเมื่อ ต้นปีนี้ทางบริษัทได้มีการจัดสัมมนาพวก ผู้ผลิต และตัวแทนจำหน่าย 2 ครั้งที่จังหวัดเชียงใหม่ และที่กรุงเทพฯ เพื่อให้เข้าใจวัตถุประสงค์ของบริษัท รูปแบบและรายละเอียดของสินค้า ที่ต้องการ รวมทั้งมีการสั่งซื้อสินค้าที่ต้องการไป

"ฝรั่งเลือกแล้ว ฝรั่งคงใช้แน่นอน ตัวที่ฝรั่งจะไม่เลือก เช่น สไตล์แบบจีนๆ แบบกลมๆ อาจจะมีการเลือกทรงเหลี่ยม หรือทรงสไตล์ออกโมเดิร์นมากกว่า วัสดุ อาจจะเป็นวัสดุเดิมแต่อาจจะดีไซน์ใหม่พิถีพิถันมากขึ้น เช่นหากเป็นไม้ไผ่ก็ต้องเป็นไม้ไผ่ที่ละเอียดที่สุด เป็นเส้น ไม้ไผ่ได้ยิ่งดี แต่ถ้าเป็นหนาๆ ใครๆ ก็ทำได้" สมคิดอธิบายเพิ่มเติม

ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์หลายตัวที่เรซอแนนซ์จะส่งเสริมอย่างเช่นพวกผักตบชวา ที่นิยมในยุโรป และต้องการทำตลาดใหม่ๆ ในอเมริกา และจะ หาวิธีการส่งเสริมให้พวกนักศึกษาที่เรียนทางมัณฑนศิลป์ออกไปตามโรงงานต่างๆ ให้มากขึ้น เพื่อให้การผลิต และดีไซน์แบบเป็นที่ยอมรับ เช่นเดียวกับงานหัตถกรรมที่ควรจะมีผู้เข้าไปให้คำแนะนำชาวบ้านในเรื่องการผลิตและลายใหม่ๆ

"ชาวบ้านอาจจะเคยชินในการทำงาน และออกแบบลายแบบประเพณีดั้งเดิมซึ่งก็เป็นเรื่องที่ถูกต้อง เพราะจุดหลักก็ต้องคำนึงถึงศิลปวัฒนธรรมไว้ด้วยเช่นกัน เราอาจจะช่วยแนะนำในบางเรื่อง เช่นการเลือกสี อย่างสีที่เราเลือกใช้จะเป็นสีที่แตกต่างออกไป เช่นงานเฟอร์นิเจอร์ห้องนอน เราจะใช้โทนสีแดงเข้มไปทางเลือดหมู แต่ก็จะมีการ เปลี่ยนไปแต่ละปีด้วย" อองรีเพิ่มเติมถึงแนวความคิดของเขา

ก้าวแรกของเรซอแนนซ์ เริ่มต้น อย่างใหญ๋โต ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องเสี่ยงอย่างมากเช่นกันสำหรับการทำธุรกิจ แต่สมคิดมั่นใจว่าได้ผ่านบทพิสูจน์บทแรกในงานที่ฮ่องกงแล้วว่าต้องทำได้ จากงานเปิดตัวที่ฮ่องกงสมคิดและทีมงานได้กลับมาสรุปงาน และทำเป็นเอกสารเล่มใหญ่ที่บอกจุดขายของเรซอแนนซ์ ประมวลรูปความสวย งามของบูท และความสนใจของผู้ที่มาชมงาน รูปของสินค้าต่างๆ ที่ได้รับความนิยมและมีการสั่งออร์เดอร์เข้ามาแล้ว และรูปสินค้าอื่นๆพร้อมราคา ที่แน่นอนในเอกสารเล่มนั้นยังมีการถ่ายภาพของตึกอาร์ซีเค ทาวเวอร์ เป็นการตอกย้ำลูกค้าในทางอ้อมว่า เรซอแนนซ์ไม่ใช่บริษัทเล็กๆ แต่เป็นเจ้าของตึกใหญ่ มหึมานี้ด้วย พร้อมทั้งบอกว่าตึกจะสร้าง เสร็จประมาณต้นปี 2533 ซึ่งทางบริษัท จะเชิญลูกค้ามาพักที่นี่ด้วย พร้อมทั้งให้ รายละเอียดของตัวตึกและราคาขายพื้นที่เสร็จสรรพเป็นกลยุทธ์ง่ายๆ กระสุนนัดเดียวยิงนกได้สองตัวนั่นเอง

เอกสารชิ้นนี้ถูกส่งไปยังลูกค้ารายใหญ่ๆ ของโลกและสมคิดยืนยันว่าเขาได้รับออร์เดอร์ตอบรับมา อย่างน่าพอใจ สินค้าล็อตแรกของเขาที่กำลังสั่งผลิต และเตรียมจัดส่งส่วนใหญ่จะเป็นเฟอร์นิเจอร์ไม้ หวาย และเซรามิกซึ่งมีการ เซ็นสัญญาไปแล้วกับร้านค้าในยุโรปหลายประเทศ เช่น อาร์เจนตินา เนเธอร์แลนด์ อเมริกา ส่วนลูกค้าทางญี่ปุ่น และจีน จะสั่งพวกชุดดินเนอร์ที่ทำด้วย เครื่องเงิน และศิลาดล

"ผมผ่านความเสี่ยงครั้งแรกไปแล้วคืองานที่ฮ่องกง ถ้างานที่นั่นเงียบ นั่นคือล้ม"

ถ้าล้ม งานนี้ก็ล้มดังเหมือนกัน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us