Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2542
ทีมบริหารเครือซิเมนต์ไทยยุคใหม่ TEAM WORK จิรายุ ชุมพล อย่างแท้จริง             
โดย วิรัตน์ แสงทองคำ
 

   
related stories

ชุมพล ณ ลำเลียง "ผมเป็นเพียงลูกจ้าง"
บรรณานุกรมผู้จัดการ: จากปี 2526 ถึง 2530 แล้วก็มาถึง 2542
บทสัมภาษณ์ ชุมพล ณ ลำเลียง
18 เดือนแห่งการเปลี่ยนแปลงเครือซิเมนต์ไทย
การเปลี่ยนแปลงที่ไทยพาณิชย์
INFORMATION MEMORENDUM สุดยอดคัมภีร์ธุรกิจไทย
โฉมหน้าบอร์ดใหม่: จากกระทรวงอุตสาหกรรม-แบงก์เอเชีย ถึงก๊วนกอล์ฟ
ทีมจัดการ ยุคลูกหม้อและนักเรียนทุน
สบสันติ์ เกตุสุวรรณ ปูนซิเมนต์ MATURE PRODUCT CLASSIC CASE STUDY
ธุรกิจปิโตรเคมี YOUNG CULTURE

   
www resources

โฮมเพจ เครือซิเมนต์ไทย
โฮมเพจ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)

   
search resources

เครือซิเมนต์ไทย
ปูนซิเมนต์ไทย, บมจ.
ชุมพล ณ ลำเลียง
จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา
Construction




คงไม่มีบอร์ดและคณะการจัดการชุดไหนในประวัติศาสตร์เกือบ 90 ปีของเครือซิเมนต์ไทย ที่มีเอกภาพเท่าชุดปัจจุบัน ยุคของการปรับตัวครั้งใหญ่ของกลุ่มอุตสาหกรรมพื้นฐานของประเทศ

การเปลี่ยนแปลงสำคัญที่สุดเริ่มจาก รายชื่อคณะกรรมการบริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ถือว่าแทบไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลยในรอบเกือบ 40 ปีมานี้ ก็เริ่มต้นขึ้นปี 2541 ในช่วงเผชิญวิกฤติการณ์เงินบาทครั้งใหญ่ เป็นเวลาเดียวกับที่เครือซิเมนต์ไทย กำลังเริ่มกระบวนการปรับยุทธศาสตร์ธุรกิจ

แม้ว่าจะเป็นเหตุผลที่แตกต่างจากกรณีธนาคารไทยพาณิชย์ แต่สุดท้ายก็คือการเปลี่ยนตัวคณะกรรมการเกือบทั้งหมด อย่างมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนเหมือนกัน วงในบอกว่า ถือเป็นการทำงานอย่างเป็น "ระบบความคิด" ของผู้ถือหุ้นใหญ่ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ในการปรับยุทธศาสตร์ทางธุรกิจ อย่างที่สถาบันนี้ไม่เคยทำ

สถาบันที่เคยหวังว่า กรรมการอาวุโสผู้มากด้วยความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับการเลือกสรร จะทำงานกันไปเองอย่างมีประสิทธิภาพ และให้ผลตอบแทนกลับมาที่สถาบันอย่างดี

เป็นทีรู้กันว่าคนที่มีบทบาทและมีอิทธิพลทางความคิดมากที่สุดในการปรับยุทธศาสตร์ครั้งใหม่ทั้งระบบ ก็คือ ชุมพล ณ ลำเลียง ทั้งในฐานะที่ปรึกษา สำนักงานทรัพย์สินฯ ที่ผู้อำนวยการเชื่อถือมากที่สุด และในฐานะกรรมการผู้จัดการใหญ่เครือซิเมนต์ไทย ซึ่งเป็นผู้นำการปรับตัวธุรกิจของกิจการหลักในเครือสำนักงานทรัพย์สินฯ เป็นโมเดลที่จับต้องได้

สำหรับเครือซิเมนต์ไทย ถือว่าโชคดีที่กรรมการรุ่นเก่าชราภาพกันมากแล้ว บางท่านก็เสียชีวิตในช่วงนั้น ส่วนคณะจัดการรุ่นชุมพล ใกล้วัยเกษียณกันส่วนใหญ่ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างจัดการเครือซิเมนต์ไทย จึงดูราบเรียบ

คณะกรรมการชุดที่ครองตำแหน่งยาวนานส่วนใหญ่ เข้ามาในช่วงของการ ปรับโครงสร้างกิจการครั้งแรกตั้งแต่ตั้ง "เครือซิเมนต์ไทย" เมื่อปี 2515 เป็นต้นมา จากนั้นมาก็มีการเปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆ ตามวัยที่ชราภาพของกรรมการแต่ละท่านที่เสียชีวิตหรือป่วย การเปลี่ยนอย่างช้าๆ ที่ว่าเริ่มต้นจริงๆ เมื่อ 10 กว่าที่แล้ว เมื่อ พูนเพิ่ม ไกรฤกษ์ ผู้อำนวยสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ในฐานะประธานกรรมการ บริษัทปูนซิเมนต์ไทย เสียชีวิตด้วยวัยเพียง 65 ปี ขณะนั้นนับว่าอายุของเขา ยังน้อยกว่ากรรมการคนอื่นๆ นับสิบปี ไม่ว่า สัญญา ธรรมศักดิ์, บุญมา วงศ์สวรรค์, โอสถ โกสิน หรือ เสนาะ นิลกำแหง

การเปลี่ยนกรรมการอย่างช้าๆ ครั้งนั้น เริ่มต้นในยุค พารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา เป็นผู้จัดการใหญ่ โดยมี ชุมพล ณ ลำเลียง เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในแผนการธุรกิจใหม่ๆ ยุคที่เริ่มต้นของการขยายตัวทางธุรกิจอย่างมาก

เมื่อ จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา เข้ามาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินฯ เขาก็มาเป็นกรรมการปูนซิเมนต์ไทยในทันที ด้วยวัยเพียง 45 ปี ถือเป็นรุ่นลูกของกรรมการชุดเก่าส่วนใหญ่ เขาจึงกลายเป็นผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินฯ คนที่ไม่ได้ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริษัท ปูนซิเมนต์ไทยในทันที โดยใช้เวลารอจากนั้น ถึง 11 ปีเต็ม

มาอีกประมาณ 5 ปี บุญมา วงศ์สวรรค์ ป่วยจึงต้องลาออกจากกรรมการไป เสนาะ อูนากูล จึงเข้ามารับตำแหน่งแทน

เสนาะ เพิ่งพ้นตำแหน่งรอง นายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจในรัฐบาลอานันท์ ปันยารชุน ไปไม่นาน ก่อนหน้าจะมาที่เครือซิเมนต์ไทย เขาก็เป็นกรรมการในธุรกิจเอกชนหลายแห่ง โดยเฉพาะธนาคารเอเชีย เขาเข้ามาเป็นประธานกรรมการธนาคารแห่งนั้น แทน จรูญพันธ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา บิดาของจิรายุ

การมาของเสนาะ ผู้ทรงความรู้และมีประสบการณ์การบริหารรัฐมายาวนาน ดูเหมือนเป็นคุณสมบัติเช่นเดียวกับกรรมการรุ่นอาวุโส จึงดูเหมาะสม แต่วงในบอกกันว่า เขามาตามข้อเสนอของจิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา เสนาะกำลังจะกลายเป็นกรรมการอาวุโสที่มีบทบาทมากขึ้น เพราะเขาให้ความสนใจในการบริหารเครือซิเมนต์ไทยอย่างมาก ทั้งมีคำถามที่ดีกับคณะจัดการในการประชุมเสมอๆ และว่ากันว่า นั่นคือจุดเริ่มต้นของโมเดลกรรมการใหม่ ที่เห็นเด่นชัด ในการเปลี่ยนแปลงกรรมการครั้งใหญ่ ในปี 2541 ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีความคิดความอ่าน กลมกลืนกันที่สุด

ซึ่งเป็นผลผลิตมาจากจิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา กับ ชุมพล ณ ลำเลียง มีความใกล้ชิดสนิมสนมกันเป็นพิเศษ ซึ่งถือกันว่าในยุคปัจจุบัน เป็นยุคที่ประธานกรรมการ และผู้จัดการใหญ่เครือซิเมนต์ไทย เป็นคนรุ่นเดียวกัน เป็นเพื่อนกัน และเข้าใจกันมากที่สุด

ไม่เพียงเท่านั้น คณะกรรมการ คณะกรรมการบริหาร และคณะจัดการ ก็เป็นทีมงานที่มีวัยและประสบการณ์ อยู่ในระดับใกล้เคียงอย่างมาก เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนหน้านี้

และแล้ว ยุคใหม่เครือซิเมนต์ไทย อย่างแท้จริง จึงเริ่มต้นขึ้น

พลันที่ จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ

บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ในต้นปี 2541 แทนสัญญา ธรรมศักดิ์ ซึ่งป่วย ก็เป็นช่วงของการเริ่มต้นกระบวนการปรับยุทธศาสตร์ธุรกิจใหม่อย่างแข็งขัน กระฉับกระเฉง ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นอย่างสำคัญของการปรับโครงสร้างและการปรับตัวทาง ธุรกิจของภาคการผลิตที่แท้จริง ศิววงค์ จังคศิริ กับ ยศ เอื้อชูเกียรติ กรรมการรุ่นใหม่ ที่แต่งตั้งแทน กรรมการเก่า (จรัส ชูโต และ เทียน อัชกุล) ในระยะนั้น ก็คือภาพที่ชัดของโมเดลกรรมการใหม่ ทั้งสองเป็นเพื่อนกัน ทั้งจิรายุและ ชุมพล เป็นก๊วนกอล์ฟ และมีที่มา อาจจะอรรถาธิบายเอนเอียงในเชิงสายสัมพันธ์มากกว่าอย่างอื่น ศิววงค์ เป็นข้าราชการกระทรวงอุตสาหกรรม มีบทบาทอย่างมากในยุคที่จิรายุ เป็นรัฐมนตรี ต่อมาเมื่อเกษียณราชการ จากตำแหน่งปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ก็มีบทบาททั้งหน่วยงานรัฐวิสาหกิจสำคัญ และเป็นประธานกรรมการบริหารธนาคารเอเชีย ต่อจากเสนาะ อูนากูล ในช่วงที่ตระกูลเอื้อชูเกียรติเป็นผู้ถือหุ้น ใหญ่ และยังไม่ขายหุ้นทิ้งไป

ส่วน ยศ เอื้อชูเกียรติ นั้นถือเป็นกรรมการที่มี "เนื้อหา" ใหม่อย่างแท้จริง เขามาจากภาคเอกชน เขาเป็นกรรมการคนสำคัญในชุดธนาคารเอเชีย ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ธนาคารแห่งนั้น และเมื่อตระกูลของเขาตัดสินใจขายหุ้นธนาคารนั้นไป หลังจากการต่อสู้ในบอร์ดรูม ที่ดุเดือด รุนแรง นับสิบปี เขาจึงตามกรรมการคนอื่นๆ ที่มีประสบการณ์ในธนาคารแห่งนั้นมาที่ปูนซิเมนต์ไทยด้วย ตระกูลเอื้อชูเกียรติ ยังเหลือธุรกิจสำคัญ ซึ่งเกี่ยวข้องกับเครือซิเมนต์ไทยโดยตรง เป็นพันธมิตรทางธุรกิจที่สำคัญในธุรกิจปิโตรเคมี เมื่อ ชุมพล ณ ลำเลียง เข้ามาดำรงตำแหน่งผู้จัดการใหญ่ใหม่ๆ ในปี 2536 สิ่งแรกๆ ที่เขาทำก็คือ การเข้าถือหุ้น ในบริษัทไทยพลาสติกและเคมีภัณฑ์ (ทีพีซี) ของตระกูลเอื้อชูเกียรติ ผู้ผลิต PVC รายใหญ่ที่สุดของเมืองไทย ในช่วงที่ตระกูลเอื้อชูเกียรติ กำลังต่อสู้ครั้งใหญ่กับตระกูลภัทรประสิทธิ์ เพื่อครองอำนาจในธนาคารเอเชีย ขณะเดียวกัน ธุรกิจปิโตรเคมี เครือซิเมนต์ไทยกำลังรุกคืบขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่อง สามารถเข้าสู่ตลาด PVC ในประเทศไทยได้อย่างรวดเร็ว จากนั้นไม่นานเครือซิเมนต์ไทยก็เพิ่มสัดส่วนถือหุ้นเป็นลำดับ จนถึง 25% ในปัจจุบัน พร้อมทั้งส่งคนของตนเองเข้าไปเป็นกรรมการผู้จัดการ

"คุณยศ เวลานี้มีชีวิตสบายๆ นอกจากทำงานที่ ทีพีซี ที่ปูนฯ และเป็นที่ปรึกษาสำนักงานทรัพย์สินฯ แล้ว เขาก็มีสนามกอล์ฟนอร์ธปาร์คอีกแห่งหนึ่งเท่านั้น ขายหุ้นครั้งนั้นก็เพื่อเคลียร์ หนี้สินที่นอร์ธปาร์ค" ผู้ทีรู้เรื่องดีให้ความเห็น

อภิพร ภาษวัธน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจปิโตรเคมี ก็ยอมรับว่า การเข้าถือหุ้นในทีพีซี เป็นเรื่องของชุมพล ณ ลำเลียง โดยตรง

กรรมการคนล่าสุด ปรีชา อรรถวิภัชน์ ก็คือปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ต่อจากศิววงค์ จังคศิริ ซึ่งมีบทบาทในอุตสาหกรรมน้ำตาลในยุคจิรายุ เป็นรัฐมนตรีช่วยอุตสาหกรรม และได้สร้าง ระบบแบ่งปันผลประโยชน์ 70/30 ที่ใช้กันมาถึงปัจจุบันนี้ กรรมการรุ่นใหม่ที่ว่าส่วนใหญ่ล้วนเป็นกรรมการบริหาร ซึ่งมีบทบาท สำคัญในการบริหารค่อนข้างมาก ซึ่ง ประกอบด้วยเสนาะ อูนากูล, พารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา, ศิววงศ์ จังคศิริ, สุเมธ ตันติเวชกุล, ยศ เอื้อชูเกียรติ และ ชุมพล ณ ลำเลียง โดยมี โอสถ โกสิน กรรมการอาวุโสรุ่นปี 2515 คนสำคัญที่เหลืออยู่ เป็นประธาน ซึ่งขณะนี้ไม่ใคร่ได้มาประชุม เพราะสุขภาพไม่ดี

นอกจากนี้ยังมีบรรยงค์ ล่ำซำ แห่งธนาคารกสิกรไทยเป็นที่ปรึกษาคณะกรรมการด้วย บรรยงค์นอกจากจะเป็นผู้มีความรู้ทางการเงินอีกคนหนึ่ง ที่เข้ามาในยุคที่มีปัญหาหนี้สินอย่างมาก แล้วเขายังถือว่ามีความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมพล ณ ลำเลียงมายาวนาน ตั้งแต่การทำงานร่วมกันในยุคก่อตั้งทิสโก้ ในฐานะที่ธนาคารกสิกรไทยเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ จากจุดนั้นก่อเกิดเป็นความสัมพันธ์ส่วนตัวที่ดีขึ้น

ในเวลาเดียวกัน คณะจัดการเครือ ซิเมนต์ไทย ก็มีการเปลี่ยนแปลงมาเป็น ลำดับอย่างต่อเนื่อง ถือเป็นจังหวะที่เหมาะมาก โดยมีทิศทางที่ชัดเจน

‘ ผู้มีบทบาทมากขึ้นก็คือคนที่มีประสบการณ์ต่อเนื่อง ส่วนใหญ่เป็นลูกหม้อ และมีดีกรี MBA สหรัฐฯ พ่วงท้าย (ส่วนใหญ่เป็นนักเรียนทุนบริษัทโดยมีชุมพลเป็นผู้ดูแลโครงการตั้งแต่ต้น) โดยพวกเขาล้วนเคยทำงาน ร่วมกับชุมพลมาแล้วเป็นส่วนใหญ่พวกเขา อยู่ในวัยใกล้เคียงกัน กลุ่มนี้ส่วนใหญ่ดูแล Core Business คณะจัดการรุ่นๆ เดียวกับชุมพล ณ ลำเลียง ซึ่งมีอายุค่อนข้างมาก เกษียณอายุไปแล้ว กำลัง จะเกษียณในปีนี้ และบางส่วนเข้าโปรแกรมการเกษียณก่อนกำหนด เช่น ทวี บุตรสุนทร, ประมนต์ สุธีวงศ์, จักราวุธ บัณฑุรัตน์

‘ ในเวลาเดียวกันก็เลือกผู้บริหารรุ่นใหม่ที่มีความสามารถขึ้นมาใหม่ โดยไม่จำเป็นต้องยึดถืออาวุโส ต้องการคน หนุ่มที่มีความคิดสร้างสรรค์ และเป็นนัก พัฒนาเชิงรุกโดยเฉพาะในธุรกิจมีศักย ภาพในการเติบโตในอนาคต ซึ่งเป็นธุรกิจที่ยังมีขนาดไม่ใหญ่มากนัก และมีการแข่งขันกันอย่างรุนแรงด้วย

กานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัด การใหญ่ บริษัทเซรามิคซิเมนต์ไทย เป็นตัวอย่าง เขามีอายุเพียง 44 ปี ถือว่าเป็นทีมงานรุ่นล่าสุด ในขณะที่รุ่นก่อนๆ มีอายุใกล้เคียงกับชุมพลทั้งสิ้น เขาเป็นคนในโมเดลใหม่ล่าสุด มีความรู้วิศวกรรม ทำงานเอาการเอางาน รัก บริษัท มีประสบการณ์ในกิจการร่วมทุน ในต่างประเทศ มีบุคลิกคล้ายๆ ชุมพล ณ ลำเลียง มากอีกคนหนึ่ง

ในการปรับโครงสร้างกิจการล่าสุด กานต์มีบทบาทสำคัญมาก ในฐานะหัวหน้าทีม (ซึ่งประกอบด้วยคนหนุ่ม และ MBA ประมาณ 20 คน) ในการทำงานร่วมกับ McKinsey กานต์ ตระกูลฮุน เป็นตัวอย่างของคนหนุ่มรุ่น ใหม่ (อีก 2 ท่านคือ ขจรเดช แสงสุพรรณ และ ปราโมทย์ เตชะสุพัฒน์กุล) ในธุรกิจที่พยายามสร้างให้เป็น Core Business (เซรามิก ยิปซั่ม และผลิต ภัณฑ์หลังคา) ธุรกิจเหล่านี้ มีแนวโน้ม ว่าจะเติบโตที่ดี จึงต้องการคนหนุ่ม

นี่ก็คือโมเดลล่าสุดในเรื่องการใช้คนของ ชุมพล ณ ลำเลียง

ชุมพล ณ ลำเลียง บอกกับ "ผู้จัด การ" เมื่อไม่นานมานี้ว่า บทบาทผู้จัดการ ใหญ่ของเขาในยุคใหม่ ทำหน้าที่ประ สานงานเพียงระหว่างบอร์ดกับคณะจัดการ ขณะเดียวกันก็กำกับนโยบายธุรกิจต่างๆ ให้เป็นไปตามแผนแม่บท

"บทบาทของผู้จัดการเป็นหัวหน้า คณะจัดการ ไม่ใช่ผู้ที่จะจัดการ" เขาเน้น

และนี่อาจจะเป็นที่มาของแรงผลักดันในการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทีมงานบริหารเครือซิเมนต์ไทยครั้งใหญ่ อย่างเป็นระบบ และต่อเนื่อง จนพลิกโฉมหน้าในที่สุด

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us