2 กรกฎาคม 2540 รัฐบาลไทยประกาศปรับระบบแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นระบบลอยตัว
10 กรกฎาคม 2540 เครือซิเมนต์ไทยชี้แจงผลกระทบ เป็นกิจการแรกๆ ที่ให้ข้อมูลอย่างตรงไปตรงมาว่าหนี้สินได้เพิ่มขึ้นถึง
2 แสนล้านบาท 30 กรกฎาคม 2540 ศิววงศ์ จังคศิริ อดีตปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
มาเป็นกรรมการแทน จรัส ชูโต ซึ่งขอลาออก
28 มกราคม 2541 สัญญา ธรรมศักดิ์ ลาออกจากประธานกรรมการและกรรมการ โดย
จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา มาดำรงตำแหน่งประธานกรรมการแทน และ สุเมธ ตันติเวชกุล
มาเป็นกรรมการที่ว่างลง
9 กุมภาพันธ์ 2541 บริษัททำการประเมินสินทรัพย์ใหม่ (ที่ดิน อาคารเครื่องจักร
และอุปกรณ์) โดยบริษัท อเมริกัน แอ็พเพรซัล (ประเทศไทย) จำกัด โดยที่ดินนั้นใช้ราคาประเมินของกรมที่ดิน
มีมูลค่าเพิ่มขึ้น 13,662 ล้านบาท ส่วนอาคาร เครื่องจักรและอุปกรณ์ มูลค่าเพิ่มขึ้น
4,975 ล้านบาท และ 72,056 ล้านบาท รวมมูลค่าที่เพิ่มขึ้น 77,031 ล้านบาท
25 กุมภาพันธ์ 2541 คณะกรรมการมีมติไม่จ่ายเงินปันผลโดยอ้างว่าบริษัทประสบการขาดทุนสะสมมากกว่า
20,000 ล้านบาท
29 กรกฎาคม 2541 คณะกรรมการมีมติให้จัดโครงสร้างสำหรับธุรกิจปูนซีเมนต์ขึ้นใหม่
โดยแยกหน่วยงานการผลิตและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสินค้าปูนซีเมนต์ออกจากบริษัทแม่
ไปให้บริษัทใหม่ที่จะจัดตั้งขึ้นดังนี้
1. จัดตั้งบริษัทปูนซิเมนต์ไทย (สระบุรี) จำกัด เพื่อรับโอนทรัพย์สินโรงงานปูนซีเมนต์ท่าหลวง
เขาวง และแก่งคอย และจัดตั้งบริษัทปูนซิเมนต์ไทย (ทุ่งสง) จำกัด เพื่อรับโอนทรัพย์สินโรงงานปูนซีเมนต์ทุ่งสงจากบริษัทฯ
2. จัดตั้งบริษัทปูนซิเมนต์ไทยอุตสาหกรรม จำกัด โดยบริษัทแม่ถือหุ้น 100%
เพื่อเข้าถือหุ้นทั้งสิ้นในบริษัทต่างๆ ซึ่งดำเนินธุรกิจปูนซีเมนต์ของเครือฯ
ซึ่งได้แก่ บริษัทปูน ซิเมนต์ไทย (สระบุรี) จำกัด บริษัทปูนซิเมนต์ไทย (ทุ่งสง)
จำกัด บริษัทปูนซิเมนต์ไทย (ลำปาง) จำกัด และบริษัทผลิตภัณฑ์และวัตถุก่อสร้าง
จำกัด เป็นต้น
26 สิงหาคม 2541 ชุมพล ณ ลำเลียง แถลงว่าบริษัทตั้งแมคคินซี แห่งอเมริกา
(McKinsey & Company) เป็นที่ปรึกษาปรับโครงสร้างธุรกิจคาดสรุปผลการศึกษาในเดือนตุลาคมนี้
เพื่อสอดรับทิศทางดำเนินธุรกิจและขยายธุรกิจในระดับภูมิภาค
ขณะเดียวกันคณะกรรมการมีมติให้จัดโครงสร้างสำหรับธุรกิจจัดจำหน่ายสินค้าวัสดุก่อสร้างขึ้นใหม่
โดยแยกกระบวนการจัดจำหน่ายสินค้าวัสดุก่อสร้าง ซึ่งรับผิดชอบการขายและกระจายสินค้าของเครือฯ
ออกจากบริษัทแม่ ไปให้บริษัทใหม่ที่จะจัดตั้งขึ้นโดยบริษัทแม่ ถือหุ้น 100%
เพื่อให้บริษัทนี้เข้าถือหุ้นทั้งสิ้นในบริษัทหนึ่ง หรือหลายบริษัทที่จะจัดตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่เป็นผู้ดำเนินกิจการต่อไป
30 กันยายน 2541 คณะกรรมการมีมติให้จัดโครงสร้างธุรกิจต่างๆ ของบริษัทฯ
ดังนี้ 1. จัดโครงสร้างธุรกิจผลิตภัณฑ์หลังคาและคอนกรีตขึ้นใหม่ โดยจัดตั้งบริษัทผลิตภัณฑ์หลังคาและคอนกรีตซิเมนต์
ไทย จำกัด ซึ่งบริษัทแม่ถือหุ้น 100% เพื่อให้บริษัทใหม่นี้ เข้าถือหุ้นในบริษัทที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจผลิตภัณฑ์หลังคา
และ คอนกรีตของเครือฯ ต่อไป
2. จัดโครงสร้างธุรกิจของบริษัทย่อย บริษัทร่วม และบริษัทอื่นๆ ซึ่งเป็นธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก
รวมทั้งบริษัทอื่นๆ ที่บริษัทแม่ได้ลงทุนเฉพาะในหุ้นไว้ ซึ่งขณะนี้บริษัทเหล่านี้ไม่มีความเกี่ยวข้องซึ่งกันและกันหรือไม่สามารถ
จัดเป็นกลุ่มธุรกิจได้ โดยจะจัดตั้งบริษัทใหม่ขึ้น 3 บริษัท โดยบริษัทแม่เข้าถือหุ้น
100% และบริษัทใหม่นี้จะเข้าถือหุ้นในบริษัทที่มีธุรกิจในลักษณะดังกล่าวข้างต้นดังนี้
2.1 บริษัทแรกจะเข้าถือหุ้นในบริษัทร่วมทุน (Joint Venture) ที่ไม่อยู่ในกลุ่มธุรกิจที่ได้จัดไว้
2.2 บริษัทที่สองถือหุ้นในบริษัทที่เครือฯ เป็นผู้ลงทุนหลัก หรือบริษัทที่เครือฯ
มีส่วนในการบริหาร ซึ่งไม่ได้เป็นบริษัทร่วมทุน และไม่อยู่ในกลุ่มธุรกิจอื่นที่จัดไว้
2.3 บริษัทที่สามถือหุ้นในบริษัทที่เครือฯ เข้าไปถือหุ้น โดยไม่มีส่วนในการบริหาร
1 ตุลาคม 2541 ยศ เอื้อชูเกียรติ มาเป็นกรรมการแทน เทียน อัชกุล ขณะเดียวกัน
โอสถ โกสิน ก็มาเป็นกรรมการอิสระแทน เทียน อัชกุล 13 ตุลาคม 2541 บริษัทแถลงว่าไดัตัดสินใจเลือก
Deutsche Bank และ Chase Manhattan Bank เป็นที่ปรึกษาทางการเงินสำหรับแผนงานปรับโครงสร้างบริษัทที่ต่อเนื่องจาก
McKinsey 28 ตุลาคม 2541 คณะกรรมการมีมติให้จัดโครงสร้างธุรกิจผลิตภัณฑ์กระเบื้องขึ้นใหม่
โดยจัดตั้งบริษัทผลิตภัณฑ์กระเบื้อง (ทุ่งสง) จำกัด ซึ่งบริษัทกระเบื้องกระดาษไทย
จำกัด บริษัทย่อยของบริษัทแม่จะถือหุ้น 100% เพื่อให้บริษัทใหม่นี้รับโอนทรัพย์สินโรงงานผลิตผลิตภัณฑ์กระเบื้องที่อำเภอทุ่งสง
จังหวัดนครศรีธรรมราช จากบริษัทกระเบื้องกระดาษไทย จำกัด ต่อไป
25 พฤศจิกายน 2541 คณะกรรมการมีมติให้จัดผังการบริหารงานเพื่อให้สอดคล้องกับการจัดโครงสร้างธุรกิจใหม่
ดังนี้
1. อนุมัติผังการบริหารงานของบริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ขึ้นใหม่ตามการปรับโครงสร้างใหม่
(โปรดพิจารณาจากไดอะแกรม ว่าด้วยโครงสร้างใหม่) 2. มอบหมายให้พนักงานจัดการระดับสูงของบริษัทฯ
ดูแลบริษัทต่างๆ ดังนี้
1) สบสันติ์ เกตุสุวรรณ เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทปูนซิเมนต์ไทยอุตสาหกรรม
จำกัด
2) ดุสิต นนทะนาคร เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทค้าวัสดุซิเมนต์ไทย
จำกัด
3) อภิพร ภาษวัธน์ เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทเคมีภัณฑ์ซิเมนต์ไทย
จำกัด
4) ปราโมทย์ เตชะสุพัฒน์กุล เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทผลิตภัณฑ์หลังคาซิเมนต์ไทย
จำกัด 5) กานต์ ตระกูลฮุน เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทเซรามิคซิเมนต์ไทย
จำกัด
6) ขจรเดช แสงสุพรรณ เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทยิปซัมซิเมนต์ไทย
จำกัด
ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2542 เป็นต้นไป
30 พฤศจิกายน-15 ธันวาคม 2541 ทีมบริหารนำโดย ชุมพล ณ ลำเลียง เดินทางไปทำ
Road Show เพื่อให้นักลงทุนเข้าใจแผนการปรับโครงสร้างกิจการใหม่ในหลายประเทศ
ฮ่องกง สิงคโปร์ สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา
27 มกราคม 2542 คณะกรรมการได้พิจารณาและมีมติให้เสนอขออนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น
(31 มีนาคม 2542) ให้บริษัทออกและเสนอขายหุ้นกู้ในรูปแบบต่างๆ กันได้ครั้งเดียวเต็มจำนวนวงเงินหรือเป็นคราวๆ
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจ และเงื่อนไขของคณะกรรมการหรือกรรมการที่ได้รับมอบหมาย
โดยจะออกเป็นเงินบาท และ/หรือเงินสกุลต่างประเทศก็ได้ตามที่จะเห็นสมควรภายในวงเงินรวมไม่เกิน
50,000 ล้านบาทหรือเงินสกุลต่างประเทศอื่นในจำนวนที่เท่ากัน
24 กุมภาพันธ์ 2542 คณะกรรมการมีมติ ไม่เสนอให้จ่ายเงินปันผลประจำปี 2541
โดยอ้างว่า แม้ว่าผลการดำเนินงานของบริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ในปี
2541 มีผลกำไร แต่เมื่อรวมผลการดำเนินงานกับปีก่อนๆ แล้วยังมีผลขาดทุนสะสมเป็นจำนวนทั้งสิ้น
15,347 ล้านบาท นอกจากนั้นบริษัทยังมีความต้องการกระแสเงินสดเพื่อชำระหนี้ต่างประเทศอีกจำนวนมาก
31 มีนาคม 2542 ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นมีมติเลือก ปรีชา อรรถวิภัชน์
เป็นกรรมการแทน ประจิตร ยศสุนทร ซึ่งขอถอนตัวไม่ขอรับเลือกตั้งเป็นกรรมการ