มีคำถามอยู่ข้อหนึ่งซึ่งอาจเป็นที่ข้องใจของนักฟังรุ่นใหม่ว่า "เก่ากับใหม่ใครจะแน่กว่ากัน"
สมัยผมเป็นเด็กผมเคยเห็นวิทยุของคุณตา ขนาดเท่ากับทีวี 14 นิ้วสมัยนี้ วิทยุเครื่องนั้นในสมัยนั้นมันยังใช้งานได้อยู่
สิ่งที่ผมสนใจไม่ใช่คุณภาพเสียง (ซึ่งแย่กว่าเสียงของการจัดรายการวิทยุทางโทรศัพท์)
แต่เป็นแสงไฟจากหลอดไฟเล็กๆ หลายหลอดที่อยู่ข้างในบางหลอดมีสีออกส้มๆ บางหลอดมีสีม่วงผสม
ผมชอบปิดไฟในห้อง ดูวิทยุ (จากข้างหลัง) โดยไม่ใส่ใจกับเสียงที่ดังออกมา
หลอดสุญญากาศเป็นชิ้นส่วนที่ทำหน้าที่ขยายสัญญาณ ซึ่งเป็นหัวใจของเครื่องขยายเสียง
ประดิษฐ์คิด ค้นตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 20 และใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างเป็นล่ำเป็นสันจนถึงยุคทรานซิสเตอร์คือประมาณทศวรรษที่
1960 ยุคนั้นเครื่องเสียงที่มีโลโก SOLID STATE ซึ่งหมายความว่าใช้ทรานซิสเตอร์แทนหลอดสุญญากาศทั้งหมด
จะเป็นอุปกรณ์ที่ก้าวหน้าทันสมัยเป็นที่ภูมิใจของผู้เป็นเจ้าของ ทรานซิสเตอร์
คือชิ้นส่วนที่ทำหน้าที่แทนหลอดสุญ- ญากาศ ถือเป็นประดิษฐกรรมที่ปฏิวัติวงการอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญยิ่ง
เพราะมีคุณสมบัติดีกว่าหลอดสุญญา-กาศแทบทุกด้าน ปัจจุบัน แม้ว่าเทคโนโลยีหลอดสุญญากาศได้ผ่านพ้นไปนานแล้ว
ก็ยังมีการผลิตเครื่องเสียงที่ใช้หลอดสุญญากาศรุ่นใหม่ๆ ออกมา แต่ส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มเครื่องเสียง
ไฮเอ็นด์ และมีราคาแพง เสียงจากเครื่องเสียงหลอดจะมีคุณลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์
โดยเฉพาะความนุ่มนวลของเสียง โปร่งใสจริงใจ และหวานอย่างเป็นธรรมชาติ เครื่องเสียงหลอดยังคงดึงดูดนักฟังที่มีประสบการณ์
(และมีสตางค์) ซึ่งนอก จากจะใช้ในการฟังเพลงแล้ว ยังเป็นเฟอร์นิเจอร์ประดับห้องที่ช่วยเสริมรสนิยมของผู้เป็นเจ้าของอีกด้วย
ส่วน นักฟังหน้าใหม่ผมขอแนะนำว่าเริ่มต้นที่ทรานซิสเตอร์ก่อนจะเหมาะกว่า
ประมาณสิบปีกว่ามานี้ เมื่อครั้งที่เครื่องเล่นคอมเเพคดิสก์ หรือ ซีดี ผลิตออกจำหน่ายในท้องตลาดใหม่ๆ
ก็ได้รับคำวิจารณ์อย่างรุนแรงในทางร้ายถึงคุณภาพเสียงที่ได้ และ มีข้อสรุปว่าเทียบไม่ได้กับเสียงจากเครื่องเล่นแผ่นเสียง
ถ้าใครเคยฟังเครื่องเล่นซีดีในยุคนั้นจะรู้สึกว่าฟังแล้วเมื่อยหู ฟังติดต่อกันนานๆ
ไม่ได้ เสียงจะแบนขาดมิติ เสียงสูงจะจัดจ้านไม่ชัดเจนและบางครั้งมีเสียงรบกวนเหมือนเสียงสว่านไฟฟ้าที่คอยทะลวงรูหูอยู่เป็นระยะ
แต่ต่อมาไม่นานได้มีการพัฒนาลูกเล่นทางเทคนิค จนทำให้คุณภาพเสียงดีขึ้นจนทัด
เทียมแผ่นเสียง สิ่งที่เป็นข้อได้เปรียบ ของซีดี เมื่อเทียบกับเครื่องเล่นแผ่นเสียงคือ
แผ่นซีดีจะปราศจากเสียงรบกวน ถ้าใครเคยฟังแผ่นเสียงเก่าๆ จะรู้ซึ้งถึงเสียงซ่าเหมือนมีช่างไม้กำลัง
ขัดกระดาษทรายเบอร์ 5 อย่างเมามันส์อยู่กลางวงดนตรี และข้อนี้เองที่ชักจูงให้นักฟังทั้งหลายหันมาใช้เครื่องเล่นซีดี
เป็นอุปกรณ์หลัก
ในหมู่มิตรรักนักเพลงทั่วไป (ยกเว้นในบ้านเรา) ให้การสนับสนุนซีดี เพราะคุณภาพเสียงดี
สะดวกใช้ ทน ทาน ดูแลง่าย สำหรับวงการผู้ผลิตเพลงก็ให้การสนับสนุนแผ่นซีดี
เพราะ มีต้นทุนการผลิตต่ำ (แต่ยังคงสูงกว่าแผ่นเสียง) สะดวกในการขนส่งและจำหน่าย
จนทำให้เวลานี้แผ่นเสียงที่เคยครองใจผู้คนมาเป็นเวลาหลายสิบ ปีใกล้จะสูญพันธุ์
อย่างไรก็ตามก็ยังมีนักฟังจำนวนหนึ่ง (รวมทั้งผม) ยังคงคว้าแผ่นเสียงเก่าๆ
มาเล่นเป็นระยะๆ เพื่อให้หลุดพ้นจากโลกของดิจิตอลที่เข้าครอบงำสิ่งต่างๆ
รอบข้าง
เทคโนโลยีที่น่าสนใจอีกอย่างคือ การบันทึกเสียงในบ้าน ท่านอาจเคยอยากตัดต่อเพลงที่ชื่นชอบจากแผ่นซีดีหลายๆ
แผ่น มารวมไว้ที่เดียวกันเพื่อจะได้ฟังให้จุใจ หรืออยากบันทึกเสียงรายการวิทยุรายการ
โปรด หรืออยากจะซาบซึ้งกับเสียงร้องคาราโอเกะของตัวเองครั้งแล้วครั้งเล่า
แถมยังจะเผื่อแผ่ความซาบ ซึ้งนี้ไปให้เพื่อนฝูงหรือเพื่อนบ้านอีกต่างหาก
ที่ผ่านมาเรามีเพียงเทปคาสเซตต์ (Compact Cassette) ที่สามารถทำความฝันให้เป็นจริงได้
แต่คุณภาพเสียงยังไม่ถึงใจเมื่อเทียบกับแผ่นซีดี การบันทึกเสียงระบบดิจิตอลจึงเป็นความหวังสำหรับผู้ที่ต้อง
การบันทึกเสียงด้วยตนเองและได้คุณภาพเสียงระดับซีดีด้วย
ความจริงเครื่องบันทึกเสียงระบบดิจิตอลมีจำหน่ายในท้องตลาดมาเกือบสิบปีแล้ว
เริ่มต้นด้วยระบบ DAT ซึ่งมาจากคำว่า Digital Audio Tape เครื่องบันทึกเสียงระบบ
DAT ใช้ตลับเทปคล้ายม้วนวิดีโอเทปแต่มีขนาดเล็กมาก มีขนาดเล็กกว่าตลับเทป
คาสเซตต์ เกือบครึ่งหนึ่ง เทป DAT ให้คุณภาพเสียงที่เหนือกว่าแผ่นซีดีเล็กน้อย
แต่ไม่ได้รับความนิยมในหมู่นักฟังทั่วไปเพราะขาด ซอฟต์แวร์ หรือเทปที่มีเพลงบันทึกมาแล้ว
และมีราคาแพง อย่างไรก็ ตามเทป DAT ไปได้ดีในวงการบันทึกเสียงอาชีพที่ต้องการคุณภาพ
ปัจจุบันนิยมใช้เทป DAT เป็นมาสเตอร์ หรือต้นฉบับ สำหรับการผลิตเพลงลงแผ่นซีดี
หลังจากเทป DAT ออกสู่ตลาดไม่นาน ต้นตำรับผู้คิดค้น เทปคาสเซตต์ซึ่งก็คือ
บริษัทฟิลิปส์ ได้ผลิต เทป DCC หรือ Digital Compact Cassette มาจำหน่ายในท้องตลาดเทป
DCC ใช้ตลับเทปที่มีรูปร่างเดียวกับเทปคาสเซตต์ด้วยจุดประสงค์ที่จะให้เครื่องเล่น
DCC สามารถเล่นเทปคาสเซตต์ธรรมดาได้ด้วย บริษัทฟิลิปส์หวังจะให้ DCC สืบทอดอำนาจต่อจากเทปคาสเซตต์ที่ครองตลาดเครื่องบันทึกเสียงตามบ้านเกือบ
100 เปอร์เซ็นต์ แต่ความฝันมีอันต้องดับวูบไปเพราะผู้คนไม่สนับสนุน เหตุผลคือ
ราคาสูง ขาด ซอฟต์แวร์ และที่สำคัญมีผู้ท้าชิงที่น่ากลัวนั่นคือ มินิดิสก์
มินิดิสก์ออกสู่ตลาดในเวลาไล่เลี่ยกับเทป DCC บริษัทโซนี่ผู้คิดค้นมินิดิสก์คิดจะนำระบบมินิดิสก์
ออกมาท้าทายเทป DCC และต้อง การจะเจาะตลาดผู้ใช้เทปคาสเซตต์ ให้ หันไปใช้มินิดิสก์แทน
แม้ว่ามินิดิสก์จะออกสู่ตลาดมาระยะหนึ่งแล้ว จน ถึงปัจจุบันความฝันของโซนี่ยังไม่บรรลุ
เพราะผู้คนยังไม่ยอมทิ้งเทปคาสเซตต์ซึ่งติดตลาดมานับสิบปี ไม่นานมานี้โซนี่พยายามอีกเฮือกด้วยการลดราคาแผ่นมินิดิสก์ลงจาก
สองร้อยกว่าบาทเหลือเก้าสิบเก้าบาท และผลิตชุดเครื่องเสียงในบ้านราคาประหยัดที่บรรจุเครื่องบันทึกมินิดิสก์
เข้าไปด้วย แต่คงยังต้องรอดูผลอีกระยะว่าโซนี่จะทำสำเร็จหรือไม่
เครื่องบันทึกเสียงระบบมินิ-ดิสก์มีข้อดีที่เป็นแผ่นดิสก์เส้นผ่าศูนย์กลางสองนิ้วครึ่งอยู่ในตลับ
สามารถเปลี่ยนเพลงได้รวดเร็วเพราะไม่ต้องกรอเหมือนเทป มีคุณภาพเสียงดีมากเมื่อเทียบกับเทปคาสเซตต์
แต่จะด้อยกว่าซีดีเล็กน้อย ตลับมินิ-ดิสก์มีขนาดกะทัดรัดคือเล็กกว่าแผ่น
ฟลอปปี้ดิสก์คอมพิวเตอร์ (สามนิ้วครึ่ง) ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ ใช้เทคโนโลยีบันทึกข้อมูลบนสารแม่เหล็กเช่นเดียวกับดิสก์ที่ใช้ในคอมพิว
เตอร์ จึงสามารถบันทึกซ้ำได้หลายครั้ง ปัญหาที่สำคัญของมินิดิสก์คือขาดซอฟต์แวร์
และราคาของเครื่องยังสูงอยู่ (แม้จะลดลงมาแล้ว)
ส่วนน้องใหม่ของวงการบันทึก เสียงระบบดิจิตอลคือเครื่องเขียนซีดี (CD Recorder)
เครื่องเขียนซีดีมีข้อดีคือ สามารถเปลี่ยนเพลงได้รวด เร็วเพราะไม่ต้องกรอเช่นเดียวกับมินิ
ดิสก์ มีคุณภาพเสียงเท่ากับซีดี สามารถก๊อบปี้แผ่นซีดีได้เหมือนต้น ฉบับ
100 เปอร์เซ็นต์ สามารถใช้เครื่องเล่นซีดี (รุ่นใหม่ๆ) หรือเครื่องคอมพิวเตอร์เล่นแผ่นได้
อายุของแผ่นสามารถใช้งานได้เป็นสิบปี ราคา แผ่นบันทึกถูกคือประมาณแผ่นละ
60 บาท แต่มีข้อเสียคือแผ่นบันทึกได้เพียงครั้งเดียว แผ่นมีขนาดใหญ่ไม่สะดวกในการพกพา
กระบวนการบันทึกไม่สะดวกเท่ามินิดิสก์โดยเฉพาะการตัดต่อเพลง และเครื่องบันทึกยังมีราคาแพง
สำหรับวงการเครื่องเสียงและวงการเพลงในบ้านเรา เทปคาสเซตต์ ยังคงความเป็นหนึ่งทั้งใช้ฟังและใช้บันทึกเสียงด้วยเหตุที่ตัวเทปมีราคาถูก
เครื่องเล่นก็มีราคาถูกและแพร่หลายมานาน ส่วนซีดีในบ้านเราค่อยๆ ได้รับความนิยมมากขึ้นแต่ยังห่างไกลเทปคาสเซตต์มากมายนัก
ด้วยเหตุผลเรื่องราคาทั้งตัวแผ่นและเครื่องเล่น และความสะดวกในการใช้งาน
วงการ เพลงบ้านเรายังคงต้องพึ่งเทปคาส-เซตต์ไปอีกนาน ที่เล่ามาคราวนี้คงจะพอเป็นข้อมูลเบื้องต้นสำหรับผู้ที่สนใจจะเป็นนักฟังและกำลังหาซื้อเครื่องเสียงไว้ฟังสักชุด
แน่นอนท่านคงต้องค้น คว้าเพิ่มเติมสำหรับการตัดสินใจเสียสตางค์ในยามนี้ แต่ที่สำคัญ
เทคโนโลยีไม่ว่าจะเก่าหรือใหม่จะดีหรือด้อย อย่างไรไม่สำคัญเท่าหูของท่าน
และที่สุด หวังว่าท่านจะได้ค้นพบความงดงามที่แฝงมากับสรรพสำเนียงด้วยสุนทรียแห่งการฟัง
สวัสดีครับ