Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2543
รากฐานไอที ที่มาของอินเทอร์เน็ตแบงกิ้ง             
 

   
related stories

e-banking ไร้ขีดจำกัด ธ.ไทยพาณิชย์
การเรียนรู้ของ ธนาคารไทยพาณิชย์
บีทูบี ทุกอย่างต้องเรียลไทม์
มิติของเวลาและระยะทาง

   
search resources

ธนาคารไทยพาณิชย์, บมจ.




กว่าจะมาเป็นผลิตภัณฑ์ อินเทอร์เน็ตแบงกิ้งในจำนวน 4 กลุ่มผลิตภัณฑ์ ส่วนหนึ่งมันมาจากรากฐานของการวางระบบไอทีของธนาคาร ที่เริ่มขึ้นมานานแล้ว การจะให้บริการเหล่านี้ได้ ย่อมหมายความว่า จะต้องมีระบบหลังบ้านที่ดี ที่จะสามารถรองรับกับธุรกรรมใหม่ และรับเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาใช้อย่างเหมาะสม พัฒนาการในเรื่องไอทีของธนาคารไทยพาณิชย์แบ่งออกเป็น 4 ยุค แต่ละยุคจะมีลักษณะเฉพาะ หรือความต้องการที่แตกต่างกันออกไป จะมีระยะห่างกัน 7 ปี ยุคเริ่มต้น เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2519 เป็นเรื่องของการสร้างระบบรับฝากเงิน การสร้างระบบงานตามสาขาต่างๆ ซึ่งเป็นช่วงของการปูพื้นในการนำไอทีมาใช้งานภายใน

มาในยุคที่ 2 เริ่มขึ้นในปี 2526 จนถึงปี 2532 ช่วงนั้น เรียกว่าเป็นยุคบูมที่สุดในเรื่องไอทีของธนาคารไทยพาณิชย์ มีการลงทุนด้านไอทีจำนวนมาก เริ่มมีการนำเอทีเอ็มเข้ามาใช้เป็นครั้งแรก และเริ่มติดต่อกับลูกค้าผ่านทางเครือข่าย เป็นช่วง ที่ธนาคารเริ่มให้บริการเทเลแบงกิ้ง มีการจัดตั้งหน่วยงานด้านไอทีขึ้นเป็นเรื่องเป็นราว มีการติดตั้งเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ดาต้า คอลเลกชั่น หรือเครื่องอีดีซี เพื่อรองรับกับการนำเอาบัตรเครดิต และบัตรเดบิตเข้ามาใช้งาน การรีเอ็นจิเนียริ่งองค์กรภายในของธนาคารไทยพาณิชย์ เริ่มต้นมาตั้งแต่ในปี 2533 ถือเป็นจุดเปลี่ยนของระบบไอทีอีกครั้ง โดยมีการเปลี่ยนเทคโนโลยีใหม่มาทดแทนระบบงานเก่า จุดมุ่งหมายของการติดตั้งระบบไอทีในยุคนั้น มาจากหลายสาเหตุ

นอกเหนือจากเป็นเรื่องของการทำงานร่วมกัน ด้วยการเชื่อมโยงเครือข่ายในแต่ละฝ่าย ทั้งภายใน และภายนอกองค์กร เพื่อรองรับกับนโยบายในการเปิดเสรีทางด้านการเงิน บริการธนาคารระหว่างประเทศ ระบบบาทเน็ต และเป็นช่วง ที่ธนาคารไทยพาณิชย์ เริ่มมีการนำเอาอินทราเน็ตมาใช้ในการสื่อสารภายในองค์กร เริ่มมีการนำเอาเทคโนโลยีของเว็บเข้ามาใช้งาน มีการติดตั้งโปรโตคอล X.25 และ TCP/IP มาใช้งาน

"เป็นยุคที่มีการรีเอ็นจิเนียริ่ง เอาระบบใหม่มาแทน เริ่มรวมระบบให้เป็นเนื้อเดียวกัน ต่อท่อถึงกัน ตรงนี้เป็นยุคที่ 3"

ยุคของการเปลี่ยนแปลงในด้านของไอที เริ่มขึ้นอีกครั้งในปี 2539 พัฒนาการทางด้านไอทีของธนาคารไทยพาณิชย์ในยุคที่ 4 นั้น จะหันมามุ่งเน้นในเรื่องของการตลาด เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงองค์กร เพื่อรองรับกับการแข่งขัน เป็นจุดเริ่มของการทำงานระหว่างฝ่ายไอที และฝ่ายการตลาดการใช้ประโยชน์จากไอทีจะมุ่งเน้นในเรื่องการสร้างฐานข้อมูลลูกค้า และมุ่งในเรื่องของบริการ เทเลมาร์เก็ตติ้ง เป็นช่วง ที่ธนาคารไทยพาณิชย์ ให้ความสำคัญในเรื่องของการสร้างเครือข่ายออนไลน์ เชื่อมโยงกับเครือข่ายของหน่วยงานภายนอกมีการวางระบบอิเล็กทรอนิกส์ เช็ค เคลียริ่ง ซิสเต็มส์ ติดต่อกับเอทีเอ็มพูล ระบบการโอนเงินระหว่างประเทศพัฒนาการทางด้านไอทีของธนาคาร

ในยุคที่ 4 เป็นช่วง ที่ธนาคารเริ่มให้บริการรองรับกับการทำธุรกิจผ่านทางอีคอมเมิร์ซ เริ่มจากการให้บริการชำระเงินผ่านบัตรเครดิต ซึ่งเป็นธนาคารไทยแห่งแรกในเวลานั้น ที่มีบริการเหล่านี้เกิดขึ้น

"เมื่อก่อนจะชำระเงินทางอีคอมเมิร์ซ ต้องไปอาศัยนายหน้าที่เป็นธนาคารต่างประเทศชำระเงินให้ ต้องถูกกินหัวคิว 30% เราเชิญกรมส่งเสริมการส่งออกมาคุย เมื่อ 2 ปีที่แล้ว เราคงอยู่เฉยไม่ได้แล้ว ก็เลยสร้างระบบการชำระเงินทางอินเทอร์เน็ตขึ้นเป็นธนาคารแรก เราคิดค่าธรรมเนียม 5-10% ซึ่งถูกลงเยอะ" วิชิตเล่า

แต่ช่วงนั้น การชำระเงินยังไม่เป็นระบบอัตโนมัติ หลังจาก ที่ลูกค้าขายสินค้าผ่านบัตรเครดิต จะต้องนำสลิปมาขายกับธนาคารหลังจากนั้น ธนาคารพัฒนาระบบให้ครบวงจรมากขึ้น ให้สามารถชำระเงินอัตโนมัติได้มากขึ้น โดยให้ลูกค้าส่งรายการออนไลน์มา ที่ธนาคาร เพื่อตรวจสอบเครดิต ก่อนจะทำการหักบัญชีในลักษณะของวันต่อวัน

และสิ่งที่ธนาคารจะทำต่อไป ก็คือ การทำให้ลูกค้า ที่ไม่มีบัตรเครดิตซื้อของจากร้านค้าบนอินเทอร์เน็ตได้ โดยจะหักจากบัญชี ที่เปิดอยู่กับธนาคารไทยพาณิชย์สำหรับลูกค้าต่างประเทศ จะเป็นบริการ แอสโครว์ เซอร์วิส เมื่อลูกค้าจากต่างประเทศสั่งซื้อสินค้าในเมืองไทย ธนาคารจะไม่โอนเงินให้กับผู้ขายสินค้าในไทยจนกว่า ผู้ซื้อจะยืนยันว่าได้รับของจริง นี่คือ ส่วนหนึ่งของบริการที่ตอบสนองในเรื่องของอีคอมเมิร์ซ ที่ธนาคารไทยพาณิชย์ได้สร้างขึ้นมาตลอดหลายปีมานี้

วิชิตเชื่อว่า บริการเหล่านี้ เกิดขึ้นมาจากการปูพื้นในเรื่องของการนำอินเทอร์เน็ตเริ่มต้นมาไม่ต่ำกว่า 5 ปี คือ ตั้งแต่ยุคที่ 3 ที่ธนาคารไทยพาณิชย์นำเอาโปรโตคอล TCP/IP เข้ามาใช้งาน จากนั้น เริ่มขยายใช้เป็นอินทราเน็ตภายในองค์กร

"เราเป็นธนาคารแรก ที่มีเว็บไซต์ ก่อนจะมีตึกใหม่ด้วย และมีนโยบายเลยว่า ระบบงานคอมพิวเตอร์ทุกๆ อันจะต้องเป็นเว็บ เมื่อถึงเวลาเปลี่ยนซอฟต์แวร์เราใช้เว็บมาแทน เวลานี้ 60% ในงานคอมพิวเตอร์ของธนาคารเปลี่ยนไปใช้เว็บแล้ว เหลืออีก 20-30%"

วิชิตสะท้อนแนวคิด และยืนยันว่า การที่ธนาคารไทยพาณิชย์ให้บริการอินเทอร์เน็ตแบงกิ้งแล้วทำได้ทันที แต่เป็นเพราะการได้ปูพื้นมาแล้วหลายปีวิชิตยังเชื่อด้วยว่า สิ่งที่ธนาคารไทยพาณิชย์แตกต่างไปจากธนาคารอื่น ก็คือ การพัฒนาซอฟต์แวร์ขึ้นเองภายใน (Inhouse Development) เป็นเหตุผลสำคัญ ที่ทำให้ธนาคารสามารถออกบริการได้เร็วกว่าคู่แข่งด้วยกัน วิชิตยกตัวอย่าง บริการอินเทอร์เน็ตแบงกิ้ง ที่ธนาคารไทยพาณิชย์สามารถให้บริการได้ตั้งแต่ปลายเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว ในขณะที่ธนาคารต่างชาติกลับเริ่มให้บริการนี้ได้เมื่อกลางปีนี้ ระยะเวลา ที่ถูกร่นลง เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างอำนาจต่อรองในการแข่งขัน ซอฟต์แวร์ ที่ถือเป็นความภาคภูมิใจของธนาคารไทยพาณิชย์ ที่เกิดจากการพัฒนาขึ้นเอง ก็คือ การพัฒนาระบบ Safe เพื่อรองรับกับธุรกรรมการให้บริการหลักของธนาคาร CORE BANKING อาทิ ระบบฝาก ถอน ให้สินเชื่อ ซึ่งระบบ Safe นี้ นอกจากใช้ภายในแล้ว ยังเคยถูกขายให้กับสหธนาคาร และธนาคารมหานครนำไปใช้ ระบบงานอื่นๆ อย่างเครดิตการ์ด การซื้อขายหลักทรัพย์ บริการเปิดแอลซี อินเทอร์เน็ตแบงกิ้ง ทั้งหมดนี้ เริ่มมาจากการพัฒนาซอฟต์แวร์ขึ้นเองภายในของธนาคาร การปรับโครงสร้างใหม่ของธนาคารไทยพาณิชย์ ที่เริ่มขึ้นในปี 2539 ธนาคารได้หันมาให้ความสำคัญในการทำงานร่วมกันระหว่างฝ่ายไอที และการตลาด กลายเป็นข้อต่อสำคัญของการวางพื้นฐานไปสู่บริการอินเทอร์เน็ตแบงกิ้ง ที่ให้ในปัจจุบัน เป็นวิวัฒนาการแนวความคิดของความต้องการเปลี่ยนจากการให้บริการโดยพนักงาน manservice ไปสู่การให้ลูกค้าบริการตัวเอง(self service) อันเป็นที่มาของการใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ต

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us