Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2542
กรพจน์ อัศวินวิจิตร A Young Deal Maker             
 

   
related stories

กรพจน์ อัศวินวิจิตร รัฐมนตรีคนนอกคนล่าสุด

   
search resources

กรพจน์ อัศวินวิจิตร




คนคนนี้ ไม่ชอบแสดงตัวเป็นข่าว แต่พยายามสร้างสัมพันธ์อันดีกับนักหนังสือพิมพ์อย่างลึกๆ มีประสบการณ์ทำงานตั้งแต่เด็กๆ เพียงอายุสัก 18 ปี ผ่านบทเรียน โชกโชน ในด้านการค้าส่งออกข้าว ได้ชื่อว่าเป็นนักกลยุทธ์ที่มองยาว-มองสั้นอย่างถูกจังหวะ เขาจึงเป็นทายาทพ่อค้าข้าวเชื้อสายจีนเพียงไม่กี่คนที่ ผู้พ่อ-ผู้ก่อตั้งกิจการไว้วางใจ ปล่อยมือให้บริหารกิจการของครอบครัว ตลอดจนปล่อยให้ออกสู่โลกภายนอก สร้างอาณาจักรธุรกิจใหม่ๆ

พ่อของเขาชื่อ เบ๊ เตีย ฮุย ชายจีนโพ้นทะเลคนหนึ่ง หอบเสื่อผืนหมอนใบล่องทะเลจีนใต้ สู่แผ่นดินสยาม แต่แตกต่างกับคนจีนทั่วไป ตรงที่เขาเริ่มงานครั้งแรกที่จังหวัดเชียงราย ค่อยๆ สะสมทุนและผันตัวเองเป็นเจ้าของกิจการโรงสีขนาดเล็กแห่งหนึ่ง จากโรงสีบุกเข้าสู่ใจกลางของวงการค้าข้าว ทำหน้าที่เป็น "หยง" ที่วรจักร ซึ่งไม่ห่างทรงวาด เป็นตัวแทนโรงสีหลายโรงรับซื้อขายแก่พ่อค้าส่งออกอีกทอดหนึ่ง ลูกสามคนแรกของเขาเกิดที่นี่ คนแรกเป็นหญิง คนที่สองเป็นชายถูกส่งไปเรียนที่สิงคโปร์ตั้งแต่เด็ก และกรพจน์ อัศวินวิจิตร

ปี 2508 หรือตอนกรพจน์อายุ 9 ขวบ จากห้องแถวห้องเดียวเล็กๆ แถววรจักร ก็ย้ายสู่ย่านสวนมะลิเป็นห้องแถว 2 ห้องหลายชั้น ขณะนั้นยังเป็นที่ว่างเปล่าอยู่มาก ธนาคารศรีนครสำนักงานใหญ่ก็ยังไม่ได้สร้างขึ้น

การส่งออกข้าวยุคนั้น เป็นยุคพ่อค้านั่งอยู่เฉยๆ ผู้ซื้อเดินมาหา และค่อยสถาปนาระบบการค้าข้าวขึ้นมา ตลาดส่วนใหญ่เป็นตลาดแบบ "พี่น้องชาวจีนโพ้นทะเล" ด้วยกัน ย่านอินโดจีนเท่านั้น สิงคโปร์ มาเลเซีย ฮ่องกง โดยอาศัยสายสัมพันธ์เครือญาติเป็นหัวใจ

เบ๊ เตีย ฮุย หรือ อวยชัย อัศวินวิจิตร มีความคิดจะบุกเบิกตลาดข้าวไทยให้กว้างขวางขึ้น !

จากแนวความคิดนี้เองได้ก่อรูปเป็นยุคถัดมาของการค้าข้าว ผู้ส่งออกข้าวไทยเดินทางออกหาผู้ซื้อเอง ปี 2511 บริษัทแสงทองค้าข้าว (1968) ตั้งขึ้น ตอนนั้นกรพจน์ อายุเพียง 12 ปี เพิ่งเข้าโรงเรียนเซ็นต์คาเบรียล ภายหลังจบจากโรงเรียนจีนระดับประถมต้นแล้ว

แสงทองค้าข้าวใช้เวลาถึง 7 ปี แนวความคิดเจาะตลาดใหม่จึงบรรลุผล ในปี 2515 สามารถขายข้าวไทยครั้งแรกให้รัฐบาลอินเดีย อวยชัยเองได้มีโอกาสเดินทางเข้าพบประธานาธิบดีเนรูห์ แห่งอินเดียด้วย ยุทธวิธีในการบุกตลาดใหม่คือ อาศัยโบรกเกอร์จากญี่ปุ่น-เกาหลีใต้ เทรดดิ้งเฟิร์มญี่ปุ่นซึ่งทำหน้าที่เป็นโบรกเกอร์ไปด้วยในตัวนี้ ช่วยแสงทองค้าข้าวเข้าสู่ตลาดใหม่ๆ ย่านตะวันออกกลาง ส่วนแอฟริกานั้น แสงทองค้าข้าวดำเนินกลยุทธ์เดียวกัน คืออาศัยโบรกเกอร์ยุโรป ซึ่งมีความสัมพันธ์อันดีกับประเทศเหล่านี้มาในประวัติศาสตร์ยาวนาน

กรพจน์เข้ามาเกี่ยวข้องกับการค้าข้าวโดยตรงในปี 2520 เมื่อเรียนธรรมศาสตร์อยู่ปี 1 ด้วยเหตุมีใจฝักใฝ่การค้า เขาจึงสมัครเข้าเรียนในคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยเรียนภาคค่ำ เพื่อใช้เวลากลางวันช่วยการค้าของครอบครัว อายุประมาณ 18 ปี เขาจึงเรียนรู้และจับงานค้าส่งออกโดยตรง

ผลงานยิ่งใหญ่ของเขาคือการเปิดตลาดอิหร่านในช่วงพระเจ้าซาร์ยังเรืองอำนาจสำเร็จ ขายข้าวจำนวนหลายหมื่นตัน แสงทองค้าข้าวกลายเป็นผู้ส่งออกข้าวรายแรกและถือเป็นผลงานของกรพจน์ด้วย

เนื่องจากแสงทองค้าข้าวบุกเบิกตลาดใหม่ๆ ก่อนใครๆ กลุ่มนี้จึงผงาดขึ้นในยุทธจักรเป็นผู้ส่งออกท็อปไฟว์มาหลายปี และได้ชื่อว่า เป็น "เจ้าพ่อข้าวนึ่ง" เนื่องมาจากเป็นผู้บุกเบิกตลาดข้าวคุณภาพต่ำ และดำเนินกลยุทธ์เกาะติดตลาดนั้นๆ อย่างเหนียวแน่น กรพจน์ อัศวินวิจิตร เคยกล่าวว่า ตนเองเสียดายที่ไม่ได้ผ่านชีวิตในมหาวิทยาลัยอย่างเต็มรูป ร่วมทำกิจกรรมมีเพื่อนฝูงเพราะต้องเรียนภาคค่ำ ซึ่งวิถีชีวิตของนักศึกษาภาคค่ำแตกต่างจากภาคปกติอย่างมาก แต่อย่างไรเมื่อชั่งน้ำหนักกับบทเรียนการค้าส่งออกข้าว ข้าวโพด ในช่วงนั้นประมาณ 3 ปี ก็ต้องถือว่าคุ้มค่าไปอีกแบบ

หลังจากเรียนจบเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ แล้วกรพจน์กระโดดเข้าทำงานให้ครอบครัวเต็มตัว อีก 2 ปี จึงตัดสินใจไปเรียนต่อต่างประเทศ รวมแล้วในช่วงแรกของชีวิต ประสบการณ์การค้าข้าวในยุคการค้าข้าวของประเทศหัวเลี้ยวหัวต่อ 5 ปี ที่สหรัฐอเมริกา เขาตั้งใจเรียนเอ็มบีเอ. ที่ University of Sou-thern California อย่างเดียวโดยไม่ต้องพะวักพะวนเรื่องการค้าของครอบครัว เขาบอกว่า "เป็นการเปิดหูเปิดตารับรู้โลกกว้างอีกแบบหนึ่งในประเทศกำลังพัฒนาทุกด้าน ซึ่งแตกต่างจากประสบการณ์การค้าข้าวพบเห็นแต่ประเทศด้อยพัฒนา"

ปี 2524 เขาเดินทางกลับประเทศไทย

กรพจน์พบว่า การค้าส่งออกสินค้าพืชไร่ได้เปลี่ยนโฉมหน้าไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง อันเนื่องมาจากการพัฒนาด้านการสื่อสารการคมนาคม สังคมไทยได้เข้าสู่สังคมสื่อสารบรรดาพ่อค้าข้าวไม่ว่ารายเล็กรายใหญ่ สามารถซื้อหาข้อมูลข่าวสารได้พอๆ กัน "เมื่อก่อนใครมีเทเล็กซ์ก็นับว่าสะดวกมากแล้ว แต่ช่วงนี้ใครๆ ก็มี "เขายกตัวอย่าง ดังนั้น การแข่งขันมุ่งหนักในเรื่องราคา ปรากฏการณ์การแข่งตัดราคาเอาเป็นเอาตายเกิดขึ้นจนเป็นที่วิตกทั่วไป โดยเฉพาะกลุ่มพ่อค้าเล็กๆ ที่เคยหากินกับระบบโควตาหรือใช้ห้องประชุมแบ่งอาหารจานเดียวกัน ประกอบกับนโยบายค้าข้าวเสรีของรัฐบาลติดตามมาด้วย

ด้านข่าวสารทั้งภายในและต่างประเทศก็เหมือนกัน ข่าวการประมูลเป็นข่าวที่ถูกกระพือกันอย่างบ้าคลั่ง ทั้งข่าวรอยเตอร์ หนังสือพิมพ์ธุรกิจในบ้านเรา การเก็บออร์เดอร์เพื่อรอจังหวะหรือสร้างตลาดเพื่อรับซื้อข้าวในประเทศในราคาถูก เพื่อส่งออกตามกำหนดเวลาไม่สามารถทำได้อีกต่อไปแล้ว

อย่างไรก็ตาม แสงทองค้าข้าวก็ยังผงาดในยุทธจักรต่อไป ปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงของตลาดไม่ยากเย็นนัก พร้อมๆ กับชื่ออวยชัย และบทบาทของเขาลดถอยลงตามลำดับ ลูกชายเข้ามามีบทบาทมากขึ้นจากอยู่อย่างเงียบๆ ได้ออกหน้าสู่สาธารณชนแล้ว !

กรพจน์เป็นทายาทของพ่อค้าข้าวระดับหัวแถว นอกจากสะสมบทเรียนการค้าข้าวในอดีต เขายังเป็นพ่อค้าที่ก้าวทันสถานการณ์อย่างดีเยี่ยมด้วย บวกกับแนวความคิดที่ได้จากเรียนเอ็มบีเอ เกี่ยวกับธุรกิจที่มั่นคงและมีอนาคต เป็นแรงผลักดันให้กรพจน์ผลักดันให้ครอบครัวเห็นคล้อยตามว่า แสงทองค้าข้าว ควรจะต้องเข้าสู่ธุรกิจใหม่ๆ กรพจน์ เป็นคนแรกที่บุกเบิกธุรกิจนี้ในครอบครัว ประสานสายสัมพันธ์ของผู้พ่อซึ่งใกล้ชิดกับนักธุรกิจในฟิลิปปินส์ ชักนำอายาล่ากรุ๊ป ซึ่งมีประสบการณ์และโนว์ฮาวกิจการประกันชีวิตเข้าร่วมถือหุ้นและเข้าจัดการบางส่วน

ในเวลาใกล้เคียงเป้าหมายก็มุ่งสู่กิจการธนาคารด้วย เริ่มจากธนาคารเล็กสุด คือแหลมทอง อันประจวบเหมาะธนาคารนี้อยู่ท่ามกลางความขัดแย้ง โดยกลุ่มสมบูรณ์ นันทาภิวัฒน์ ไม่มีมากพอจึงระดมพรรคพวก วานิช ไชยวรรณ แห่งไทยประกันชีวิต ถูกชักชวนในส่วนเพิ่มทุน กลุ่มแสงทองค้าข้าวผ่านจากกลุ่มวาณิช สามารถครอบครองหุ้นในชั้นแรกประมาณ 3% พร้อมๆ กันนั้นกรพจน์ก็มุ่งหน้าสู่ธนาคารสหธนาคาร นับได้ว่าเมื่อมีเป้าหมายการเข้าสู่ธุรกิจอื่นแจ่มชัด ก็พุ่งแรงอย่างเต็มเหนี่ยวและหลายทาง เขาเป็นเพื่อนนักเรียนเซ็นต์คาเบรียลด้วยกันกับ เศรณี เพ็ญชาติ ลูกชายคนโตของชำนาญ เพ็ญชาติ ในสหธนาคาร ความขัดแย้งระหว่างศึกสองตระกูล ชลวิจารณ์-เพ็ญชาติ ใน ธนาคารดังกล่าวกำลังปะทุ กรพจน์เข้าทางเพ็ญชาติ ระดมซื้อหุ้นทั้งทางตลาดหลักทรัพย์ และจากเพ็ญชาติเอง

เมื่อบรรลุเป้าหมายเช่นนี้ แสงทองค้าข้าวจึงตัด สินใจขายหุ้น 3% ในธนาคารแหลมทองทิ้งไปในราคาที่ดีและได้กำไรพอสมควร เพื่อทุ่มเค้าหน้าตักสู่ธนาคาร สหธนาคาร

กลุ่มแสงทองค้าข้าวในปี 2528 พุ่งแรงแซงตลอด จริงๆ เข้ายึดธุรกิจใหม่อย่างสง่าผ่าเผยใน 2 ประเภท อย่างรวดเร็ว ในเวลาใกล้เคียงกันก็ทุ่มเงินหลายสิบล้าน ซื้อที่หลังธนาคารกรุงเทพสำนักงานใหญ่ ว่ากันว่าเป็นของ สว่าง เลาหทัย เพื่อเคลียร์หนี้กับชาตรี โสภณพนิช บิ๊กบอสธนาคารกรุงเทพไปบางส่วน ติดตามมาด้วยการประกาศสร้างอาคารสูงกว่า 10 ชั้น ด้วยเงินลงทุนประมาณ 500 ล้านบาท สถาปนิกออกแบบไปเรียบ ร้อยแต่แผนดังกล่าวต้องมาสะดุดชั่วคราวเพราะกฎหมายควบคุมอาคารของ กทม. เวลาประมาณ 3-4 ปี เขาบุกเข้าสู่ธุรกิจใหม่ได้ค่อนข้างรวดเร็ว เร็วกว่ายุคที่แสงทองค้าข้าวบุกค้าข้าวนอกตลาดประจำก่อนใครๆ เช่นเดียวกันก็ได้กลายเป็นพ่อค้าข้าว ที่ใช้เวลาก่อร่างสร้างกิจการไม่นานนักปรับตัวเปลี่ยนแปลงเร็วเช่นนี้

กรพจน์ อัศวินวิจิตร เป็นคนเงียบๆ ใช้ชีวิตค่อนข้างง่ายๆ เวลาส่วนใหญ่ใช้ไปในการทำงาน การพบปะผู้คน หรือนักธุรกิจเพื่อสนทนาแลกเปลี่ยนข่าวสาร เจรจาธุรกิจกันเงียบๆ ตามห้องอาหารโรงแรมมากกว่าการออกงานเลี้ยงตามโรงแรมซึ่งดูเอิกเกริก ไม่ดื่มสุรา ไม่สูบบุหรี่ ชอบทานก๋วยเตี๋ยวมากกว่าข้าว บางคนบอก ว่าเขาอยู่ในระยะสะสมบารมี ประสบการณ์ ประกอบกับอายุยังน้อย

ภรรยาของกรพจน์ เป็นลูกสาวเครือเบทราโก อุตสาหกรรมการเกษตรคู่ปรับซีพี ซึ่งเป็นพันธมิตรการค้าสินค้าพืชไร่ของแสงทองค้าข้าวมายาวนานด้วย ในนามธนาพรชัย จึงดูส่งเสริมธุรกิจของเขาให้แน่นขึ้น

ผู้ใกล้ชิดบอกว่ากรพจน์ อาจดูไม่เหมาะกับการบริหารกิจการแบบวันต่อวัน แต่เขาเหมาะสำหรับการวางแผน และด้วยประสบการณ์อันโชกโชนในการค้าข้าว เขาจึงกลายเป็น DEAL MAKER ตัวยงคนหนึ่งในวงการธุรกิจ

(เรียบเรียงจาก "ผู้จัดการ" ฉบับกันยายน 2530)

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us