Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2542
กรพจน์ อัศวินวิจิตร รัฐมนตรีคนนอกคนล่าสุด             
 

   
related stories

กรพจน์ อัศวินวิจิตร A Young Deal Maker

   
search resources

กรพจน์ อัศวินวิจิตร




ทันทีที่ประกาศ เขาเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ในโควตาพรรคชาติพัฒนา ก็เรียกเสียงวิจารณ์ดังกึกก้องทีเดียว

เพราะเหตุว่าเขาเป็นนักธุรกิจ และเป็นรัฐมนตรีที่ไม่ใช่ส.ส.

กรพจน์ อัศวินวิจิตร เป็นวุฒิสมาชิกที่หนุ่มที่สุด ปัจจุบันเขามีอายุ 44 ปี ผ่านประสบการณ์ทางธุรกิจอย่างโชกโชนคนหนึ่ง ความโชกโชนของเขาเป็นต้นธาร "ของการตีความทางการเมือง" ได้อย่างมีสีสันทีเดียว

พื้นฐานธุรกิจครอบครัวดั้ง เดิมก็คือการค้าส่งออกสินค้าข้าวและข้าวโพด (อ่านเรื่องกรพจน์ A YONG DEAL MAKER ประกอบ) และเขาก็เป็นส่วนหนึ่งของตำนานความสำเร็จ และมีสีสันนั้น จนมาถึงการเริ่มต้นของธุรกิจยุคใหม่

ยุคของการเติบโตของตลาดทุนที่มีช่วงสั้นๆ เพียง 10 ปีที่ผ่านมา เหมือน "การก่อปราสาททราย" เขาก็คือคนหนึ่งรวมอยู่ด้วย

เขาเริ่มต้นด้วยการสร้างพันธมิตรธุรกิจ หลังจากประสบความสำเร็จระดับหนึ่งในการมีธุรกิจประกัน ชีวิตและธนาคาร ภายใต้ชื่อว่า ซีจีเอ็น

ซี (ชินเวส สารสาส) จี (กร-พจน์) เอ็น (ณรงค์ชัย อัครเศรณี)

ซีจีเอ็น แม้จะเป็นชื่อกิจการเงินทุนเกิดใหม่ในปี 2530 แต่ในช่วง ปี 2532 ในยุครัฐบาลรักษาความสงบ เรียบร้อย โดยความร่วมมือของคนหนุ่มสามคน มีความหมายมากโดย เฉพาะต่อกลุ่มจีเอฟ ซึ่งถือเป็นช่วงที่กำลังโดดเด่นต่อเนื่อง หลังจากที่ปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ ภายในกิจ การเอง รวมทั้งการร่วมทุนกับต่างประเทศ

ยุทธวิธีจากนั้นของพวกเขา ก็คือการเข้าถึงอำนาจรัฐ เพื่อแสวงหาธุรกิจใหม่ๆ ที่เข้มแข็งขึ้น

ชินเวส แห่งกลุ่มจีเอฟ ตอนนั้นมีตำแหน่งเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีคลังในรัฐบาลสุจินดา-อานันท์ 1-สุธี สิงห์เสน่ห์ ซึ่งในช่วงหลังรัฐบาลพล.อ.เปรม จึงถูกเชิญมาเป็นประธาน บริษัทร่วมทุนในกลุ่มจีเอฟบริษัทหนึ่ง มาแล้ว

ดร.ณรงค์ชัย เข้ามาอยู่กลุ่มจีเอฟ ในฐานะผู้มีความคิดความอ่านในระดับเดียวกัน และใกล้เคียงกันกับชินเวส ดร.ณรงค์ชัย มีความสัมพันธ์ที่ดีกับดร.เสนาะ อูนากูล ว่ากันว่ามีความสัมพันธ์ที่ดีกับคุณหญิงมาลาทิพย์ โอสถานุเคราะห์ แม่ยายของชินเวสด้วย ดังนั้น ดร.เสนาะจึงถูกเชิญไปเป็นประธานกลุ่มพรีเมียร์ช่วงหนึ่ง

ต่อมาดร.เสนาะ ดำรงตำ-แหน่งรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐ กิจในรัฐบาลอานันท์ ปันยารชุน 1 เป็นประธานคณะกรรมการกลั่นกรอง งานเศรษฐกิจ เมื่อล้มป่วยลง ดร.สุธี ก็รักษาการในตำแหน่งสำคัญนี้ต่อไป

ณรงค์ชัย ในที่สุดก็มีตำแหน่ง บริหารอย่างเต็มที่ในกลุ่มจีเอฟในฐานะประธานกรรมการบริหาร ส่วนชินเวส และกรพจน์ก็ค่อยๆ ถอยไปอยู่หลังฉาก

ส่วนกรพจน์ อัศวินวิจิตร สมาชิกวุฒิสภา มีความสัมพันธ์ที่ดีกับ ศุภชัย พานิชภักดิ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่แบงก์ทหารไทยในขณะนั้น ในฐานะเคยเป็นกรรมการคนหนึ่งในทีเอฟไลฟ์ (ปัจจุบัน พรูเดนเชี่ยลที-เอฟไลฟ์) ของเขา ยิ่งกว่านั้นประธาน ที่ปรึกษารสช.- บุญชนะ อัตถากร ก็คือประธานทีเอฟไลฟ์ในขณะนั้นด้วย ว่ากันตามทฤษฎีสายสัมพันธ์ กลุ่มคนหนุ่มทั้งสามและธุรกิจของเขา มีสายสัมพันธ์ที่ดีทั้งทหาร และรัฐ-บาลชุดนั้น ซึ่งถือเป็นฐานที่มั่นคง ต่อ เนื่องถึงผู้มีอำนาจชุดต่อๆ มาไม่ขาดสาย

จากนั้นมาอิทธิพลของกลุ่มนี้สามารถสร้างสีสันในวงการมากทีเดียว

กลุ่มจีเอฟสามารถแหวกวงล้อมเข้าชนะประมูล เพื่อบริหารบริษัท เงินทุนสินวัฒนาและเอราวัณทรัสต์ ในกิจการของโครงการ 4 เมษา ที่คาราคาซังกันมานาน ทำให้กลุ่มจีเอฟ ขยายเครือข่ายเพิ่มขึ้นอีก อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์คาราคาซังต่อมาถึงสองปี ด้วยการค้นพบว่ากิจการทั้งสองมีหนี้สินอยู่มาก ประกอบกับทรัพย์สินส่วนใหญ่เป็นที่ดิน ก็อยู่ในภาวะถดถอย ในที่สุดจีเอฟต้องตัดสินใจถอนตัวออกไป ทั้งนี้อาจจะเป็นไปได้ว่ามีเป้าหมายใหม่ที่ยิ่งใหญ่กว่า ต่อมาก็สามารถไดัรับอนุมัติตั้งธนาคารแห่งใหม่ขึ้น โดยมีความกระตือรือร้นในการดำเนินงานมากกว่ารายอื่นๆ แต่แล้วต้องมาเผชิญเหตุการณ์ความยากลำบากของกิจการ หลักเสียก่อน

จนถึงปลายเดือนมิถุนายน 2540 กลุ่มไฟแนนซ์รุ่นแรกที่ถูกปิดกิจการ ก็มีจีเอฟอยู่ด้วย แต่พวกเขาดูเหมือนมีความหวังจนถึงนาทีสุดท้าย ของวันที่ 8 ธันวาคม 2540 ในที่สุดทั้งจีเอฟและจีซีเอ็น ก็ต้องถูกปิดกิจการเป็นการถาวร

ชินเวส ต้องกลับไปเริ่มต้นธุรกิจใหม่อีกครั้งหนึ่งในธุรกิจประกัน ขณะที่ณรงค์ชัยก็กำลังเผชิญปัญหาคดีความด้วยข้อหาการบริหารไม่ชอบ มาพากลในจีเอฟ 14 สิงหาคม 2541 สหธนาคาร ก็ถูกทางการยึด ลดทุนเหลือหุ้นละ 1 สตางค์ เข้าไปร่วมกลุ่มกับสถาบันการเงินที่มีปัญหา ต่อมาก็กลายเป็นไทยธนาคาร กรพจน์ อัศวินวิจิตร เลยต้องพ้นตำแหน่งกรรมการรองผู้จัดการไปด้วย

จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าเขาจะต้องมีชื่อในกลุ่มลูกหนี้มีปัญหา ซึ่งเป็นเรื่องปกติเช่นเดียวกับคนอื่นๆ ในสถานการณ์ยามนี้

กรพจน์ อัศวินวิจิตร กลับเข้าสู่ธุรกิจดั้งเดิมของเขา - ค้าข้าว ซึ่งมีกิจกรรมไม่ตื่นเต้นมากสำหรับเขาแล้ว แต่ด้วยความที่เขาสะสมสายสัมพันธ์บารมีมาเรื่อยๆ จนกลายเป็นเส้นทางชีวิตของเขาแล้ว ด้วยความเชื่อที่ว่าสิ่งเหล่านี้ ก็คือโอกาสใหม่ทางธุรกิจ

ซึ่งไมรู้ว่าเป็นการตัดสินใจผิดอีกครั้งหรือไม่ ในการเข้าสู่วงการการเมืองเต็มตัวครั้งนี้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us