Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2542
บู๊ทส์สวนกระแส ขยายการลงทุนให้ได้ถึง 100 ร้าน             
 


   
search resources

บู๊ทส์ รีเทล (ประเทศไทย)
เควิน ซาร์จีสัน




เป็นเรื่องเหลือเชื่ออย่างยิ่งว่ากิจการที่เริ่มดำเนินการในเดือนที่ประเทศไทยประสบปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจ คือ ในเดือนมิถุนายน 2540 กลับสวนกระแสเติบโตขึ้นมาได้และยังมีความเชื่อมั่นที่จะขยายการลงทุนมากยิ่งขึ้นไปอีก กิจการที่กล่าวข้างต้นคือร้านสุขภาพและความงาม บู๊ทส์ ซึ่งมีต้นกำเนิดในประเทศอังกฤษ และเข้ามาเปิดดำเนินการในไทยจนถึงปัจจุบันครบ 2 ปีเต็มไปแล้วนั้น ปรากฏว่าบู๊ทส์สามารถขยับขยายเปิดร้านได้ถึง 30 แห่ง โดยมี 22 แห่งในกรุงเทพฯ และอีก 8 แห่งในต่างจังหวัด และคาดว่าเมื่อถึงสิ้นงวดบัญชีของบริษัทประจำปีนี้(เดือนมีนาคม ค.ศ.2000) บู๊ทส์จะเปิดสาขาได้รวมทั้งสิ้น 46 แห่ง (โดยจะเพิ่มเป็น 12-13 แห่งในต่างจังหวัด) และยังมีนโยบายที่จะเปิดให้ได้ครบ 100 แห่งภายใน 2 ปีข้างหน้า โดยที่หลังจากเปิดครบแล้ว บริษัท บู๊ทส์ รีเทล (ประเทศไทย) จำกัด ก็จะทบทวนนโยบายการลงทุนในไทย กับบริษัทแม่ในอังกฤษ เพื่อพิจารณาว่าควรจะมีจำนวนร้านสาขาเท่าใดในประเทศไทยแน่ และจะขยายการลงทุนต่อไปอย่างไร

มร.เควิน ซาร์จีสัน กรรมการผู้จัดการบริษัท บู๊ทส์ รีเทล (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวกับ "ผู้จัดการ" ว่าการจะเปิดสาขาให้ได้ตามเป้าหมายที่กำหนดนั้น ขึ้นอยู่กับว่ามีทำเลที่เหมาะสมกับความสามารถของบู๊ทส์ที่จะเจรจาติดต่อเอาทำเลนั้นมาได้ เหตุผลสำคัญที่บู๊ทส์ต้องรีบเปิดสาขาจำนวนมากในไทยในจังหวะเวลานี้ มร.ซาร์จีสัน เท้าความไปถึงการทำวิจัยเมื่อ 3 ปีก่อนเพื่อพิจารณา ว่าควรจะมาเปิดตัวดำเนินกิจการในไทยหรือไม่ เขาพบว่าปัจจัยหนึ่งที่จะ ทำให้บู๊ทส์ประสบความสำเร็จในไทยคือการเร่งสร้างความสามารถเพื่อเติบโตอย่างรวดเร็ว และนั่นก็นำมาซึ่งการสร้างสำนักงานใหญ่ขนาดใหญ่จริงๆ และเปิดสาขาใหม่ๆ เร็วมาก แม้ว่าภาวะเศรษฐกิจในประเทศไทยปัจจุบันจะเดินสวนทางกับตอนที่บู๊ทส์ ทำวิจัยก็ตาม แต่มร.ซาร์จีสันก็ยังเชื่อมั่นในผลการวิจัยที่ทำไว้ และยิ่งเห็น ว่าช่วงเวลานี้น่าจะมีพื้นที่หรือทำเลที่ดีพอ ข้อสำคัญคือยังว่างอยู่ด้วย บู๊ทส์มีทีมงานด้านอสังหาริม ทรัพย์ของตัวเองที่คอยตรวจหาทำเลดี ซึ่งทีมนี้จะทำงานร่วมกับบริษัทอสังหาฯ ท้องถิ่นเพื่อหาทำเลและเจรจาติดต่อเช่าระยะยาว (เป็นเวลา 9 ปีแล้ว ต่อสัญญาครั้งละ 3 ปี) ในปีหนึ่งบู๊ทส์ จะทบทวนเรื่องทำเลที่จะเปิดร้าน 2 ครั้งและดูว่ามีทางสำเร็จมากน้อยแค่ไหน

อีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้มร.ซาร์-จีสัน มีความเชื่อมั่นการลงทุนในไทยมาก ก็เพราะผลการดำเนินงานของสาขาในไทยแค่เพียง 2 ปีที่ผ่านมาดีกว่าที่ตั้งเป้าหมายเอาไว้มาก 6 สาขาแรกที่ตั้งมานั้นปรากฏว่ามีกำไรจนสามารถคุ้มทุนแล้ว (แต่ได้นำเม็ดเงิน จากผลกำไรนั้นมาลงทุนในสำนักงานใหญ่ที่ตึกชาญอิสสระ 2) และสาขาในต่างจังหวัดก็ประสบผลสำเร็จอย่าง ดี ดังนั้นบู๊ทส์จึงมองหาทำเลเพิ่มในต่างจังหวัดด้วย

มร.ซาร์จีสันก็เช่นเดียวกับนักลงทุนส่วนมากที่เข้ามาลงทุนในไทยใน ช่วงที่ผ่านมา เขาเห็นว่าวิกฤตเศรษฐ-กิจในประเทศไทยเริ่มฟื้นตัวและคลี่ คลายไปในทางที่ดีขึ้นแล้ว เศรษฐกิจเริ่มขยายตัว แต่ไม่ใช่ในระดับที่เคยเกิดขึ้นก่อน "ฟองสบู่แตก" แน่นอน เขาจึงมีความมั่นใจสูงมากในการขยายการลงทุนครั้งนี้ นอกจากนี้เขายังพบว่าลูกค้ามีความตระหนักรู้ในแบรนด์ "บู๊ทส์" ดีมากด้วย

เขาดูมีความมั่นใจมากด้วยว่าการดำเนินงานร้านบู๊ทส์ในประเทศไทย จะบรรลุเป้าหมายเร็วกว่าที่ตั้งไว้ เมื่อกล่าวถึงสถานการณ์โดยรวมในภูมิภาคนี้ ปรากฏว่าบู๊ทส์เพิ่งเข้ามาเปิดดำเนินการในไทยเป็นแห่งแรก ส่วนในญี่ปุ่นนั้นมีเพียง 2 ร้านเท่านั้นเองที่เพิ่งเปิดเมื่อเร็วๆ นี้ นั่นเท่ากับบู๊ทส์ให้ความสำคัญกับไทยอย่างมาก และมีแนวโน้มที่จะใช้ไทยเป็นฐานการขยายตัวในภูมิภาคต่อไป

สินค้าบู๊ทส์ที่วางจำหน่ายจะนำเข้ามาจากอังกฤษ แต่บริษัทก็มีแผนงานที่จะผลิตสินค้าบางประเภทในไทยและใช้เครื่องหมายการค้า "บู๊ทส์" ภายในปีนี้ กลุ่มสินค้าที่จะเริ่ม ผลิตในไทยโดยใช้สูตรการผลิตของ บู๊ทส์คือสินค้ากลุ่มแชมพู ครีมนวดผมหรือคอนดิชั่นเนอร์ รวมทั้งผลิต ภัณฑ์ครีมอาบน้ำชำระร่างกาย (bath & shower) "เรารู้จักโรงงานที่มีความสามารถจะผลิตสินค้าตามสูตรของเราได้อย่างมาตรฐาน ซึ่งผมคิดว่าผลิตภัณฑ์ที่ผลิตภายในประเทศไทย ภายใต้เครื่องหมายการค้าบู๊ทส์จะออกวางจำหน่ายในตลาดได้ในช่วงต้นปีหน้า ซึ่งก็ตรงกับไตรมาสสุดท้าย ของงบการเงินของบริษัท "มร.ซาร์จีสันกล่าว

สินค้าที่ผลิตในไทยนั้นจะวางจำหน่ายในไทยก่อน แล้วจึงค่อยๆ เริ่มกระจายสู่ตลาดอื่นๆ ในเอเชีย ซึ่ง ก็คงต้องดูว่าในอนาคตจะเป็นอย่างไร เพราะบู๊ทส์ยังไม่มีการดำเนินงานในประเทศอื่นๆ ในเอเชียดังที่กล่าวมา ยกเว้นไทยและญี่ปุ่น

ดูเหมือนว่าบู๊ทส์ จะเข้ามาในตลาดเอเชียช้ากว่าสินค้าอีกหลายหลากยี่ห้อ ที่เข้ามาเปิดตัวในภูมิภาคนี้ไปก่อนหน้าแล้ว แต่มร.ซาร์จีสันกลับมองว่า "ไม่ได้มาสายเกินไป คืออาจจะช้ากว่าคนอื่น แต่ก็ยังมาเร็วกว่าอีกหลายราย สิ่งที่เราคิดอยู่คือเรา ต้องปรับปรุงรูปโฉมสินค้าและหน้าตาร้านค้าให้ดึงดูดใจลูกค้าเอเชีย ซึ่งเราทำสำเร็จมาแล้วในอังกฤษ ตอนนี้เรากำลังทำในตลาดเอเชีย"

พฤติกรรมการบริโภคของลูกค้าไทยก็ไม่ได้แตกต่างไปจากลูกค้าชาติอื่นๆ มร.ซาร์จีสันกล่าวว่า "พวกเขาก็ชอบสินค้าของเรามาก ซึ่งสินค้าประมาณ 50% ที่เราขายนั้นเป็นแบรนด์ บู๊ทส์ที่เหมือนกับที่วางขายในร้านบู๊ทส์ ทั่วโลก ซึ่งก็ได้แก่พวก สินค้าบำรุงผิว บำรุงเส้นผม นี่คือประเภทที่ซื้อกันมาก แต่มีสิ่งหนึ่งที่ต่างออกไปบ้าง คือในส่วนของสินค้าเวชภัณฑ์ซึ่งเรามีการขายยาเหมือนร้านขายยาทั่วไป แต่ ดูเหมือนลูกค้าไทยจะไม่ค่อยตระหนักรู้ว่าเราขายยาด้วย ขณะที่ร้านบู๊ทส์ในยุโรปนั้นเป็นทีรู้จักดีเรื่องการขายยา"

ร้านบู๊ทส์ในไทยมีสัดส่วนการขายผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงาม 80% ส่วนที่เหลือเป็นสินค้าเวชภัณฑ์ แต่มีบางร้านที่เปิดมานานหน่อย สัดส่วนจะเป็น 70 : 30 ทั้งนี้ มร.ซาร์จีสันมองว่าเหตุผลที่ทำให้สินค้าเวชภัณฑ์ขายได้ไม่ดีเหมือนในยุโรป เพราะมีสินค้าที่เป็นของบู๊ทส์จำหน่ายน้อย เนื่องจากกระบวนการขออนุ-ญาตขายสินค้าเวชภัณฑ์ในไทยซับซ้อนและกินเวลานานมาก กว่าจะได้ทะเบียนยามานั้นต้องใช้เวลานาน

ปกติร้านบู๊ทส์ไม่ได้ขายสินค้าบู๊ทส์อย่างเดียว แต่ขายยี่ห้ออื่นๆ ประกอบด้วยเป็นส่วนน้อย ทว่าก็เป็น ผลิตภัณฑ์ชั้นนำในประเภทนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นเวชภัณฑ์หรือผลิตภัณฑ์เพื่อ สุขภาพและความงาม เช่น คลินิก, เอสเต้ เลาเดอร์ เป็นต้น

ร้านบู๊ทส์ที่มียอดขายดีและถือว่าเป็นร้านที่ใหญ่ที่สุดในเวลานี้มี 4 แห่งคือ ร้านที่เซ็นทรัล ปิ่นเกล้า, เซ็นทรัล ลาดพร้าว, สยามเซ็นเตอร์ และตึกยูบีซี สุขุมวิท 35 โดยร้านที่มีพื้น ที่มากที่สุดจะมีขนาด 400 ตารางเมตร และเล็กสุดที่เป็น sub-shop มีขนาดเพียง 120 ตร.ม. ขนาดปกติคือ 200-250 ตร.ม.

ปัจจุบันบู๊ทส์มีสินค้าที่จดทะเบียนการค้าในไทยถึง 4,500 รายการ มร.ซาร์จีสันเปิดเผยว่าจะมีการเพิ่มรายการสินค้าใหม่ๆ ปีละประมาณ 20% ของจำนวนนี้หรือประมาณ 900 รายการ ซึ่งเท่ากับเดือน หนึ่งๆ จะมีสินค้ารายการใหม่ๆ เข้ามาประมาณ 75 รายการ

ไม่ใช่สินค้าทุกตัวที่วางจำหน่าย ในร้านบู๊ทส์ประเทศอื่นๆ แล้วจะต้องมีในไทย หรือสินค้าบู๊ทส์ที่จำหน่ายในไทยอาจจะไม่ได้จำหน่ายในที่อื่นๆ ก็เป็นได้ แต่สินค้าส่วนมากที่วางจำหน่ายในอังกฤษก็มักจะนำเข้ามาจำหน่ายในร้านบู๊ทส์ในไทย

"เราหวังว่าจะพัฒนาสินค้าบู๊ทส์เพื่อวางจำหน่ายเฉพาะตลาดในเอเชียเท่านั้น อย่างเรากำลังมีนโย-บายที่จะทำกับเครื่องสำอางชื่อ "No7" ก่อนเป็นตัวแรก"

ในปลายปีนี้จะมีการประกาศเกี่ยวกับการขยายตัวในเอเชียเพิ่มขึ้น แต่ตอนนี้ มร.ซาร์จีสัน ไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้ เขากล่าวแต่เพียงว่าจะมีการเปิดร้านในประเทศอื่น ในภูมิภาคนี้ แต่คงต้องรอให้ถึงเวลา ก่อนจึงจะประกาศได้ เพราะบู๊ทส์เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ลอนดอน

บู๊ทส์ดำเนินกิจการในอังกฤษมาประมาณ 125 ปี มีร้านในเกาะเล็กๆ แห่งนี้มากถึง 1,200 ร้าน ยอดขายที่นี่สูงมากที่สุด ขณะที่ยอดขายในเอเชียยังต่ำอยู่ แต่มร.ซาร์จีสันก็หวังว่ามันจะเพิ่มสูงอย่างมีนัยสำคัญในอนาคต

กิจการบู๊ทส์ก็มีการแก้ปัญหาเรื่อง Y2K ด้วยเช่นกัน เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สำนักงานใหญ่สามารถ เชื่อมโยงกับร้านค้า 30 แห่งทั่วประเทศ ได้ และยังเชื่อมต่อไปถึงสำนักงานในอังกฤษด้วยในลักษณะ fully inte-grated network บู๊ทส์ใช้ฮาร์ดแวร์ของ IBM ใช้ระบบ EPOS และซอฟต์ แวร์ของตัวเอง ทั้งนี้การแก้ปัญหา Y2K จะเสร็จสมบูรณ์ในเดือนกันยายนศกนี้

การที่จะสร้างสินค้าบู๊ทส์ให้เป็นทีรู้จักและได้รับความนิยมจากลูกค้านั้น พนักงานขายหน้าร้านเป็นผู้มีบทบาทสำคัญมาก ซึ่งมร.ซาร์จีสัน ตระหนักเรื่องนี้เป็นอย่างดี ดังนั้นโปรแกรมการอบรมพนักงานร้านบู๊ทส์ ในไทยจึงมีความสำคัญต่อการเติบโตของกิจการนี้มาก มร.ซาร์จีสันเล่าว่า "พนักงานบู๊ทส์จะได้รับการฝึกอบรม 1 เดือนเต็ม ซึ่งมากกว่าในอังกฤษเพราะที่นั่นคนรู้จักสินค้าบู๊ทส์ อยู่แล้ว โดยเทรนเนอร์จะมีทั้งเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นและเจ้าหน้าที่บู๊ทส์จากอังกฤษ โปรแกรมการอบรมมีทั้งเรื่อง ความรู้ในผลิตภัณฑ์ การให้บริการ การพัฒนาตนเอง เราใช้งบประมาณ 1% ของยอดขายที่นี่ในเรื่องการฝึกอบรม ซึ่งถือว่าเป็นงบประมาณที่สูงทีเดียวสำหรับกิจการประเภทรีเทล บิสสิเนสอย่างเรา"

ตอนนี้บู๊ทส์มีพนักงานรวมมากกว่า 500 คน แต่ในอนาคตก็จะเพิ่มขึ้นไป คาดว่าสิ้นปีจะมีถึง 700 คน ในจำนวนนี้มีเภสัชกรประมาณ 100 คน ( 3 คนต่อ 1 ร้าน)

มร.ซาร์จีสันมั่นใจว่าในปีหน้าผลการดำเนินงานของบู๊ทส์ รีเทล (ประเทศไทย) จะเริ่มมีกำไรและในอีก 1 ปีข้างหน้า เขาสามารถขยายกิจการร้านบู๊ทส์ และสร้างผลตอบแทนให้บริษัทฯ ถึงจุดคุ้มทุนได้ แม้ว่าบริษัทฯ ยังจะมีการลงทุนอยู่ในช่วงเวลานี้ก็ตาม ทั้งนี้เคยมีการแถลงข่าวว่าบริษัทฯ มีเม็ดเงินลงทุนเพื่อเปิดร้านเพิ่มอีก 15 แห่งภายในปีงบประมาณนี้เป็นเงินทั้งสิ้น 400 ล้านบาท โดยเงินลงทุนนี้มาจากการดำเนินงานในประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมา

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us