Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2542
ฟินันซ่าเริ่มผงาด ดึงเม็ดเงินนอกมาตั้งกองทุนใหม่             
 


   
search resources

ฟินันซ่า, บง.
สมพงษ์ วิทยารักษ์สรรค์
Funds




ชื่อของบริษัท ฟินันซ่า ไม่ได้เป็นที่คุ้นเคยในแวดวงตลาดทุนไทยในช่วงก่อนเศรษฐกิจล่มสลายสักเท่าใด เพราะเป็นบริษัทบริหารเงินลงทุนเล็กๆ มีการจัดตั้งกองทุนขึ้น 2 กองเพื่อลงทุนในเวียดนามและในภูมิภาคนี้ อย่างไรก็ตาม ในช่วงเศรษฐกิจเริ่มผงกหัวขึ้นมานี้ ปรากฏว่าบริษัทได้รับความสำเร็จอย่างยิ่งจากการตัดสินใจลงทุนหุ้น TISCO และคาดว่าจะมีความสำเร็จจากหุ้นอีกหลายตัวที่ได้ลงทุนไว้ในช่วงปีที่ผ่านมา ความสำเร็จที่ชัดเจนอีกอย่างคือบริษัท สามารถดึงเม็ดเงินต่างประเทศเข้ามาตั้งกองทุนเพื่อลงทุนในไทยได้มากขึ้น แต่เดิมนั้นฟินันซ่าเน้นเรื่องการลงทุนโดยตรงหรือ direct investment ซึ่งตอนนี้ก็มีการบริหารกองทุนอยู่ 2 กองและเพิ่งจัดตั้งใหม่อีก 1 กอง

กองแรกคือ The Vietnam Frontier Fund หรือ VFF ก่อตั้งในปี 1994 กองทุนนี้ลงทุนในกิจการต่างๆ ในเวียดนาม ได้แก่ ซีเมนต์ วัสดุก่อสร้าง อย่างกระเบื้องเซรามิกสำหรับมุงหลังคา รถสามล้อ เหล็กเพื่อการก่อสร้าง โรงเรียนและการพัฒนาชุมชน โรงพยาบาล โครงการลงทุนส่วนมากจะเป็นพวกโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นเรื่องจำเป็นในการพัฒนา ประเทศในช่วงต้น อย่างเหล็ก ซีเมนต์ และการสาธารณสุข (health care) เป็นต้น

เมื่อเร็วๆ นี้ฟินันซ่าได้ทำการศึกษาเรื่องการพัฒนาตลาดหลักทรัพย์ ในเวียดนาม และมีการเชิญกลุ่มคนเวียดนามจำนวน 22 คนมาเยี่ยมไทย ประมาณ 2 สัปดาห์ครึ่ง เป็นกลุ่ม โบรกเกอร์ในเวียดนามและผู้บริหารกิจการที่มีขีดความสามารถ (potential) ที่จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เวียดนามที่กำลังจะจัดตั้งขึ้น ฟินันซ่าเชิญคนเหล่านี้มาศึกษาเรียนรู้ประสบการณ์การจัดตั้งตลาดหลักทรัพย์ไทย ร่วมกับทางตลาดหลัก ทรัพย์ไทยที่เชิญพวกเขามาเยี่ยมชมกิจการด้วย ยูจีน เอส เดวิส กรรมการผู้จัดการ ฟินันซ่า กล่าวในการให้สัม-ภาษณ์แก่ "ผู้จัดการ" ว่า "เวียดนาม ฟันด์ ไม่ได้เป็นกองทุนที่ popular มากนัก เวียดนามเองก็ไม่ใช่ประเทศที่มีผู้นิยมลงทุนกันมากนักเมื่อเทียบกับอีกหลายประเทศในภูมิภาคนี้ คนสนใจอินโดฯ ไทย เกาหลี มากกว่า แต่ตอนที่เราทำกองทุนนี้คือปี 1994 ซึ่งสิ่งต่างๆ กำลังเปลี่ยนแปลงเราจึง ตั้งออฟฟิศในเวียดนาม และมีคนที่นั่นทำงานอยู่ประมาณ 10 คน"

ผลตอบแทนของเวียดนามฟันด์ ตอนนี้มี NAV อยู่ประมาณ 7.80 เหรียญขณะที่หน่วยลงทุนมีมูลค่าหน่วยละ 10 เหรียญ หรือ NAV ติดลบอยู่ประมาณ 20% คือยังเป็น negative return กองทุนนี้จดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์เมืองดับลิน ประเทศไอร์แลนด์ ทำการซื้อขายแบบ OTC หรือในหมู่โบรกเกอร์เท่านั้น ไม่ได้เป็นกองทุนที่มีการซื้อขายแอกทีฟนัก แต่ก็ถือว่าเทรดกันมากที่สุดในบรรดากองทุนที่มาลงทุนในเวียดนาม ทั้งหลาย คือเทรดอาทิตย์ละครั้งหรือสองอาทิตย์ครั้ง (ดูกราฟ NAV ประกอบ)

VFF ให้น้ำหนักการลงทุนมาก ที่สุดในกิจการเหมืองแร่ในช่วงตั้งกองทุน และซีเมนต์วัสดุก่อสร้างแต่ หลังจากปี 1997 ก็มีการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักการลงทุน โดยช่วงหลังๆ นี้ได้หันไปให้น้ำหนักการลงทุนในกิจการ ที่มีความสามารถจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เวียดนาม โดยเฉพาะกิจการท้องถิ่น

มูลค่าของกองทุน VFF ตอนนี้ประมาณ 32 ล้านเหรียญ

กองทุนแห่งที่สองที่ฟินันซ่าบริหารคือ The Southeast Asia Frontier Fund ซึ่งแต่เดิมเป็นการลงทุนที่ลงทุนในทั่วภูมิภาคเอเชีย(ตั้งเมื่อ ปี 1996) ครั้นในเดือนกรกฎาคม 1997 ที่วิกฤติเศรษฐกิจในเอเชียปรากฏตัวชัดเจน กองทุนนี้ก็หยุดการลงทุน และในเดือนมีนาคม 1998 ได้เปลี่ยนนโยบายการลงทุนมาลงเฉพาะกิจการ ในประเทศไทยเท่านั้น เป็นกิจการทั้งที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไทย และไม่ได้จดทะเบียนฯ แต่กิจการเดิม ที่มีอนาคตแต่ไม่ได้อยู่ในไทยก็คงดำเนินการลงทุนต่อไปบางแห่ง ซึ่งกองทุนนี้ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น Siam Investment Fund I หรือ SIF I SIF I เริ่มลงทุนใหม่อีกครั้งเมื่อวิกฤติเศรษฐกิจในไทยตกไปถึงจุด ต่ำสุด (bottom) โดยมีการลงทุนใน 4 กิจการ คือลงทุนซื้อหุ้น 14% ใน บริษัท เนชั่น มัลติ มีเดีย กรุ๊ป (NMG) ซึ่งได้มีตัวแทนเข้าไปนั่งในกรรมการบริษัทด้วย นอกจากนี้ก็มีการลงทุนในซี-เอ็ด 20% ซึ่งมร.เดวิสกล่าวว่าเขาชอบทีมบริหารของซี-เอ็ด ซึ่งมีความซื่อสัตย์และมุ่งมั่นในกิจการ เป็นอย่างยิ่ง มร.เดวิสกล่าวว่า "โดยเฉพาะในยามนี้ เราต้องให้ความสำคัญในปัจจัยเรื่องบุคลากรเป็นด้านหลัก เพราะเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้กิจการก้าวล่วงผ่านวิกฤติไปได้ด้วย" ตัวเขาและวรสิทธิ์ โภคาชัยพัฒน์-กรรมการบริหารของฟินันซ่า ได้ร่วมในกรรมการบริษัท ซี-เอ็ด นาม สกุลของวรสิทธิ์ดูเป็นที่คุ้นหูในกิจการ ด้านกฎหมายและที่ปรึกษา ซึ่งจริงๆ แล้วนั่นเป็นบิดาของเขา(สุนทร โภคาชัยพัฒน์) ตัวเขานั้นเดิมเป็นนักวิเคราะห์ที่ TISCO มาก่อน แล้วตัด สินใจมาเปิดบริษัทที่ปรึกษาการลงทุน ฟินันซ่า ร่วมกับมร.เดวิส ในปี 1992

มร.เดวิสพูดถึงวรสิทธิ์ว่า"คนบอกว่าวรสิทธิ์บ้า เพราะตอนนั้นใครๆ ก็ล้วนแต่อยู่ในธุรกิจหลักทรัพย์ในบริษัทไฟแนนซ์กันทั้งนั้น" แต่ตอนนี้ปรากฏว่ากิจการบริหารกองทุนของเขา กลับรุ่งเรือง

วรสิทธิ์กล่าวว่า เขาเป็นคนที่ชอบด้านการลงทุน สมัยอยู่ทิสโก้นั้นเขาทำด้านการวิเคราะห์หลักทรัพย์เขา มองว่าการให้คำปรึกษานั้นเป็นเสมือนการชกกระสอบทรายไม่ได้ขึ้นชกจริงๆ เพราะว่าคนวิเคราะห์ไม่มีความ เสี่ยง หรือความเสี่ยงน้อยกว่า แต่เมื่อมาลงทุนเองนั้น เขาจะต้องเข้าใจบริษัทมากขึ้นเพราะว่าเขามีความเสี่ยงสูง มีเม็ดเงินที่เข้าไปลงทุนด้วยจำนวนมาก

"ผมมองว่าตอนทำวิเคราะห์ก็สนุกดี แต่จริงๆ แล้วรู้แค่งูๆ ปลาๆ คน ที่เขียนวิเคราะห์นั้นก็เป็นคนที่ฉลาด แต่ทว่าไม่ได้ลงสนามจริง ไม่ได้รู้จริง"

ส่วนที่ธนาคารเอบีเอ็น แอม โร เข้ามาถือหุ้น 31% ในฟินันซ่านั้น จริงๆ แล้วมันเป็นมรดกมาจากกิจการ Hoare Govett Asia ที่ธนาคารฯ ซื้อไปในช่วงปี 1994 ทั้งนี้ หุ้นอีก 60% กว่าที่เหลือของฟินันซ่าถือโดยกลุ่มผู้บริหารบริษัท

นอกจากเนชั่นและซี-เอ็ดแล้ว SIF I ก็มีการลงทุนในหุ้น TISCO ในส่วนที่เป็นการเพิ่มทุนหุ้นบุริมสิทธิ ซึ่ง มร.เดวิสได้เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการ บริษัทด้วย กิจการที่ 4 ที่ลงทุนคือบริษัท Asia Pacific Resources ซึ่งได้รับสัมปทานทำเหมืองโปแตชในจังหวัดอุดรธานี โดย 90% ของกิจการ นี้ถือหุ้นโดยบริษัทแคนาดาชื่อ APR และอีก 10% เป็นของกระทรวงการคลัง นี่เป็นเหมืองโปแตชที่จะใหญ่ที่สุดในเอเชีย

กล่าวได้ว่าทั้ง 4 กิจการเป็นการ ลงทุนใหม่ของ SIF I แต่ก่อนหน้านั้นก็มีการลงทุนในกิจการอื่นๆ มาแล้วซึ่ง ก็มีส่วนที่ไม่ประสบความสำเร็จและต้องขาย(liquidate)เงินลงทุนทิ้งไป เช่น กิจการบริษัทพิซซ่าในไทยชื่อ Monterey Pizza ซึ่งทำพิซซ่าชื่อ Domino และ SIF I ก็มี convertible loan อยู่

แต่กิจการเก่าที่ยังลงทุนต่อเนื่องต่อไปได้แก่ บริษัท Acron Pla-stic Industry Co.,Ltd., บริษัท Pato Chemical Industry PLC. และบริษัท Northbridge Communities Ltd.

มูลค่าสินทรัพย์สุทธิหรือ NAV ของ SIF I เมื่อสิ้นเดือนมิถุนายน 1999 อยู่ที่หน่วยละ 16.10 เหรียญ (ดูกราฟ ราคาหน่วยลงทุน SIF I) ส่วนมูลค่ากองทุน SIF I ตอนนี้อยู่ที่ 41 ล้านเหรียญเทียบกับตอนเริ่มตั้งนั้นอยู่ที่ 25 ล้านเหรียญ

SIF I ถือว่าเป็นกองเล็ก ดังนั้นมูลค่าการลงทุนในโครงการหนึ่งๆ จึงจำกัดอยู่ระหว่าง 2-5 ล้านเหรียญเท่านั้น และตอนนี้ก็ยังเป็นกองทุนปิด อยู่ ผู้บริหารทั้งสองมองว่าอาจจะมีการเปลี่ยนเป็นกองทุนเปิด เพื่อสร้างพอร์ตโฟลิโอให้ดีขึ้น SIF I จดทะเบียน ที่ตลาดลอนดอน ก็พอจะมีการเทรดบ้างประมาณ 10%-20% ในช่วงที่มีการ release ข่าวเรื่องกำไรหุ้น TISCO ออกไป ว่าไปแล้ว ผลกำไรจาก TIS-CO ที่เป็นกอบเป็นกำครั้งนี้ (โปรด ดูรายละเอียดข่าวได้จาก "ผู้จัดการ" ฉบับเดือนกรกฎาคม 2542 หน้า 128) ในกลุ่มผู้ถือหน่วยลงทุน SIF I ยังไม่ได้มีการปรึกษากัน จนกว่าจะถึงการประชุมบอร์ดครั้งต่อไป วรสิทธิ์กล่าวว่า "นี่ถือเป็นปัญหาใหม่ว่าเราจะทำอย่างไรกับกำไรที่ได้ อาจจะขายและจ่ายเงินคืนผู้ถือหน่วย หรืออย่างไรก็ตามแล้วแต่จะมีการเสนอและตกลง กันในที่ประชุม"

มร.เดวิสกล่าวว่า "เราต้องจ่าย ผลตอบแทน 12% ให้แก่ผู้ถือหน่วย หรือประมาณ 50% ของราคาหน่วยใน ตอนนี้ ซึ่งคนก็น่าจะซื้อหน่วยลงทุนนี้ เพราะจะได้เงินปันผลประมาณ 40%-50%"

กองทุนที่ 3 เป็นกองทุนใหม่ที่ฟินันซ่าบริหารในภูมิภาคนี้ (เริ่มลงทุนในช่วงปลายปี ตอนนี้อยู่ระหว่างการระดมเงินทุน) โดยร่วมมือกับแคปปิตอล ซี (Capital Z) ลงทุนในสัด ส่วนเท่าๆ กันเพื่อจัดตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์ขึ้นใหม่ชื่อ ฟินันซ่า แคป-

ปิตอล (Finansa Capital) กิจกรรมแรกสุดของบริษัทนี้คือการจัดตั้งกองทุนโดยใช้ชื่อว่า สยามอินเวสเมนท์ ฟันด์ II (Siam Investment Fund II หรือ SIF II) มูลค่า 75 ล้านเหรียญ ซึ่ง แคปปิตอล ซี จะลงทุนจำนวน 30 ล้าน เหรียญและธนาคาร เอบีเอ็น แอมโร จะมีส่วนร่วมด้วยในกลุ่มแรกที่เป็น core investor ซึ่งคาดว่าจะรวมได้ ประมาณ 50-60 ล้านเหรียญในช่วงที่เป็น first closing หลังจากนั้นจะไปทำโรดโชว์เพื่อระดมทุนอีกครั้งกับสถาบันการเงิน ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลา 3-6 เดือน เป็น second closing กองทุน SIF II จะลงทุนในกิจการต่างๆ ในประเทศไทยซึ่งเป็นกิจการที่มีหลักทรัพย์มั่นคงและมีอนาคตทางธุรกิจที่ดี แต่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ขอบเขตการลงทุนของกองทุนนี้จะค่อนข้างกว้างกว่ากองทุน SIF I คือ นอกจากลงทุนซื้อสินทรัพย์แล้วยังสามารถลงทุนซื้อภาระหนี้ ที่มีเงื่อนไขแปลงเป็นหลักทรัพย์ได้ในอนาคต ซึ่งแหล่งที่จะซื้อก็คือลูกหนี้แบงก์ที่มีอยู่มากมายในเวลานี้ กองทุนนี้จึงทำตนเป็นเสมือน "ทางเลือกของเงินทุน" ใน ไทย (a source of solution capital) และเม็ดเงินที่จะลงทุนในโครงการหนึ่งๆ มีมูลค่าประมาณ 10-20 ล้านเหรียญ หรืออาจจะไปได้สูงถึง 50 ล้านเหรียญ

กองทุน SIF II เป็นกองทุนปิด ต้องลงทุนให้ได้ภายใน 5 ปี ซึ่งวรสิทธิ์มองว่าภายใน 2 ปีนี้เขาต้องลงทุนให้หมด หากเลย 2 ปีไปแล้ว เขาก็ไม่ทราบจะลงทุนอะไรดี เพราะถึงตอนนั้นตลาดคงจะปิดหมดแล้ว

วรสิทธิ์มองว่า "อาจกล่าวได้ว่ามีแต่ฟินันซ่ากับกลุ่ม AIA เท่านั้นที่เป็นกองทุนที่มีพื้นฐานอยู่ในประเทศไทย กองทุนที่เข้ามาลงทุนนอกจากเราทั้งสองกลุ่มแล้วก็เป็นพวก reg-ional fund ทั้งนั้น แต่เราเป็น on the ground"

ทั้งนี้วรสิทธิ์หมายถึงกองทุนจำพวก portfolio fund อย่าง Tem-pleton หรือพวก country fund ทั้งหลาย

อย่างไรก็ดี หากกล่าวถึงกลุ่ม ทุนต่างชาติที่เข้ามาซื้อกิจการสินทรัพย์ ในไทยนั้น ก็มีหลายระลอกแล้ว ยังจะมีสินทรัพย์อะไรที่เป็น cream ให้นักลงทุนเข้ามาซื้ออีกหรือไม่ วรสิทธิ์มองว่า "เรายัง bullish กับที่นี่อยู่ ที่เราสนใจคือพวก high growth อย่างพวก มีเดีย เอนเตอร์เตนเมนต์ อะไรที่เกี่ยวกับ tourism ส่วนพวก manu-facturer เราก็สนใจ แต่ต้องเป็น low cost manufacture จริงๆ และใครที่ไม่ได้เป็น market leader จริงๆ เราไม่สนใจ priority เรายังเป็นพวกที่จดทะเบียนในตลาดซึ่งเราจะซื้อผ่านผู้ถือหุ้น ติดต่อกับเจ้าของกิจการเอง เท่านั้น"

นอกจากนี้ ฟินันซ่ายังสนใจซื้อ operation มากกว่าที่จะซื้อ asset ซึ่งนี่ก็เป็นจุดที่ทำให้เขาต่างไปจาก นักลงทุนอย่างเลห์แมน โกลด์แมน ยีอี เป็นต้น "เราเน้นเรื่องแฟรนไชส์มาก (franchise value)" วรสิทธิ์พูดถึงประเภทกิจการที่อยู่ในความสนใจของเขา

กลุ่มแคปปิตอล ซี ดำเนินกิจการลงทุนและบริหารสินทรัพย์ในทั่วโลก มีสำนักงานใหญ่ในนิวยอร์ก สปอนเซอร์ใหญ่ของกลุ่มคือกิจการ Zurich Insurance มีบริษัทในเครือชื่อ แคปปิตอล ซี พาร์ทเนอร์ส จำกัด (Capital Z Partners Ltd.)ทำหน้าที่บริหารกองทุนที่ลงทุนในกองทุนต่างๆ ทั่วโลก (fund-of-funds)มูล ค่า 1.5 พันล้านเหรียญ และบริหารสินทรัพย์ด้วยการลงทุนโดยตรงอีก 3.3 พันล้านเหรียญ

นอกจากนี้กลุ่มฯ ยังเป็นผู้สนับสนุนในกิจการ แคปปิตอล ซี เอเชีย พาร์ทเนอร์ส, แอลพี (Capital Z Asia Partners,L.P.)ซึ่งเป็นกองทุนที่ลงทุนโดยตรงในเอเชีย มีสำนักงานในฮ่องกง กลุ่มได้จัดตั้งพันธมิตรทั่วเอเชียเพื่อบริหารกองทุนที่ลงทุนในภูมิภาคนี้ เช่นการตั้ง Batavia Investment Management ซึ่งมีโครงการลงทุนโดยตรงในอินโดนีเซีย รวม ทั้งตั้ง ฟินันซ่า แคปปิตอล ด้วย

นับได้ว่าแคปปิตอล ซี เป็นกลุ่มทุนเม็ดเงินหนาที่รุกคืบเข้ามาในเอเชียเพื่อแสวงหาการลงทุนได้ในจังหวะเหมาะสม และการเข้ามาเป็นพันธมิตรกับฟินันซ่าก็เป็นการเพิ่มความเข้มแข็งในการลงทุนทางตรงของ กลุ่มนี้ด้วย

จริงๆ แล้ว แคปปิตอล ซี ได้รับการติดต่อเข้ามาเพื่อให้ไปลงทุนใน กิจการไฟแนนซ์แห่งหนึ่ง แต่ปรากฏว่าผู้บริหารแคปปิตอล ซี และฟินันซ่า เกิดคุยกันได้ดีจนเปลี่ยนมาเป็นส่งเม็ด เงินเข้ามาตั้งกองทุนให้ฟินันซ่าบริหารในที่สุด

เลือกลงทุนกิจการใด ต้องดูทีมผู้บริหาร

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้การลงทุนของ SIF I ในหุ้น TISCO ประสบความสำเร็จสูงมากนั้น นอกจากการวิเคราะห์ตัวอุตสาหกรรมและกิจการนั้นๆ แล้ว สิ่งสำคัญที่สุดที่ผู้บริหารหนุ่มของฟินันซ่าทั้งสองเห็นพ้องต้องกันคือปัจจัยเรื่องทีมผู้บริหารของกิจการ คือปัจจัยเรื่องคนนั่นเอง

มร.เดวิสให้ความสำคัญในเรื่องนี้มาก "เรามอง TISCO มานานปีกว่าแล้วและเราก็คิดว่านี่เป็นกิจการ ไฟแนนซ์ที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศนี้ แต่เราเพิ่งทำ due diligence และเริ่มซื้อเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ประเด็นที่ผมเห็น TISCO ดีและมีความต่างไปจากไฟแนนซ์รายอื่นๆ คือ เรื่องการจัดการบริหารความเสี่ยง"

ระบบบริหารจัดการความเสี่ยง หรือ risk management ของ TISCO เป็นปัจจัยสำคัญอันหนึ่งที่ทำให้บริษัทหลุดพ้นจากความล่มจมอันเนื่องมาจากวิกฤติเศรษฐกิจครั้งนี้ TISCO มีระบบรายงานความเสี่ยงเสนอให้ผู้บริหารตรวจสอบพิจารณาทุกๆ วัน เพื่อดูว่าในแต่ละวันบริษัทมีความเสี่ยงอย่างไรบ้าง และมีความสามารถที่จะรับมือได้อย่างไร ระบบบริหารความเสี่ยงของ TISCO นี้เริ่มดำเนินมาได้ 2 ปีครึ่งแล้ว โดยเจ้าหน้าที่ระดับสูงของ TISCO ได้ ขอให้ทางแบงเกอร์ทรัสต์ในนิวยอร์กฝึกอบรมให้และนำมาพัฒนาใช้ใน TISCO ด้วยตัวเอง

"TISCO เป็นหนึ่งในไม่กี่บริษัทที่ยังอยู่ในธุรกิจไฟแนนซ์อย่างแอกทีฟ และมีความสามารถในการบริหารความเสี่ยง ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญมากในเวลานี้" มร.เดวิสกล่าว

นโยบายการลงทุนที่ผ่านมาของฟินันซ่าเน้นเรื่องผู้บริหาร วรสิทธิ์ กล่าวว่า "หลายๆ อย่างที่เราลงทุนไปสามารถแก้ไขได้ แต่หากมีผู้บริหารที่ไม่ดี ไม่ให้ความร่วมมือ หรือไม่มีความซื่อสัตย์ มันก็แก้ไขไม่ได้"

ก่อนที่ฟินันซ่าจะเข้าไปลงทุนนั้น วรสิทธิ์ต้องทำงานร่วมกับผู้บริหารเพื่อดูว่าทำได้ดีหรือไม่ เขามอง ว่าเมืองไทยยังอยู่ในขั้นตอนของการพัฒนาเรื่องนี้อีกมาก ผู้บริหารต้องมีบทบาทหน้าที่ของตนผู้ถือหุ้นก็ต้องมี บางครั้งวรสิทธิ์เข้าไปสวมหมวกผู้ถือหุ้น บางครั้งก็สวมหมวกกรรมการและกรรมการก็ต้องดูในเรื่องนโยบาย ซึ่งเขาก็คงช่วยได้อยู่แล้ว อย่างเรื่อง TISCO อาจจะเป็นกรณีหนึ่ง ที่พอดีเขาก็มีความชำนาญในเรื่องของไฟแนนซ์อยู่แล้ว เขาก็เลยสามารถช่วยในเรื่องนี้ได้ ส่วน NATION นั่นแตกต่างออกไป เขาคงให้ความเห็นได้หรือ ช่วยในเรื่องการเงิน จะเห็นได้ว่า อิน-เวสเมนท์ที่ฟินันซ่ามีนั้น แทบจะไม่มีอะไรเลยที่ผู้บริหารฟินันซ่าไม่ได้เข้าไป ร่วมในบอร์ด

แนวทางที่วรสิทธิ์และฟินันซ่าใช้ในการลงทุนนั้น ผู้ที่สนใจศึกษาเรื่องการลงทุนประเภทนี้จะทราบว่ามันคล้ายคลึงกับแนวทางการลงทุนของวอร์เรน บัฟเฟตต์-นักลงทุนคนที่สร้างความร่ำรวยขึ้นจากการเข้าร่วม ลงทุนและช่วยบริหารกิจการต่างๆ ใน สหรัฐฯ ซึ่งปัจจุบันเขาติดอันดับอภิมหาเศรษฐีโลก

แต่วรสิทธิ์บอกว่าแนวทางการ ลงทุนของเขามาจากประสบการณ์

"เรามองว่าผู้บริหารเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เมืองไทยนี่ยังต้องมีการพัฒนาเรื่องนี้อีกมาก ที่ผ่านมานี่บางคนก็ได้เรียนรู้เพิ่มขึ้น บางคนก็ไม่ได้เรียนรู้อะไร เมื่อก่อนนี้ผู้ถือหุ้น ทีมบริหาร และกรรมการบริษัทเป็นคนเดียวกันหมด การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี่คงเริ่มจากสถาบันการเงินก่อน เพราะสถาบันการเงินนี่มีหน่วยงานรัฐบาลเข้าไปอยู่มาก

เราใช้เวลากับผู้บริหารมากถ้า บริษัทใดที่เราคิดว่าทำงานด้วยกันไม่ได้หรือร่วมมือกันไม่ได้นี่เราคงไม่ลงทุน เพราะเรามองว่าเราเป็นพาร์ตเนอร์ ชิป หรือหุ้นส่วน หรือเป็น financial partner คือหุ้นส่วนทางการเงินเราไม่ได้เป็นแค่ investor เท่านั้น"

นอกจากนี้จุดมุ่งหมายอีกอย่างหนึ่งที่ฟินันซ่าเข้าร่วมบอร์ดในกิจการที่ไปลงทุนคือเพื่อป้องกัน down side risk ของกิจการนั้น

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us