Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2542
โลกส่วนตัวของวสันต์ จาติกวณิช             
 


   
search resources

ล็อกซเล่ย์, บมจ.
วสันต์ จาติกวณิช




"ผมชอบคอมพิวเตอร์" ใครจะคิดว่าประโยคสั้นๆ ของวสันต์

จาติกวณิช กรรมการบริหาร บริษัทล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) จะมีความ หมายมากมายกว่าคำว่าชอบ

ทุกๆ เช้า วสันต์จะตื่นนอนตั้งแต่ตี 4 เริ่มกิจกรรมแรกยามเช้าส่งโจ๊กขำขัน (Dirty joke) ผ่านอีเมลไปให้กลุ่มสมาชิกที่มีอยู่มากกว่า 500 คน ตามประสาของคนครื้นเครงที่ไม่ชอบอยู่นิ่ง

วสันต์ยังเผื่อแผ่กิจกรรมนี้ไปถึงคุณหญิงชัชนี จาติกวณิช ผู้เป็นแม่ซึ่งมีปัญหาเรื่องหู การใช้อีเมลในการติดต่อจึงเข้าทดแทนวิธีการสื่อสาร ด้วยโทรศัพท์ และแฟกซ์ที่ไม่สามารถ อำนวยความสะดวก และที่สำคัญ

อีเมลยังถูกนำไปใช้ประโยชน์เป็นกิจกรรมยามว่างส่งคำกลอนสั้นๆ (Word of wisdom) ไปให้เหล่าเพื่อนฝูง ที่เวลานี้สมาชิกของคุณหญิงมีไม่น้อยไปกว่าลูกชายแล้ว

(อ่านผู้จัดการรายเดือนฉบับ มีนาคม 2542) ทุกวันนี้ภรรยาของเขา วสุนธรา ซึ่งมีชื่อเล่นเหมือนกัน หรือคุณปุ้มหญิงมานั่งทำงานในบริษัทล็อกซ

อินโฟ ทำธุรกิจเป็นผู้ให้บริการอินเตอร์ เน็ต หรือไอเอสพี รับผิดชอบเกี่ยวกับฝ่ายอี-คอมเมิร์ซ

การใช้ไอทีของครอบครัวจาติกวณิชก็ล้วนแต่มีที่มา หากดูบทบาทการทำงานของวสันต์แล้ว เขาเป็นถึงหัวเรือใหญ่ในการบุกเบิกธุรกิจ เทคโนโลยีสารสนเทศของล็อกซเล่ย์ในช่วงสิบกว่าปีมานี้

จะว่าไปแล้วธุรกิจเทคโนโลยีไม่ใช่เรื่องใหม่ของล็อกซเล่ย์ เพราะก่อนหน้านี้ ล็อกซเล่ย์เป็นดีลเลอร์ขายตู้ชุมสายโทรศัพท์ขนาดย่อม (พีเอ บีเอ็กซ์) เครื่องโทรสาร เครื่องพีซี ซึ่งเป็นธุรกิจที่เริ่มมาตั้งแต่คุณหญิง

ชัชนี ยังนั่งเป็นกรรมการผู้จัดการ

วสันต์ เป็นลูกชายคนโตของคุณหญิงชัชนี ที่เข้ามาทำงานกับล็อกซ เล่ย์ หลังจากที่คุณหญิงเกษียณอายุ และส่งเก้าอี้กรรมการผู้จัดการ ให้กับธงชัย ล่ำซำไม่นาน วสันต์เคยทำงาน ที่สภาพัฒน์ก่อนจะมาร่วมงานในล็อกซเล่ย์

การมาของวสันต์ และบรรดาลูกหลานตระกูลล่ำซำ ที่ล้วนผ่านการศึกษามาจากต่างประเทศรู้เห็นและคุ้นเคยกับการใช้เทคโนโลยี จึงมีส่วน สำคัญอย่างยิ่งต่อข้อต่อของการก้าวเข้าสู่ธุรกิจเทคโนโลยี ธุรกิจไฮเทคก็ได้กลายเป็นส่วนที่สร้างสีสันและความโดดเด่นให้กับล็อกซเล่ย์ในช่วงสิบกว่าปีมานี้ ไม่ว่าจะโครงการโทรศัพท์ 1.5 ล้านเลขหมาย วิทยุติดตามตัวฮัทชิสัน โครงการสื่อสารผ่านดาวเทียม รวมถึงธุรกิจคอมพิวเตอร์

จะว่าไปแล้วล็อกซเล่ย์ยังไม่สามารถสลัดภาพธุรกิจซื้อมาขายไปสู่การเป็นผู้ให้บริการ (โอเปอเรเตอร์) แม้ว่าจะพยายามอย่างเข้มข้นในช่วงเกือบสิบปีมานี้ คงมีเพียงวิทยุติดตามตัว ฮัทชิสันเพจโฟน ที่ร่วมกับฮัทชิสันวัมเปา ของฮ่องกง ซึ่งไม่มีกิจกรรมการตลาดหวือหวาเมื่อเทียบกับค่ายของคู่แข่ง

ส่วนโครงการโทรศัพท์ 1 ล้าน เลขหมาย ที่ล็อกซเล่ย์ร่วมถือหุ้นในบริษัททีทีแอนด์ที บทบาทส่วนใหญ่ของล็อกซเล่ย์ เป็นแค่ร่วมผู้ลงทุนและซัปพลายอุปกรณ์ให้บางส่วนในโครงการเท่านั้น

ธุรกิจในกลุ่มคอมพิวเตอร์ที่มีวสันต์เป็นหัวเรือใหญ่ ก็เป็นอีกสีสันหนึ่งที่ทำให้ความเก่าแก่ของล็อกซ เล่ย์ดูทันสมัยขึ้น แต่สิ่งที่วสันต์ต้องทำมากไปกว่านี้ก็คือ การสร้างสรรค์บริการใหม่ๆ ด้วยภูมิปัญญาของตัวเอง ทดแทนการซื้อเทคโนโลยีจากต่างชาติมาใช้เพียงอย่างเดียว และเป็นโจทย์ที่วสันต์แสวงหาคำตอบมาตลอด หลายปีมานี้

"เวลานี้เราไม่จำเป็นต้องไปซื้อ เครื่องเมนเฟรม หรือเครื่องขนาดกลางอย่างริกส์ 6000 เพราะเครื่องพีซีตัวละไม่ถึงแสนก็ทำได้ เราบอกให้พนักงานทำเลย"

ปกติของลูกหลานคนในตระ-กูลล่ำซำเองจะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอยู่บ่อยๆ และล่าสุดเมื่อวสันต์ มาเจอกับบัณฑูร ล่ำซำ ญาติผู้พี่ ก็ส่งหนังสือชื่อ Marketing Imagination เนื้อหาของหนังสือที่มุ่งเน้นการจินตภาพการตลาดแบบใหม่บวก กับความต้องการสร้างสรรค์บริการใหม่ๆ ทำให้วสันต์มีภารกิจใหม่ ที่เขาเรียกว่าการเป็น "นักเทศน์" ซึ่งนักเทศน์ที่ว่านี้ก็คือ การไปพูดกับพนักงานในกลุ่มธุรกิจคอมพิวเตอร์ ที่เขาเป็นหัวเรือใหญ่ ให้เกิด "ไอเดีย" ใหม่ๆ และวสันต์พบว่า บริการใหม่ๆ ของล็อกซเล่ย์ที่เกิดขึ้นมาก็ล้วนแต่เป็นไอเดียของพนักงานทั้งนั้น

"เราต้องการเทศน์ให้เขาคิดให้ เขาเชื่อว่า เมื่อเขามีไอเดียแล้วเสนอ มาแล้วไม่โดนว่าโง่ หรือโดนหัวเราะ

เยาะความคิดของเราคือ ถ้าทำ 10 แล้วได้ 3 ย่อมดีกว่าทำ 3 แล้วได้ 3 เพราะไอ้การที่ทำแบบนี้มันต้องคิดหนักเลยว่า จะทำยังไง เราบอกไม่ต้อง คิดแล้วทำเลย คิดแล้วชกเลย ถ้าพลาดไม่เป็นไร ทำใหม่"

บริการอินเตอร์คาสต์ และบริการอินเตอร์เน็ตอีดีไอ เป็นแรงกระตุ้นที่ทำให้วสันต์เริ่มมองเห็นแสงสว่างปลายอุโมงค์ ที่แม้ยังไม่ชัดเจน แต่ก็มีแสงรอดออกมาพอให้เกิดความหวัง

ที่สำคัญคือ การแสวงหาโมเดลธุรกิจในอนาคตที่ยังไม่อาจชี้ชัดได้ว่าจะเป็นอะไร วสันต์ยกตัว อย่างว่า การเป็นผู้ให้บริการอินเตอร์ เน็ตในวันนี้ แต่ในอนาคตอาจไม่ใช่ก็ได้

"เหมือนกับรถไฟ จริงๆ คนไม่สนใจว่า รถไฟดียังไง เขาต้องการไปจากจุดหนึ่งไปจุดหนึ่งเท่านั้นอยาก จะนอนไปหรืออยากจะไปถึงในเวลา 20 นาที ถ้าบริษัทรถไฟทำทุกอย่างเป็นทรานสปอร์ต ก็คงไม่ฟุบแบบนี้ ซึ่งตรงนี้มันคือคำถามว่า อย่างล็อกซ อินโฟ เป็น internet access หรืออะไรแน่ ซึ่งตรงนี้ยังไม่มีคำตอบ หรือแม้กระทั่งวิทยุติดตามตัว หากเป็นวิทยุติดตามตัวอย่างเดียวก็อยู่ไม่ได้ แต่อาจต้องทำตัวเป็น บริการ ส่งข้อความอย่างสมบูรณ์แบบ (Total messaging) หรือเปล่า แต่ละคนจะคิดไม่เท่ากัน แต่ละคนต้องมาคิดตลอดเวลา เพราะมันเปลี่ยนทุกวัน"

วิถีตะวันตกอย่างชาวซิลิกอน วัลเล่ย์ ที่ใช้ชีวิตง่ายๆ นิยมนุ่งกางเกงยีนส์เก่าๆ สวมรองเท้าผ้าใบมากกว่าการสวมเสื้อสูทผูกไท ซึ่งอย่างดีก็เป็นแค่พนักงานขาย มีรายได้เดือน ละ 10,000 เหรียญ เทียบไม่ได้กับบรรดาผ้าขี้ริ้วห่อทองเหล่านี้กลับทำเงิน ได้ปีละหลายร้อยล้านเหรียญ ที่ได้จากการสร้างสรรค์ซอฟต์แวร์ใหม่ๆ ก็เป็นแรงจูงใจให้วสันต์หันมายึดเอาแนวทางดังกล่าวมาใช้กับชาวคอมพิว เตอร์ของล็อกซเล่ย์บ้าง

"เราเริ่มให้พนักงานแต่งตัวไปร เวทได้วันศุกร์ก่อน เราเห็นได้ชัดเลย ว่า พนักงานรู้สึกกระฉับกระเฉง มีชีวิตชีวา you are what you dress เพราะเราให้เขา ครีเอทีฟ แล้วให้เขาแต่งตัวมาเหมือนนายธนาคาร มันก็ ครีเอทีฟไม่ออก"

จากวันศุกร์เพียงวันเดียวที่พนักงานจะใส่ชุดไปรเวท ได้ ก็เริ่มขยับขยายช่วงเวลาออกไปเรื่อยๆ จนเกือบจะเป็นทุกวัน ยกเว้นวันที่ต้องออกไปพบปะกับลูกค้า ทั้งหมดนี้ยัง รวมถึงผู้บริหารระดับสูงของทั้ง 7 บริษัทในกลุ่มคอมพิวเตอร์ ที่จะนุ่งยีนส์มาทำงานก็ไม่ว่ากัน

และนี่เองที่ทำให้ชาวคอมพิวเตอร์ต้องมีวัฒนธรรม องค์กรเป็นของตัวเอง ซึ่งทำให้เห็นความแตกต่างกับล็อกซ เล่ย์อย่างสิ้นเชิง ซึ่งเป็นสิ่งหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นว่า โครงสร้าง องค์กรขนาดใหญ่อย่างล็อกซเล่ย์ ที่อาจไม่เอื้อกับการทำธุรกิจ เทคโนโลยี ที่แพ้ชนะกันด้วยความเร็ว และเรื่องการแต่งตัว ก็เป็นบทสะท้อนเล็กๆ เท่านั้น

"เราคงต้องเปลี่ยนแปลงเยอะ เพราะโครงสร้างเดิมของล็อกซเล่ย์มันไม่เอื้อการทำธุรกิจบนอินเตอร์เน็ต เพราะ มัน very formal แต่ก็ยังมีส่วนที่เราต้อง formal เพียงแต่เราขอให้มันเป็นเหมือนฮ่องกงกับจีน คือ one country two system"

เพราะทั้งหมดนี้คืออาณาจักรเล็กๆ ของวสันต์ จาติกวณิช

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us