Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2542
Telecommuting การทำงานของบรรณาธิการพาร์ทไทม์             
 


   
search resources

วิรัตน์ แสงทองคำ




"การทำงานด้านข้อมูลข่าวสารไม่จำเป็นต้องนั่งประจำ OFFICE" วิรัตน์ แสงทองคำ บรรณา-ธิการอำนวยการ นิตยสารผู้จัดการ ฉบับที่ท่านกำลังอ่านอยู่นี้สรุปความคิดรวบยอดเอาไว้

เขาบอกว่า กองบรรณาธิการนิตยสารรายเดือนมีสตาฟฟ์ไม่เกิน 10 คน ซึ่งถือว่าจำนวนคนไม่มากทำ ให้ต้องมีกระบวนการบริหารในออฟ ฟิศยุ่งยาก โดยเฉพาะงาน per-sonal สาระสำคัญของงานนิตยสาร ก็คือ การค้นคิดประเด็น แสวงหาข้อมูล ประมวลข้อมูลและความคิด จบด้วยงานเขียนเรื่อง ซึ่งงานเหล่านี้ ไม่จำเป็นต้องทำที่ OFFICE ทั้งหมด

วิรัตน์เล่าถึงประสบการณ์และกระบวนการทำงานของตนเองไว้อย่างน่าสนใจ

OFFICE - เขามาทำงานที่สำนักงานก็ต่อเมื่อมีการประชุมที่ต้องการพบปะพูดคุยกันและถกเถียง กัน ซึ่งในแต่ละเดือนมีไม่กี่ครั้งส่วน ที่เหลือสัปดาห์ละประมาณ 2-3 ครั้งในครึ่งวันเช้า ก็คือการรวบรวมข้อมูล พื้นฐานที่หาได้เฉพาะ OFFICE

"ผมหาข้อมูลจาก wire ser- vice ซึ่งราคาแพง บริษัทเป็นสมาชิก อยู่โดยไม่สามารถ online ไปที่บ้านได้ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลใหม่วันต่อวัน หรือข้อมูลย้อนหลัง ระบบข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์ฯ ก็เป็นอีกหนึ่งที่ต้องตรวจสอบ รวมไปจนถึงระบบข้อมูลของผู้จัดการเอง ซึ่งเป็นระบบข้อมูลข่าวย้อนหลังที่ผมเป็นผู้วางระบบไว้เองหลายปีมาแล้ว" เขาแจงรายละเอียด

ส่วนใหญ่ข้อมูลเหล่านี้ เขาจะสืบค้นและคัดเลือกอยู่ในรูปดิจิตอล จากนั้นก็ส่งเป็น E-mail ให้ตัวเองเพื่อไปเปิดอ่านที่บ้านได้

บ้าน - ห้องทำงานที่บ้านเป็น ที่สามารถติดต่อกับ OFFICE อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วย E-mail ไม่ว่าจะเป็นการรับส่งข้อมูล การติดต่อ การรับส่งต้นฉบับและการแก้ไขต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับบรรณาธิการ เขาทำงานทั้งหมดนี้ที่บ้านได้

รวมทั้งการติดต่อพูดคุย ส่งข้อมูลทางโทรศัพท์กับแหล่งข่าว รวมไปจนถึงการนัดหมาย เพื่อไปสนทนา นอกสถานที่ ทั้งนี้ด้วยมีบริการโทร-ศัพท์เคลื่อนที่ก็ยังติดต่อกันได้ตลอดเวลาที่จำเป็น

นอกจากนี้ ที่บ้านยังสามารถหาข้อมูลได้จากอินเตอร์เน็ต หนังสือพิมพ์ วิทยุ ทีวี "ทุกวันนี้การติดตามกระแสข่าว ความเคลื่อนไหวของธุรกิจ ง่ายกว่าสมัยก่อนมากเหลือเกิน" เขาบอกว่า นี่คือสิ่งแวดล้อมสำคัญที่เปลี่ยนแปลงไปของวิชาชีพสื่อมวลชน ไทย

"งานหาข้อมูลพื้นๆ แบบเก่าจำเป็นน้อยลงอย่างมาก ในขณะที่งานความคิด การประมวลข้อมูล มีความจำเป็นและยุ่งยากมากขึ้น ผมว่างานนักข่าวยุคใหม่ ไม่ใช่นั่งเฝ้าแหล่งข่าวอย่างเดียว งานที่สำคัญก็คือการพัฒนาความรู้ ความคิดในการประมวล และจัดระบบข้อมูล" เขาเน้น

ยิ่งกว่านั้น เขายังบอกว่า เป็นสิ่งน่าเหลือเชื่อ ข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจไทยมีมากมายในอินเตอร์เน็ต โดยเฉพาะข้อมูลธุรกิจต่างประเทศที่เกี่ยว กับสังคมธุรกิจไทย "ผมสามารถค้นข้อมูลธุรกิจไทยได้ในอินเตอร์เน็ต

อย่างง่ายๆ และมากกว่าข้อมูลที่หาได้ในเมืองไทยเอง" เขาสรุป

มีบริการข้อมูล ที่เสียค่าสมา-ชิกจำนวนหนึ่งในอินเตอร์เน็ต ที่เขาจำเป็นต้องสมัครเป็นสมาชิกประจำ อาทิ wallstreet jounal และ hoovers อีกส่วนอาจจะต้องจ่ายเงินเพื่อ ซื้อข้อมูลเป็นคราวๆ ไปก็มี ในการสนทนา หรือสัมภาษณ์แหล่งข่าวนอกสถานที่ เพื่อรวบรวมความคิดและข้อมูลเพื่อนิตยสารรายเดือน สำหรับเขา จำเป็นต้องมี อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง รวมไปถึงการค้นข้อมูลอื่นๆ ประกอบจากภายนอกด้วย

"หากใครทำงาน OFFICE มากๆ นั้นสิ มีปัญหา" วิรัตน์ แสงทองคำ บรรณาธิการผู้คร่ำหวอดในวงการข่าวธุรกิจให้ความเห็นสำหรับคนที่มีอาชีพนักข่าว

เขาให้ความเห็นอีกว่า บรร-ยากาศการทำงานที่ OFFICE มักสร้างสังคมขึ้นแบบหนึ่ง ที่บางครั้งไม่มีส่วนโดยตรงต่อการสร้างสรรค์งานเลย ไม่ว่าจะเป็นการแสดง การรักษาอำนาจในการจัดการ การวางตัวให้สมกับตำแหน่ง และการไต่เต้า ศักดิ์ศรีและสังคมของมนุษย์ทำงาน อาจทำให้บางสิ่งบางอย่าง มีความสำคัญมากกว่างาน โดยให้ความสำคัญกับรูปธรรมบางอย่างจับต้องได้มากกว่าความสำเร็จในการทำงาน เช่น ขนาดของโต๊ะทำงาน คอมพิว เตอร์ที่ใช้ รวมไปจนถึงห้องทำงาน หรือรถประจำตำแหน่ง

โดยเฉพาะองค์กรธุรกิจ ที่มีระบบการจัดการไม่มีประสิทธิภาพ ความไม่มีมาตรฐานบรรยากาศใน OFFICE จะสร้างปัญหา มากกว่าจะเอื้อประโยชน์ต่อการทำงาน

การทำนิตยสารธุรกิจราย เดือน จะเน้นการค้นคิด การทำงานความคิดอย่างเป็นโครงสร้างและระบบ ในกระบวนการแสวงหา จัดระบบข้อมูล และทุกคนมีเป้าหมายในการทำงานแต่ละเดือนชัด เจน วิรัตน์ แสงทองคำ เคยเป็นหัวหน้ากองบรรณาธิการนิตยสารผู้จัดการ (ปี 2529-2530) บรรณาธิการ หนังสือผู้จัดการรายสัปดาห์ (ปี 2530-2533) หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน (ปี 2533-2537) และกรรมการผู้จัดการ บริษัทบริการข้อมูลผู้จัดการ (ปี 2538-2540 เขามีบทบาทสำคัญในการพัฒนา ระบบงานของกองบรรณาธิการโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ การจัดหน้าอัตโนมัติทั้งฉบับของหนังสือพิมพ์รายวันฉบับแรกของเมืองไทย ต้นคิดการพิมพ์หนังสือพิมพ์ผ่านดาวเทียมไปยังหัวเมืองใหญ่ ตลอดจนการพัฒนาระบบข้อมูล เพื่อเพิ่มประ- สิทธิภาพในการคิดและการทำงานของ กองบรรณาธิการ เขาเพิ่งมารับหน้าที่ ในการพัฒนานิตยสารรายเดือน "ผู้จัดการ" เมื่อ 1 เดือนเศษๆ ที่ผ่านมา

วันนี้เวลาที่เหลือของเขา ก็คือการขับรถรับ - ส่งลูกชาย 2 คนจากบ้าน ไป - กลับ โรงเรียน ทั้งตอนเช้าและตอนบ่าย การค้นคิด การตกผลึกทางความคิด และการเขียนหนังสือส่วนใหญ่ทำที่บ้าน

บ้านของเขา อยู่ชานเมืองทิศตะวันออกของกรุงเทพฯ หลังบ้านยังติดกับทุ่งนา ในบ้านของเขาเพิ่งปลูกต้นไม้ ซึ่งมีทั้งสวนครัว ไม้ผล และไม้ไทยในวรรณคดี ห้องทำงานของเขาจึงอยู่ในบรรยากาศของธรรมชาติที่พยายามสร้างขึ้นในเขตเมืองหลวง ชวนให้ทำงานพอสมควร

"ผมขับรถวันละ 4 ชั่วโมง ทำงานที่บ้านได้ทุกเวลาที่เหลือที่อยาก จะทำ ตอนสายๆ หรือตอนดึก ผมรู้สึกว่า วิถีชีวิตแบบนี้ทำให้ผมมีความสุขในการทำงาน" เขากล่าว

วิรัตน์ แสงทองคำ เชื่อในความคิด การสร้าง "ความสุขในการทำงาน" อย่างมาก โดยเขาคิดว่าการเขียนหนังสือภายใต้การทำงานค้น คว้าข้อมูล อย่างละเอียด รอบคอบ ไม่มีแรงจูงใจใดสำคัญเท่ากับการทำงานด้วยความสุข

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us