Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2543
ใบสั่ง ตำรวจจราจร และการจลาจลที่นครศรีธรรมราช ไม้เรียวกระทรวงศึกษาธิการ และสัญญาเงินกู้รัฐมนตรี             
โดย ธีรภาพ วัฒนวิจารณ์
 





ธีรภาพ วัฒนวิจารณ์ เป็นนามแฝงของนักวิชาการใน รั้วมหาวิทยาลัย ซึ่งนอกเหนือจากความเชี่ยวชาญในงานประจำด้านจิตเวชและจิตวิทยาแล้ว ยังมีความสนใจด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เขาจะเสนอมุมมองและสาระความรู้ที่น่าสนใจในคอลัมน์ "จากฝั่งพรานนก"

ใบสั่ง ตำรวจจราจร และ การจลาจลที่นครศรีธรรมราช ไม้เรียวกระทรวงศึกษาธิการ และ สัญญาเงินกู้รัฐมนตรี

อ่านหัวเรื่องที่ขึ้นต้นมาคราวนี้คุณผู้อ่านบางท่านคงเกิดความสงสัยขึ้นมาว่ามีความเกี่ยวข้องหรือเกี่ยวเนื่องของคำแต่ละคำอย่างไร หรือบางท่านอาจจะนึกเชื่อมโยงออกมาได้ แต่ก็คงจะเกิดคำถามในใจอยู่ดีว่า ใบสั่งกับไม้เรียว หรือ การจลาจลที่นครฯ เกี่ยวอะไรกับกระทรวงศึกษาฯ ซ้ำยังดึงเอาอดีตรัฐมนตรีผู้โด่งดัง เข้ามา เกี่ยวข้องด้วย

ความเกี่ยวข้องทั้งหมดอยู่ตรงเรื่องทั้งหมดนี้เป็นเรื่องของการใช้อำนาจในการดูแลความเรียบร้อย และกฎเกณฑ์ บุคคลที่ได้รับอำนาจ และการตรวจสอบการใช้อำนาจนั้น

การจลาจลที่นครฯ หลายท่านคงทราบว่าเกิดจากการที่ตำรวจจราจรเฮี้ยบต่อหน้าที่มากเรียกว่าความผิดอะไรที่ปรากฏต่อหน้า หรือตั้งด่านตรวจพบก็จับและเขียนใบสั่งให้เจ้าของรถจนใบสั่งไม่พอใช้ มีการพูดกันว่าเหตุที่คุณตำรวจ ท่านปฏิบัติหน้าที่อย่างเคร่งครัดมากก็เพราะรางวัลส่วนแบ่งของค่าปรับที่จะได้รับ และการถูกสั่งจากผู้บังคับบัญชา (เพราะตัวเองก็หวังในส่วนแบ่งนั้นเช่นกัน)

การจลาจลเกิดจากชาวบ้านที่ทนไม่ไหวรวมตัวกันประท้วง ซึ่งนำไปสู่การเกิดขึ้นของม็อบ และการจลาจล หลังเหตุการณ์เกิดขึ้นใหม่ๆ มีข่าวลงตามหน้าหนังสือพิมพ์ว่า มีการออกคำสั่งให้ตำรวจจราจรหลีกเลี่ยงการออกใบสั่งโดยไม่จำเป็นแต่ถึงไม่สั่ง ตามข่าวก็ปรากฏว่าตำรวจจราจรเองก็นอกจากจะไม่ออกใบสั่งแล้ว ยังไม่ค่อยกล้าที่จะปรากฏตนในที่สาธารณะ เนื่องจากกลัวว่าอาจจะถูกทำร้าย

ผู้ใหญ่ในบ้านเมืองที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้มีการพูดถึงเรื่องการเลิกรางวัลค่าปรับ แต่ก็มีการ ปฏิเสธจากทางตำรวจว่าสิ่งที่ทำอยู่ดีอยู่แล้ว

ผมมีความเห็นต่อเหตุการณ์นี้ สองสามประเด็น คือ

ประการแรก คำสั่งให้หลีกเลี่ยงการออกใบสั่งโดยไม่จำเป็น มีนัยของการบอกว่าที่ผ่านมา ตำรวจจราจรออกใบสั่งโดยไม่จำเป็น

ประการที่สอง มีการ พูดกันถึงการยกเลิกรางวัลค่าปรับ ซึ่งมองว่าเป็นต้นเหตุของการออกใบสั่งโดยไม่จำเป็น แต่ไม่มีการพูดถึงผู้บังคับบัญชาในฐานะของผู้กำกับให้นโยบายดำเนินไปว่า ควรรับผิดชอบต่อเรื่องนี้อย่างไร หากเราเชื่อว่าระดับสูงเองก็มีผลประโยชน์กับเรื่องนี้ และหันหน้าไปอีกทางหนึ่งไม่ยอมรับรู้ว่า การออกใบสั่งนั้นมากเกินไป เพราะตัวเองก็มีส่วนในรางวัลค่าปรับเช่นกัน

ประการที่สาม สิ่งที่เราไม่มีการพูดถึง และนั่นคือ การยอมรับโดยปริยายว่า สิ่งที่จราจร ทำนั้น จราจรไม่ได้กลั่นแกล้งหรือยัดข้อหาให้ผู้ขับขี่รถยนต์เหมือนในกรณีของตำรวจกับการจับยา amphetamine และผมก็เชื่อว่าผู้ใช้รถยนต์ทุกท่านก็ทราบเช่นกันว่า เวลาที่เราถูกตำรวจจราจรโบกมือให้หยุดรถนั้น โดยสามัญ สำนึกของคนธรรมดาสามัญ (ที่ไม่ได้เป็นลูกรัฐมนตรี) เราจะเกิดความรู้สึกผิดขึ้นมาและรับรู้ได้ด้วยตัวของเราเองว่า เมื่อครู่นี้เราฝ่าฝืนกฎจราจรข้อใด และในขณะที่รอจราจรเดินเข้ามาหานั้นสมองเราก็กำลังคิดว่า จะเจรจาอย่างไรเพื่อหลีกเลี่ยงการได้ใบสั่ง โดยส่วนใหญ่คำตอบก็มักจะไม่เห็น ไม่ทันสังเกต หยุดรถไม่ทัน ฯลฯ คงไม่มีใครพูดกับตำรวจว่า ผมไม่ผิดอะไร หรือตำรวจกลั่นแกล้งเป็นแน่

อันนี้ที่ผมคิดว่าสำคัญที่สุด เรามอบอำนาจ การควบคุมกฎให้ตำรวจจราจร และการดำรงอยู่ของจราจรไม่ว่าจะเป็นในทางกายภาพ หรือในทางความคิดของเรา เป็นตัวควบคุมให้เราทำตามกฎเกณฑ์หากจะเปรียบเทียบกันก็อาจจะนึกถึง กทม. เรื่องการจับปรับบุคคลที่ทิ้งขยะในที่สาธารณะ หรือข้ามถนนในเขตห้าม เราจะพบว่าใหม่ๆ กรุงเทพฯ สะอาดอยู่พักหนึ่ง คนข้ามถนนผิดที่น้อยลง แต่เมื่อเวลาผ่านไปทุกอย่างกลับไปคล้ายเดิม ทั้งนี้ก็เพราะกทม. ไม่สามารถสร้างให้ตำรวจเทศกิจอยู่ในจินตภาพของคนกทม. เทศกิจมีความสำคัญกับคนกรุงเทพฯ ก็เมื่อเดินให้เราเห็น หรือไล่จับแม่ค้าเท่านั้นเอง การเคารพกฎที่กทม.วางไว้จึงไม่เกิดขึ้น

สำหรับไม้เรียวและกระทรวงศึกษาธิการนั้น ผมเองไม่ค่อยแน่ใจในแนวคิดนี้ว่ามีรากฐานความเป็นมาอย่างไรจึงมีการออกนโยบายห้ามตีภายในโรงเรียน อาจจะเป็นความกังวลว่าจะมีการลงโทษรุนแรงเกินไปจนเกิดเรื่องราวฟ้องร้องครูเหมือนที่ผ่านๆ มา หรืออาจจะต้องการให้เหมือน "อารยประเทศ" ทั้งหลายที่ไม่มีการลงโทษด้วยการตี

หากเป็นเหตุผลประการหลัง ผมค่อน ข้างกังวลว่า เราอาจจะเจอนักเรียนแบบ "อารยประเทศ" ที่ไม่ค่อยเกรงครู แต่นั่นอาจจะไม่ดุเดือดเลือดพล่านเท่ากับการที่นักเรียนใน "อารยประเทศ" ประเภทมีการทำร้ายครู ไล่ชกต่อย เอามีดไล่แทง รวมไปถึงการเอาปืนพก หรือ ปืนกลไล่ยิงเพื่อนนักเรียนและครูในโรงเรียน

สิ่งที่ผมเชื่อว่านักเรียนในประเทศอื่นที่เราพยายามนำมาเป็นแบบอย่างขาดความเคารพเกรงกลัวต่อครูในโรงเรียน นอกจากจะไม่มีจินตภาพของครูที่น่าเคารพและเกรงกลัวอยู่ในความคิดจิตใจแล้ว ครูที่เป็นรูปธรรมหรือเดินให้เห็นต่อหน้าก็ไม่ก่อให้เกิดความรู้สึกดังกล่าวขึ้นมาได้ สิ่งเหล่านี้นอกจากจะเป็นพื้นฐานปรัชญาการศึกษาของเขาที่ต้องการให้นักเรียนกล้าแสดง ออก และไม่เกรงกลัวครู จนมองว่าการทำโทษด้วยไม้เรียว เป็นความรุนแรงจนอาจจะถึงขั้น child abuse

ผมยังมีความเชื่อว่าการลงโทษ หรือไม้เรียวนั้นเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอันหนึ่งในการสร้างจินตภาพของครูในใจและความคิดของนักเรียน ให้เป็นสิ่งที่ควรและต้องเคารพ นั่นมีผลไปสู่การยอมรับและเชื่อสิ่งที่ครูบอกและสอนโดยเฉพาะอย่างยิ่ง กฎระเบียบ และมาตรฐาน ทางจริยธรรมที่กระทรวงศึกษาฯ เขียนไว้ในตำรา (และสั่งให้ครูสอน) แน่นอนว่าความเคารพ หรือนับถือครูมีองค์ประกอบอื่นร่วมด้วย แต่ความศักดิ์สิทธิ์ของครูอยู่ที่อำนาจในการบังคับใช้และลงโทษ โดยรูปแบบการลงโทษที่มีผลมากที่สุด คือ ไม้เรียว หรือการลงโทษทางกายภาพ เพราะมีทั้งความเจ็บทางกาย และทางใจ (ความอายต่อเพื่อน ในชั้นเรียน)

การลงโทษโดยวิธีอื่นไม่มีประสิทธิภาพมากเท่าไม้เรียว หากกลัวเรื่องของการลงโทษแรง เกินไป เราก็จะพบว่าการลงโทษโดยไม่ใช้ไม้เรียว ก็เป็นความรุนแรงทางกายภาพได้เช่นกัน เช่น การให้ยืนขาเดียวคาบไม้บรรทัด 1 ชั่วโมงเหมือน ในโฆษณา หรือการให้วิ่งรอบสนามฟุตบอล 10 รอบ ความรุนแรงของทั้งหมดน่าจะขึ้นกับสภาพจิตใจ หรือความซาดิสม์ของผู้สั่งลงโทษมากกว่ารูปแบบ

ความรุนแรงมากน้อยของการลงโทษ อาจรวมไปถึงการละ หรืองดเว้นการลงโทษด้วยเช่นกัน

หากเราไม่ติดใจกับรูปแบบ หรือความมีกฎเกณฑ์มากเกินไปของสิงคโปร์ ซึ่งผลด้านลบของสังคมแบบนี้คือ คนในสังคมเก็บกด เราก็จะพบข้อดีที่สำคัญที่สุด คือ ความเอาจริงเอาจังและเคร่งครัดกับกฎระเบียบที่ถูกวางไว้ เมื่อเปรียบเทียบกับบ้านเราเองนอกจากจะไม่ค่อยมีกฏเกณฑ์แล้ว กฎเกณฑ์ที่มีอยู่ก็ไม่ค่อยจะได้รับการปฏิบัติ หรือในฝ่ายผู้ควบคุมก็ไม่ค่อยมีความเข้มงวดกับการบังคับใช้มากนัก ในกรณีของปัญหาที่จังหวัดนครศรีธรรมราช หรือที่อื่นๆ นั่นเราจะพบว่าการเคร่งครัดของผู้คุมกฎ (จราจร) อยู่บนเงื่อนไขของการมีรางวัล และก็คงจะเป็นงูกินหางไป หากจะยกเลิกการให้รางวัล ผลที่อาจจะเกิดขึ้นคือ การบังคับใช้กฎหมายก็อาจจะไม่เคร่งครัดอย่างที่ผู้ใหญ่ในสำนักงานตำรวจแห่งชาติกังวล

ปัญหาของบ้านเราไม่ว่ารูปธรรมที่สุด คือ การให้ใบสั่งของตำรวจ หรือสิ่งที่กำลังถกเถียงกันคือ เรื่องไม้เรียว น่าจะอยู่ที่ผู้ควบคุมกฎ สูงสุด (รัฐบาล) เอาจริงเอาจังกับกฎเกณฑ์ที่ตัวเองเป็นผู้ดูแลมากน้อยเพียงใด หากผู้คุมกฎคำนึงถึงประโยชน์ของตนเองเป็นที่ตั้ง การบังคับใช้กฎ ก็จะถูกเลือกปฏิบัติ ไม่ว่าจะเป็นการทำเป็น มองไม่เห็นถึงความผิดที่เกิดขึ้น (ซึ่งเป็นการฉ้อฉล อำนาจที่รุนแรงที่สุด) เช่น กรณีของการทุจริตต่างๆ ของคนในรัฐบาลหรือพวกพ้องไปจนถึงการ พยายามมองเห็นความผิดนั้นว่าไม่รุนแรง (ผลที่ตามมาก็คือ การเลือกวิธีการลงโทษสถานเบา) เช่น กรณีคำสั่งของตำรวจผู้ใหญ่ในเหตุจลาจล และท้ายสุดคือเห็นความผิดนั้นเต็มตามที่เป็น แต่เลือกวิธีการลงโทษที่เกิดผลเสียน้อยที่สุด เช่น กรณีสัญญากู้เงินเท็จของอดีตรัฐมนตรี ที่กลายเป็นเรื่องของความไม่เจตนาทุจริต

การยึดไม้เรียวไปจากครู ไม่ได้เป็นเครื่อง รับประกันว่าเด็กนักเรียนรุ่นใหม่จะมีคุณภาพ ที่ดีขึ้น กล้าแสดงออกมากขึ้น ไม่เกรงผู้ใหญ่เหมือนต้นแบบที่เราคาดหวัง หรือป้องกันการลงโทษที่รุนแรงจนเกินเหตุ แต่สิ่งที่น่ากังวลมากกว่า คือวิธีการใหม่ๆ ที่จะทำให้เด็กนักเรียนอยู่ในกรอบหรือกฎเกณฑ์ที่ดีของสังคมนั้นมีหรือยัง แล้วครูจะใช้อะไรแทนไม้เรียวที่เดิมก็ไม่ค่อยจะมีประสิทธิภาพอยู่แล้ว และหากเราเชื่อในเรื่องของทฤษฎีแม่ปูกับลูกปูแล้ว เรื่องที่น่าเป็นห่วงมากที่สุด คือ ไม้เรียวของสังคมไทยนั้นถูกยึดไปนานแล้ว และรัฐบาลเองก็ดูเหมือนจะรู้ในเรื่องนี้ดี

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us