Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2542
ศาลล้มละลาย จุดประกายความหวัง             
 

   
related stories

2 ปีใต้เงาไอเอ็มเอฟ เศรษฐกิจไทย ยังมีระเบิดเวลารออีกหลายลูก!!

   
search resources

สุนทร สิทธิเวชวิจิตร




ข่าวเจ้าหนี้รายใหญ่คือธนาคาร ฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ แบงกิ้ง คอร์ ปอเรชั่น ยื่นฟ้องและขอฟื้นฟูกิจการ บมจ.สหวิริยา โอเอ (SVOA) ที่มีหนี้สินล้นพ้นตัว จำนวนกว่า 6,000 ล้านบาท ต่อศาลล้มละลาย ปรากฏว่าศาลมีคำสั่งให้ทำแผนฟื้นฟูกิจการเรียบร้อยแล้ว ถือว่าคดีนี้เป็นคดีแรกในการพิจารณาของศาลล้มละลาย

นับตั้งแต่ศาลล้มละลายกลางเปิดทำการเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2542 ได้มีผู้ยื่นฟ้องคดีล้มละลายรวม 35 คดี คดีฟื้นฟูกิจการ 2 คดี รวมเป็นทุนทรัพย์ 8,609.80 ล้านบาท แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า ในจำนวนนี้มีเจ้าหนี้ ซึ่งเป็นสถาบันการเงินเป็นเจ้าหนี้ยื่นฟ้องเพียง 3 ราย ทั้งๆ ที่ในช่วง 2 ปี แห่งวิกฤติการณ์ทางการเงินบรรดาธุรกิจทั้งหลายอาการง่อนแง่นน่าเป็นห่วง จึงมีคำถามตามมาถึงสาเหตุของการไม่กระตือรือร้นในการแก้ไขปัญหาทั้งๆ ที่มีกระบวนการยุติธรรมอย่างศาลล้มละลายเป็นผู้ตัดสิน หรือเป็นเพราะว่าวัฒนธรรมคนไทยที่ชอบไกล่เกลี่ยโดยไม่ต้องพึ่งกลไกใดๆ เพียงหวังแค่ให้ธุรกิจที่มีฐานะไปไม่รอดได้ "ยืดเวลา" ออกไปเท่านั้น ถ้ามองในอีกแง่ทางทฤษฎี หากกิจ การไหนที่อ่อนแอและล้มละลายไปย่อมทำให้กิจการ ซึ่งแข็งแรงกว่ามีโอกาสเจริญรุ่งเรืองมากขึ้นซึ่งเป็นผลดีต่อการปฏิรูปของภาคเศรษฐกิจโดยรวม

บทเรียนวิกฤติการณ์ทางการเงินอย่างรุนแรง จากช่วงปี 2520-2530 กรณีราชาเงินทุน จนก่อให้เกิดโครงการกอบกู้วิกฤติสถาบันการเงิน ที่เรียกกันว่า "โครงการทรัสต์ 4 เมษา" ได้กลายเป็นแรงขับดันให้กลุ่มนักกฎหมายหัวก้าวหน้าทั้งหลาย พยายามที่จะผลักดันให้มีการแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติกฎหมายล้มละลาย พ.ศ. 2483 เพราะมองว่ากฎหมายฉบับนี้จะเป็นมาตรฐาน ที่สามารถรองรับปัญหาทำนองเดียวกันที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งร่างกฎหมายฉบับนี้คณะกรรมการพิจารณาแก้ไขปรับปรุงพ.ร.บ.กฎหมายล้มละลาย ปี 2483 ได้เริ่มลงมือดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2530 จนมาแล้วเสร็จในปี 2536 หลังจากนั้นร่างนี้ได้เข้ามาอยู่ภายใต้การพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา จนเวลาล่วงเลยมาได้กว่า 2 ปี คณะรัฐมนตรีในสมัยพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ได้ดึงเรื่องเข้าสู่คณะรัฐมนตรี (ครม.) และมีมติรับร่างนี้ และสภาผู้แทนราษฎรได้มีมติพิจารณารับร่างกฎหมายฉบับนี้ผ่านวาระแรก แต่แล้วรัฐบาลชุดดังกล่าวไม่สามารถต้านทานกระแสวิกฤติ เศรษฐกิจไปได้จนเกิดการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล มาเป็นชุดนายกฯ ชวน หลีกภัย

ปี 2540 รัฐบาลได้นำเสนอร่าง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2541 ว่าด้วยการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ต่อรัฐสภา ซึ่งในฉบับเดิมไม่ได้บัญญัติเรื่องนี้ไว้ ในการพิจารณาร่างพ.ร.บ. ดังกล่าวใน ขั้นแปรญัตติ ของวุฒิสภา คณะกรรมาธิการวิสามัญได้มีการอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง ถึงแนวความคิดในอันที่จะจัดตั้งศาลชำนัญพิเศษขึ้นมาพิจารณาคดีล้มละลายโดยเฉพาะ เนื่องจากเห็นว่าคดีล้มละลาย โดยเฉพาะคดีฟื้นฟูกิจการที่จะเกิดขึ้นเป็นคดีที่มีความเกี่ยวข้องกับระบบเศรษฐกิจ และมีความยุ่งยากซับซ้อนในอนาคต ดังนั้น เห็นสมควรที่จะให้มีศาลชำนัญพิเศษเพื่อพิจารณาคดีเหล่านี้โดยเฉพาะ

การจัดตั้งศาลพาณิชย์และศาลล้มละลายเป็นศาลชำนัญพิเศษ ที่ประชุมคณะกรรมการฯ เห็นว่าการ จัดตั้งศาลพาณิชย์และศาลล้มละลายเป็นศาลเดียวกันน่าจะไม่เหมาะสม เนื่องจากเนื้อหาและกระบวนการพิจารณาคดีแตกต่างกัน จึงเห็นว่าควร จัดตั้งศาลล้มละลายแยกต่างหาก ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ประชาชนขณะ เดียวกันปริมาณคดีล้มละลายที่มีอยู่ประมาณปีละ 3,000 คดี เป็นปริมาณ ที่มากพอที่จะจัดตั้งศาลล้มละลายได้

"แนวทางดังกล่าว จึงประ-จวบเหมาะกับกระทรวงยุติธรรมที่ต้องการจัดตั้งศาลล้มละลาย จึงได้ เสนอความเห็นต่อ ครม. และมีมติจัดตั้งศาลดังกล่าวขึ้นในปี 2541 และ ได้จัดส่งร่างพ.ร.บ. เข้าสู่สภาฯ และใช้เวลาร่วมปี ผลออกมาก็ได้จัดตั้งเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2542 และเปิดดำเนินการเมื่อ 18 มิถุนายน 2542" สุนทร สิทธิเวชวิจิตร ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา ซึ่งเข้ามาช่วย ทำงานตำแหน่งอธิบดีผู้พิพากษาศาลล้มละลาย กล่าวถึงที่มาของการจัดตั้งศาลล้มละลาย แนวความคิดการจัดตั้งศาลล้มละลายมีมากว่า 10 ปีแล้ว แต่ที่ผ่านมายังไม่สามารถจัดตั้งขึ้นมาได้ ขณะที่ศาลแรงงาน ศาลภาษีอากรกลาง ศาลทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งเป็นศาลชำนัญพิเศษเช่นเดียวกันได้จัดตั้งเสร็จเรียบร้อยมานานแล้ว ขณะที่ศาล ล้มละลายเพิ่งสามารถเปิดดำเนินการได้ไม่กี่เดือนที่ผ่านมา

"มันเป็นเรื่องที่ประจวบเหมาะ กับภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ ซึ่งบางกระแสอาจจะมองว่าศาลล้มละลายเกิดขึ้นเพราะวิกฤติเศรษฐกิจ และธนาคารโลกและไอเอ็มเอฟบีบบังคับให้จัดตั้ง แต่แนวคิดนี้มีมานานแล้ว" สุนทร กล่าว อย่างไรก็ตาม เขายอมรับว่าวิกฤติเศรษฐกิจเป็นส่วนหนึ่งที่เร่งให้ศาลล้มละลาย เปิดได้เร็วขึ้น โดยรัฐบาลเพิ่งมองเห็นความสำคัญของศาลดังกล่าว

ผลกระทบที่มองเห็นชัดๆ คือ กรณี 58 ไฟแนนซ์ถูกสั่งปิด หมายถึง บริษัทที่เป็นลูกค้าของบริษัทนั้นต้องหยุดการติดต่อ ลูกค้าที่เคยมาอาศัยบริการทั้งฝากและกู้ไม่สามารถดำเนิน การใดๆ ได้ซึ่งมีผลกระทบในวงกว้าง ทั้งด้านเจ้าหนี้และผู้ฝากเงิน จะมีปัญหาว่าจะได้รับหนี้คืนหรือไม่ ทางด้านผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุนในหุ้นจะมีปัญหาว่าเมื่อบริษัทออกหลักทรัพย์มีปัญหา คุณภาพของหลักทรัพย์จะต้องลดลง ถ้าบริษัทล้มผลกระทบย่อมขยายในวงกว้างออกไป

ในอดีต ถ้าเจ้าหนี้มีลูกหนี้ราย ใดติดหนี้มูลค่า 50,000 บาท หรือเป็น เจ้าหนี้บริษัทใด 500,000 บาทสามารถ ฟ้องล้มละลายบุคคลหรือบริษัทนั้นๆ ได้ เป็นสิทธิของเจ้าหนี้ซึ่งเป็นหลักการที่ยึดถือมานาน จนกระทั่งในช่วงปี 2520-2530 หากปล่อยให้บริษัทนั้น ล้มไปโดยที่ให้เจ้าหนี้ฟ้องล้มละลายได้โดยไม่มีการเจรจาจะเกิดความเสีย หายอย่างมหาศาล

จากเหตุผลดังกล่าว จึงเกิดความพยายามดำเนินการแก้ไขมาตั้งแต่ปี 2537-2538 โดยได้แนวคิดมาจากพ.ร.บ.แก้ไขปรับปรุงกฎหมายล้ม ละลาย ปี 1978 ของอเมริกา (The 1978 Bankruptcy Reform Act) Chapter 11 ถือเป็นต้นแบบหลักของ บทบัญญัติการฟื้นฟูกิจการที่แก้ไขเพิ่มเติมขึ้นในกฎหมายล้มละลายโดยใน Chapter 11 เนื้อหาจะเป็นเรื่องของการฟื้นฟูกิจการโดยเฉพาะ (Re-organization) โดยที่ลูกหนี้ยังคงความเป็นเจ้าของธุรกิจและควบ คุมการดำเนินงานในบริษัทอยู่เช่นเดิม แต่ทั้งนี้ต้องภายใต้การควบคุมของศาล ขณะเดียวกันทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้สามารถที่จะดำเนินการประนอมหนี้กันได้ ซึ่งอาจจะเป็นการเจรจากำหนดชำระหนี้ใหม่ หรือจัดโครงสร้างหนี้ใหม่ และเมื่อบริษัทยื่นขอล้มละลายต่อศาล ข้อกำหนด Chapter 11 บอกว่าศาล ย่อมแต่งตั้งคณะผู้บริหารใหม่เข้าไปปรับโครงสร้างบริษัทหรือไม่ก็ชำระบัญชี ยุบเลิก และนำทรัพย์สินออกขายทอดตลาดตามขั้นตอน

ตัวอย่างชัดเจนของ SVOA สาระของแผนฟื้นฟูกิจการ บริษัทจะต้องตัดธุรกิจที่ไม่จำเป็นและไม่ก่อให้เกิดรายได้ทิ้ง หรือโอนทรัพย์สินบางส่วนรวมทั้งนำเงินจากบริษัทย่อยมาชดใช้ให้กับเจ้าหนี้ ลดทุน ให้ผู้ถือหุ้นเดิมที่ต้องรับผิดชอบ และเตรียมเพิ่ม ทุนจดทะเบียนใหม่อีก 1,800 ล้านบาท โดยระยะแรกจะลดทุนจดทะเบียนปัจจุบันจากเดิมที่มี 300 ล้านบาท เหลือ 200 ล้านบาท หลังจากนั้นจึงเพิ่มทุนต่อไป ซึ่งจะทำให้โครงสร้างผู้ถือหุ้นใหม่เปลี่ยนไปจากเดิม

เกิดประโยชน์มหาศาล

กรณีคดี SVOA ศาลล้มละลายใช้เวลาประมาณ 1 เดือนก็เสร็จเรียบร้อย ดังนั้นจึงสามารถมองไปข้างหน้าได้ถึงผลดีในการเข้ามาสู่กระบวนการศาลล้มละลาย ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งฝ่ายเจ้าหน ี้และลูกหนี้โดยเฉพาะระยะเวลาการพิจารณาคดีที่ศาลล้มละลายมั่นใจว่าแต่ละคดีจะใช้เวลาไม่เกิน 6 เดือน

"เมื่อใช้เวลาไม่นาน โอกาสที่ลูกหนี้จะหลุดพ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลายก็เร็วขึ้น ซึ่งเป็นหนทางในการตั้งตัวใหม่ให้เร็วขึ้นด้วย และเมื่อมาอยู่ที่ศาลนี้ผู้พิพากษาจะพิจารณาคดีล้มละลายโดยเฉพาะ จะมีโอกาสเข้าใจปัญหา และทำให้คดีล้มละลายสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น โดยมีเวลาใช้กลเม็ดการเจรจาระหว่างเจ้าหนี้กับลูก หนี้ได้เข้าใจถึงปัญหาได้ดี โอกาสที่ทั้งสองฝ่ายจะเจรจาประนอมหนี้น่าจะดีขึ้น นอกจากนี้คำพิพากษาที่ออก ไปจะถูกต้องและเข้ากับสถานการณ์ด้วย" สุนทรกล่าวถึงผลดีของการเข้า สู่กระบวนการศาลล้มละลาย

นอกจากนี้ ลูกหนี้อาจจะขอประนอมหนี้หลังจากคำพิพากษาล้มละลายไปแล้ว หมายถึงปลดจากการเป็นบุคคลล้มละลายด้วยการประนอม หนี้ "ซึ่งกฎหมายฉบับเดิมก็บัญญัติไว้แต่ต้องใช้เวลาเป็นปี" ด้านเจ้าหนี้ หากศาลมีคำตัดสินให้ลูกหนี้ล้มละลาย โอกาสที่จะได้หนี้คืนอาจจะมีเพียงเล็ก น้อย แต่ถ้าลูกหนี้ขอฟื้นฟูกิจการโอกาสที่เจ้าหนี้จะได้หนี้คืนเต็มเม็ดเต็มหน่วยจะมีมากกว่า

"ถ้าเจ้าหนี้ฟ้องลูกหนี้ล้มละลายไปแล้ว ก็คือ จบไปเลย ถ้าเป็นบุคคลธรรมดาถ้าอยากจะออกจากการเป็นบุคคลล้มละลายได้คือ ปลดจากล้มละลายเป็นประนอมหนี้และยกเลิกเป็นบุคคลล้มละลาย ซึ่งในกฎหมายมาตรา 35 ที่มีการแก้ไข มีว่า 3 ปีให้หลุดจากการเป็นบุคคลล้มละลาย ซึ่งเป็นการช่วยเหลือลูกหนี้ไปในตัว" สุนทรกล่าว

ในกระบวนการฟื้นฟูกิจการลูกหนี้ที่ได้รับการฟื้นฟูจะต้องเป็นบริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัดหรือ เป็นนิติบุคคลอื่นที่กฎหมายกำหนด มีหนี้รวมไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาทซึ่ง เข้าข่ายมีหนี้สินล้นพ้นตัว (insolvency) และศาลยังไม่มีคำสั่งพิทักษ์ ทรัพย์ โดยผู้ที่มีสิทธิขอฟื้นฟูกิจการได้ต้องเป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ หรือหน่วยงานของรัฐ ในกรณีที่เป็นเจ้าหนี้ร้องขอจะต้องเป็นเจ้าหนี้มีประกัน หรือเจ้าหนี้ไม่มีประกันคนเดียวหรือหลายคนรวมกัน และจำนวนหนี้ไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท เช่นเดียวกับลูกหนี้ ก็สามารถยื่นคำร้องต่อศาลขอฟื้นฟูกิจการของตนเองได้

"การฟ้องล้มละลายกับฟ้องเพื่อฟื้นฟูจะแตกต่างกัน ขณะที่ศาลล้มละลายรับฟ้องได้ทั้งสองเรื่องแต่ทั้งสองกรณีต้องมีหนี้สินล้นพ้นตัว"

กฎหมายฉบับนี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของหน่วยธุรกิจทั่วๆ ไปที่เมื่อถึงช่วงวิกฤติ บรรดาบริษัทเหล่านี้ไม่มีทางเอาตัวรอดได้ และต้องล้มละลายไปในที่สุด ซึ่งส่งผลกระทบต่อเนื่องเป็นลูกโซ่สู่วงกว้าง แม้ในความเป็นจริงยังมีบริษัทอีกมากมายที่มีศักย ภาพที่จะฟื้นตัวแต่ถ้าปราศจากซึ่งบทบัญญัติ การฟื้นฟูกิจการของกฎหมายล้มละลายแล้ว บริษัทเหล่านี้ก็ต้องถูกผลักเข้าสู่กระบวนการล้มละลายอย่าง หลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งคงไม่มีบริษัทหรือ บุคคลไหนต้องการถูกตราหน้าว่าเป็น บุคคลล้มละลาย

ในกระบวนการฟื้นฟูกิจการของกฎหมายใหม่นี้ ได้มีข้อสมมติฐานว่าเจ้าหนี้อาจจะเป็นตัวก่อปัญหาทำให้บริษัทปั่นป่วนได้ เนื่องจากเจ้าหนี้บางรายเข้มงวดมากเกินไป หรือต้องการเข้าฮุบกิจการของลูกหนี้ โดยในกฎหมายจะไม่เปิดโอกาสให้เจ้าหนี้หัวใสเหล่านี้ใช้กฎหมายล้มละลายเป็นเครื่องมือข่มเหงลูกหนี้ ด้วยวิธีการที่เรียกว่า Automatic Stay ซึ่งระหว่างที่อยู่ในกระบวนการนี้ห้ามเจ้าหนี้ทั้งหมดเข้ามาบีบบังคับลูกหนี้ชำระหนี้

กรณีที่ลูกหนี้สร้างปัญหาเสียเองจนมีหนี้สินล้นพ้นตัว บทบัญญัติพิเศษของกฎหมายล้มละลายใหม่ สามารถถอดถอนผู้บริหารเดิมได้ทันที เพราะตราบใดที่ผู้บริหารเก่ายังอยู่ แม้จะมีเม็ดเงินใหม่เข้ามาและมีการ กันเจ้าหนี้ไม่ดำเนินการใดๆ ระหว่าง นั้นก็ตาม การฟื้นฟูกิจการย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ ไม่เพียงเท่านั้นยังจะทำให้สถานการณ์เลวร้ายลงไปอีก ซึ่งมาตร การนี้เรียกว่า Automatic Takeover แม้แต่ลูกหนี้ประเภทไม่ค่อยจริงใจในการแก้ปัญหาแต่ต้องการล้มบนฟูก คือ อยากเข้าสู่กระบวนการล้มละลาย ไปเลย ในกฎหมายฉบับนี้ได้แก้ไขไว้แล้ว โดยบุคคลอื่นสามารถขอใช้มาตรการนี้ได้แม้ลูกหนี้ไม่ยินยอม ฉะนั้นถ้าอยากล้มก็ล้มไม่ได้ ต้องเข้าโครงการฟื้นฟูกิจการ ภารกิจอันหนักหน่วงของศาลล้มละลายในการเป็นผู้พิทักษ์ความยุติธรรมให้กับเจ้าหนี้ และลูกหนี้ที่ทั้งสองหวังพึ่งความเป็นกลาง เพราะอย่างน้อยที่สุดศาลล้มละลายก็ต้องใช้ดุลยพินิจว่า ทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้เดินเข้ามาที่ศาลแล้วก็ต้องรู้ว่าตนเอง "สะอาดหรือไม่" แต่ที่คาดหวัง ไว้มากกว่านั้น หนีไม่พ้นความหวังของศาลล้มละลายที่จะเป็นฟันเฟืองตัวหนึ่งในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจครั้งนี้ เนื่องจากเป็นผู้เข้าไปดูแลภาระหนี้สินของเจ้าหนี้และลูกหนี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องล้มละลายหรือการฟื้นฟู กิจการ เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้

ดังนั้น นับต่อแต่นี้ไปศาลล้ม ละลายคงจะเป็นที่พึ่งในยามที่ประเทศ ทุกข์ยากนี้ได้ และคงจะไม่ทำให้ผิดหวังเป็นแน่แท้ เพราะกว่าจะเห็นศาลนี้เกิดขึ้นได้ต้องรอมานานกว่า 10 ปี

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us