Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2542
2 CEO ผนึกกำลังผลัก "เมอร์ริลลินช์ภัทร" สู่ความเป็นเลิศระดับสากล             
 

   
related stories

2 ปีใต้เงาไอเอ็มเอฟ เศรษฐกิจไทย ยังมีระเบิดเวลารออีกหลายลูก!!

   
search resources

เมอร์ริลลินช์ภัทร
ไมเคิล อันซเวิร์ทส
วีรวัฒน์ ชุติเชษฐพงศ์




คลื่นยักษ์เศรษฐกิจได้พัดกวาด เอาบรรดาสถาบันการเงินเล็กใหญ่ล้มหายตายจากไปจำนวนมากคง ไว้แต่สถาบันการเงินที่มีความ แข็ง แกร่งมั่นคงอย่างแท้จริง โดยเฉพาะความแข็งแกร่งในด้านโครงสร้างเงินทุน ซึ่งหมายถึงการดึงต่างชาติเข้ามามีบทบาทในอุตสาหกรรมการเงินไทยมากขึ้น นั่นเอง!!!

ปลายปี 2540 บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ภัทรธนกิจ จำกัด (มหาชน) ประกาศแยกธุรกิจหลักทรัพย์กับธุรกิจเงินทุนออกจากกัน แต่หลังจากนั้นไม่ทันข้ามปี ธนาคารกสิกรไทยซึ่งเป็นบริษัทแม่ก็ซื้อหุ้นกลับคืนทั้งหมด ทำให้บล.และบง.ภัทรธนกิจหมดความเป็นมหาชน และต่อมาธนาคารกสิกรไทยได้ประกาศขายหุ้นจำนวน 51% ของบล.ภัทรธนกิจให้แก่บริษัท เมอร์ริลลินช์ เป็นที่มาของการเปลี่ยน แปลงโครงสร้างธุรกิจและการทำงานของชาวภัทรฯ ครั้งยิ่งใหญ่ ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 16 มีนาคม 2542 เริ่มตั้งแต่การมี CEO 2 คน คือมร.ไมเคิล อันซ์เวิร์ทส ตัวแทนจากเมอร์ริลลินช์ และวีรวัฒน์ ชุติเชษฐพงศ์ ตัวแทนฝ่ายไทย นอกจากนั้นโครงสร้างการทำงานยังมีลักษณะที่เข้มงวดชนิดที่วีรวัฒน์เรียกว่าเป็น "Unique Structure" กล่าวคือ จากเดิมที่ภัทรธนกิจเคยเป็นองค์กรที่มีการ บริหารงานแบบครอบครัว ได้เปลี่ยนเป็นการบริหารงานแบบมืออาชีพที่เป็น ระบบมากขึ้น โดยมีการแบ่งโครงสร้าง ของธุรกิจออกเป็น 7 ส่วน ประกอบด้วย สายงานค้าหลักทรัพย์และค้าตราสารหนี้ สายงานบริหารกองทุน สายงานวาณิชธนกิจ สายงานจัดการลงทุน สายงานที่ปรึกษาและบริหารการลงทุนส่วนบุคคล สายงานวิจัยและวางแผน และสายงานสนับสนุน โดยเจ้าหน้าที่ของแต่ละสายงานจะขึ้นตรงต่อ Global Head และต้องมีการรายงานผลการปฏิบัติการไปยัง 2 ส่วนด้วยกันคือ Product Manager และ Regional Manager ซึ่งระบบ นี้เรียกว่า "Dual Matrix Reporting" เป็นระบบที่มีการควบคุมดูแลอย่างรัด กุมตามมาตรฐานเดียวกับหน่วยบริษัท ภิบาล หรือ Corporate Governance ที่ใช้กับเมอร์ริลลินช์ที่นิวยอร์ก โดยนำมาปรับใช้ให้เข้ากับวัฒนธรรมองค์กรแบบไทยๆ

"การถือหุ้นมากถึง 51% ก็มีความหมายมากอย่างนี้แหละ ซึ่งหากถือเพียง 49% ผมคิดว่า การควบคุมดูแลคงไม่มากถึงขนาดนี้ ดังนั้นเมื่อถือ 51% ย่อมหมายความว่า ธุรกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นนั้นคือชื่อเสียงของ เมอร์ริลลินช์" เป็นความเห็นของวีรวัฒน์ CEO ฝั่งไทย

"ทำไมต้องเป็นเมอร์ริลลินช์" เป็นคำถามที่หลายคนอยากรู้คำตอบ วีรวัฒน์ทำหน้าที่เป็นตัวแทนในการตอบคำถามนี้ว่า

"เหตุผลที่เราร่วมธุรกิจกับเมอร์ริลลินช์เพราะ เมื่อ 2 ปีที่แล้ว เราเริ่มคิดว่า เราต้องสร้างตัวเองให้สามารถแข่งขันในธุรกิจหลักทรัพย์ในอนาคตให้ได้ ซึ่งเราเห็นว่าไม่มีทาง เป็นไปได้เลย หากเรายังทำธุรกิจโดยลำพัง เหมือนที่เราเคยทำเมื่อ 4-5 ปีก่อน และจากกลุ่มลูกค้าที่มีลักษณะที่ซับซ้อนและมีความต้องการมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งลูกค้ามีโอกาสที่จะเจรจาได้ ทั้งบริษัทในท้องถิ่นเองหรือบริษัทในต่างประเทศ เนื่องจากมีอัตราค่าธรรม เนียมที่ไม่ห่างกันมากนัก ดังนั้น ทำไมเราไม่สร้างตัวเราให้มีความเป็นสากลทัดเทียมบริษัทในต่างชาติ และนี่คือสาเหตุสำคัญที่ทำให้เราต้องไล่ตามให้ทันคุณภาพและมาตรฐานระดับโลกด้วยตัวเราเอง แต่คงต้องใช้เวลาเป็น 100 ปีกว่าจะสำเร็จ ในขณะที่เมอร์ริลลินช์มีอายุมา 150 ปีแล้ว นั่นคือ สาเหตุที่เราเริ่มมององค์กรระดับโลกที่อยากเข้ามาทำธุรกิจในเมืองไทย ขณะเดียวกันก็ยังคงรักษา ธุรกิจในระดับสากลไว้ ซึ่งเราเห็นว่า เมอร์ริลลินช์มีคุณสมบัติดังกล่าวครบถ้วน ยิ่งกว่านั้นยังมีคุณสมบัติพิเศษที่แตกต่างจากองค์กรอื่น เราจึงเริ่มต้นการเจรจากับเขา"

จากความพร้อมของเมอร์ริล ลินช์ภัทรในวันนี้ คู่ต่อสู้ที่สำคัญของเขาจึงไม่ใช่แค่โบรกเกอร์ในท้องถิ่นเท่านั้น แต่ยังรวมถึงบริษัทชั้นนำระดับโลกอย่างเช่น โกลด์แมนแซค, มอร์แกน สแตนเลย์, เอบีเอ็นแอมโร, ซาโลมอนอีกด้วย

"เป้าหมายที่เราต้องการไปให้ถึงคือ การเป็นบริษัทหลักทรัพย์อันดับ 1 หรือ 2 ของประเทศในเรื่องของคุณ ภาพและมูลค่าส่วนแบ่งตลาด ซึ่งเราต้องปรับปรุงคุณภาพของเราก่อน เพราะเราเชื่อว่า เมื่อคุณภาพดีแล้ว ส่วนแบ่งทางการตลาดจะตามมา" CEO คนไทยกล่าว

ล่าสุด เมอร์ริลลินช์ภัทรได้รับการจัดอันดับโบรกเกอร์ให้เป็นบริษัทหลักทรัพย์ดีเด่น จากนิตยสาร Euromoney ด้วยเหตุผลของการเข้ามาถือหุ้นของเมอร์ริลลินช์ จนทำให้เมอร์ริลลินช์ภัทรกลาย เป็นบริษัทหลักทรัพย์อันดับหนึ่งของประเทศไทย ในด้านความสามารถทำกำไรได้อย่างงดงาม เมื่อตลาดกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง

สำหรับบทบาทหน้าที่การทำงานของแต่ละสายงานเพื่อนำไปสู่จุดมุ่งหมายเดียวกันนั้น วีรวัฒน์ ชี้แจงว่า สายงานค้าหลักทรัพย์และค้าตราสารหนี้ แบ่งเป็นฝ่าย Equity Capital Market (ECM) เน้นเรื่องการทำ IPO, Equity Placement และการเพิ่มทุน, ฝ่ายค้าหลักทรัพย์ ซึ่งเป็นธุรกิจ นายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ที่ทำให้แก่นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันเมอร์ริลลินช์ภัทรมีส่วนแบ่งตลาดด้านการซื้อขายหลักทรัพย์ที่ 5-6% และมีเป้าหมายที่ 10% ในปีนี้ และ ฝ่าย Debt Capital Market หรือตลาดหนี้ที่จะเน้นในเรื่องกระบวนการปรับโครงสร้างหนี้ของกิจการต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ

ส่วนสายงานวาณิชธนกิจ หรือที่เรียกว่า Corporate Finance จะเน้นที่การเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน ที่ปรึกษาในการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ รวมทั้งเป็นที่ปรึกษาในการทำ M&A

สายงาน International Private Client Group (IPCG) ให้ บริการด้านการเป็นที่ปรึกษาและบริหารการลงทุนส่วนบุคคล ซึ่งดูเหมือนจะมีความเกี่ยวเนื่องกับการทำงานของสายงานบริหารกองทุน (Asset Management) ที่แบ่งเป็นการบริหารกองทุนส่วนบุคคล (Private Fund) และการบริหารกอง ทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) ซึ่งวีรวัตน์ได้กล่าวถึงกลยุทธ์ในเรื่องการบริหารกองทุนส่วนบุคคลว่า

"จากโปรดักส์ที่ออกมาสู่ตลาด มีความซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ คนที่มีเงินอาจจะรู้สึกลำบากในการตัดสินใจลงทุน และจะพิจารณาผลตอบแทนและความเสี่ยงในการลงทุนอย่างไร เราจึงทำหน้าที่เป็นเสมือนหนึ่งเจ้า ของเม็ดเงิน ดังนั้นเราต้องมีการคิดอย่างรอบคอบมากที่สุดว่า เราจะสามารถรับความเสี่ยงได้เท่าไร และสามารถทำกำไรสูงสุดได้เท่าไร" ซึ่งที่ผ่านมากองทุนส่วนบุคคลของเมอร์ริล ลินช์มีอัตราผลตอบแทนในระดับที่น่าพอใจ

"ลูกค้าของเราพอใจการดำเนิน งานของเรามาก เพราะพวกเขาได้อัตราผลตอบแทนที่เหมาะสมเมื่อเทียบกับอัตราความเสี่ยงในสินทรัพย์ ที่ลงทุนไป แม้ในบางช่วงที่ตลาดตก แต่มูลค่าเงินลงทุนเรากลับไม่ลดลง และเมื่อตลาดดีดตัวกลับ เราก็ได้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่จะเกิดขึ้นได้ตามปกติ แต่เป็นเพราะผู้จัดการกองทุนของเรามีความสามารถมากพอที่จะทำได้นั่นเอง เพราะว่าเรารู้จักตลาดดีพอ และสามารถวิเคราะห์ความเสี่ยงและผลตอบแทนของตลาดได้อย่างดี ซึ่งคนที่จะทำอย่างนี้ได้ต้องมีแบ็คอัพที่แข็งแรงในเรื่องของงานวิจัยและการวิเคราะห์หลักทรัพย์ นอกจากนั้น เรายังอนุญาตให้ผู้จัดการกองทุนของเรา สามารถทำการซื้อขายได้ตามลำพังกับโบรกเกอร์รายอื่น ไม่จำกัดว่าจะต้องซื้อขายผ่านเมอร์ริลลินช์ภัทรเพียงแห่งเดียว ทั้งนี้เพื่อให้เขาได้ประสบการณ์ในเรื่องของข้อมูลข่าวสาร และโอกาสทางธุรกิจมากขึ้น ซึ่งเราอาจจะเป็นเพียงหนึ่งในโบรกเกอร์ไม่กี่รายที่อนุญาตให้ผู้จัดการกองทุนทำอย่างนี้ได้" วีรวัฒน์เล่าอย่างภูมิใจ

ปัจจุบันเมอร์ริลลินช์ภัทรมีมูลค่ากองทุนส่วนบุคคลประมาณ 6,000-7,000 ล้านบาท และมีกองทุนที่ บริหารให้กบข.อีกประมาณ 14,000 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นส่วนแบ่งทางการ ตลาดทั้งหมดประมาณ 26% ซึ่งถือว่ามากที่สุดในปัจจุบัน

มร.อันซเวิร์ทสกล่าวว่า "ตลาด กองทุนส่วนบุคคลมีอนาคตที่ดีมาก เพราะว่าคนมักไม่ค่อยรู้วิธีบริหารเงินอย่างชาญฉลาด ดังนั้นจึงให้ผู้เชี่ยว ชาญมาบริหารให้ ซึ่งเป็นวิธีที่ถูกต้อง และเราก็มีระบบข้อมูลข่าวสารให้กับผู้จัดการกองทุน รวมทั้งให้คำปรึกษาแก่นักลงทุน โดยอนุญาตให้เขาเลือกระดับความเสี่ยงเอง ไม่ต้องผลักดันให้เขารับความเสี่ยงที่เขาไม่ต้องการ ซึ่งเขาจะพอใจในผลตอบแทนที่เขาได้รับ ซึ่งแน่นอนที่สุดว่า ผลตอบแทนสูงสุดมักจะขึ้นอยู่กับระดับความ เสี่ยงที่สูงสุด ซึ่งเราไม่สนับสนุนให้บริหารกองทุนบนความเสี่ยง แต่สนับ สนุนให้บริหารเม็ดเงินลงทุนที่สามารถ ตรวจสอบได้ เนื่องจากนักลงทุนผู้เป็นเจ้าของเงิน ไม่ต้องการที่จะสูญเสียเงินของเขาไป ดังนั้นเราต้องพยายามรักษาไว้ให้เขา"

นอกจากนั้นยังมีสายงานที่สำคัญอีกสายงานหนึ่งคือ สายงาน Corporate Strategy & Research Group หรือสายงานวิจัยและวางแผนที่มีการนำเสนอข้อมูลและบทวิเคราะห์ในเชิงลึกได้อย่างทั่วถึง จากนักวิเคราะห์ที่มีอยู่ทั่วโลกกว่า 6,000 คน ซึ่งถือเป็นหัวใจของการทำธุรกิจทั้งหมด

"หน่วยงานที่กล่าวถึงนี้เป็นเพียงตัวอย่างที่ชี้ให้เห็นว่า เรามีการจัดโครงสร้างธุรกิจใหม่อย่างไร และในฐานะที่เราเป็นบริษัทท้องถิ่นนั้นเรา มีการรวมส่วนงานทุกอย่างเข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า การทำงานทุกอย่างเป็นไปตามมาตรฐานของเมอร์ริลลินช์ทั่วโลก" วีรวัฒน์ชี้แจง พร้อมทั้งกล่าวถึงนโยบายหลักของเมอร์ริลลินช์ภัทรในวันนี้คือ

"รักษาจุดแข็งในตลาดท้องถิ่นเอาไว้ คือ ความสัมพันธ์อันดีต่อลูกค้าและความชำนาญในตลาดในประเทศ และพัฒนาขึ้น เพื่อให้สามารถนำจุดแข็งของเมอร์ริลลินช์ในระดับโลกในแง่ของความแข็งแกร่ง ทางด้านเงินทุน ความสามารถในการเข้าถึงตลาดโลก และฐานข้อมูลที่เชื่อมโยงอยู่ทั่วโลกมาประยุกต์ใช้ได้ ด้วยการพยายามสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ออกสู่ตลาด จากความชำนาญทั้งหมดที่มีอยู่"

ซึ่งผลิตภัณฑ์ใหม่ดังกล่าวที่เพิ่งออกสู่ตลาดคือ การทำหุ้นกู้ LSPV ให้แก่กลุ่มแสงโสมสำหรับ

ดีลนี้วีรวัฒน์คิดว่า เป็นทางเลือกใหม่สำหรับบริษัทต่างๆในการระดมทุนช่วงภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจ เนื่อง จากตลาดในช่วงที่ผ่านมาทำให้ระบบเครดิตขาดช่วงไป และการจะระดมทุนหากไม่มีทรัพย์สินมาค้ำประกันแล้ว (Asset Backed) เป็นเรื่องที่ยากมากแต่เมอร์ริลลินช์ก็ฉกโอกาสทองในช่วงนี้สร้างสรรค์โครงสร้างใหม่ของ การระดมทุนออกมาได้ ซึ่งไม่ได้หมายความว่าทุกบริษัทจะสามารถระดมทุนภายใต้โครงสร้างนี้ได้ทั้งหมด นอกจากนั้น ยังมีหุ้นกู้ STAR ของเลห์แมนบราเดอร์ซึ่งนำเอาสินเชื่อบ้านที่ซื้อจาก FRA มาเป็นทรัพย์สินค้ำประกัน

"ผมหวังว่าในอนาคตจะมีโปรดักส์แบบหุ้นกู้ของ STAR นี้ออกมาอีกมาก เพราะตลาดตราสารเช่าซื้อ (Morgages Backed Market) มีแนวโน้มที่ดีมากในเมืองไทย และมีประโยชน์ในแง่ของการลดต้นทุนการเช่าซื้อได้มาก และยังช่วยให้บริษัทสามารถซื้อขายตราสารเช่าซื้อได้อย่าง คล่องตัวด้วย ซึ่งเมื่อก่อนการเช่าซื้อจะมีอัตราดอกเบี้ยลอยตัว แต่เมื่อเกิดตราสารประเภทนี้ขึ้น อัตราดอกเบี้ยก็คงที่ ซึ่งช่วยให้คนสามารถกำ-หนดได้ว่า จะมีพอร์ตเช่าซื้อที่อัตรา เท่าไร เมื่อดอกเบี้ยขึ้น" มร.อันซ

เวิร์ทสกล่าว นอกจากนั้นยังมีเรื่องของ Stock Borrowing and Lending ที่เมอร์ริลลินช์พยายามผลักดันให้เกิดธุรกรรมนี้อยู่ในเมืองไทย

สำหรับรายได้หลักของเมอร์ริล ลินช์ในปัจจุบันมาจาก 5 สายงานหลัก ด้วยกันคือ การบริหารกองทุนส่วนบุคคล, การค้าหลักทรัพย์, วาณิช-ธนกิจ, ตลาดหนี้ และการบริหารกองทุน โดยลูกค้าส่วนใหญ่ของภัทรจะเป็นคนที่มีเงินมาก ซึ่งหมายความว่า เมอร์ริลลินช์ภัทรมีแหล่งที่มาของรายได้ที่หลากหลายมากกว่าโบรกเกอร์ รายอื่นที่หวังพึ่งพิงรายได้หลักจากค่าธรรมเนียมจากการซื้อขายหลักทรัพย์ จากนักลงทุนรายย่อยเท่านั้น

อนาคตของธุรกิจหลักทรัพย์ในเมืองไทยในมุมมองของวีรวัฒน์นั้นจะมีผู้เล่นแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรกคือ องค์กรที่มีการร่วมทุนแบบเมอร์ริลลินช์ภัทรที่สามารถทำธุรกิจได้ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งเขาคิดว่า ในอนาคตจะมีตามมาอีกมาก กลุ่มที่ 2 เรียกว่า Local Operator คือ มีการดำเนินธุรกิจทุกรูปแบบเหมือนเมื่อครั้งที่บงล. ภัทรธนกิจเคยทำในอดีต โดยมีความ สัมพันธ์กับอินเวสเมนต์แบงกิ้งหรือ โบรกเกอร์ต่างชาติ ได้แก่ ธนชาติ เกียรตินาคิน เป็นต้น ซึ่งบริษัทเหล่านี้ก็จะสามารถอยู่รอดได้

กลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่ม Retail Group คือเน้นธุรกิจแบบ Retail อย่างเดียวมี Single Product เท่า นั้นซึ่งพวกนี้จะไม่สามารถลงทุนในเรื่องของรีเสิร์ชได้ เนื่องจากมีต้นทุนที่สูงมาก และพวกนี้จะอิงอยู่กับฐานลูกค้ารายย่อยในประเทศเท่านั้น

ทั้งหมดนี้คือ กลุ่มโบรกเกอร์ 3 กลุ่มที่จะปรากฏตัวขึ้นนับต่อจากนี้ไป สำหรับแนวโน้มของธุรกิจไทย ในช่วงครึ่งปีหลัง มร.อันซเวิร์ทสได้เป็นผู้แสดงความเห็นว่า

"เป็นที่เห็นอย่างชัดเจนแล้วว่า เศรษฐกิจเริ่มมีการฟื้นตัว ซึ่งเราหวังว่าการฟื้นตัวนี้จะดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลดีต่อตลาดหุ้น ดังนั้นเราคิดว่า ช่วงครึ่งปีหลังภาวะตลาดน่าจะดี ดัชนีน่าจะขึ้นไปอยู่ที่ระดับ 600 และเรายังมองเห็นการขยายตัวของกิจการต่างๆ ที่เริ่มเข้ามาระดมทุนจากตลาดเพิ่มมากขึ้น การซื้อขายตราสารหนี้ก็แอกทีฟมากขึ้น นับเป็นสัญญาณที่ดี"

สำหรับความเสี่ยงที่น่ากลัวที่สุดสำหรับประเทศไทยในมุมมองของมร.อันซเวิร์ทสคือ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ต้องเป็นไปอย่างต่อเนื่องโดยไม่มีการหยุดชะงัก เพราะหากมีการหยุดชะงักอีกครั้ง นั่นหมาย ถึง กระบวนการปรับโครงสร้างกิจการ การรวมกิจการ จะได้ผลในลักษณะกลวงๆ มากกว่าที่จะมั่นคงแข็งแกร่งกว่าเดิม และความเสียหายจะทวีมาก ขึ้นกว่าเดิมอย่างแน่นอน!!!

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us