Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2542
ใครเป็นใครในกลุ่มผู้ถือหุ้นใหม่ของ TISCO             
 

   
related stories

2 ปีใต้เงาไอเอ็มเอฟ เศรษฐกิจไทย ยังมีระเบิดเวลารออีกหลายลูก!!
ปรับโครงสร้างทุนเสร็จ TISCO เริ่มรุกคืนธุรกิจ
ใครเป็นใครในกลุ่มผู้ถือหุ้นใหม่ของ TISCO

   
search resources

ทิสโก้, บง. - TISCO
Financing




บริษัทเงินทุน ทิสโก้ จำกัด (มหาชน) เซ็นสัญญาเข้าร่วมโครงการเพิ่มเงินกองทุนขั้นที่ 1 กับกระทรวงการคลัง โดยออกหุ้นบุริมสิทธิแปลงสภาพซึ่งผู้ถือหุ้นจะมีสิทธิได้รับเงินปันผลจำนวน 1 บาทต่อหุ้น (หรือร้อยละ 10 ของมูลค่าที่ตราไว้) ก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ และมีสิทธิได้รับเงินปันผลร่วมกับผู้ถือหุ้นสามัญ

หุ้นบุริมสิทธินี้ได้จดทะเบียนเพื่อเข้าทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์เรียบร้อยแล้ว และบริษัทก็ได้รับเงินชำระค่าหุ้นเพิ่มทุนดังกล่าวจากนักลงทุนประเภทรายย่อย และสถาบันการเงินทั้งใน และต่างประเทศครบทั้งจำนวน 3,000 ล้านบาท ส่วนกระทรวงการคลังได้ออกใบสำคัญแสดง สิทธิอนุพันธ์ในการให้ผู้ร่วมลงทุนสมทบซื้อหุ้นจากกระทรวง การคลังในระยะเวลา 3 ปีในราคาต้นทุน โดยมีราคาการใช้สิทธิ 11.20 บาทต่อหุ้น นอกจากนี้กระทรวงฯ ยังได้ออกพันธบัตรมูลค่า 3,000 ล้านบาทเพื่อแลกกับหุ้นบุริมสิทธิจำนวน 300 ล้านหุ้นด้วย

นักลงทุนที่ซื้อหุ้นบุริมสิทธิของทิสโก้ไปนั้นมีกลุ่มที่น่าสนใจคือ Southeast Asia Investment Holding หรือ SAI จำนวน 110 ล้านหุ้น SAI เป็นบริษัทโฮลดิ้งเพื่อการลงทุน ที่ริเริ่มก่อตั้งโดยรัฐบาลไต้หวัน ธนาคารโลกและ China Development Industrial Bank หรือ CDIB (เดิมชื่อ China Development Corp. หรือ CDC) ซึ่งเป็นธนาคารเพื่อการลงทุนและการพัฒนาอุตสาหกรรมรายสำคัญในไต้หวัน มีธุรกิจด้านการลงทุนโดยตรง วาณิช-ธนกิจ กิจการธนาคารพาณิชย์ รวมทั้งยังทำเทรดดิ้งและโปรเจกต์ไฟแนนซ์ด้วย CDIB ถือเป็นธนาคารที่มีฐานเงินทุนแข็งแกร่งที่สุดในไต้หวัน โดยมีมูลค่าตามราคาตลาดประมาณ 8,000 ล้านเหรียญและมีส่วนของทุน 2,100 ล้านเหรียญ

SAI มีจุดมุ่งหมายคือการลงทุนในกลุ่มประเทศ

อาเซียน SAI ปัจจุบันมีทุนจดทะเบียน 1,000 ล้านเหรียญ แต่เรียกชำระไว้เพียง 300 ล้านเหรียญ ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา CDIB และ SAI มีการลงทุนในไทยมากกว่า 120 ล้านเหรียญ เช่น การซื้อหุ้นเพิ่มทุนในบงล.กรุงเทพธนาทรหรือ BFIT, บริษัท ทุนเท็กซ์ (ประเทศไทย) มีส่วนร่วมกับกลุ่ม จีอี-โกลด์แมนในการประมูลสินเชื่อจากปรส. รวมทั้งยังมีส่วนร่วมในโครงการเพิ่มทุนของ BBL และ TFB ด้วย นักลงทุนรายถัดมาคือ Olympus Capital Holdings Asia Ltd., เป็นบริษัทที่ดำเนินการลงทุนโดยตรงในเอเชีย Olympus บริหารเงินทุนระยะยาวจำนวน 275 ล้านเหรียญ Olympus แสวงหาโอกาสที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาและสร้างความเจริญเติบโตให้แก่กิจการในเอเชีย โดยมีการนำเอาระบบการบริหารที่ดีและแฟรนไชส์ที่มีลักษณะโดดเด่นเข้ามาร่วมบริหาร ผู้ก่อตั้งและมีส่วนร่วมในเงินกองทุนนี้คือ Ziff Brothers Investments หรือ ZBI ส่วนผู้สนับสนุนกองทุน Olympus คือหน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐฯ ที่มีชื่อว่า Oversea Private Investment Corporation หรือ OPIC

สำหรับการลงทุนในประเทศไทยที่ผ่านมานั้น Olympus ใส่เม็ดเงินลงมาแล้วประมาณ 60 ล้านเหรียญ ซึ่งลงไปในโครงการต่างๆ ได้แก่ Asia Pacific Resources Ltd., ซึ่งเป็นบริษัทที่ได้รับสัมปทานการทำเหมืองโปแตชในอุดรธานี นอกจากนี้ก็ลงทุนใน Thai Capital LLC, ซึ่งเป็นบริษัทที่เข้าไปซื้อสินเชื่อ (loans)จาก FRA

นักลงทุนถัดมาคือ กลุ่ม ฟินันซ่า (ประเทศไทย) เป็น กิจการที่ทำการลงทุนโดยตรงและทำด้านวาณิชธนกิจด้วย โดยได้ใบอนุญาตการเป็นที่ปรึกษาทางการเงินจากก.ล.ต. นอกจากมีออฟฟิศในกรุงเทพฯ แล้ว บริษัทยังมีสำนักงานในฮานอย และโฮจิมินห์ซิตี้ด้วย บริษัทบริหารกองทุนที่ทำ การลงทุนโดยตรง 2 กองทุน มูลค่ารวม 75 ล้านเหรียญ และเพิ่งเปิดตัวระดมเม็ดเงินเพื่อจัดตั้งกองทุนใหม่อีก 1 กองมูลค่าเงินลงทุน 100 ล้านเหรียญลงทุนในไทยประเทศเดียว ฟินันซ่าเป็นที่ปรึกษาการลงทุนในไทยของ Olympus ด้วย นอกจากลงทุนซื้อหุ้นเพิ่มทุนในทิสโก้แล้ว ฟินันซ่าก็มีการลงทุนทำนองเดียวกันอีกในกลุ่มเนชั่น บริษัทซีเอ็ดฯ และ Asia Pacific Resources

กลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ของฟินันซ่าคือทีมบริหารที่ถือไว้ 70% ที่เหลืออีก 30% เป็นธนาคารเอบีเอ็นแอมโร อาจกล่าวได้ว่า หากมีการใช้สิทธิในใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่กระทรวงการคลังออกให้นักลงทุนแล้ว ทั้ง 3 กลุ่มนี้ ซึ่งถือเป็นพันธมิตรกัน ก็จะกลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในทิสโก้ทันที ในสัดส่วนประมาณ 40%-50% ทีเดียว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us