Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2542
สถานะแบงก์ไทย-เทศ ยุคหัวเลี้ยวหัวต่อ             
 

   
related stories

2 ปีใต้เงาไอเอ็มเอฟ เศรษฐกิจไทย ยังมีระเบิดเวลารออีกหลายลูก!!

   
search resources

Banking




มุมมองของบริษัทจัดอันดับยักษ์ใหญ่ที่มีอิทธิพลต่อนักลงทุนอย่าง Moody"s Investors Service ต่อภาคธนาคารพาณิชย์ไทยว่ายังอยู่ในภาวะวิกฤติที่ต่อเนื่องและยังมีแนวโน้ม "เชิงลบ" ต่อกลุ่มธนาคารขนาดเล็กขนาดกลาง รวมทั้งธนาคารที่ขอรับการช่วยเหลือจากทางการส่วน ธนาคาร ขนาดใหญ่ถูกจัดในระดับที่มี "เสถียรภาพ" โดย Moody"s เห็น ว่าการเพิ่มทุนของระบบธนาคารพาณิชย์ตั้งแต่ต้นปี 2541 เป็นต้นมามีจำนวน 7 แสนล้านบาทนั้น "ยังไม่เพียงพอ"

สืบเนื่องจาก ณ เดือนมิถุนายน 2542 เงินกองทุนของระบบธนาคารรวมกับจำนวนกันสำรองเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ เมื่อหักดอกเบี้ยค้างรับแล้วมีสัดส่วนเพียง 23% ของสินเชื่อรวม ส่งผลให้ธนาคาร มีความจำเป็นต้องเพิ่มทุนอีกในจำนวนที่ใกล้เคียงกับที่ได้ระดมทุนมาแล้ว อีกทั้งการแข่งขันในธุรกิจมีความรุนแรงมากขึ้น และธนาคารต่างชาติเข้ามามีบทบาทเพิ่มขึ้น ในระบบแทนธนาคารในประเทศ ขณะเดียวกันบริษัทจัดอันดับ Stan-dard & Poor"s มีความเห็นในเชิงลบ เช่นเดียวกับ Moody"s เนื่องจากปี 2542 ระบบธนาคารยังคงมีรายได้สุทธิ "ติดลบ"

การคาดการณ์ของ Moody"s ในการเข้ามามีบทบาท ในธุรกิจธนาคารพาณิชย์ไทยของต่างประเทศ สอดคล้องกับความกังวลของหลายฝ่าย ที่เกรงกันว่าอีก 5 ปีข้างหน้า ธนาคารต่างชาติจะเข้ามาครอบงำธุรกิจนี้มากถึง 70% ขณะที่ธนาคารพาณิชย์ ไทยจะค่อยๆ ลดบทบาทลง หลังจากที่สถาบันการเงินของไทยได้เผชิญกับวิกฤติการณ์ทางการเงินตั้งแต่ปี 2540 ธนาคารพาณิชย์ไทย ได้มีการปรับโครงสร้างขนานใหญ่ โดยจำใจเปิดกว้างให้นักลงทุนจากต่างประเทศเข้ามาลงทุนได้เต็ม 100% ทำให้โครงสร้างการถือหุ้นของธนาคารพาณิชย์ไทยที่จัดตั้งในประเทศ มีการ เปลี่ยนแปลงไปสู่ธนาคารที่มีผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นชาวต่างชาติจำนวนเพิ่มมากขึ้น โดยในปี 2541 ธนาคารเอเชียและ ธนาคารดีบีเอส ไทยทนุ ได้เปลี่ยนโฉมหน้าเป็นธนาคารลูกครึ่งไปแล้ว

หากการแปรรูปธนาคารพา-ณิชย์ไทย 5 แห่ง ได้แก่ นครหลวงไทย รัตนสิน ศรีนคร ไทยธนาคาร และนครธน สำเร็จภายในสิ้นปีนี้ทำ ให้ธนาคารไทยถือหุ้นใหญ่โดยนักลงทุนต่างชาติสูงขึ้น รวมกับสาขาธนาคารต่างประเทศในไทยอีก 21 แห่ง จะทำให้ส่วนแบ่งตลาดทั้งในสินทรัพย์ เงินฝาก และสินเชื่อของกลุ่มธนาคารต่างประเทศเพิ่มขึ้นประมาณ 30% ของ ทั้งระบบ นอกจากนี้ ในปี 2543 หากทางการแปรรูปธนาคารกรุงไทยเสร็จเรียบร้อย จะส่งผลให้ส่วนแบ่งของธนาคารลูกครึ่ง เพิ่มขึ้นเกือบ 50% ของทั้งระบบ ด้านธนาคารขนาดใหญ่ที่ถือหุ้นโดยคนไทยทั้ง 6 แห่งนั้น ได้แก่ กรุงเทพ กสิกรไทย ไทยพาณิชย์ กรุงไทย กรุงศรีอยุธยา และทหารไทย ปัจจุบันมีส่วนแบ่งตลาด ทั้งในแง่สินทรัพย์ เงินฝาก และสินเชื่อประมาณ 70% โดยมีธนาคารที่ถือหุ้น ใหญ่เป็นเอกชนในขณะนี้ คือ กรุงเทพ กสิกรไทย และกรุงศรีอยุธยา ขณะที่กรุงไทยถือหุ้น โดยกองทุนเพื่อการฟื้นฟู และพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ในสัดส่วน 87% กระทรวงการคลัง 3.7% สำหรับไทยพาณิชย์และทหารไทย ได้ประกาศขอรับความช่วยเหลือจากทางการตามโครงการเงินกองทุนขั้นที่ 1 ซึ่งจะทำให้ ธนาคาร 2 แห่งนี้มีโครงสร้างผู้ถือหุ้น เปลี่ยนแปลงไปจากปัจจุบัน โดยมีรัฐ บาลเข้ามาถือหุ้นในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น

เผยศักยภาพของธนาคาร

การเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง ผู้ถือหุ้นดังกล่าวเป็นปัจจัยสำคัญนำมาสู่การพัฒนาธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ทำให้การแข่งขันเข้มข้นขึ้นระหว่างธนาคารที่ถือหุ้นใหญ่ โดยคนไทยกับธนาคารที่ถือหุ้นใหญ่โดยต่างชาติ และ สาขาธนาคารต่างประเทศในไทย เมื่อเปิดฐานะของแต่ละกลุ่มมา พิจารณาเปรียบเทียบศักยภาพ ในการแข่งขันแล้ว นับวันยิ่งดุเดือดขึ้นทุกวัน

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า หากพิจารณาฐานะเงินกองทุน ตามกฎหมายของระบบธนาคารพาณิชย์ (เฉพาะธนาคารที่จัดตั้งในไทย 13 แห่ง) ณ สิ้นพฤษภาคม 2542 มีจำนวนรวม 6.2 แสนล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 10.82% ของสินทรัพย์รวม โดยกลุ่มธนาคารพาณิชย์ไทยทั้ง 6 แห่ง มีสัดส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์สูงกว่าเฉลี่ยทั้งระบบอยู่ประมาณ 11.54% อันเป็น ผลจากความสำเร็จในการเพิ่มทุนของธนาคารกสิกรไทย กรุงเทพ กรุงศรีอยุธยา และทหารไทย คาดว่าสัด ส่วนจะเพิ่มขึ้นในช่วงต่อไปจากการเพิ่มทุนอีก 6.5 หมื่นล้านบาทของธนาคารไทยพาณิชย์ และอีก 10.8 หมื่นล้านบาทของธนาคารกรุงไทย ขณะที่ 2 ธนาคารลูกครึ่ง และอีก 5 ธนาคาร ที่รอการขายต่างชาติ มีสัดส่วนประมาณ 9.08% และ 7.31% ตาม ลำดับ

ห้วงที่ผ่านมา ธนาคารพา-ณิชย์ที่ถือหุ้นโดยคนไทยถูกกดดัน จากปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-Performing Loan : NPLs) และความไม่เพียงพอของเงินกองทุน ทำให้ต้องเร่งระดมทุนเพื่อเสริมฐานะเงินกองทุนให้แข็งแกร่ง ขณะเดียวกันต้องระดมทรัพยากรส่วนใหญ่ มาใช้ในการเร่งปรับโครงสร้างหนี้เพื่อ ลดจำนวน NPLs ส่งผลให้ไม่สามารถเตรียมความพร้อมและปรับตัวทางธุรกิจ ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อได้ ขณะที่ธนาคารเอเชียและดีบีเอส ไทยทนุ บุกตลาดนำร่องไปก่อนตั้งแต่ต้นปีนี้แล้ว

ด้านขนาดสินทรัพย์ของระบบธนาคารโดยรวม ณ สิ้นพฤษภาคม 2542 มีจำนวนทั้งสิ้น 6,585 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 6,410 พันล้านบาทณ สิ้นปี 2541 โดยแบ่งเป็นสัดส่วนกลุ่มธนาคารไทย 6 แห่งที่ลดลงจาก 71.5% ณ สิ้นปี 2541 เหลือ 70.4% ณ สิ้นพฤษภาคม 2542 ขณะที่กลุ่มธนาคารที่รอขายต่างประเทศ มีส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นจาก 10.1% เป็น 12% เป็นผลจากการรวมกิจการ ของธนาคารไทย ธนาคารกับ 12 ไฟแนนซ์ ส่วน สาขาธนาคารต่างประเทศ 21 แห่งบวก กับธนาคารลูกครึ่งต่างมีขนาดสินทรัพย์ในสัดส่วนที่ลดลงเพียงเล็กน้อย

ยอดเงินฝากทั้งระบบ ณ สิ้นพฤษภาคม 2542 มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 4,742 พันล้านบาทเพิ่มขึ้นจาก 4,579 พันล้านบาท ณ สิ้นปี 2541 ส่วนแบ่งตลาดด้านเงินฝากของ ธนาคารพาณิชย์ 6 แห่งมีสัดส่วนลดลงจาก 79.3% ณ สิ้นปี 2541 เหลือ 76.3% ณ สิ้นพฤษภาคมที่ผ่านมา เป็นผลจากอัตราดอกเบี้ยฝากประจำ ที่ไม่จูงใจรวมทั้งเงินฝาก โดนถอนเงินเพื่อไปลงทุน โดยเฉพาะ SLIPs และ CAPs ในทางกลับกัน ยอดเงินฝากในธนาคารที่กำลังรอขาย และธนา-คารลูกครึ่งมีสัดส่วนขยับขึ้นจาก 11.8% และ 4.9% ตามลำดับ มาเป็น 14.4% และ 5.1% โดยเฉพาะธนาคารเอเชียที่เคยมีส่วนแบ่งตลาด 2.5% ในช่วงสิ้นปี 2541 เพิ่มเป็น 2.7% ในช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา จากการอัดแคมเปญเจาะตลาดลูกค้ารายย่อยตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา เช่นเดียวกับสัดส่วนเงินฝากที่เพิ่มขึ้นของธนาคารที่รอขายต่างประเทศ หลังการควบกิจการระหว่างธนาคาร และ 12 ไฟแนนซ์ ทำให้เงินฝากไหลเข้ามาในระบบเพิ่มมากขึ้น

ด้านยอดคงค้างสินเชื่อของระบบธนาคารพาณิชย์ ณ สิ้นพฤษภาคม 2542 มียอดรวมทั้งสิ้น 4,510 พันล้านบาท ลดลงจาก 4,586 พันล้านบาท ณ สิ้นปี 2541 ส่วนแบ่งตลาดสำหรับสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ 6 แห่งและกลุ่ม 21 ธนาคารต่างประเทศ มีสัดส่วนลดลงประมาณ 70.7% และ12.8% ตามลำดับ จากที่เคยอยู่ที่ระดับ 70% และ 14% ช่วงสิ้นปีที่ผ่านมา ขณะที่ส่วนแบ่งตลาด ธนาคารที่รอขายเพิ่มขึ้นจาก 9.3% เป็น 11.85% เป็นผลจากการควบกิจการระหว่างธนาคารไทยธนาคารและ 12 ไฟแนนซ์ ส่วนธนาคารเอเชียและ

ดีบีเอส ไทยทนุ มีสัดส่วนสินเชื่อลดลงเล็กน้อยจาก 4.7% เหลือ 4.6%

เมื่อเมียงมองไปดูจำนวนสาขาของแต่ละธนาคารถือว่าเป็นตัวบ่งชี้สำคัญถึงศักยภาพการขยายฐานลูกค้า โดยจำนวนสาขาธนาคารพาณิชย์ ไทย เพิ่มขึ้น 159 สาขา จาก 3,691 สาขา ณ สิ้นมิถุนายน 2541 มาเป็น 3,829 สาขา ณ เดือนพฤษภาคม 2542 ทั้งนี้การเพิ่มขึ้นเกิดขึ้นเฉพาะสาขาธนาคารที่จัดตั้งในประเทศเท่านั้น ขณะที่ธนาคารต่างชาติยังคงมีสาขาเท่าเดิม ส่วนกลุ่มธนาคาร 6 แห่ง มีส่วนแบ่งตลาด 77.5% เพิ่มขึ้นจาก 76.8% ในช่วงกลางปีก่อน ด้านธนาคาร ลูกครึ่ง 2 แห่ง ยังคงรักษาส่วนแบ่งตลาดไว้ที่ 5.5% เช่นเดิม ส่วนธนา-คารที่รอขายมีสัดส่วนสาขาลดลงต่อเนื่องจาก 17% ณ กลางปี 2541 เหลือ 16.5%

สำหรับทรัพยากรทางด้านบุคคล นับตั้งแต่ช่วงปี 2541 ที่ผ่านมา ธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่งพยายามลดต้นทุน แล้วเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน ทั้งนี้จำนวนพนักงานของธนาคาร ต่างมีจำนวนลดลงจากปี 2540 โดยกลุ่มธนาคาร ที่รอขาย มีจำนวนพนักงานลดลง 5% ขณะ ธนาคารเอเชียและดีบีเอส ไทยทนุลดพนักงานลงประมาณ 4% ส่วนธนาคารคนไทยมีอัตราการลดจำนวนพนักงานประมาณ 2.5%

หากเทียบในแง่ประสิทธิภาพ การดำเนินงานของพนักงานธนาคาร ที่มีต่างชาติถือหุ้นด้วย จะได้เปรียบวัดได้จากสัดส่วนของสินทรัพย์และเงินฝากต่อพนักงาน (Assets and Deposits per Employee) ของธนาคารลูกครึ่งที่มีระดับสูงกว่าธนาคารของคนไทย ส่วนธนาคารที่รอขายมีสัดส่วนดังกล่าวในระดับที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับสัดส่วนรวมทั้งระบบ นับเป็นปัจจัยกดดันให้ธนาคารกลุ่มนี้ ต้องลดจำนวนพนักงานลงในระยะต่อ ไปหลังการแปรรูปขายให้ต่างชาติแล้ว

ด้านจำนวนเครื่องเอทีเอ็ม เป็นตัวบ่งบอกถึงการบริการให้เข้าถึงลูกค้า โดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องของเวลา ปรากฏว่าธนาคาร 6 แห่งของคน ไทยมีสัดส่วนแบ่งตลาดเครื่องเอทีเอ็ม 83% ขณะที่ธนาคารลูกครึ่ง 2 แห่งและ 21 สาขาของธนาคารต่างชาติและธนาคาร ที่รอขายให้นักลงทุนมี จำนวน 17%

ในส่วนของจำนวนบัตรเอทีเอ็ม ธนาคารที่สามารถเพิ่มจำนวนบัตรได้ จะสามารถทำรายได้จากค่าธรรมเนียมรายปีบัตรเอทีเอ็มและค่าธรรมเนียมในการออกบัตรใหม่ได้เพิ่ม ขึ้น บัตรเอทีเอ็มโดย 13 ธนาคารที่จัดตั้งในไทย มีจำนวนลดลงจากกลางปี 2541 ที่มีจำนวนประมาณ 16,888 พันใบ มาเป็น 15,802 พันใบในต้นปี 2542 ขณะที่สาขาธนาคารต่างประเทศ สามารถออกบัตรเอทีเอ็มเพิ่มขึ้นจากประมาณ 115 พันใบเป็น 133 พัน ใบ แม้ว่าจำนวนบัตรเอทีเอ็มของระบบธนาคารจะมีจำนวนลดลง แต่ปริมาณการทำรายการผ่านเครื่องเอทีเอ็มกลับเพิ่มขึ้น จาก 27 ล้านครั้งต่อเดือนในปี 2540 มาเป็น 31 ล้านครั้งต่อเดือนในปี 2541

กลยุทธ์แบงก์ภายใต้การแข่งขันรุนแรง

ผลจากการเปิดให้ต่างชาติเข้ามาถือหุ้นในธนาคารพาณิชย์ไทยได้อย่างเสรี ซึ่งเคยเป็นธุรกิจที่ได้รับการปกป้องมาช้านาน ต้องเผชิญกับภาวะการแข่งขัน ที่ดุเดือดขึ้นเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะเมื่อคู่แข่ง เป็นธนาคารต่างชาติที่เพรียบพร้อมด้วยประสบการณ์ในการแข่งขันระดับนานาชาติมาแล้วทั้งสิ้น ดังตัวอย่างที่เพียงการขยับตัวของธนาคารเอเชีย ที่อดีตถูกจัดว่าเป็นธนาคารขนาดเล็ก ยังสามารถสั่นคลอนตลาดที่ธนาคารไทยเคยยึดครองไว้อย่างช้านานได้ หากภายในสิ้นปีนี้ทางการสามารถแปรรูป หรือขายธนาคารออกไปได้สำเร็จการแข่งขันยิ่งนับวันรุนแรงมากยิ่งขึ้น แม้ว่า การหยั่งรากลึกในฐาน ลูกค้าที่กว้างกว่าของธนาคารไทย เป็นจุดแข็งสำคัญที่ดูเหมือนจะทำให้ธนาคารไทยได้เปรียบในการแข่งขันกับต่างชาติ แต่ขณะนี้ด้วยกลยุทธ์การตลาด เทคโนโลยีและสินค้ารูปแบบใหม่ๆ อีกทั้งการบริหารที่มีประสิทธิภาพเป็นจุดแข็งสำคัญที่ส่งเสริมให้ธนาคารต่างชาต ิกลายเป็นคู่แข่งสำคัญที่มีศักยภาพสูงในธุรกิจธนาคาร พาณิชย์ไทย ดังนั้น หากธนาคารพาณิชย์ยังคงไม่ปรับกลยุทธ์การดำเนินงาน โครงสร้างองค์กร และนำสินค้าใหม่ๆ มาต่อสู้เพื่อรักษาตลาดเดิมเอาไว้ โดยยังคงยืนเป็นฝ่ายตั้งรับอย่างเดียวก็มีความเป็นไปได้ว่า ธนาคารไทยจะสูญเสียส่วนแบ่งตลาดส่วนใหญ่ให้กับธนาคารต่างชาติได้ในระยะเวลาอันใกล้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us