ตัวเลขการคาดหมาย จากสำนักวิเคราะห์เศรษฐกิจหลายสำนักต่างพูด โดยสอดคล้องกันว่าเศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้นตัวแล้ว
คนที่มองอย่างระมัดระวังที่สุดก็กล่าวเช่นนี้ โดยให้ตัวเลขการฟื้นตัวยังเป็นติดลบอยู่เล็กน้อย
ไม่ถึง (-) 1% ซึ่งความข้อนี้ก็พอทำให้หลายๆ คนรู้สึกค่อยหายใจสะดวกขึ้นบ้าง
พอมีแรงเจรจาขึ้นมาก และรู้สึกดีกับการที่สามารถขยับเนื้อขยับตัวได้บ้าง โดยเฉพาะลูกจ้างบางกลุ่ม
บางกิจการสาขาอาชีพที่เริ่มมีการจ้างงานกลับเข้าไปทำใหม่เพียงส่วนน้อย (ในกิจการที่มีการปรับโครงสร้างการเงิน
ทั้งส่วนของหนี้สินและทุนเรียบร้อยแล้ว) ขณะที่มองในภาพรวมของแรงงานส่วนมากนั้น
ยังไม่ได้มีความรู้สึกที่ดีขึ้นแม้กระผีกลิ้น ตรงกันข้ามชีวิตคนส่วนใหญ่กลับแย่ลง
และมีท่าว่าจะต้องแบกภาระหนี้กันหัวโต แน่ๆ
เวลาสองปีของวิกฤติเศรษฐกิจที่เผชิญหน้าคนไทย ภายใต้การบริหารงาน ของรัฐบาลนายชวน
หลีกภัย (มีอายุ 1 ปีกว่า เพราะเข้ามาทีหลังวิกฤติเศรษฐกิจที่เริ่มประกาศตัวในคราวที่รัฐบาลประกาศใช้นโยบาย
managed floating exchange rate เมื่อ 2 ก.ค. 2540) ดูเหมือนจะผ่านไปไว มากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว(หลังเศรษฐกิจวิกฤติไม่ถึง
2 ปี) แต่ดำเนินไปอย่างเชื่องช้า (เศรษฐกิจถึงจุดต่ำสุดเมื่อไตรมาส 3 ปี
2541) ซึ่งทำให้บางคนเกิดความไม่มั่นใจว่า เศรษฐกิจจะฟื้นตัวได้จริงหรือเปล่า
ฟื้นอย่างแข็งแกร่งหรืออ่อนปวกเปียกแบบเดิม ซึ่งเมื่อเจอกับวิกฤติเศรษฐกิจของประเทศพี่เบิ้มทั้งหลาย
ไม่ว่าจะเป็นจีนหรืออเมริกา ก็อาจจะฟุบดับลงไปอีกนั้น สารพัดคำถามที่นักวิเคราะห์ทั้งหลายตั้งขึ้นมานั้น
มีจุดหนึ่งที่เมื่อวิเคราะห์เชื่อมโยงกับเป้าหมายทางการเมืองของรัฐบาลชุดปัจจุบัน
ที่เป็นผู้ดำเนินมาตรการแก้ไขวิกฤติเศรษฐกิจครั้งนี้ ทำให้เห็นประเด็นซ่อนเร้นแอบแฝงอีกมาก
นักเศรษฐศาสตร์ท่านหนึ่งให้ความเห็นเกี่ยวกับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจครั้งนี้ว่า
"ถ้ามองโดยรวมๆ แล้วแนวโน้มเศรษฐกิจไทยจะดีขึ้น แต่ถ้ามองเข้าไปลึกๆ แล้วไม่แน่ใจและสงสัย
เช่น บอกว่า GDP จะโต 1% แต่ต้องแลกกับการขาดดุลงบประมาณ 6% ซึ่งง่ายมาก
(อัดไป 6% และหวังแค่ 1%)
ความจริงไม่ต้องทำเช่นนี้ก็ได้ ที่จะต้องแลกกัน แต่เพื่อการสร้างภาพของรัฐบาล
เพื่อการเลือกตั้งครั้งหน้า ดังนั้นรัฐบาลจะทำทุกอย่างเพื่อให้ตัวเลขออกมาดี
เมื่อตัวเลขออกไปเช่นนี้การเจรจากับ IMF รอบต่อไปจะเป็นอย่างไร? ไม่มีปัญหา
เพราะต่อไป IMF จะไม่มีอำนาจต่อรอง เงินที่รัฐบาลกู้มาก็ใช้ไปจนหมดแล้ว แต่ความจริงจะมีการเลือกตั้งและบอกกับประชาชนว่า
นี่คือการ ปลดพันธะกับ IMF นี่คือความสำเร็จของรัฐบาลชุดนี้ และเขาสามารถเลือกเวลายุบสภาว่า
ช่วงไหนเหมาะสมที่สุด
จุดอันตรายของไทยไม่ใช่ตอนนี้ แต่จะเป็นปี 2001 ในวันที่ 30 มีนาคม 2001
เพราะเป็นช่วงที่ VAT จะต้องเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ 10% อย่างเดิม ช่วงนั้นจะเป็นช่วงที่รัฐบาลจะดึงเงินคืนจากประชาชนทุกหนทาง
และถ้าช่วงนั้นเศรษฐกิจ "ไม่แข็งจริง" และรัฐบาล "มาบีบ" เศรษฐกิจรัฐบาลจะโชคร้าย
แต่ถ้าช่วงนั้นเศรษฐกิจไทยดีมาก ขึ้นภาษี ไปอีก 3% อาจจะไม่กระทบเท่าไหร่เพราะเศรษฐกิจรับได้
แต่ถ้าเกิดตรงกันข้ามจะทำให้เศรษฐกิจยุบลงไปอีก นี่คือ จุดอันตราย และเดือนเมษายน
2001 เป็นเดือนที่จะต้องดูให้ดีถ้าเกิดถึงตรงนั้นแล้วและคนรู้ว่าเศรษฐกิจไปไม่ไหว
จะไม่ยอมให้ขึ้นภาษี รัฐบาลก็จะต้องขาดดุลต่อไป ซึ่งหนทางออกของรัฐบาลคือ
ต้องยืมเงินต่อไป โดยการออกพันธ บัตร ทำให้ธุรกิจต้องเหนื่อยในทางอ้อม
ดังนั้น จุดที่น่ามองอีก คือ รัฐบาลจะต้องหยุดสร้างหนี้ของตัวเอง และเริ่มมาดึงภาษีจากประชาชนกลับไป
ฉะนั้น เราจะรู้ว่ารัฐบาลสร้างฐานให้เศรษฐกิจโตแบบแข็งแกร่งและถาวรหรือไม่
ช่วงเวลานั้นจะบอกได้อย่างชัดเจน ถ้าไม่ใช่จะเกิดการหดตัวลงอีกครั้ง และรัฐบาลที่มารับช่วงต่อจะต้องเป็นชุดที่มีความสามารถมากในการจัดการหนี้ของภาครัฐ
ซึ่งรัฐบาลชุดปัจจุบันนี้ไม่ค่อยพูดถึง (เขาจะไม่บอกประชาชน)"
นี่คือบทสรุปของประเด็นซ่อนเร้นที่แอบแฝงอยู่ในการดำเนินการแก้ไขวิกฤติเศรษฐกิจของรัฐ
ประเด็นที่คนส่วนใหญ่ไม่เคยรับทราบว่าชะตาชีวิตในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าคนไทย
ส่วนใหญ่ต้องเผชิญกับอะไร
เศรษฐกิจโต แต่มีตัวเลขคลาดเคลื่อนเยอะ
วิกฤติเศรษฐกิจครั้งนี้ ประเทศไทยไม่ได้รับบทเรียนอะไรเลย มีผู้กล่าวกันว่าเป็นการโตเสมือนไม่ได้บทเรียน
ซึ่งจุดนี้น่าเป็นห่วงอยู่มาก หากเศรษฐกิจไทยจะกลับไปเดิน เส้นทางเดิมหรือโตแบบเดิม
ซึ่งนั่นหมายความว่า ไม่ได้ทำการปรับโครงสร้างการทำธุรกิจหรือทำการ restructure
อย่างแท้จริง
ที่ผ่านมานั้นเราต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจตกลงไปแรง ตั้งแต่ปี 1997 สภาพัฒนฯ
ก็มีการแก้ไขปรับปรุงตัวเลขอัตรา การเติบโต (revise) ลงจากเดิมที่บอกว่า
-0.5% เป็น -1.3% การแก้ไขของสภาพัฒนฯ มี 2 ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ :- 1.
Base หรือตัวเลขฐานในการดูการเติบโตทางเศรษฐกิจ การปรับตัวเลขฐานตัวนี้ ทำให้การพยากรณ์เศรษฐกิจเติบโตเป็นเรื่องที่ทำได้ง่ายขึ้น
ปี 1996 เศรษฐกิจขึ้น 100 ปี 1997 เดิม 99.5 (-0.5%) ใหม่ 98.70 (-1.3%)
ปี 1998 เดิม 91.54 (-8%) ใหม่ 89.42 (-9.4%)
ปี 1999 เดิม 92.46 (1.01%) ใหม่ 92.46 (3.40%)
ปี 2000 คาดหมาย 90.90 (-0.7%) ใหม่ 90.90 (1.7%)
เมื่อปรับตัวเลข 2 ตัวใหม่ สมมติว่าปี 1999 โตกว่าที่เดิมบอกว่าโต 1% โดยนำตัวเลขใหม่เป็นฐาน
คือ 92.46 หารด้วย 89.42 เศรษฐกิจโต 3.4% (จากเดิมโตเพียง 1.01%) ในปี 1999
ทันที คือ คิดอย่างนี้ "ง่าย" ถ้าสมมติว่าเดิมเรา forecast ว่าเศรษฐกิจติดลบ
0.7% (91.54 คูณ 0.993 = 90.90 นี่คือผม forecast ถ้าเศรษฐกิจติดลบ 0.7%)
เมื่อสภาพัฒนฯ ปรับเช่นนี้ เศรษฐกิจจะโต 1.7% ฉะนั้นตัวเลขที่สภาพัฒนฯ
ให้ไว้มีความสำคัญมาก คือ เป็นเรื่องฐานตัวเลขด้วย เมื่อไปลดฐานเดิมตัวเลขปี
1998 เพื่อให้เศรษฐกิจปี 1999 โตขึ้น เป็นเรื่องที่ "ทำได้" การคิดเช่นนี้
ไม่ได้หมายความว่าสภาพัฒนฯ "ตั้งใจทำ" แต่เขา revise ตามตัวเลขที่เขามี แต่ว่าทำให้เศรษฐกิจปี
1999 โตได้ "ง่ายขึ้น"
2. Statistical Discrepancy หรือความคลาดเคลื่อนทางด้านสถิติ ข้อมูลที่ไม่ตรงกันด้านเศรษฐกิจ
ในหลักการถ้าสมมติดู ภาคการผลิต จะมีว่าผลิตเกษตร อุตสาหกรรม บริการ ก่อสร้าง
การเงิน อื่นๆ ซึ่งการผลิตจะต้อง "เท่ากับ (เชิงทฤษฎี)" การใช้จ่าย (บริโภค
รัฐบาล ลงทุน) แต่ปรากฏว่าตัวเลขที่ออกมา "ไม่เท่ากัน" ฉะนั้นเมื่อ ไม่เท่ากันก็เลยนำ
Statistical Discrepancy ไป "ใส่ไว้" ในการใช้จ่ายเพื่อให้ตัวเลขทั้งสองด้านนี้เท่ากัน
ถ้า Statistical Discrepancy มีขนาดใหญ่ผิดปกติ จนกระทั่งทำให้เกิดอาการ
"วูบวาบ" แสดงว่าตัวเลขมีสิทธิไปได้ทั้งสองด้าน (คือทั้งด้านการผลิตและการใช้จ่าย)
ซึ่งไม่รู้ว่าด้านไหนผิดปกติ เพราะสภาพัฒนฯ พยายามตั้งตัวเลข Statistical
Discrepancy ออกมา ปรากฏว่าตอนนั้นแบ่งตัวเลขนี้และเก็บตัวเลขนี้ไม่ตรงกัน
ก็คือ Sta-tistical Discrepancy ตรงนี้คือตัวรายจ่ายของ GDP โดยราคาคงที่
(ดูตารางประกอบ) ประเด็นที่เป็นปัญหาคือ Statistical Discre-pancy จะสังเกตว่า
ตัวเลขมีทั้งบวกและลบ ซึ่งเป็น % น้อยมาก แต่เมื่อเศรษฐกิจกำลังจะฟื้นตัวทำไม
Statistical Discrepancy มีมาก (ปี 1997 = 121.90 ปี 1998 = -119.60) ซึ่งตัวเลขของปี
1997 คิดเป็น 4% ของ GDP ขณะที่ปี 1998 เป็น 4.3% ของ GDP เป็นจำนวนที่โตมาก
ซึ่งนักเศรษฐ ศาสตร์ท่านนี้ให้ความเห็นว่า "มันดูแล้วลำบากใจพอสมควร" (ที่จะไม่สงสัยตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สภาพัฒนฯ
ประกาศแก้ไขและถูกยึดถือว่าเป็นตัวเลขจริงจากสภาพัฒนฯ)
Statistical Discrepancy เป็นตัวเลขที่ค้นไม่เจอว่า "คืออะไร" ซึ่งสภาพัฒนฯ
ก็ไม่ได้อธิบายไว้ว่า "มาจากไหน"
อย่างในปี 1998 ตัวเลข Statistical Discrepancy มูลค่า 260.59 พันล้านบาท
คิดเป็น 5.7% ของ GDP นี่คือ ณ ราคาปัจจุบัน เวลาที่เศรษฐกิจเติบโต 7-8%
ตัวเลขเหล่า นี้ไม่เป็นไร แต่ถ้าเศรษฐกิจตกต่ำมากและกำลังจะฟื้น (อย่างในปัจจุบัน)
แล้วตัวเลข Statistical Discrepancy มี error มากๆ ไม่รู้เหมือนกันว่ามาจากไหน
และถ้าติดลบ ก็หมายความว่า การผลิตน้อยกว่าการใช้จ่ายมาก ต้องนำไปลบออกถึงจะเท่ากัน
เพราะถ้าฝั่งหนึ่งบวกแล้ว ก็ต้องนำ Statistical Discrepancy ไปลบออก
ฉะนั้นปี 1999 ตัวเลขเหล่านี้จะเป็นอย่างไร "ไม่รู้"
สมมติ ตัวเลข Statistical Discrepancy ปี 1998 ตัวเลขด้านการผลิต น้อยกว่าด้านการใช้จ่าย
260.59 พันล้านบาท ฉะนั้น จะต้องนำตัวเลข Statistical Discre-
pancy ไปลบออก เพื่อให้ทั้งสองด้านเท่ากัน
เพราะถ้าใช้ด้านนี้(การผลิต)เป็นหลัก จะทำให้ตัวนี้เท่ากัน และเมื่อใช้ตัวนี้เป็นตัวหลักมันก็จะเป็นตัวกดฐานเศรษฐกิจปี
1998 ถ้าเชื่อด้านนี้เศรษฐกิจปี 1998 จะโต ซึ่งหลักก็ถูกต้อง ต้องเชื่อด้านนี้และนำตัวเลข
Statistical Discrepancy มาไว้ขานี้ ทำให้ด้านนี้กดมากเลย
ส่วนปี 1999 ไม่รู้ว่าจะเป็นอย่างไร แต่ประเด็นก็คือ Statistical Discrepancy
มีขนาดใหญ่มากและผิดปกติ ทำให้เกิดความไม่มั่นใจในตัวเลขว่าเศรษฐกิจฟื้นหรือ
ไม่? อาจจะต้องยอมรับตัวเลข Statistical Discrepancy จะเป็นตัว "กิน" ไปได้มาก
ถ้าผมบอกว่าเศรษฐกิจติดลบ 1% แต่สภาพัฒนฯ บอกว่าเศรษฐกิจบวก 1% ความที่ตัวเลข
Statistical Discrepancy มีขนาดใหญ่เหลือเกิน ตามหลักสถิติแล้ว โอกาสที่
"ถูก" ทั้งสองคนมีสูงมาก
เพราะว่า มันอยู่ในช่วง "แดนสนธยา" ถ้าเกิดสภาพัฒนฯ บอกว่าโต 0.9% แล้ว
error 0.1 อย่างไรแล้วมันก็โตเพราะ Statistical Discrepancy มีขนาดเล็ก แต่ถ้ามันเป็น
4.3% เราก็ไม่มั่นใจแล้วว่าปี 1999 จะเป็นเท่าไหร่ ในไตรมาส 1 ปี 1999 Statistical
Discrepancy ติดลบ 10.1% หมายความว่าเขา (สภาพัฒนฯ) บวก GDP ได้ 1,155,917
ล้านบาท แต่เขาบวกด้านรายจ่ายได้เพียง 1,273,025 ล้านบาท เขาถึงนำตัวเลข
Statistical Discre-pancy ไปลบออกตั้ง 10.1% (ประมาณ 117,108 ล้านบาท) ก็เลยไม่รู้ว่ามันคืออะไร
พอตัวเลข Statistical Discrepancy ติดลบมากๆ ตามหลักสถิติแล้ว ถ้ามีลบก็ต้องมีบวกบ้าง
แต่นี่มัน ไม่ใช่ มีแต่ด้านลบตลอด ถ้ามีลบตลอด หมายความด้าน expenditure
มีขนาดใหญ่กว่า income ก็เลยมองว่าแปลกประหลาด การตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับสองประเด็นข้างต้น
เป็นเรื่องที่พึงสังวรให้รู้ว่า การทำนายการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นนั้น
ยังมีประเด็นซ่อนเร้นแอบแฝงบางอย่าง ซึ่งทำให้การกล่าวว่าเศรษฐกิจฟื้นแล้ว
เป็นคำพูดที่มี "ข้อแม้ " และคนฟังต้อง "ชั่งใจ" คิดให้ถี่ถ้วนก่อน
เงินฝืด
นักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่าเงินฝืด คือ การที่ราคาสินค้าตกลงไปเรื่อยๆ ซึ่งจริงๆ
แล้วต้องพิจารณาว่า ราคาสินค้าตกลงไป ด้วยเหตุผลอะไร เพราะถ้ารู้เหตุผล จะรู้ว่าราคาตกแบบ
"ดี" หรือ "ไม่ดี" ซึ่งเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก
ที่พูดกันมากๆ เรื่องเงินฝืด คือ ด้านไม่ดี ราคาตกแบบไม่ดี และเงินฝืดที่กลัวกันมากๆ
คือเงินฝืดที่ราคาสินค้าลดลง เพราะแรงซื้อลดลง คนไม่มั่นใจ ไม่กล้าใช้จ่ายและปริมาณสินค้าลดลงไปด้วย
เรียกว่า demand deflation หรือ demand-induced deflation คือ ราคาที่ลดลงเพราะ
demand อ่อน
ประเทศไทยในตอนนี้คิดว่าไม่อันตราย เพราะสงสัยว่าสถานการณ์จะเป็นในลักษณะเงินฝืด
ด้านผู้ผลิตกระตุ้นการขาย การผลิตด้วยการลดราคาให้ผู้บริโภค ราคา สินค้าหลายๆ
อย่างลดลง ซึ่งอาจจะมาจากสาเหตุทางการลด VAT ด้วย การที่รัฐบาลลดดอกเบี้ยต่ำทำให้ต้นทุนการผลิตลดลงไปด้วย
ซึ่งผู้ผลิตสามารถลดราคาลงไปได้ ตราบใดที่ราคาลดลง แต่ปริมาณสินค้าเพิ่มขึ้น
คิดว่าเป็นราคาลดลงที่ไม่อันตราย
แต่คำถาม คือว่า จริงหรือไม่? ถ้าไปดู CPI จะเห็นว่าตั้งแต่สิงหาคม 1998
เป็นต้นมา มีอัตราลดลงเพียงเล็กน้อย คือ 1% เท่านั้น แต่ถ้าไปดู PPI (ดัชนีราคาผู้ผลิตสินค้าขั้นกลาง
และวัตถุดิบ) จะลดลงไปถึง 25% พูดง่ายๆ คือ ผู้ผลิตโชคดีอย่างมากที่ช่วงหลังๆ
วัตถุดิบลดลงไปมาก ทำให้พวกเขามีต้นทุนการผลิตลดลงมาก สามารถลดราคาลงได้และมีมาร์จินดีขึ้น
ดังนั้น ข้อเท็จจริงของเงินฝืดในช่วงนี้ คือ CPI ลดลงน้อย PPI หดตัวมาก
แต่ในอนาคตผู้ผลิตจะทำอย่างนี้ได้หรือไม่ คำตอบ คือ ไม่ได้ เพราะเชื่อว่าต้นทุนจะสูงขึ้น
เพราะว่าราคาน้ำมันโลกได้เพิ่มสูงขึ้นมากแล้ว (จาก 12 เหรียญต่อบาร์เรล เป็น
18 เหรียญ) ขณะที่รัฐบาลยังกดค่า FT ยังไม่ยอมให้ราคาไฟฟ้าขึ้น เพราะในความเป็นจริงแล้วค่าไฟฟ้าควรจะขึ้นได้แล้วในช่วงสิงหาคม-กันยายน
ของปีนี้
แต่ว่า ที่รัฐบาลไม่ยอมขึ้นราคาเพราะเป็นเรื่องทางการเมือง เพราะเขาจะกดราคาจนกว่าจะเลือกตั้งเสร็จ
อย่างไรก็ดีการที่เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว ราคาสินค้าเริ่มกระเตื้องแต่ปัญหาคือ
ราคาสินค้าเกษตรยังไม่ฟื้น
ในอนาคต สถานการณ์นี้จะไม่เป็นอย่างนี้ต่อไป แต่ ในทางตรงกันข้ามเส้น supply
จะดีดกลับด้วยซ้ำ ดังนั้น ช่วงหลังนี้เป็นช่วงสำคัญที่จะดูว่ารัฐบาลกระตุ้นเศรษฐกิจให้
demand shift ออกไปได้หรือไม่ ซึ่งในเรื่องนี้ ตั้งแต่ไตรมาส 4 ปีนี้เป็นต้นไป
demand จะขึ้นหรือไม่? นี่คือคำถามและเป็นประเด็นที่ต้องคอยจับตา ถ้าดูจริงๆ
งบประมาณของรัฐบาลยังไม่ได้ใช้อีกมาก รัฐบาลมีเงินที่อนุมัติแล้วที่ยังไม่ใช้อีกประมาณ
4 แสนล้านบาท (คำนวณคร่าวๆ) หรือเดือนละ 1 แสนล้านบาทในช่วงก่อนสิ้นปีงบประมาณเดือนกันยายนนี้
เป็นตัวเลขที่มากพอสมควร เพราะว่าเป็น 2% ของ GDP ฉะนั้นแรงกระตุ้น ของรัฐบาลน่าจะมีค่อนข้างมาก
รัฐบาลจะกระตุ้นเศรษฐกิจ อย่างไร
1. รัฐบาลมีเงินหรือไม่ คำตอบคือ มี
2. ภาวะดอกเบี้ยต่ำ ซึ่งก็น่าจะมีการใช้จ่ายออกมาบ้าง
3. ภาวะการส่งออกจะดีหรือไม่ คำตอบคือ ยังไม่แน่ใจ เพราะมองดูแล้วยังน้อยเกินไป
จริงๆ แล้วถ้าไปดูการส่งออกเป็นดอลลาร์สหรัฐไม่ได้เพิ่มขึ้นเลยตั้งแต่ปี
1995 คือ ประมาณ 4.2-4.8 พันล้านเหรียญต่อเดือน อยู่ระดับนี้มาตลอด
4. การลงทุน คิดว่าไม่ไหว เพราะทุกคนบอกว่ามี excess capacity หมด ฉะนั้นการลงทุนอย่างมากได้แค่
"ทรงๆ"
5. การใช้จ่าย การบริโภค อุปโภค ซึ่งเป็น 55% ของ GDP ซึ่งสำคัญมาก ผู้บริโภค
"จะกล้า" ใช้จ่ายหรือไม่ หากพิจารณาตามหลักเศรษฐศาสตร์ จะพบว่า :-
C=f(y) จะใช้จ่ายมากก็ต่อเมื่อมีรายได้มาก แต่น่าสงสัยว่าปีนี้ใครบ้างที่มั่นใจว่าตนเองจะได้โบนัส
ได้ขึ้นเงินเดือน ซึ่งเป็นเรื่อง "ยาก" ยกเว้นคนที่อยู่ในโบรกเกอร์ที่ "วอลุ่ม"
ขึ้นไปอย่างมหาศาล แต่คนส่วนใหญ่ยังต้องประหยัดอยู่ต่อไป ดังนั้น คนส่วนใหญ่จึงไม่กล้าเพราะไม่มั่นใจในส่วนของรายได้ตัวเอง
C =f(i) การใช้จ่ายขึ้นอยู่กับดอกเบี้ย ถ้าดอกเบี้ยสูงคนอาจจะยืมเงินมาซื้อสินค้าได้ยาก
ดอกเบี้ยต่ำ คนที่พึ่งรายได้จากดอกเบี้ยอาจจะตกใจในการหายไปของรายได้ตัวเองจึงไม่แน่ใจว่าจะช่วยกระตุ้น
demand ได้มากน้อยแค่ไหน
C =f(w) คือ สินทรัพย์ที่ได้ สมมติว่าถ้าคิดว่ามูลค่าของบ้านสูงขึ้นก็รู้สึกว่ารวยขึ้น
ซึ่งมันไม่ใช่ แต่มันเป็นความมั่งคั่งหรือ wealth ของหุ้นมากกว่า
ดังนั้น ปัจจัยที่พึ่งพาศัยอาศัยได้ คือ การใช้จ่ายของรัฐบาล ซึ่งจะทำให้งบประมาณขาดดุล
การขาดดุลที่ว่านี่ก็คือ เงินที่ยืมมาในอนาคตของผู้เสียภาษีที่ไม่ใช้ในวันนี้
หมายความว่ารัฐบาลกำลังยืมอนาคตมากระตุ้นเศรษฐ กิจในวันนี้ และอีก 3 ปีข้างหน้า
คนไทยก็จะเริ่มใช้เงินคืน นั่นคือ ความลำบากของคนไทยในอนาคต เพราะกรมสรรพากรจะต้องหาหนทางเก็บรายได้เข้ารัฐทุกทาง
ดังนั้นตั้งแต่ไตรมาส 4 ปีนี้เป็นต้นไป demand จะมาจากไหน? ซึ่งก็จะมาจาก
5 ประการ ที่กล่าวมา
อย่างไรก็ดี คนไทยยังมีความคาดหวังว่าต่อไปนี้เศรษฐกิจจะฟื้น ปลายปีน่าจะได้มาบ้าง
(โบนัส เงินเดือนเพิ่ม) กระนั้น คนก็ยังมีความลังเลที่จะใช้จ่ายเงิน คือ
กลัวอนาคตตัวเองไม่แน่นอน
ส่วน C =f(w) คือ เรื่องหุ้น คาดว่าปีหน้าจะมีทางขึ้นได้เหมือนปีนี้หรือไม่
เพราะหุ้นมันเป็นการซื้ออนาคต และเป็นการลงทุนระยะสั้น
สิ่งที่รัฐบาลเข้าใจและหวังไว้ คือ demand จะ shift ออก คือ ทั้งการผลิตก็ขึ้น
ทั้งราคาก็ขึ้น นี่คือสิ่งที่รัฐบาล "อยาก" มากที่จะให้เป็นเช่นนี้ แม้สมมติว่า
supply จะขึ้นบ้างเล็กน้อย คือ ต้นทุนขึ้น ซึ่งไม่เป็นไร เพราะทั้งราคาและปริมาณก็ยังโตขึ้นบ้าง
แต่ถ้าไม่เป็นไปตามที่คาดหวังเล่า นั่นหมายความว่าปริมาณสินค้าลดลงแต่ราคาสินค้าสูงขึ้น
ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ากลัวมาก เราจะเห็นราคาสินค้าขึ้น แต่ปริมาณสินค้าหดตัว
แต่ถ้าเกิดปริมาณสินค้าลดลง และราคาไม่ขึ้น แสดงว่า demand ลดลงด้วยซ้ำ ตรงนี้น่ากลัวที่สุด
สิ่งที่น่ากลัวที่สุดไม่ได้ไปโผล่ตรงราคา แต่ไปโผล่ตรงปริมาณสินค้า คือ
สิ่งที่น่ากลัว เพราะ demand ลดลงไปอีก จะทำให้เกิด deflation เกิดขึ้นเล็กน้อย
แต่ปัญหาก็คือ ปริมาณสินค้าจะลดลงอย่างแรง (ราคาสินค้าไม่ กระเตื้อง ปริมาณสินค้าไม่โตและค่อยๆ
หดตัว คือ สิ่งที่จะเกิดขึ้นถ้ารัฐบาลทำแล้วไม่สำเร็จ)
ผู้ผลิตเจ็บตัว ต้นทุนสูง ต้องยอมขึ้นราคาสินค้า แต่ทำไปแล้วไม่มี demand
ฉะนั้นการลงทุนไม่มีใครกล้าเข้ามา และในปัจจุบันกำลังการผลิตภายในประเทศก็มีน้อย
กว่ากำลังการผลิตเต็มที่ คือ ผลิตที่ประมาณ 57% ของกำลังการผลิตรวม
ฉะนั้น consumer price index ของแบงก์ชาติตัวใหม่ ต้องจับตาดูให้ดีโต หรือไม่,
manufacturing production index ดูให้ดี โตหรือไม่, capacity โตหรือไม่ เพราะสงสัยว่าแนวโน้มของโลกราคาจะขึ้น
ถ้าเกิดโชคไม่ดีที่เรียกว่า supply-induced con traction การหดตัวเพราะว่า
supply ขึ้น ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นและน่ากลัว แต่ช่วงนี้จะสังเกตว่าต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น
ผู้ผลิตพยายามดันราคาสินค้าให้สูงขึ้น ซึ่งผู้ผลิตคงจะคาดว่า demand จะเพิ่มสูงขึ้น
แต่ถ้าคาดการณ์ผิดพลาดหมายถึงดันราคาขึ้นไปแต่ demand กลับไม่มาหรือ หดตัวน่า
กลัวอย่างมาก
เหตุการณ์เช่นนี้ไม่สามารถบอกได้ เพราะ com-ponent ตัวกระตุ้นมันไม่มั่นใจการลงทุน
การส่งออก การบริโภคของคนก็ไม่มั่นใจ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลได้มีข่าวดีออกมาวันเว้นวัน
ซึ่งแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลสามารถควบคุมด้านข่าวสารได้ดี สังเกตได้ว่าจะมีแต่ข่าวดีออกมา
ส่วนข่าวร้ายเก็บไว้ในลิ้นชัก
กล่าวโดยสรุป ภาวะเงินฝืดที่เกิดจากราคาสินค้าลดลง และ supply ดีขึ้น ไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัว
แต่ต้องดูในรายละเอียดว่าอะไรเกิดขึ้น แต่พูดลอยๆ ว่าราคาสินค้าลดลงแล้วเป็นเงินฝืด
อย่างนี้ "แย่" ต้องไปดูว่าราคาสินค้าลด ลงเพราะอะไร ที่ผ่านมาสงสัยว่าเพราะ
production สูงขึ้น "เราก็ไม่ว่ากัน" เพราะราคาน้ำมันโลกสูงขึ้นแล้ว วงจรของราคาสินค้าโลกขึ้นแล้ว
เศรษฐกิจโลกก็มองแล้วน่าจะดีขึ้น แต่มีอย่างเดียวที่ไม่ขึ้น คือ สินค้าเกษตรไม่ขึ้น
ดังนั้นเวลาพูดถึงเงินฝืด ต้องมีความชัดเจนว่า มันคืออะไร จะดูแต่ว่าราคาสินค้าตกอย่างเดียว
ไม่ชัดเจน ต้องดูว่าราคาตกเพราะอะไร
ปัจจัยภายนอก-อีกหนึ่งระเบิดเวลา
ทางด้านปัจจัยภายนอก เช่น เศรษฐกิจอเมริกากำลังจะแตก ซึ่งศาสตราจารย์พอล
ครุกแมน กลัวที่สุด ภาพของเศรษฐกิจอเมริกานั้นตามแนวคิดของอลัน กรีน สแปน
ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมปีที่แล้ว คือ เขาเริ่มรู้ว่า เศรษฐกิจเอเชียลงแรงมาก
นโยบาย IMF ทำให้ฉุดลงไปทุกอย่าง เขาจึงลดดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อรักษา
เศรษฐกิจโลกให้มีคุณภาพ เขาก็ดันให้เศรษฐกิจอเมริกาขึ้นด้วยการลดดอกเบี้ย
และเมื่อมีข่าวว่าเศรษฐกิจเอเชียเริ่ม ฟื้น เขาจะค่อยๆ กดเศรษฐกิจอเมริกาลง
นี่คือสิ่งที่อลัน กรีนสแปน ดำเนินการเพื่อให้เกิดความสมดุลของโลกขึ้น
คำถาม คือว่าอลัน กรีนสแปน ประเมินถูกหรือไม่? ถ้าถูกก็แล้วไป (ถ้าเอเชียฟื้น
อเมริกาลง ก็มารับกันได้) แต่ ถ้ามองเฉพาะไทยถ้าไม่ขึ้นตามเพื่อนบ้าน เช่น
เกาหลี ก็ถือว่าเราโชคร้ายไป เพราะอเมริกา ยังเป็นตลาดใหญ่ของไทยอยู่ นี่คือความเสี่ยงของไทย
แต่ถ้าอลัน กรีนสแปน ประเมินผิดพลาดในด้านการขึ้นดอกเบี้ยน้อยไปก็ได้ เพราะเมื่อขึ้นดอกเบี้ยตลาดหุ้นอเมริกากลับมีแนวโน้มว่าจะขึ้นต่อไปอีก
ฉะนั้น จะกลายเป็นว่าอลัน กรีนสแปน กดดอกเบี้ยอเมริกาลงไม่เพียงพอ อย่างที่รู้ว่าเวลาเศรษฐกิจขึ้นไปสูงสุดแล้ว
ถ้าไปกดตรง จุดที่สูงสุด เวลาลงจะลงแรง (ถ้ากดในช่วงกำลังจะขึ้น จะค่อยๆ
ลงเป็น soft landing) แต่ถ้าเขาทำพลาดขึ้นดอกเบี้ยน้อยไป และเศรษฐกิจร้อนแรงมากๆ
เมื่อถึงจุดหนึ่งบอกว่าไม่ไหว แล้วขึ้นดอกเบี้ยแบบถี่ๆ เหมือนสมัยก่อน ที่ขึ้นดอกเบี้ยทุกๆ
3 เดือน เศรษฐกิจจะวูบขึ้นมาได้ และถ้าเกิดฟองสบู่ในตลาดหุ้นอเมริกาแตกขึ้นมา
ผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลกคาดว่าจะเป็นภาพที่ "ดูไม่จืด" ทีเดียว
ซึ่งตรงนี้คือสิ่งที่พอล ครุกแมน กลัวมากที่สุด เพราะถ้าอลัน กรีนสแปน
ขึ้นดอกเบี้ยไม่ทันและปล่อยให้เศรษฐกิจพุ่งทะยานขึ้นสูง และเมื่อไปขึ้นดอกเบี้ยในช่วงสูงสุดแล้วฟองสบู่แตก
นี่คือความเสี่ยง ส่วนความเสี่ยงอีกอย่าง คือ ถ้าเศรษฐกิจญี่ปุ่นไม่ฟื้นจริง
ขณะที่อเมริกาขึ้นดอกเบี้ยไปเรื่อยๆ จะโชคร้ายอย่างมาก รวมทั้งคาดกันว่าจีนจะลดค่าเงินหยวนปีหน้าซึ่ง
จะทำให้เอเชียปั่นป่วน รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างอเมริกา กับจีนก็ยังง่อนแง่นอยู่
ล่าสุดเพียงความสัมพันธ์จีน-ไต้-หวันที่ฮึ่มๆ กันอยู่ ก็ส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นทั่วภูมิภาค
เอเชียไปแล้ว
ดังนั้น ถ้าญี่ปุ่นไม่ฟื้น และจีนลดค่าเงิน พร้อมทะเลาะกับอเมริกา ภาพของเอเชียจะติดลบแน่นอน
ปัจจุบันอเมริกาขึ้นดอกเบี้ยระยะสั้นไปอยู่ที่ระดับ 5% แล้ว ซึ่งสูงมาก
ขณะที่กดเศรษฐกิจตัวเองไม่ลง (ภาพของตลาดหุ้นยังร้อนแรงอยู่) ซึ่งถ้ามาดูไทยในช่วงปี
1995-1996 ดอกเบี้ยสูงมากแต่กดเศรษฐกิจไม่ลง แต่เมื่อมันลงมันก็ลง แรงจนกระทั่งเป็นอยู่ทุกวันนี้
(กลัวว่าอเมริกาจะเป็นเช่นนั้น)
ด้านเศรษฐกิจไทยก็คืออย่างที่กล่าวมาข้างต้น ส่วนตลาดทุนไทยนั้นวิ่งไปรออยู่ล่วงหน้าเป็นเวลาหลายเดือนแล้ว
ซึ่งเป็นภาพที่ดี เพราะบริษัทจะได้เพิ่มทุน พวกอินเวสเมนต์ แบงก์มองเห็นว่าอยากซื้อหุ้นกันมาก
ก็จะเพิ่มทุนให้ซื้อไปเลย นี่คือ window of opportunity และต้องรีบทำ public
offering ออกมา ขณะที่ IPO จะยังไม่เห็นเท่าไหร่
ส่วนเรื่องการปรับโครงสร้างหนี้ที่เป็นประเด็นสำคัญ ในตอนนี้ จะเห็นว่าเวลาที่มีดอกเบี้ยต่ำๆ
การปรับโครงสร้าง หนี้จะง่ายและส่วนมากก็เป็นการทำแบบซื้อเวลากันทั้งนั้น
ว่าไปแล้ว ทางการก็เพิ่งจะมาลึกซึ้งตอนนี้ว่าดอกเบี้ยต่ำ ช่วยการปรับโครงสร้างหนี้ได้มากทีเดียว
ซึ่งเห็นชัดมาก แต่ว่าปัญหาคือ ปรับโครงสร้างหนี้เฉพาะไฟแนนซ์เท่านั้น แต่บริษัทไทยไม่ได้ทำอะไรเลย
ไม่ว่าจะเป็นการยกระดับความสามารถในการแข่งขันของตัวเอง การปรับปรุงการบริหารก็ไม่ทำ
ไม่ปรับปรุงตัวเอง นี่คือประเด็นที่ศาสตราจารย์พอล ครุกแมน บอกว่าประเทศไทยไม่ได้รับบทเรียนจากวิกฤติครั้งนี้
ภาวะดอกเบี้ยต่ำ จึงเป็นเกราะกำบังทำให้ทุกคนอยู่รอดกันได้และซื้อเวลาได้ทุกคน
เศรษฐกิจอ่อนแอ แต่ดอกเบี้ยต่ำอยู่ได้ แต่เมื่อไหร่ดอกเบี้ยเริ่มสูงขึ้น
เศรษฐกิจยังไม่กระเตื้อง คือ ความลำบากของคนไทย ซึ่งคาดว่าดอกเบี้ยจะยังคงต่ำต่อไปจนถึงประมาณปลายปีหน้า
แล้วถึงจะเริ่มขยับ
ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลจึงทำงบประมาณเพื่อกระตุ้นต่อเพื่อให้แน่ใจว่าเศรษฐกิจจะฟื้น
แต่ถ้าไม่เป็นเช่นนั้น ก็รัฐบาลนี่แหละจะต้องกระตุ้นต่อไป เพราะว่างบประมาณใหม่ยังต้องใช้เงินใหม่
และนี่คืองบประมาณเพื่อใช้ในการเลือกตั้ง เพื่อใช้สร้างภาพให้คนไทยเห็นว่าเศรษฐกิจไทยโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง
และปลดแอก IMF เพื่อไปบอกประชาชนว่านี่คือผลงานของเขา
ดังนั้น ปัญหาของไทยจะมาจริงๆ คือ ปี 2544 (ค.ศ. 2001)
ในหลักของการรักษาวินัยทางการคลังแล้วปี 2544 จะต้องเพิ่ม VAT ให้เป็น
10% อย่างเดิม และถามว่ามีนักการเมืองคนไหนที่กล้าเข้ามาแล้วบอกว่าจะเพิ่มภาษี
นี่คือ ระเบิดเวลาของคนไทย