Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2542
คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ตอนที่ 1             
โดย อเนกระรัว
 

   
related stories

คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ตอนที่ 2 (จบ)

   
search resources

Computer




ผมเป็นผู้หนึ่งที่เกาะติดกับวงการ คอมพิวเตอร์มาเป็นเวลานาน และเป็นเรื่องปรกติที่เพื่อนฝูงญาติพี่น้องจะมาปรึกษาเรื่องจะซื้อคอมพิวเตอร์ใช้ ไม่นานมานี้ผมให้คำปรึกษากับเพื่อนนักธุรกิจคนหนึ่ง (โดยไม่คิดมูลค่า) เขาต้อง การหาซื้อคอมพิวเตอร์ส่วนตัวชนิดหิ้วไปไหนมาไหน อันที่จริง ที่ทำงานของเขา ก็มีคอมพิวเตอร์อยู่หลายเครื่องสำหรับลูกน้อง และก็ใช้งานอย่างเป็นล่ำเป็นสันยกเว้นตัวเขาเอง เขาเคยถามผู้รู้เรื่องคอมพิวเตอร์ในที่ทำงานหลายคนและมักจะได้คำตอบที่เป็นสูตรสำเร็จทั่วๆ ไปแต่เพื่อนของผมเขาทราบข่าวการฟื้นคืนชีพของบริษัทแอปเปิลคอม พิวเตอร์ พร้อมกับการออกอาละวาดของเครื่องคอมพิวเตอร์สีลูกกวาดรูปทรงประหลาดในภูมิภาคต่างๆ ของโลก ทำให้คิดว่าคอมพิวเตอร์ในโลกนี้มิได้มีแต่ เครื่องพีซีที่มีตัว "อินเทล" อยู่ข้างในกับ "วินโดวส์" ของ บิลล์ เกตส์ เท่านั้น

ก่อนที่ผมจะถูกซักไซ้เรื่องคอมพิวเตอร์ ผมซักไปก่อนว่าทำไมถึง (เพิ่ง) สนใจจะใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อนผมสารภาพว่า แต่ไหนแต่ไรเวลาต่อรองทางธุรกิจเขาจะรู้สึกว่าตัวเองฉลาดและมีความมั่นใจ แต่เวลาใช้คอมพิวเตอร์จะรู้สึกเหมือนคนโง่ที่ช่วยตัวเองไม่ได้ (แต่ เดี๋ยวนี้ถ้าไม่รู้คอมพิวเตอร์ท่าจะโง่เอาจริงๆ เพื่อนผมกล่าวยอมรับ) เพื่อนผม ทราบดีว่าคอมพิวเตอร์จะมีส่วนสำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจเจริญก้าวหน้า และการ ที่ได้เรียนรู้และใช้ด้วยตัวเองจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง นอกจากนี้ยังเป็นข้อ บังคับกลายๆ ในการติดต่อสื่อสารเพื่อการค้าขายระหว่างประเทศโดยเฉพาะกับ ประเทศที่พัฒนาแล้ว

ปัจจุบันการติดต่อสื่อสารและการแลกเปลี่ยนข้อมูลในโลกไร้พรม แดนผ่านทางอินเตอร์เน็ตเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพและประหยัดที่สุด คุณสามารถติดต่อธุรกิจหรือญาติพี่น้องเพื่อน ฝูงผ่านจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เรียนรู้วิทยาการใหม่ๆ ติดตามข่าวสาร ค้น คว้าข้อมูล โฆษณาสินค้า เสวนาโต๊ะกลม (ด้วยมือกับแป้นพิมพ์) และอีกมากมาย ผ่านทางอินเตอร์เน็ต นอกจาก นี้ยังมีแนวโน้มที่จะนำเทคโนโลยีเครือข่ายใยแมงมุมมาใช้ในการซื้อขายสินค้าที่เรียกกันว่า อิเล็กทรอนิกส์คอมเมิร์ซ หรือ อี-คอมเมิร์ซ อย่างเต็มรูปแบบ รวมทั้งการทำธุรกรรมทั้งในระดับส่วนบุคคลจนถึงระดับองค์กร และเชื่อว่าในเวลาอันรวดเร็วนี้ รูปแบบการทำการค้าขายของโลกจะเปลี่ยนแปลงอย่าง น่าตกใจ

ความจริงแนวโน้มเรื่องอี-คอมเมิร์ซมีมาระยะหนึ่งแล้ว แต่ไม่สามารถก้าวกระโดดอย่างมั่นใจได้ด้วยสาเหตุสำคัญคือ ปัญหา Y2K ภายในปีนี้และ ต้นปีหน้าจะเป็นช่วงการปรับปรุงซอฟต์ เเวร์และระบบคอมพิวเตอร์เพื่อให้การทำงานของคอมพิวเตอร์ปลอดปัญหา Y2K และเป็นการตั้งหลักเพื่อรองรับการพัฒนาระบบต่อไป คาดว่าเมื่อผ่านพ้นระยะเวลานี้ไปได้แล้ว ใครต่อใครที่จ้อง จะทำเงินให้เป็นเงินอย่างเช่น บริษัทบัตรเครดิต ธนาคาร(ของฝรั่ง ไม่ต้องรอเพิ่มทุนอย่างจะเป็นจะตาย) หรือเครือข่ายค้าปลีกทางไปรษณีย์ จะต้องกระโจนเข้าสู่เวที อี-คอมเมิร์ซดังเสือหิวข้ามปี แต่ก่อนที่จะเตลิดเปิดเปิงไปไหนต่อไหน ผมขอกลับมาเข้าเรื่องของเพื่อนผมที่อยากจะหาเครื่องคอมพิวเตอร์ มาใช้สักเครื่อง ในที่นี้ผมขอกล่าวเฉพาะ เจาะจงไปยังคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลทั้งแบบตั้งโต๊ะและแบบหิ้วได้

เนื่องจากเทคโนโลยีด้านคอมพิว เตอร์ยังเป็นของใหม่และเป็นอุปกรณ์ที่มีการทำงานที่ซับซ้อน การที่จะเลือกซื้อคอมพิวเตอร์สักเครื่อง จนกระทั่งสามารถใช้งานได้อย่างคล่องแคล่ว จึงเป็นเรื่องไม่ง่ายนัก แต่อย่างไรก็ตามวงการคอมพิวเตอร์พยายามพัฒนาให้เครื่องใช้งานง่ายขึ้นและมีราคาถูกลง เพื่อให้สามารถเข้าถึงผู้บริโภคในวงกว้าง ให้กลายเป็นอุปกรณ์ประจำบ้านเหมือนโทรศัพท์ ชุดเครื่องเสียง หรือเครื่องรับโทรทัศน์ แต่ขณะนี้ยังไม่ถึงเวลานั้น ท่านทั้งหลายต้องทำใจและใช้ความพยายาม

คอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็นค่ายไหนยี่ห้อไหนจะประกอบด้วยสองส่วนคือ ตัวเครื่องที่จับต้องได้ ภาษาอังกฤษ เขาเรียก Hardware ภาษาไทยเป็นทางการเรียก กระด้างภัณฑ์ ซึ่งออกจะเรียกยากอยู่ ผมขอใช้คำทับศัพท์ว่า ฮาร์ดแวร์ จะสะดวกกว่า ฮาร์ดแวร์หมายถึงตัวเครื่อง แป้นพิมพ์ จอภาพ หรือเมาส์ เป็นต้น ส่วนที่สองคือ ซอฟต์ แวร์ (Software) หรือ ละมุนภัณฑ์ หมายถึงชุดคำสั่งทางคอมพิวเตอร์เพื่อให้เครื่องทำงานได้ ซึ่งทั้งสองส่วนนี้ต้องมารวมกันจึงจะทำให้เครื่องคอมพิว เตอร์ทำงานได้

ผมขอลงรายละเอียดเกี่ยวกับฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์อีกนิดว่า ส่วนประกอบของฮาร์ดแวร์ที่สำคัญคือ ตัวเครื่อง ซึ่งเรียกว่าหน่วยประมวลผลกลาง ฝรั่งเรียก Central Processing Unit หรือ CPU ซึ่งเป็นศูนย์กลางการทำงานของเครื่อง ทำหน้าที่คิดคำนวณ จดจำข้อมูลต่างๆ ติดต่อกับผู้ใช้ และควบคุมอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ มีรูปร่างและขนาดต่างๆ กันตั้งแต่เป็นกล่องตั้งโต๊ะแบนๆ ไปจนถึงตู้ตั้งพื้นขนาดย่อม เครื่องคอมพิวเตอร์บางชนิด มีตัวประมวลผลกลางเป็นชิ้นเดียวกับจอภาพ การใช้งานของคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้จะติดต่อกับเครื่องผ่านทางแป้นพิมพ์อักษร และอุปกรณ์เหมือนหนูหางยาวที่เรียกว่า เมาส์ (Mouse) เครื่องจะรับคำสั่งหรือข้อมูลนำไปคิดคำนวณ จากนั้นจะแสดง ผลผ่านทางจอภาพซึ่งเหมือนกับจอทีวีเป็นตัวอักษรหรือภาพสัญลักษณ์ นอกจากนั้นยังมีอุปกรณ์สำหรับรับส่งข้อมูลได้แก่ เครื่องอ่านแผ่น ซีดีรอม หรือ แผ่นดีวีดี ซึ่งใช้ในการติดตั้งโปรแกรมหรือป้อนข้อมูลจำนวนมาก นอกจากนั้น ยังใช้ดูภาพยนตร์หรือฟังเพลงได้ด้วย และอุปกรณ์เก็บข้อมูลขนาดเล็ก หรือ ฟลอปปี้ดิสก์ เป็นแผ่นบันทึกข้อมูลเพื่อใช้เก็บสำรอง หรือใช้ในการย้ายข้อมูลที่มีขนาดไม่ใหญ่จากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง ในกรณีที่ต้องการใช้งานต่อกับอินเตอร์เน็ต จะต้องมีอุปกรณ์ต่อพ่วงที่เรียกว่าโมเด็มซึ่งจะทำหน้าที่ติดต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ผ่านสายโทรศัพท์

อย่างที่กล่าวมา ลำพังเพียงฮาร์ด แวร์อย่างเดียวเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่สามารถจะทำงานได้ จำเป็นต้องมีซอฟต์ แวร์ประกอบ ซอฟต์แวร์ในเครื่องคอม พิวเตอร์อาจแบ่งได้เป็นสองส่วนคือ ระบบปฏิบัติการภาษาฝรั่งเรียกว่า Operation System และโปรแกรมใช้งานหรือ Application Program ระบบปฏิบัติการทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของส่วนต่างๆ ที่สลับซับซ้อนของเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ใช้ไม่จำเป็น ต้องข้องเกี่ยวด้วย แต่มีส่วนหนึ่งของระบบปฏิบัติการที่ทำหน้าที่ติดต่อกับผู้ใช้ที่เรียกว่า User Interface ซึ่งผู้ใช้งานจำเป็นต้องศึกษาเรียนรู้การใช้งาน คอมพิวเตอร์จะใช้งานง่ายหรือยากและดูฉลาดหรือไม่ก็ตรงจุดนี้

สมัยก่อน คอมพิวเตอร์เป็นเพียงเครื่องมือของนักวิทยาศาสตร์ หรือวิศวกร การพัฒนา User Interface ยังไม่เห็นแก่ประชากรส่วนใหญ่ การใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องพิมพ์คำสั่งเป็นคำๆ และในคำสั่งแต่ละคำก็มีตัวเลือกอีกมากมาย ผู้ใช้จะต้องใช้ความ จำอย่างยิ่งยวด หรือไม่ก็ทำผิดซ้ำผิดซากจนจำได้ หรือถ้าจำไม่ได้ก็ผิดซ้ำผิดซากต่อไป ใครที่เก่งหน่อยและไม่อยากพิมพ์คำสั่งซ้ำซากก็จะเขียนเป็นโปรแกรมขึ้นมา (โปรแกรมคือชุดของคำ สั่งหลายๆ คำมาต่อกัน) ซึ่งดูจะนอกเหนือวิสัยของปุถุชนคนธรรมดา แล้ววัน หนึ่งเกือบยี่สิบปีมาแล้ว มิสเตอร์ สตีฟ จ๊อบส์ ปัจจุบันมีตำแหน่งเป็น ซีอีโอ ชั่วชีวิตของบริษัทแอปเปิล คอมพิวเตอร์ ได้ประยุกต์ระบบ Graphic User Interface มาใช้กับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ซึ่งผู้ใช้สามารถสั่งการคอมพิวเตอร์ผ่านจอภาพ โดยการเลื่อนอุปกรณ์รูปร่างเหมือนหนูหางยาวที่เรียกว่า เมาส์ ซึ่งจะบังคับลูกศรในจอคอมพิวเตอร์ให้ไปอยู่บนรายการคำสั่งที่เรียกว่าเมนู หรือภาพสัญลักษณ์ที่ใช้แทนคำสั่ง จากนั้นก็กดปุ่มบนเมาส์เพื่อให้ทำงาน วิธีนี้ทำ ให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ไม่ต้องจดจำคำสั่งต่างๆ และยังมีรูปสวยๆ งามๆ ให้ดูเล่น ทำให้ช่องว่างระหว่างคอมพิวเตอร์กับผู้ใช้แคบลง ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบันล้วนประยุกต์วิธีการนี้แทบ ทั้งสิ้นรวมทั้งระบบปฏิบัติการ (ครองโลก) ที่เรียกว่า วินโดวส์

เรื่องราวของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลยังไม่จบเพียงเท่านี้ ยังมีเกร็ดความรู้และแง่คิดสำหรับผู้ที่กำลังมองหาเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้สักเครื่อง โปรดติดตามตอนต่อไป สวัสดีครับ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us