Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2543
ฟังดนตรีแห่งกรุงเวียนนา ตอนที่ 5 (ตอนจบ)             
โดย อเนกระรัว
 

   
related stories

ฟังดนตรีแห่งกรุงเวียนนา ตอนที่ 1
ฟังดนตรีแห่งกรุงเวียนนา (ตอนที่ 2)
ฟังดนตรีแห่งกรุงเวียนนา (ตอนที่ 3)
ฟังดนตรีแห่งกรุงเวียนนา (ตอนที่ 4)




ระหว่างที่ผมเขียนเกี่ยวกับดนตรี คลาสสิกอยู่นี้ ผมได้พบกับเพื่อนผู้ซึ่งวันๆ จะวุ่นอยู่กับการสร้างสมและหมุน เวียนทรัพย์ (และสัมผัสแต่สิ่งที่แข็งกระด้างต่อจิตวิญญาณ) เขาถามผมว่ากำลังสนใจหรือทำกิจกรรมอะไรในช่วงนี้ (ผมอาจฟังผิดระหว่างกิจกรรม หรือ กิจการ) ผมตอบไปว่าฟังเพลงคลาสสิก เพื่อนผมหยุดคิด ทำหน้าเหมือนเครื่องคิดเลข บวกลบคูณหารในใจ ไม่น่าได้กำไร ผมเดาคำตอบ จากนั้นการสนทนา ก็จบลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ผมหวนนึกถึง ข้อสงสัยของหลายๆ คนเกี่ยวกับดนตรี คลาสสิก ซึ่งอาจเป็นจุดเชื่อมต่อของความสนใจในการฟังเพลงคลาสสิกก็ได้ ผมจึงขอจบข้อเขียนชุด ฟังดนตรีแห่งกรุงเวียนนาด้วยการถามตอบในสไตล์ร่วมสมัย FAQ (Frequent Asked Questions)

ดนตรีคลาสสิกเป็นของใคร เพื่อใคร

มีหลายคนเชื่อว่าดนตรีคลาสสิกเป็นดนตรีของผู้มั่งมี เพื่อผู้มั่งมีที่ชีวิตส่วนใหญ่ไม่ต้องดิ้นรนเพื่ออยู่รอดและมีเวลาคิดและทำในสิ่งที่นอกเหนือความจำเป็นพื้นฐาน ความคิดนี้มีทั้งผิดและถูก ในแง่มุมของผู้สร้างผลงาน ตั้งแต่อดีตกาลคีตกวีผู้ยิ่งใหญ่หลายท่านมีฐานะยากจน ตัวอย่างง่ายๆ ก็คือ ไฮเดน โมสาร์ท และบีโธเฟน (ที่ผมเขียนถึงในตอนก่อนหน้า) ล้วนมีฐานะยากจนโดยเฉพาะในช่วงเยาว์วัย แต่บุคคลเหล่านี้อุทิศชีวิตเพื่องานดนตรีแม้จะต้องลำบาก ขณะเดียวกันจะเห็นได้จากตัวอย่างในอดีตว่าผู้มีฐานะมั่งมีมักจะเป็นผู้สนับสนุน ดนตรีคลาสสิกในยุคเริ่มต้นแห่งสหัสวรรษที่ 2 ของมวล มนุษย์ซึ่งเป็นยุคแห่งข้อมูลข่าวสาร ผมเชื่อ ว่าโอกาสของผู้คนที่จะสร้างสรรค์และบริโภคงานดนตรีในประเทศที่พัฒนาและกำลังพัฒนานั้นเปิดกว้างเพียงพอ อยู่ที่ความสนใจการขวนขวายของปัจเจกบุคคลมากกว่า

จะเข้าใจความหมายของดนตรีอย่างไร

มีหลายคนสงสัยว่าดนตรีคลาสสิกที่ไม่มีเนื้อร้องมีความหมายว่าอย่างไร และผู้ประพันธ์ต้องการสื่ออะไร ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่าดนตรีเป็นศิลปะแขนงหนึ่งที่มีความเป็นนามธรรมสูงที่สุด เพลง ยอดนิยมที่เราได้ยินกันอยู่ทุกวันใช้เนื้อร้องในการสื่อความหมายที่เป็นรูปธรรม แต่ดนตรีคลาสสิกส่วนใหญ่เป็นดนตรีนามธรรมคือ เป็นดนตรีเพื่อการถ่ายทอดจินตนาการของเสียง ผู้ฟังสามารถใช้จินตนาการส่วนตัวในการสร้างภาพหรือแปลความหมายได้อย่างอิสระ แต่ก็จะมี ดนตรีบางประเภทที่เรียกว่า Program Music ซึ่งเป็นดนตรีที่มีความหมายซ่อน อยู่หรือมีการบอกเล่าเรื่องราวผ่านภาษาเสียง สังเกตได้จากชื่อของบทเพลง ถ้าชื่อเพลงหรือท่อนของเพลงมีความหมาย อย่างไร ดนตรีก็น่าจะสะท้อนความหมาย นั้นออกมา แน่นอนจะไม่ได้รายละเอียด ที่เที่ยงตรงดังภาษาพูดหรือเขียน แต่เป็น การสะท้อนความหมายผ่านจินตนาการของผู้สร้างไปยังจินตนาการของผู้ฟังโดยใช้เสียงเป็นสื่อ

อย่างไรที่เรียกว่าไพเราะ

ความไพเราะที่แท้จริงจะเกิดจากความรู้สึกในใจของผู้ฟัง ซึ่งก็แล้วแต่รสนิยม ความนึกคิดและประสบการณ์การฟังเพลงของผู้นั้น ดนตรีคลาสสิกมีหลายยุคหลายสมัย หลายรูปแบบ ซึ่งจะมีความแตกต่างกันอย่างมาก (มากจริงๆ ผมขอเน้น) ยกตัวอย่างสมมติ มีผู้อ่าน (คอลัมน์ของผม) ไปได้เพลงของคีตกวี Arnold Schonberg, Anton Webern หรือ Alban Berg ซึ่งก็เป็นคีตกวีแห่งกรุงเวียนนาเช่นกันแต่อยู่ในสมัยกลางศตวรรษที่ 20 มาฟัง เมื่อได้ฟังเพลงของ คนเหล่านี้แล้วอาจรู้สึกเกลียดดนตรีคลาสสิกไปจนชีวิตหาไม่ และถ้าต้องเสียสตางค์ซื้อมาแล้ว ก็อาจจะหักแผ่นซีดีเป็นสองท่อนแล้วโยนทิ้งถังขยะด้วยความแค้น เพราะไม่อาจค้นหาเศษเสี้ยวธุลีของอณูของความไพเราะจากดนตรีเหล่านี้ได้เลย ในทางกลับกัน ถ้าเขาได้ฟังเพลงวอลซ์ของ Johann Struss Jr, ซึ่งก็เป็นดนตรีแห่งกรุงเวียนนาในยุคครึ่งหลังของศตวรรษที่ 19 ก็อาจหลงรักดนตรีคลาสสิกขึ้นมาทันทีทันใด นั่นเป็นผลมาจากความแตกต่างของดนตรีคลาสสิกในแต่ละยุคสมัย กับรสนิยมคนฟังที่แตกต่างกันไป หากพูดถึงดนตรีคลาสสิกแล้วไม่ใช่ว่าจะหมายถึงดนตรีสไตล์ใดสไตล์หนึ่งโดยเฉพาะ

เหตุใดต้องมีศัพท์แสงที่พิสดาร

ชื่อของเพลงหรือชื่อท่อนของเพลงคลาสสิกมักใช้ภาษาเทคนิคทางดนตรี ซึ่งเข้าใจยากและรู้สึกวุ่นวายเกินเหตุ ดังที่กล่าวมาแล้ว ดนตรีคลาสสิกส่วนใหญ่เป็นดนตรีนามธรรม การตั้งชื่อ จึงใช้คุณสมบัติพื้นฐานทางดนตรี เช่น บันไดเสียง หรือรูปแบบการนำเสนอ เช่น ชนิดของเครื่องดนตรี ชนิดของวงดนตรี หรือโครงสร้างของดนตรี (FORM) เป็น ต้น นอกจากนั้นก็อาจมีหมายเลขกำกับกรณีที่มีผลงานในรูปแบบเดียวกันมากกว่าหนึ่งชิ้น (ตัวเลขมักเป็นลำดับตามเวลาของการประพันธ์ผลงาน) อีกอย่างผลงานดนตรีแนวนี้เกิดจากการทำงานอย่างจริงจังเป็นที่สุด ดังนั้นการตั้งชื่อเพลงด้วยศัพท์ดนตรีจึงเป็นค่านิยมของทั้งผู้ประพันธ์และผู้ฟังเพื่อสะท้อนเนื้อหา ทางดนตรีของเพลง

การไปฟังการแสดงคอนเสิร์ตจะช่วยให้เข้าถึงดนตรีได้หรือไม่

การฟังคอนเสิร์ตมีประโยชน์อย่างมากสำหรับผู้ที่สนใจฟังดนตรีคลาสสิก ด้วยเสียงที่เปล่งออกมาสดๆ เข้าสู่โสตประสาทจากการแสดงที่อยู่ตรงหน้า ท่านจะได้รับรู้อารมณ์และเห็นความตั้งใจของนักดนตรีที่จะถ่ายทอดผลงานที่ยิ่งใหญ่สู่ผู้ฟัง ถ้าฝีมือนักดนตรี ไม่เลวร้ายและราคาบัตรไม่สูงจนรบกวนจิตใจเกินไป การฟังคอนเสิร์ตจะได้อรรถรสและความเพลิดเพลินได้ดีกว่าการนั่งฟังซีดีอยู่กับบ้านคนเดียว และยังเป็นการส่งเสริมกิจกรรมทางดนตรีที่ดีด้วย

เครื่องเสียงที่ดีมีส่วนช่วยหรือไม่

การฟังเพลงคลาสสิกสามารถทำได้ในหลายโอกาส ไม่ว่าจะทำงานไปฟังไป เป็นดนตรีเสริมบรรยากาศก็ได้ ใช้กล่อมนอนหรือใช้ปลุกในตอนเช้าก็ดี ฟังระหว่างขับรถก็เข้าท่า ในกรณีเหล่านี้เครื่องเสียงคุณภาพระดับกระเป๋าหิ้วธรรมดาก็เพียงพอโดยไม่ต้องพึ่งพาบูมบอกซ์หรือเอฟเฟกต์นานาชนิด แต่ในกรณีที่ท่านอยากฟังเพลงคลาสสิกอย่างจริงจัง อยากฟังเสียงของคันชักที่สัมผัสสายไวโอลินด้วยลีลาเฉพาะตัวของนักสีไวโอลินระดับโลกในช่วงที่แผ่วเบาที่สุด หรือฟังแนวของปี่โอโบท่ามกลางเสียงเครื่องดนตรีอีก 80 ชิ้นในช่วงโหมโรง เครื่องเสียงที่ดีจะมีส่วนช่วยอย่างมาก เพราะเพลงคลาสสิกเพลงหนึ่งมีรายละเอียดมากมายซ่อนอยู่ เครื่องเสียงที่ดี ประกอบกับความตั้งใจของผู้ฟังจะสามารถสัมผัสความงามจากอณูของเสียงได้

ดนตรีคลาสสิกมีประโยชน์อย่างไรต่อชีวิต

ดนตรีคลาสสิกถือเป็นทางเลือกหนึ่งในการเสริมแต่งคุณภาพชีวิต เช่นเดียวกับดนตรีแขนงอื่นๆ หรือการเสพศิลปะ หรือกิจกรรมสันทนาการอื่นๆ ซึ่งก็ล้วนเป็นการเสริมแต่งคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น สิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ของดนตรีคลาสสิกคือ เป็นงานศิลปะที่ละเอียดอ่อน เป็นนามธรรม ต้องอาศัยความพยายาม ในการเข้าถึง ต้องใช้จินตนาการ สูง บางแนวของดนตรีคลาสสิกอาจต้องอาศัยความรู้ทางดนตรี และอาจต้องเปิด กว้างทางความคิดอย่างมาก สิ่งเหล่านี้มีส่วนเสริมความรู้สึกนึกคิดให้ได้พัฒนา และโดยทั่วไปดนตรีคลาสสิกส่วนใหญ่เกิดจากการถ่ายทอดสิ่งดีๆ ในความเป็น มนุษย์ จินตนาการที่สวยงาม หรือแม้จะ เศร้าก็เศร้าอย่างซาบซึ้ง ซึ่งน่าจะมีผลดีต่อสภาพจิตใจ อารมณ์ ที่เป็นไปในทางสร้างสรรค์

ที่กล่าวมานี้เป็นตัวอย่างของคุณลักษณะที่สำคัญของดนตรีคลาสสิก ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่ยังไม่เคยสัมผัสความงามของดนตรีคลาสสิก หรือบางท่านที่กำลังจดๆ จ้องๆ หาสิ่งที่ดี เสริมแต่งให้ชีวิต รวมทั้งข้อเขียนสี่ตอน ก่อนหน้าที่เป็นการยกตัวอย่างคีตกวีและผลงานดนตรีคลาสสิกที่ยิ่งใหญ่กลุ่มหนึ่ง ซึ่งตามความคิดเห็นของผมจะเหมาะแก่การเริ่มต้นฟัง ความจริงแล้ว ยังมีดนตรีคลาสสิกที่น่าสนใจอีกมาก ในหลายยุคหลายสมัย แต่จะขอเก็บไว้ก่อน วันดีคืนดีผมจะมาเล่าต่อ สุดท้ายขอให้ท่านมีความสุขกับซีดี (เพลงคลาสสิก) แผ่นใหม่นะครับ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us