Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2542
มาสร้างโรงยิมที่บ้านกันเถอะ             
โดย ธีรภาพ วัฒนวิจารณ์
 





ธีรภาพ วัฒนวิจารณ์ เป็นนามแฝงของนักวิชาการในรั้วมหาวิทยาลัย ซึ่งนอกเหนือจากความเชี่ยวชาญในงานประจำด้านจิตเวชและจิตวิทยาแล้ว ยังมีความสนใจด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เขาจะเสนอมุมมองและสาระความรู้ที่น่าสนใจในคอลัมน์ "จากฝั่งพรานนก"

ถ้าเรามาลองนั่งนึกกันถึงความเชื่อ หรือแนวคิดทั่วๆ ไปเกี่ยวกับสิ่งต่อไปนี้ คือ บ้าน การออกกำลังกาย ความ ชรา และความเสื่อมของสมอง ที่ผ่านมาเรามีแนวคิดต่อสิ่งเหล่านี้อย่างไร

มาเริ่มกันที่บ้านก่อน ไม่ว่าบ้านจะ เป็นแค่บ้านเช่าราคาถูก ไม่มีเฟอร์นิเจอร์ อะไรมาก ใช้สำหรับเป็นที่ซุกหัวนอนสำหรับคนบางคน ไปจนถึงบ้านราคาหลายสิบหลายร้อยล้านซึ่งเน้นถึงความสะดวกสบาย และอาจจะรวมถึงความภูมิฐานให้เหมาะกับเกียรติและฐานะแห่ง ตน ทุกผู้คนที่เข้าสู่วัยทำงานล้วนแล้วแต่มีความฝันที่อยากจะมีบ้านเป็นของตนเอง บ้านเป็นศูนย์รวมของกิจกรรมหลายอย่างในชีวิต กว่าหนึ่งในสามของชีวิตในแต่ละวันเป็นกิจกรรม ที่เกิดขึ้นที่บ้าน สำหรับคนวัยทำงานเวลาส่วนใหญ่ของการอยู่บ้านมักจะเป็น การพักผ่อน ถึงแม้จะมีบางคนไปต่อที่อื่นก่อนกลับบ้าน แต่สุดท้ายก็ต้องลงเอยที่บ้าน ไม่ว่าจะเป็นบ้านของตนเอง หรือผู้อื่น บ้านจึงเป็นองค์ประกอบหนึ่งในชีวิตที่ขาดไม่ได้

การออกกำลังกายเป็นอีกสิ่งหนึ่ง ที่คนในยุคสมัยนี้รู้จักดี เวลาสุขภาพไม่ดี หรือเจ็บป่วยบ่อยๆ แพทย์มักจะแนะ นำให้ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ กระทั่ง จิตแพทย์เองก็แนะนำให้ผู้ป่วยของตนออกกำลังกาย โดยอธิบายว่านอกจากจะทำให้สุขภาพแข็งแรง ยังช่วยคลายเครียดได้อีกต่างหาก สิ่งที่น่าแปลกประการหนึ่ง คือ แนวคิดเกี่ยวกับการออกกำลังกายเพิ่งมีขึ้นในช่วงไม่กี่สิบปีนี้เอง เป็นเพราะเราเพิ่งค้นพบว่าการออกกำลังกายเป็นเรื่องที่มีประโยชน์ กับสุขภาพ หรือเป็นเพราะว่าชีวิตสมัยใหม่เป็นชีวิตนั่งโต๊ะขาดการใช้ชีวิตกลางแจ้ง เป็นสิ่งที่น่าจะคิดกันต่อไป

ความชรา เป็นเรื่องที่ทุกคนหลีก หนีไม่พ้น ความชราเป็นการบ่งถึงความ เสื่อมของร่างกาย รวมทั้งสมอง ถึงแม้จะมีคนชอบพูดให้กำลังใจว่าคนชราหรือ ผู้สูงอายุเป็นผู้มีพระคุณต่อครอบครัวและสังคม หรือประสบการณ์ของผู้สูงอายุเป็นสิ่งที่มีคุณค่าและคนรุ่นเยาว์ต้อง ศึกษาหรือสืบทอด แต่คนส่วนใหญ่ต่าง พยายามชะลอให้ความชรามาถึงตัวเองช้าที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการใช้เครื่องประทินต่างๆ ไปจนถึงศัลยกรรมตกแต่ง

ความเสื่อมของสมองเป็นสิ่งที่มาพร้อมกับความชรา มักจะมาตามหลังความเสื่อมของร่างกาย แต่ก็มีคนจำนวนหนึ่งที่ใช้ชีวิตในลักษณะที่ทำให้มันมาพร้อมๆ กับความเสื่อมของร่างกาย เช่น คนที่ติดสุราหรือใช้สารเสพย์ติด หรือคนที่เจ็บป่วยด้วยโรคทางกายและขาดการดูแลสุขภาพที่ดีพอ สังคมสมัยใหม่ที่คุณภาพทางการแพทย์สูงขึ้น ส่งผลให้ประชากรมีอายุยืนยาวขึ้น และแน่ นอนว่าความเสื่อมของสมองย่อมพบได้มากขึ้น อย่างไรก็ตามความเสื่อมทางสมองเป็นเรื่องที่ต้องมาเยี่ยมเยียนเราทุกคน เพียงแต่สำหรับคนบางคนมันอาจจะมาช้าเอามากๆ ซึ่งงานวิจัยหลายๆ ชิ้นได้ข้อสรุปว่า คนสูงอายุที่ดำเนินชีวิต เหมือนก่อนเกษียณ ใช้สมองในการขบคิดสิ่งต่างๆ หาประสบการณ์ที่แปลกใหม่ รวมไปถึงการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่นการเล่นเกมส์กระดานต่างๆ หรือปริศนาอักษรไขว้ (ผมเคยกล่าวถึงในฉบับก่อนๆ ถ้าคุณผู้อ่านยังจำได้) ล้วนมีผลทำให้ความเสื่อมนี้ใช้เวลาในการเดินทางมาเยี่ยมเยียนเราช้าลง ซึ่งบางคนอาจเรียกกิจกรรมประเภทนี้ว่า Mental exercise

ที่ลงท้ายที่ความเสื่อมของสมองก็เพราะว่า ปัจจุบันเป็นเรื่องที่คนสนใจเอามากๆ โดยเฉพาะอาหารเสริมประเภท ต่างๆ ที่บรรยายสรรพคุณถึงความสามารถในการชะลอความเสื่อมของสมอง และล่าสุดคือ ใบแป๊ะก๊วย ที่ถูกสกัดและผลิตออกมาในรูปอาหารเสริมราคาแพง ซึ่งต้องรับประทานกันเป็นปีและรับประทานก่อนหน้าที่ความเสื่อมจะเกิดขึ้น แต่คนที่รับประทานแล้วไม่ได้หมายความว่าจะฉลาดขึ้น ความสามารถทางการคิดและเชาวน์ปัญญายังคงอยู่ในระดับเดิม และอาจจะลดลงด้วยซ้ำหากพิจารณาว่า สติปัญญาของคนเราอยู่ที่ความสามารถในการขบคิดและแก้ปัญหา ซึ่งหมายถึงการคิดอย่างมีระบบโดยอาศัยความจำและประสบ การณ์ในอดีต เพื่อพิจารณาแก้ไขและขบคิดสิ่งที่กำลังเผชิญอยู่ต่อหน้า ไม่ใช่อยู่ที่จำเรื่องในอดีตได้ หรือท่องจำเป็นนกแก้วนกขุนทองได้ดีกว่าคนอื่น

Mental exercise หรือการเปิดโอกาสให้สมองของเรามีโอกาสขบคิดปริศนา หรือคิดในเรื่องที่ต่างจากการคิด ในชีวิตประจำวันจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง บางท่านอาจคิดว่า ก็ทำงานอยู่แล้วจะต้องไปบริหารสมองอีกทำไม แต่ถ้าลองนึกเปรียบเทียบการออกกำลังกาย กับการทำงานหนัก แน่นอนว่าคนที่ทำงานประเภทใช้แรงย่อมมีความแข็งแรง และความสมบูรณ์ของร่างกายตามไปด้วย แต่งานก็คืองาน งานที่ใช้แรงไม่เท่ากับการออกกำลังกาย เพราะสิ่งที่เรา ได้จากการออกกำลังกาย ในขณะที่ไม่ได้ จากงานก็คือความเพลิดเพลิน และคลายเครียด นึกถึงนักกีฬาที่ฝึกซ้อมตลอดปี สุขภาพกายอาจจะดี แต่สุข-ภาพจิตไม่แน่ว่าจะดีตามเพราะต้องแบก รับความกดดันในเรื่องของการเอาชนะ งานจึงไม่ใช่เท่ากับการออกกำลังกาย

การทำงานนั่งโต๊ะของนักบริหารคอยขบคิดกับการแก้ปัญหาก็เช่นกัน ไม่ใช่หมายความว่าการคิดในการทำงานจะทดแทนการบริหารสมองได้ งานใช้สมองคิดนั้นผลพลอยได้ที่ติดตามมาด้วยก็คือ ความเครียด ดังที่รู้กันอยู่ว่าคนทำงานบริหารยิ่งต้องใช้ความคิดมาก ก็ยิ่งเครียดมาก ดังนั้น Mental exer-cise จึงเป็นเรื่องที่ต้องแยกมาทำต่างหากเหมือนการออกกำลังกายที่ต้องแยก ออกมาจากการทำงานในชีวิตประจำวัน

หากเราจะเอาความคิดเรื่องของการออกกำลังสมอง หรือบริหารสมองและความคิดมาใช้เข้ากับเวลาในการพักผ่อนซึ่งส่วนใหญ่ควรจะเกิดขึ้นที่บ้าน นี่คือเกร็ดเล็กๆ น้อยๆ ในการบริหารสมองที่มีฝรั่งแนะนำและผมนำมาเล่าต่อให้คุณผู้อ่านทราบ

เล่นเกมส์หมากกระดานทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นหมากฮอร์ส หมากรุก (จะยกเว้นก็คงจะเป็นหมากเก็บ) หรือเกมส์ เศรษฐีทั้งหลาย สัปดาห์ละ 2-3 วัน นอกจากจะให้คุณได้ใช้เวลาและคิดหามุมมองใหม่ๆ ในการแก้ปัญหา ยังช่วยผ่อนคลายความเครียด และสร้างสัม-พันธภาพกับเพื่อนที่คุณเล่นด้วย (ถ้าหากคุณไม่เป็นฝ่ายชนะอยู่แต่คนเดียว)

ดูเกมส์โชว์พร้อมกับเล่นและคิดตามไปด้วย แต่กรณีนี้สำหรับบ้านเราอาจเป็นเรื่องต้องยกเว้น เพราะเกมส์โชว์บ้านเราเน้นที่ความสนุกมากกว่าสาระ และการประเทืองปัญญา เกมส์ประเภทเดาความลับของดาราที่มาออกรายการไม่น่าจะสร้างเสริมสติปัญญา หรือทำให้เราโง่น้อยลง

มีเวลาให้กับตัวเองในการอ่านสิ่ง ที่อยากอ่านอย่างน้อยครึ่งชั่วโมงต่อวัน ขอย้ำว่าสิ่งที่อยากอ่านนะครับ ไม่ใช่สิ่งที่ต้องอ่าน การทำในสิ่งที่ต้องทำก็ไม่ต่าง จากเหตุผลที่ผมกล่าวในตอนต้น

มีเวลาพบปะรับประทานอาหารกับบุคคลที่หลากหลาย ไม่ใช่กับแฟนหรือคนที่บ้านเท่านั้น สิ่งเหล่านี้จะเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้โดยที่คนไม่เคยตระหนักถึงประโยชน์ของมันมาก่อน ว่าไปแล้วเรื่องนี้ฝรั่งก็ทำมานานแล้วประเภทเชิญปัญญาชนคนมีชื่อเสียงมาดินเนอร์พร้อมเสวนากันที่บ้าน สำหรับบ้านเราเรื่องนี้อาจจะไม่ง่ายเพราะ เดี๋ยวนี้ของปลอมดูเหมือนจะเยอะกว่าของจริงมาก

ทำอาหารแปลกรับประทานที่บ้านอาทิตย์ละสองครั้ง ไม่ใช่พึ่งเบอร์ประเภท 712 ทั้งหลายแล้วสั่งอาหารประเภทฟาสต์ฟูดทั้งหลาย การทำอาหารเองนอกจากให้ความเพลิดเพลินแล้ว การคิดถึงเมนูแปลกๆ ก็มีส่วนทำให้คุณต้องใช้ความคิดในการเสาะแสวงหา

จัดเฟอร์นิเจอร์ในบ้านใหม่เป็นระยะ กรณีนี้ก็เช่นเดียวกับการทำอาหารเอง มันจะทำให้คุณผู้อ่านได้ใช้สมองในการคิดพิจารณา และไม่เครียด ยกเว้นบางคนคิดถึงการเปลี่ยนบ้านใหม่ ทั้งในเชิงรูปธรรม หรือสัญลักษณ์ ผมไม่แน่ใจว่าจะเข้าข่ายหรือไม่ แต่รับรองได้ว่า ความเครียดเกิดขึ้นแน่

ประการสุดท้าย เขียนจดหมายถึงบุคคลที่คุณไม่ค่อยได้พบปะ อันนี้แน่นอนว่านอกจากจะช่วยดำรงความสัมพันธ์ที่มีต่อกันไม่ให้ขาดลง การเขียนถึงคนที่เราไม่ค่อยได้พบ มีส่วนทำให้เราต้องคิดและระลึกถึงสิ่งที่เกี่ยว ข้องกับบุคคลนั้น

มีข้อแนะนำอีกอันหนึ่งที่เขาแนะนำให้ทำ คือ การไปเดินกับขบวนพาเหรดบ้างเป็นครั้งคราว อันนี้คงเป็นอีกอันหนึ่งที่ไม่ค่อยเหมาะกับบ้านเรา การออกไปเดินนั้นนอกจากให้ประสบ การณ์ใหม่ๆ แล้วยังทำให้ได้รู้จักคนที่หลากหลาย บ้านเราถ้าจะมีก็แต่การแห่นาคหรือขันหมาก ซึ่งคนในเมืองไม่ค่อยจะทำกัน อาจจะต้องปรับใช้เป็น การเดินขบวนแทน แต่เท่าที่ผมนึกออก คนกรุงเทพฯ มาเดินขบวนกันใหญ่ๆ ก็ แค่ 2 ครั้ง คือ ตอนพฤษภาทมิฬ กับตอนไล่รัฐบาลก่อนหน้ารัฐบาลนี้ ส่วนงานเดินขบวนอื่นๆ เห็นคนกรุงเทพฯ ไม่สนใจ อาจจะเป็นเพราะขาดประสบ การณ์เข้าร่วมการเดินขบวน คนกรุง-เทพฯ เลยเป็นอย่างที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us