Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2542
เบื้องหลังฉาก "นางนาก"             
 





หนังสือ "นางนาก" เป็นหนังสือที่นนทรีย์ นิมิบุตร ได้ถ่ายทอดเรื่องราวทั้งหมดด้วยตัวของเขาเอง ผ่านสำนักพิมพ์แพรวเอนเตอร์เทน เป็นการเล่าถึง "การถ่ายหนังบนโต๊ะ" หรือขั้นตอนกระบวนการทำงานก่อนถ่ายทำจริงนั้นเอง โดยมีคอนเซ็ปต์เป็นหนังสือ "The Making Of..." เหมือนในต่างประเทศที่มีการทำกันเป็นเรื่องปกติ ซึ่งในประเทศไทยเราไม่ค่อยได้เห็นหนังสือประเภทนี้ ส่วนที่มีอยู่จะเป็นบทวิพากษ์วิจารณ์กันเป็นส่วนใหญ่

หนังสือ "นางนาก" จึงถือเป็นคัมภีร์การทำหนังเล่มแรกที่สมบูรณ์ที่สุด ณ ขณะนี้

หนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็น 7 ส่วน ด้วยกัน...

ส่วนแรกเป็นภาพรวมของกระ-บวนการทำหนังทั้งหมด เริ่มตั้งแต่ Introduction ที่นนทรีย์ได้เล่าถึงต้นสายปลายเหตุของความ "คัน" หรือความอยากในการทำหนัง "นางนาก" มาสู่ Version ของ "นางนาก" ที่นนทรีย์ได้ให้นิยามหรือแก่นของหนังเรื่องนี้ว่าเป็นเรื่องของ "ความตายมาพลัดพรากความ รักจากกัน" ซึ่งแตกต่างจากหนังผีทั่วไปที่เอะอะก็ปาฏิหาริย์ อิทธิฤทธิ์ แหวกอกควักไส้ วิ่งไล่ ลงตุ่ม...อยู่แค่นั้น แต่ "นางนาก" เปรียบเสมือนหนังโรแมนติก ซึ้งกินใจเรื่องหนึ่งทีเดียว...

นอกจากนั้นในส่วนแรกของหนังสือเล่มนี้ นนทรีย์ได้กล่าวถึงยุทธวิธีในการทำ Presentation และการเสนอ Budget ด้วยซึ่งการทำหนังเรื่อง นี้ ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 12 ล้านบาท และได้มีการศึกษาค้นคว้ารวบรวมข้อมูล กันเป็นปีๆ ราวกับเป็นการทำ Thesis เรื่องหนึ่งทีเดียว

ส่วนที่ 2 เป็นส่วนของ Pre-Production เป็นการเล่าตั้งแต่การค้น หาโลเกชั่นที่ "ใช่" การคัดเลือกตัวแสดงที่ "เป็น" "เป็น" ในที่นี้คือ เป็นนางนาก เป็นนายมาก เลย ไม่ใช่เพียงแค่ เหมือนนางนาก หรือเหมือนนายมากเท่านั้น หรือแม้กระทั่งตัวแสดงตัวอื่นที่ต้องเลือกให้เจอคนที่ "เป็น" ตัวแสดงตัวนั้นจริงๆ ตามบทที่กำหนดไว้ ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย และในส่วนนี้ขอแทรกความ รู้สึกหลังจากที่ได้ชมนางนากแล้ว รู้สึกว่า ตัวแสดงทุกตัว "เนียน" ดีกับบทบาทที่ได้รับ แต่มีสิ่งที่ประดักประเดิดอยู่ตรงที่สำเนียงของนายมากที่ออกจะ "ทองแดง" ไปนิด ทั้งๆ ที่ในเรื่องราว เนื้อหา หรือตำนานก็ไม่ได้ระบุว่าพื้นเพของนายมากนั้นมาจากถิ่นใด ทำให้เข้าใจโดยทั่วกันว่า นายมากน่าเป็นคนพระโขนงเช่นเดียวกับนางนาก ซึ่งอยู่ในเขตภาคกลางด้วยซ้ำไป...

นอกจากนั้น เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายก็ต้องเหมือนจริงที่สุด เหมือนกับหลุดไปอยู่ในยุครอยต่อของรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 อย่างสมจริง ซึ่งนนทรีย์ เล่าว่า ผ้าทุกผืนได้มีการทอมือขึ้นมาใหม่รวมทั้งมีการกำหนดโทนสีและผ่านกรรมวิธีทำเก่าให้สมจริงที่สุด รวมทั้งยังมีเรื่องของการทำชูทติ้งบอร์ด การ ทำสเปเชี่ยล เอฟเฟ็กต์ การทำเวิร์กช้อป ซึ่งนักแสดงต้องเรียนรู้วิถีชีวิตจริง ณ สถานที่จริง เช่น การไถนา การเกี่ยวข้าว เป็นต้น และสิ่งที่นนทรีย์ให้ความสำคัญมากและเล่าไว้ในส่วนนี้อีกคือ "ทีมงาน" ที่ต้องมีการประชุมอยู่อย่างสม่ำเสมอ เพื่อสร้างความสัมพันธ์กันทั้งในแง่ของการทำงานและจิตใจ อันจะนำมาซึ่งความสำเร็จของงานอย่างสมบูรณ์

ยิ่งไปกว่านั้น หนังสือเล่มนี้ถือเป็นหนังสือเกร็ดประวัติศาสตร์เล่มย่อยได้อีกเล่มหนึ่ง เนื่องจากข้อมูลในอดีตได้ถูกรวบรวมไว้อย่างกระชับในส่วน ที่ 3 ของหนังสือคือ ส่วนของข้อมูลประกอบหนังนางนาก อาทิ ประวัติของขรัวโต หรือสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี วัดระฆังโฆสิตาราม, ประวัติของวัดมหาบุศย์ อันเป็นสถานที่ฝังศพนางนาก, ภาพของพระโขนงในยุคของนางนาก, วิถีชีวิตของคนไทยในสมัยนางนาก (รัชกาลที่ 4) อันรวมถึงรายละเอียด ของหน้าตา ท่าทาง อากัปกิริยา ทรงผม ถ้อยคำ การแต่งกาย อาหารการกิน ที่อยู่อาศัย ประเพณี และความเชื่อ เป็นต้น

ส่วนที่ 4 เป็นบทสัมภาษณ์ Script Writer วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง ซึ่งเขาทุ่มเวลาในการเขียนบทนานถึง 6 เดือน ขณะเดียวกันก็ต้องเร่งทำงานแข่งกับเวลา

"ยาก ยากในแง่ของการที่เราไม่ แน่ใจกับข้อมูลจริง แล้วเรากำลังจะทำหนังเรียลลิสติก ผมบอกได้เลย หนังเรียลลิสติกยากที่สุด..." เป็นความรู้สึกของคนเขียนบทคนนี้

ส่วนที่ 5 คือ ส่วนของ Production Design ที่เล่าผ่าน เอก เอี่ยมชื่น Production Designer คนสำคัญที่ทำให้องค์ประกอบทุกส่วนของฉากในหนัง "นางนาก" ออกมาเหมือนจริงที่สุด

ส่วนท้ายเล่ม เป็นการให้คะแนน ตัวเองของนนทรีย์ ต่อหนัง "นางนาก" ภายใต้งบประมาณ 12 ล้านบาท และสุดท้ายจริงๆ คือ หางฟิล์ม เป็นการแนะนำทีมงานทุกคน พร้อมความรู้สึกต่อการมาร่วมกันทำหนังเรื่องนี้

ส่วนเคล็ดลับหรือสูตรสำเร็จในการปรุงอาหารให้อร่อย หรือทำหนังให้สุดยอด นั้นเป็นเรื่องของปัจเจกบุคคลที่ต้องเรียนรู้ด้วยตัวเอง แต่ที่แน่ๆ หนังสือเล่มนี้ได้บอกเอาไว้แล้ว...ค้นหากันเอาเอง...

อ่านหนังสือเล่มนี้จบแล้วรู้สึกว่า เท่าที่ผ่านมา ที่เรามักจะได้ยินแต่ "ทุนมันไม่มี แล้วใครจะกล้าทำหนังดีๆ" หรือไม่ก็ "ทุนพอมี แต่หาคนเก่งๆ มาทำหนังดีๆ สักเรื่องไม่ได้" ท้ายที่สุดก็ "หนังไทยไม่ได้เรื่อง ไร้สาระ" และแล้วก็ไม่มีใครพิสูจน์ให้เห็นความสามารถของคนไทยในการทำหนังไทยให้ทัด เทียมหนังสากลได้สำเร็จสักคน... คงจะค่อยๆ จางไป เนื่องจากมีคนรุ่นใหม่อย่างนนทรีย์ นิมิบุตร กล้าที่จะลุกขึ้นมาปฏิวัติการทำหนังในประเทศไทย เขาไม่ใช่คนที่เกิดมาจากการทำหนังใหญ่ เขาเกิดมาจากการทำหนังโฆษณา ซึ่งนับเป็นข้อดี ที่ทำให้เขามีมุมมองการคิดที่เป็นสากล และมีมุมมองของการรวมเอาธุรกิจกับศิลปะไว้เข้ากันอย่างแนบเนียน และนี่จะเป็นการเริ่มต้นยุคสมัยของคนทำหนัง (เป็น) ที่ไม่อดตายอีกต่อไป

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us