Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2542
รางวัลชีวิตของวรวิทย์ โภคิน             
 

   
related stories

ผลงานครั้งแรกของคริสตี้ส์ ประเทศไทย

   
search resources

วรวิทย์ โภคิน




เมื่อครั้งประมูลภาพของปรส. เมื่อปีที่ผ่านมาวรวิทย์ โภคิน ชาวจีนวัย 52 ปีคนนี้ชนะการประมูลภาพ "ใบไผ่" ของทวี นันทขว้าง ไปด้วยราคา 2,877,000 บาทเป็นราคาประมูลภาพที่สูงที่สุดในงาน สร้างความหงุดหงิดใจให้กับบุญชู ตรีทอง คู่แข่งคนสำคัญในวันนั้นพอสมควร

มาคราวนี้คนเดียวกันนี้ ก็สร้างประวัติศาสตร์ซ้ำสอง คือประมูลภาพของอาจารย์ทวี ในราคาที่สูงที่สุดอีกครั้งหนึ่ง นอกจากนั้นเขายังชนะการประมูลงานของเหม เวชกร ในราคา 51,750 ไปอีกภาพหนึ่งด้วย

ในงานประมูลหนังสือวันแรกวรวิทย์ยังชนะการประมูลหนังสือมาอีก 3 รายการจากคู่แข่งชาวต่างชาติทั้งสิ้นเป็นเงินประมาณ 7 แสนบาทด้วย รวมเป็นเงินทั้งหมด 2 วันที่เขาใช้ไปเพื่อความสุขครั้งนี้ประมาณ 4,000,000 บาท

วรวิทย์ โภคิน เป็นใครมาจากไหน เป็นคำถามที่เป็นคำพูด และเป็นคำถามจากสายตาของบรรดาผู้คนในวันประมูล ที่มองตรงไปยังชาวจีนวัยกลางคนที่แต่งตัวธรรมดาๆ ในชุดกางเกงกลางเก่ากลางใหม่และเสื้อยืดลายขวางสีฟ้าๆ เขียวๆ ตัวเดียวกับวันที่ใส่ไปประมูลรูปของปรส. มันช่างแตกต่างไปจากคนอื่นๆ ที่แม้จะเป็นชุดลำลองแต่ก็แบกแบรนด์เนมไปทั่วตัว บางคนใส่เสื้อนอกสวมสูทราคาแพงด้วยซ้ำไป และต่างจับกลุ่มยืนคุยกันในเรื่องงานศิลป หรืองานธุรกิจที่ใหญ่โต

ในขณะที่ผู้ที่กำลังเป็นที่สนใจ ไม่ยอมพูดคุยอะไรกับใครทั้งสิ้นเพราะไม่มีคนที่รู้จัก และไม่ใช่แวดวงที่คุ้นเคย หลังจากประมูลเสร็จและติดต่อวันรับรูปและหนังสือกับเจ้าหน้าที่ ของบริษัทคริสตี้ส์เสร็จเรียบร้อย เขาก็เดินดุ่มๆ ไปขึ้นรถเมล์กลับบ้านไปทันที โชคดีที่ "ผู้จัดการ" ได้มีโอกาสสัมภาษณ์เขาในวันรุ่งขึ้น

"ผมเกลียดที่สุดคือการพูดถึงตัวเอง ผมเป็นเพียงคนเชยๆ คนหนึ่ง" วรวิทย์เอ่ยกับ "ผู้จัดการ" และเล่าอย่างรู้ตัวดีว่าในวันงานมีหลายคนมองเขาอย่างไม่เชื่อว่า จะมาประมูลรูปได้ บางคนอาจจะมองว่าเขาเป็นเพียง "หน้าม้า" ให้บางคนเท่านั้น

"ที่นี่ผมไม่เคยเข้ามา ทุกคนแต่งตัวกันโก้ๆ พกลูกระเบิดกันเต็มไปหมด (วรวิทย์หมายถึงโทรศัพท์มือถือ) มีผมคนเดียวไม่มี แล้วก็หิวด้วยนะวันนั้นรถเมล์ติดอยู่นานจนจะลงเดินมาอยู่แล้ว จะหาที่กินข้าวแถวนี้ก็ไม่รู้มีที่ไหน"

วรวิทย์ยอมเล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟังต่อว่าตนเองมีอาชีพทางด้านค้าขายและการประมูลสินค้า โดยเฉพาะสินค้าทางด้านวิศวกรรมเมื่อตอนอายุประมาณ 30 ต้นๆ เคยสร้างผลงานที่ตนเองภูมิใจคือไปประมูลราคาแข่งกับเอกชน ในงานประมูลสินค้าซึ่งเป็นเหล็กที่เหลือจากการสร้างเตาของบริษัทปูนซิเมนต์ไทย ซึ่งขณะนั้นปูนซิเมนต์ไทยเป็นบริษัทที่ยิ่งใหญ่บริษัทหนึ่งในภาคพื้นเอเชีย

"งานนั้นมีผู้แข่งขันกว่า 1,000 ราย ผมเป็นคนเดียว ที่ชนะเป็นที่ 1 เสร็จแล้วผมก็นำไปขายต่อได้กำไรก้อนใหญ่" วรวิทย์เล่าอย่างภูมิใจ แต่ไม่ยอมเปิดเผยถึงเม็ดเงินที่ประมูล และกำไรที่ได้มาพร้อมกับรายละเอียดในการทำงานอื่นๆ

ส่วนงานทางด้านศิลปะเขาเล่าต่อว่า เริ่มสะสมมานานกว่า 20 ปี แต่จะมีภาพของศิลปินไทยประมาณ 10 ภาพเท่านั้น ส่วนใหญ่เป็นศิลปินชาวจีน ที่ซื้อต่อมาจากบรรดารุ่นลูก รุ่นหลาน ของคนจีนเหล่านั้นที่ไม่เห็นในคุณค่าของภาพ

สาเหตุที่ชอบภาพเขียนของจีนวรวิทย์บอกว่าชอบในลีลาสะบัดปลายพู่กัน ที่มั่นคงและเด็ดขาด แต่ราคาภาพที่สะสมจะไม่แพงมากนักประมาณหลักหมื่นต่อภาพเท่านั้น แม้จะยืนยันกับ "ผู้จัดการ" ว่าไม่เคยขายภาพและ ไม่ต้องการขายภาพที่มีอยู่ แต่เขาก็มีข้อมูลว่าภาพศิลปินชาวจีนปล่อยขายยากในเมืองไทย ต้องไปตลาดประมูลที่ฮ่อง กงหรือสิงคโปร์เท่านั้นจึงจะได้ราคาที่ดี

ส่วนศิลปินไทยนั้นวรวิทย์ได้มาชื่นชอบผลงานของอาจารย์ทวีเป็นพิเศษ เมื่อเห็นผลงานภาพ "ดอกฝิ่น" ตอนงานนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ ศิลปะแห่งรัชกาลที่ 9 ที่จัดขึ้นที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมื่อปี 2539

และนั่นคือที่มาของการตามมาเก็บประมูลภาพของอาจารย์ทวีทั้ง 2 ภาพในงานของปรส. และในงานประมูลของบริษัทคริสตี้ส์ และทำไมต้องเป็นภาพเปลือยนี้ แทนที่จะเป็นผลงานภาพ สระบัว หรือกล้วยไม้ ซึ่งเป็นของอาจาย์ทวีทั้งสองรูปวรวิทย์ให้เหตุผลว่า

"ถ้าเป็นต้นไม้ผมคิดว่าภาพใบไผ่ที่ได้ไปเป็นภาพที่ดีที่สุดแล้ว ส่วนภาพเปลือยนอกจากจะเป็นรูปที่หายากของอาจารย์ทวีแล้ว ยังเป็นภาพวีนัสที่วาดโดยชาวไทยที่จัดวางท่าไม่เหมือนกับวีนัสของคนอื่นๆ ที่วาดกันเป็นร้อยๆ ปี และผมชอบจุดเด่นของรูปที่มีดอกบัวหลวงข้างทรวงอก เมื่อมีลมพัดมาจากทางทิศใต้ทำให้กลีบหนึ่งปลิวตกลงมา ทำให้ดูราวกับว่าเธอขยับตัวจะตื่นขึ้น"

นอกจากผลงานของอาจารย์ทวีแล้ว ดูเหมือน วรวิทย์จะชื่นชมผลงานของสุเชาว์ ศิลปินคนยาก และเหม เวชกรด้วย

สำหรับหนังสือที่เขาประมูลได้มาเล่มแรกเป็นหนังสือเก่าประมาณ 200 กว่าปีพิมพ์เรื่องสมัยพระเพทราชาประมูลได้ไปที่ราคา 460,000 บาท หนังสือเล่มที่ 2 เป็นเรื่องเกี่ยวกับสมัยพระนารายณ์มหาราชครองราชย์ มีรูปพระนารายณ์ขี่ช้างเข้าวังด้วย ราคาที่ประมูลได้ 195,500 บาท ซึ่งรายการนี้เขาเล่าว่าสู้กันดุเดือดจากราคาเริ่มต้นที่ 95,000 บาท แต่จบอย่างรวดเร็วและอีกชิ้นคือ หนังสือBANGKOK CALENDAR ราคาประเมิน 7,500 บาท สู้กันเข้มข้นเช่นกันและไปปิดที่ราคา 40,000 บาท

"หนังสือเล่มแรกเป็นเรื่องราวสมัยพระเพทราชานั้น คนเขียนบันทึกเหตุการณ์ที่น่าสนใจหลายเรื่อง ซึ่งในหนังสือไทยไม่มี หาอ่านไม่ได้ ส่วนเล่มที่ 2 เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในสมัยพระนารายณ์ ส่วนเล่มสุดท้าย เป็นเพราะผมอยากรู้ว่า วันเดือนปี สมัยนั้นเขาคิดกันอย่างไร"

วรวิทย์อธิบายให้ฟังถึงเหตุผลในการประมูลหนังสือ "ชีวิตผมผ่านความลำบากมาเยอะ ทำงานหนักมาตั้งแต่วัยเด็กแล้ว มาถึงวันนี้ได้ก็เหนื่อยที่สุด เมื่อมีเงินเหลือก็อยากจะได้อะไรที่เป็นรางวัลให้กับชีวิตบ้างก็แค่นั้น" เขาสรุป และยืนยันว่าไม่ได้เป็นหน้าม้าประมูลรูปให้ใคร หรือเป็นคนของใครทั้งสิ้น

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us