Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2542
ผลงานครั้งแรกของคริสตี้ส์ ประเทศไทย             
 

   
related stories

รางวัลชีวิตของวรวิทย์ โภคิน

   
search resources

คริสตี้ส์ ประเทศไทย
เยาวณี นิรันดร
Auctions




บทสรุปจากงานประมูลครั้งแรกของบริษัทคริสตี้ส์ ประเทศไทย เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ประสบความสำเร็จอย่างน่าพอใจนอกจากทางบริษัทสามารถขายสินค้าไปได้เกือบหมดแล้ว ยังสามารถทำยอดขายได้รวมทั้งสิ้นเป็นเม็ดเงินถึง 40 ล้านบาท

เฉพาะแค่ภาพของบรมอาจารย์ทางด้านศิลปะ ทวี นันทขว้าง กับถวัลย์ ดัชนี เพียง 3 ภาพ ก็ทำราคาไปได้ถึง 6,325,000 บาทเข้าไปแล้ว

และ 15% ของราคาภาพและหนังสือที่ขายได้คือค่าคอมมิชชั่นที่เป็นรายได้เข้าบริษัท เยาวณี นิรันดร ผู้บริหารคนหนึ่งของคริสตี้ส์บอกกับ "ผู้จัดการ" ว่าถึงแม้ว่าทางบริษัทเองจะมีรายจ่ายในการจัดงานค่อนข้างสูงเช่น ค่าเช่าสถานที่ ค่าทำหนังสือ และการจัดการในเรื่องต่างๆ แต่พอใจมากที่มีผู้ร่วมงานจำนวนมากและสามารถทำราคา ได้ดีขนาดนี้ในภาวะเศรษฐกิจเช่นปัจจุบัน

คริสตี้ส์ เป็นบริษัทประมูลงานศิลปะที่เก่าแก่บริษัทหนึ่งของโลก มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และได้ทำการขายงานศิลปะแขนงต่างๆ อาทิ ภาพเขียน เฟอร์นิเจอร์ เซรามิก เครื่องประดับ เครื่องเงิน ไวน์ มาเป็นเวลานานกว่า 200 ปี ปัจจุบันเปิดให้บริการทั่วโลกโดย ผ่านเครือข่ายกว่า 100 สาขาใน 41 ประ-เทศและได้เป็นบริษัทในตลาดหลัก ทรัพย์ของกรุงลอนดอนตั้งแต่ปีค.ศ.1973

คริสตี้ส์ได้ขยายสาขามาประเทศไทยเมื่อปี 2540 ซึ่งเป็นปีที่เศรษฐกิจในเมืองไทยตกต่ำอย่างหนัก และเห็นเป็นโอกาสดีที่จะตั้งบริษัททางด้านประมูลขึ้น เพราะมั่นใจว่าภายใต้ความกดดันของภาวะเศรษฐกิจ ทำให้มีเศรษฐีหลายคนต้องการเอาของเก่าเก็บออกมาปล่อยขาย และเช่นเดียวกันก็ยังมีผู้ต้องการไขว่คว้า ของที่มีคุณค่าเหล่านั้นมาเก็บไว้โดยไม่ได้คำนึงถึงเรื่องราคาว่าสูงขึ้นเพียงไร รวมทั้งยังมีผู้ที่เห็นช่องทางในการทำกำไรกับงานศิลปะ และเป็นการซื้อเพื่อลงทุนแทนที่จะฝากเงินไว้ในเวลาที่ดอกเบี้ยเองก็ดิ่งลงเหวเช่นทุกวันนี้

ในช่วงเวลานั้นประเทศไทยก็มีบริษัทประมูลทางด้านศิลปะอยู่บ้าง และมีการจัดประมูลตามโรงแรมต่างๆ เพียงแต่การจัดแต่ละครั้งมีจำนวนชิ้นงานออกมาประมูลไม่มากมายนัก จึงได้รับความสนใจเพียงในวงแคบๆ เท่านั้น

เยาวณี นิรันดร, ปัญญชลี เพ็ญชาติ, ทิวาลักษณ์ เจียรวนนท์ เป็น ทีมงานบริหาร ของคริสตี้ส์ ประเทศไทย และเมื่อปี 2541 ทางบริษัทได้รับโอกาสให้เข้าไปเป็นผู้ดำเนินการจัดประมูลงานศิลปะของปรส. ซึ่งในงานครั้งนั้นมีภาพเขียนมากกว่า 450 ภาพ งานศิลปะอีกจำนวนหนึ่งและสามารถทำยอดขายได้ 100% เต็ม เป็นจำนวนเงินถึง 60 ล้านบาท

ผลงานครั้งนั้นทำให้บริษัทเริ่มเป็นที่รู้จักในเมืองไทยมากขึ้นเช่นกัน

งานประมูลได้แบ่งออกเป็น 2 วัน วันแรกในวันที่ 7 สิงหาคม โดยเป็นการประมูลหนังสือที่พิมพ์ขึ้นตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ประกอบด้วยหนังสือยุคเก่าที่เกี่ยวข้องกับคำสอน ทางศาสนา, แผนที่, ปฏิทิน, พจนานุ-กรม รวมทั้งบันทึกการเดินทางและการ ใช้ชีวิตในประเทศสยามของชาวยุโรป หนังสือส่วนใหญ่ตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ

รวมทั้งภาพถ่ายโบราณที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของไทยถือได้ว่า เป็นการประมวลภาพชิ้นสำคัญเกี่ยวกับ ประเทศสยามช่วงใกล้เปลี่ยนศตวรรษ ประกอบไปด้วยภาพของมหากษัตริย์ ราชินี ภาพพระราชพิธีที่สำคัญ วัด วัง และความเป็นอยู่ของประชาชน ชีวิตริมน้ำ และภาพถนนหนทางในอดีต หนังสือและภาพถ่ายมีจำนวนรวมทั้ง หมด 286 รายการ

ในวันที่ 8 สิงหาคม เป็นการประมูลภาพเขียนโดยศิลปินไทย ซึ่งนำมาประมูลทั้งหมด 146 รายการ

ต้องยอมรับว่าเป็นความสามารถ ของผู้บริหารของคริสตี้ส์ที่สามารถติด ต่อหาหนังสือและภาพถ่ายโบราณมาได้ โดยได้มาจากนักสะสมชาวอเมริกันคนหนึ่งที่สะสมเรื่องราวต่างๆ ของประเทศไทยและประเทศต่างๆ ในภาคพื้นเอเชีย มาตลอดชีวิต และสุดท้ายเศรษฐีท่านนี้มีความคิดว่าน่าจะ ให้เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่ทรงคุณค่าเหล่านี้กลับสู่คนไทย

ส่วนภาพเขียนนั้นทางคริสตี้ส์ได้รับการติดต่อมาจากเจ้าของภาพส่วนหนึ่ง ที่ประสงค์จะเอาภาพออกมาประมูล รวมทั้งการเข้าไปสืบค้นภาพที่มีคุณค่าต่างๆ ด้วยตัวของผู้บริหารเอง และติด ต่อขอมาประมูล ซึ่งกว่าจะรวบรวมสินค้าทั้งหมดมาได้ต้องใช้เวลามากเช่นกัน ดังนั้นบริษัทจะสามารถจัดงานประมูลได้เพียงปีละ 1 ครั้งเท่านั้นเอง โดยครั้งต่อไปก็จะเป็นงานใหญ่อีกครั้งในปีค.ศ.2000

หนังสือที่ทำราคาสูงสุดได้แก่บันทึกการเดินทางเพื่อสำรวจประเทศต่างๆ ในแถบอินโดจีน ของ "การ์นิเยร์" ซึ่งพิมพ์ขึ้นในปารีสเป็นครั้งแรกในปีค.ศ.1873 โดยทำราคาได้ 1,265,000 บาทจากราคาประเมินที่วางไว้ ประมาณ 950,000-1,200,000 บาท

รองลงมาได้แก่ต้นฉบับการแปล The Great Jesuit Evangelist of Southeastern Asia ของนักบวช Alexandre de Rhodes ซึ่งเขียนขึ้นในศตวรรษ ที่ 18 จากภาษาละติน และภาษาญวนมาเป็นภาษาไทยที่เขียนด้วยลายมือ และมีประวัติศาสตร์การครอบครองโดยผู้มีชื่อเสียงหลายท่าน ราคาประเมินอยู่ที่ 750,000-1,000,000 บาท และทำราคาได้ที่ 747,500 บาท

ภาพถ่ายที่ทำราคาได้สูงสุดได้แก่ พระบรมสาทิสลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และพระมเหสี ซึ่งถูกประมูลไปที่ราคา 299,000 บาทจากราคาประเมิน 95,000-120,000 บาท

บรรยากาศในการประมูลวันแรก ไม่เป็นที่คึกคักนัก ได้รับความสนใจจากชาวไทยน้อยกว่าที่ควร จากจำนวนผู้ที่เข้าร่วมประมูลเกือบ 300 คนนั้นเป็น คนไทยประมาณ 30 คนเท่านั้น หนังสือ และภาพถ่ายสำคัญส่วนใหญ่จึงกลับไปอยู่ในมือของชาวต่างชาติอีกครั้ง

ผิดกับบรรยากาศในการประมูลวันที่ 2 ที่มีผู้เข้าร่วมประมูลจำนวนมาก รูปที่ทำราคาสูงสุดในวันนั้น ได้แก่ภาพ "หญิงสาวเปลือย" ของทวี นันทขว้าง เป็นภาพสีอะคริลิกบนผ้าใบขนาด 76x2122 ซม.ราคาประเมินอยู่ที่ 1.2-1.5 ล้านบาท แต่ถูกทำราคาได้ที่ 2,530,000 บาท

จุดเด่นของภาพนี้คาดกันว่าเป็นภาพผู้หญิงเปลือยภาพเดียวที่อาจารย์ทวีเขียนขึ้น งานนี้มีผู้ร่วมประมูลอย่างดุเดือด 4 รายและในที่สุด "วรวิทย์ โภคิน" เจ้าเก่าซึ่งเคยสร้างประวัติศาสตร์ ทำการประมูลผลงานชื่อ "ใบไผ่" ของอาจารย์ทวี ไปในราคา 2,877,000 บาท จากราคาประเมินเพียง 4 แสนบาท เมื่อคราวงานประมูลรูปของปรส.เมื่อปีที่ผ่านมา และเป็นราคาสูงสุดในงานนั้นเช่นกัน เป็นผู้คว้าเอาไป

ภาพ "ไก่ชน" เป็นภาพสีน้ำมันขนาด 118x176 ซม.ของถวัลย์ ดัชนี ก็เป็นอีกภาพหนึ่งที่ทำราคาได้สูงเป็นอันดับสองจากราคาประเมินที่ตั้งไว้ 600,000-700,000 บาท ไปปิดที่ราคา 2,070,000 บาท

ภาพนี้เป็นภาพที่ถวัลย์ได้มอบให้กับพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ สมัยที่ยังมีชีวิตอยู่ ในโอกาสขึ้นบ้านใหม่และพลเอกชาติชายได้นำภาพนี้ไปที่กรุงบัวโนสไอเรส และกรุงเวียนนาด้วยเมื่อท่านเป็นทูตประจำอยู่ที่ต่างประเทศ เป็นผลงานช่วงแรกๆ ของถวัลย์ที่ยังเต็มไปด้วยสีสัน เพราะงานยุคหลังของถวัลย์จะมีการลดสีใช้เพียงสีขาวดำเท่านั้น

อีกภาพหนึ่งที่ทำราคาได้สูงเกินความคาดหมายก็คือภาพ "พระบรมสาทิสลักษณ์ของรัชกาลที่ 3" เป็นภาพสีน้ำมันบนผ้าใบขนาด 42x32 ซม. ซึ่งวาดโดย พระสรลักษณ์ลิขิต ศิลปินในราชสำนักสมัยรัชกาลที่ 5 ผู้ซึ่งถือได้ว่าเป็นศิลปินที่วาดภาพเหมือนคนแรกของไทย ภาพนี้ไปปิดที่ราคา 1,265,000 บาท ในขณะที่ราคาประเมินเพียง 400,000-500,000 บาท

ผลงานของสุเชาว์ ศิษย์คเณศ ศิลปินผู้มีความโดดเด่นแต่เสียชีวิตเพราะความยากจนนั้น งานครั้งนี้มีภาพของท่านทั้งหมด 7 ภาพประมูลได้สูงกว่าราคาประเมินที่วางไว้ทั้งสิ้นโดยปิดอยู่ที่ราคาประมาณ 250,000-500,000 บาท

ภาพของเหม เวชกร ที่หาดูได้ไม่ง่ายนัก มีมาประมูลทั้งหมด 4 ภาพ แต่ราคาที่ได้ไม่สูงกว่าราคาประเมินมากนักราคาไปปิดอยู่ที่ 50,000-90,000 บาท

ส่วนภาพวาดสีน้ำมันบนผ้าใบใหญ่ขนาด 8 เมตร "แผ่นดินทอง" ของประเทือง เอมเจริญ ซึ่งตั้งราคาไว้สูงที่สุดคือ 2.5-3.5 ล้านบาท กลับพลิกล็อกมีผู้เสนอราคามาเพียง 1,900,000 บาท ซึ่งต่ำกว่าราคาที่ตั้งไว้ก็เลยต้องยกเลิกการประมูลไป

สรุปแล้วหนังสือทั้งหมดประมาณ 286 รายการนั้นมีการประมูลไปได้กว่า 90% ส่วนภาพวาด 146 รายการนั้นประมูลไปได้ 124 รายการ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us