Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2542
อภิพร-พจมาน ภาษวัธน์ ชีวิตครอบครัวยุคใหม่             
 


   
search resources

อภิพร ภาษวัธน์
พจมาน ภาษวัธน์




ในวันนี้ อภิพร และ พจมาน ภาษวัธน์ สองสามีภรรยาคู่นี้อยู่ในตำแหน่งของผู้บริหารระดับสูงของบริษัท ที่ทำงานอยู่ทั้งคู่ เป็นความสำเร็จของอาชีพการงานที่น่าภูมิใจยิ่ง

อภิพร วัย 51 ปี เขาเป็นผู้ช่วย ผู้จัดการใหญ่บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) และกรรมการใหญ่บริษัทเคมีภัณฑ์ซิเมนต์ จบการศึกษาปริญญาตรีเคมีวิศวกรรม คณะวิทยาศาสตร์ จุฬา ลงกรณ์มหาวิทยาลัย m.s.(Chemical Engineering) University of Wisconsin และ MBA (Production) University of Wisconsin

ส่วนพจมานมีอายุอ่อนกว่าเพียง 1 ปี หลังจากที่เธอศึกษาจบจากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลง-กรณ์มหาวิทยาลัยด้วยเกียรตินิยมอันดับ 2 แล้ว ได้ไปทำงานทางด้านบัญชีที่ Dole Thailand ประมาณ 2 ปี และได้ไปศึกษาต่อ MBA Idaho State University, Pocatello, Idaho

กลับมาได้มีโอกาสช่วยท่านผู้หญิงเลอศักดิ์ สมบัติศิริ ที่บริษัทนายเลิศจนมีการโอนรถเมล์ไปเป็นของรัฐวิสาหกิจจึงได้ลาออก เริ่มทำงานใหม่ที่บริษัท คาร์เนชั่น ดูแลทางด้านบัญชีและการเงิน จนกระทั่งในปี 2528 เนสท์เล่ ซื้อกิจการจึงโอนมาอยู่เนสท์เล่และได้มีโอกาสเปลี่ยนหน้าที่ความรับผิดชอบให้ดูแลทางด้าน Import-Export และเปลี่ยนไปอยู่ฝ่ายทรัพยากรบุคคล และล่าสุด ปัจจุบันเธอเป็นผู้อำนวยการฝ่าย Supply Chain Management ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สำคัญมากในปัจจุบัน

พจมาน เดิมนามสกุล สุทัศน์ ณ อยุธยา ราชสกุล "สุทัศน์" เป็นนาม สกุลที่สืบทอดมาจากรัชกาลที่ 1 คุณพ่อ เป็นหม่อมหลวง แต่อภิพรนั้นจะมีเชื้อเจ้าที่เข้มกว่าเพราะมีท่านแม่เป็นหม่อมเจ้า ซึ่งเป็นพระธิดาของกรมหมื่นวิวิธวรรณปรีชา ราชสกุล "จันทรทัต" ซึ่งสืบทอดมาตั้งแต่รัชกาลที่ 4 แต่เนื่องจากท่านแม่ มาสมรสกับคนธรรมดาผู้เป็นลูกเลยสูญเสียบรรดาศักดิ์ไป

หลังชีวิตการแต่งงานบ้านหลังแรกของอภิพรและพจมาน คือบ้านเดิมของฝ่ายหญิงในย่านอนุสาวรีย์ ที่ต้องขยับขยายย้ายออกมาเพราะทนความแอ อัดจอแจของการจราจร และมลภาวะ ที่ เป็นพิษที่เพิ่มขึ้นในย่านนั้นไม่ไหวบัง เอิญไปได้ที่ดินแปลงหนึ่งประมาณ 500 ตารางวาในซอยนวลน้อยบนถนนเอกมัย ซึ่งสมัยเมื่อ 20 กว่าปีก่อนจะดูร่มรื่นและ สงบเงียบกว่าทุกวันนี้มากนัก

ในที่ดินทั้งหมดนั้นมีบ้านของญาติพี่น้องอยู่ในบริเวณเดียวกัน ส่วนบ้านของอภิพรและพจมานแยกออกมาปลูกสร้างในบริเวณใกล้ๆ กันในเนื้อที่ประมาณ 200 ตารางวา ทุกวันนี้รอบๆ บ้านมีไม้ใหญ่ที่แผ่เงาร่มครึ้ม หน้าบ้านมีซุ้มดอกเล็บมือนางออกดอกขาว แดง ชมพู พรูพร่าง เช่นเดียวกับดอกละบาท สีม่วง ที่ทอดยอดพันพาดไปทั่ว ส่วนหลังบ้าน ยังมีสระน้ำที่ล้อมรอบไปด้วยสวนป่าธรรมชาติเพราะเจ้าของบ้านไม่มีเวลาตกแต่งมากนัก พลูด่าง ต้นบอน และว่านต้นเล็กๆ จึงแตกหน่อไปทั่ว ได้ยินเสียงจุ๊บจิ๊บของบรรดานกตัวเล็กๆ และกระรอกตัวน้อยๆ ก็ยังมีวิ่งผ่านบ้าง บางครั้ง

ทั้งคู่ใช้ชีวิตอยู่ที่บ้านหลังนี้ จนกระทั่งมีลูกสาว 2 คน และเมื่อเวลาผ่าน ไปประมาณ 10 กว่าปี ตำแหน่งหน้าที่การงานที่มั่นคงขึ้น ประกอบกับเมื่อมีเวลาว่าง หรือวันหยุดหากไม่ได้ไปเที่ยวต่างประเทศ คนทั้งคู่ซึ่งชอบอะไรคล้ายๆ กันก็จะขึ้นไปเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ เพราะติดใจในอากาศที่เย็นสบาย งานไม้งานทอผ้าและงานหัตถกรรมของคนพื้นบ้าน รวมทั้งอัธยาศัยของคนทางเหนือ ก็เลยมีความคิดที่จะมีบ้านอีกหลังที่ เชียงใหม่ไว้พักผ่อน นับเป็นบ้านหลังที่ 2 หลังชีวิตแต่งงาน โดยจะหาโอกาสไปพักปีละ 4-5 ครั้งมาตลอด และมุ่งหวังไว้ว่าวันหนึ่งเมื่อรีไทร์จากหน้าที่การงานแล้วจะไปใช้ชีวิตที่นั่นให้ได้

และเมื่อประมาณปี 2537-2538 ในช่วงที่เศรษฐกิจบูมสุดขีด อภิพรและพจมาน ยังได้ไปพัฒนาบ้านเก่าหลังหนึ่ง ของครอบครัวที่หัวหิน สร้างเป็นคอนโด มิเนียมตากอากาศขายให้กับญาติๆ และ เพื่อนฝูง โดยมี นิธิ สถาปิตานนท์ จาก บริษัทสถาปนิก A.49 เป็นผู้เขียนแบบโครงการและร่วมลงทุนด้วย จากบ้านไม้ เก่าๆ ที่มีอายุมากกว่าอายุของพจมานเอง เปลี่ยนเป็นคอนโดมิเนียมหรู "บ้านชูทัศน์" ซึ่งแบ่งย่อยออกเป็น 33 ยูนิต และขณะนี้ขายไปได้เกือบหมดแล้วเหลือ เพียง 1 ยูนิตเท่านั้น และ 1 ยูนิต นั้นคือบ้านพักผ่อนในวันว่างอีกแห่งหนึ่ง ของคนในครอบครัวนี้

พร้อมๆ กับเม็ดเงินของผลกำไรที่ได้จากการทำโครงการครั้งนั้น ประกอบ กับการเดินทางจากบ้านที่เอกมัยมาทำงานบนตึกโซโก้บนถนนเพลินจิต หรือสำนักงานใหญ่ของปูนใหญ่ที่บางซื่อ ต้องผจญกับภาวะการจราจรที่ติดขัดมากขึ้นทุกที ในขณะที่ตำแหน่งหน้าที่ของคนทั้งคู่สูงขึ้น ต้องใช้เวลาทำงานเพิ่ม ขึ้น การหาซื้อบ้านอีกหลังหนึ่งใจกลางเมืองจึงเป็นทางเลือกที่ค่อนข้างลงตัว

บ้านสมถวิล คอนโดมิเนียม ในซอยมหาดเล็กหลวง ถนนราชดำริ คือบ้านหลังที่ 2 ในกรุงเทพฯ ที่คนทั้งคู่เลือก บ้านหลังนี้ใกล้กับที่ทำงานของพจมาน มาก เธอเล่าว่าบางวันอากาศดีๆ ใช้วิธีเดินมาทำงานได้ด้วยซ้ำไป และสามารถเริ่มชีวิตการทำงานตั้งแต่เช้า เลิกงานประมาณ 1-2 ทุ่มด้วยความสะดวกสบายขึ้น อภิพรเองก็สามารถไปทำงานได้ในเวลาไม่เกิน 7 โมงเช้าของทุกวัน และหากวันไหนไม่มีงานเลี้ยง ก็ยังมีเวลาเล่นกีฬาหรือจ๊อกกิ้งได้ที่บริษัท โดย ถึงบ้านไม่ดึกนัก

ดังนั้นในช่วงประมาณ 3 ปีที่ผ่านมาจึงใช้เวลาส่วนใหญ่วันจันทร์ถึงวันศุกร์ที่บ้านหลังนี้ วันหยุดสุดสัปดาห์ถึงจะมีเวลาไปพักที่บ้านเอกมัย แต่นั่นหมายถึงว่าต้องเป็นสัปดาห์ที่พจมานไม่ต้องไปทำงานพิเศษในวันเสาร์ หรือ อภิพรไม่ติดก๊วนเล่นกอล์ฟที่ไหน

ส่วนลูกสาวที่ เรียนเก่งทั้งคู่คือพจพรและวรพรวันนี้ไม่ได้อยู่ในเมืองไทย คนแรกหลังจากเรียนจบคณะบัญชีจากจุฬาฯ ตามแบบผู้เป็นแม่ ปัจจุบันศึกษาต่ออยู่ที่มหาวิทยาลัยโคราโด ส่วนคนที่ 2 เรียนปี 3 ที่คณะวิทยาศาสตร์ ด้านเคมีเหมือนพ่อ และเมื่อเดือนกันยายนปี 2541 ได้ทุนไปเรียนปี 3 ที่มหาวิทยาลัยวอชิงตัน และจะกลับมาเรียนปี 4 ต่อในเดือนตุลาคมปีนี้

วันนี้บ้านที่เอกมัยก็เลยยิ่งเงียบ เหงามีเพียงคุณแม่ของพจมานและญาติๆ เท่านั้น เมื่อไหร่ที่ลูกสาวกลับมาจะพักอยู่ที่บ้านหลังนั้น กิจกรรมของคนในครอบครัวจึงจะคึกคักขึ้นมาอีกครั้งในบรรยากาศของบ้านหลังแรกหลังเดิม

ก้าวแรกที่ "ผู้จัดการ" ได้มีโอกาสเข้าไปสัมผัสกับบรรยากาศในคอนโดของคนทั้งคู่ดูราวกับว่าได้เข้าไปอยู่ในพิพิธภัณฑ์เล็กๆ สักแห่งหนึ่ง เพราะเต็มไปด้วยของสะสมมากมายที่ได้รับการจัดวางแบ่งเป็นหมวดหมู่อย่างสวยงามกลมกลืน เพียงแต่ว่าเจ้าของไม่ได้จดทะเบียนบันทึกถึงที่มาวันเดือนปี และราคาของที่ซื้อมาเท่านั้น

ด้วยบทบาทและภาระหน้าที่ของงานประจำทำให้ต้องเดินทางท่องเที่ยวอยู่บ่อยๆ อภิพรเล่าว่าในแต่ละปีจะเดินทางไปต่างประเทศประมาณ 7-8 ครั้ง ทั้งเรื่องงานและเที่ยวส่วนตัว ประกอบ กับความที่มีใจรัก และหลงใหลในสิ่ง ของบางอย่าง คอนโดพื้นที่ 135 ตารางเมตรหลังนี้เต็มไปด้วยของสะสมต่างๆ เต็มไปหมด

และยังไม่แค่นั้นยังเผื่อแผ่ไปตกแต่งบ้านที่เอกมัย บ้าน "ชูทัศน์" บ้านพักผ่อนที่เชียงใหม่ รวมทั้งคอนโดให้เช่าที่สมคิดการ์เด้นท์ที่ว่ากันว่าแต่งสวยเสียจนคนต้องเข้าคิวจองด้วย

ของที่นำมาจัดวางโชว์ไว้ในห้องบ่งบอกรสนิยมของผู้สะสมได้เป็นอย่างดี เป็นสื่อที่ดีในการเริ่มต้นสนทนาเพราะการได้กล่าวถึงที่มาของของที่ตนรักนั้นเป็นความสุข และความภูมิใจอย่างหนึ่ง

สิ่งที่อภิพรชอบมากเป็นพิเศษดูเหมือนจะเป็นจานของชาวดัตช์ บรรดา ถ้วย ชาม จานเหล่านั้นส่วนใหญ่จะได้มาจากประเทศอินโดนีเซีย เพราะเมื่อปูนใหญ่มีกิจการอยู่ที่อินโดนีเซียด้วยบางช่วงเวลาจึงต้องเดินทางไปบ่อยมาก

"ผมชอบเพราะลายแปลกดีราคา ไม่แพง ประกอบกับเคยมีเพื่อนเก่าเป็น ผู้ว่าที่จังหวัดปัตตานี ซึ่งมีของประเภทนี้เยอะมาก ก็เลยฝากให้เพื่อนซื้อ ซึ่งต่อมาภายหลังชาวบ้านรู้ว่าท่านผู้ว่าจะซื้อก็มาฝากขายกันยกใหญ่ ตอนนี้เพื่อน คนนี้เขาก็เลยสะสมจานชามเหมือนผมไปเลย"

แต่ถ้ามีโอกาสไปท่องเที่ยวตามเมืองในประเทศยุโรป ของที่มักจะได้ติดไม้ติดมือมาประดับบ้านคือพวกรูปภาพ และรูปแผนที่เก่าของเมืองไทยที่อาจจะได้จากริมถนนทางเดิน ร้านขายของเก่า หรือแม้แต่ขวดยาเก่าๆ ที่ขายตามข้างทางในประเทศนิวซีแลนด์ ซึ่งหลายคนอาจจะแค่มองแล้วผ่านไป อภิพรก็ยังมองเห็นลึกซึ้งไปยังความสวยงามและจับจ่ายมาประดับตกแต่งบ้านจนได้

ส่วนของสะสมในเมืองไทยที่ชื่นชอบเป็นพิเศษจะเป็นพวกไม้เก่าๆ ซึ่งจะเป็นเครื่องเรือนชิ้นใหญ่ๆ เช่น โต๊ะ ตู้ ตั่ง เตียง หรือแม้แต่ของกระจุกกระจิกเล็กๆ เช่น เชี่ยนหมาก คนโท กาน้ำ ถาด หรือแม้แต่เตารีดผ้าสมัยโบราณ อภิพรก็ยังหอบหิ้วกลับมาจากแม่สาย

ลำพังอภิพรคนเดียวชอบซื้อของสะสมก็มากมายพอดูแล้ว บังเอิญพจมานก็ยังชอบสะสมด้วยเช่นกันเพียงแต่ของสะสมของเธอ มักเน้นไปยังของชิ้นเล็กๆ ที่กระจุกกระจิกดูสวยงามอ่อนหวานเสียมากกว่า สิ่งที่เป็นพิเศษหน่อยก็คือ ชุดน้ำชาลวดลายดอกไม้ดอกเล็กๆ สีหวานๆ โดยเฉพาะลายกุหลาบนั้นจะปลื้มเป็นพิเศษ

แม้ไม่ได้ศึกษาลึกซึ้งถึงที่มาของของสะสมที่เป็นชุดน้ำชา และเครื่องกระเบื้อง แต่เธอก็จะใช้เวลาเลือกนานมากเพื่อให้ได้เนื้อกระเบื้องที่มีคุณภาพดี

ผ้าไหม ผ้าไทย เป็นของสะสม อีกชิ้นหนึ่ง ที่กำลังทยอยเพิ่มขึ้นตามวันเวลาที่ผ่านไป นอกจากจะได้มาจากเมือง เชียงใหม่ เชียงราย หรือจังหวัดแถบอีสานแล้ว ร้าน "ตำนาน" ที่อาคารธนิยะ บนถนนสีลมก็เป็นแหล่งหนึ่งที่ไปเลือกซื้อหาเป็นประจำ และนอกจากเอามานุ่งมาสวมใส่ได้ในหลายโอกาสแล้ว ส่วนหนึ่งเธอยังเอามาพันพาดตกแต่งบ้านได้ด้วยอย่างสวยงาม และแปลกตาอีกด้วย

แม้ว่าภาระหน้าที่ของตำแหน่งของคนทั้งคู่จะหนักแค่ไหน แต่เมื่อได้กลับมาถึงบ้าน มีเวลาได้ชื่นชมของต่างๆ ที่เลือกซื้อมา หรือเพียงได้อยู่ท่ามกลาง สิ่งของที่ตัวเองรัก ก็ดูราวกับว่าเป็น การเพิ่มพลังให้ชีวิตมีความสุขได้แล้วเช่นกัน น้ำเสียงของคนทั้งคู่ที่เล่าถึงของชิ้นโปรดบ่งบอกกับ "ผู้จัดการ" อย่างนั้น

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us