Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2542
วรวรรณ ธาราภูมิ กับกองทุนรวมอสังหาฯ             
 


   
search resources

ไทยเอเชีย, บลจ.
วรวรรณ ธาราภูมิ




ในบรรดากองทุนรวมใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงหลัง ดูเหมือนประเภทที่ทำกันมากคือกองทุนรวมอสังหาริม ทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (ประเภท 2) ที่มีการยื่นขอกันมาก แต่เพิ่งเปิดดำเนินการจริงๆ ได้ไม่กี่กอง และตอนนี้ก็หมดเวลาอนุญาตให้ยื่นขอเปิดไปแล้ว โดยมีผู้ยื่นอนุญาตขอเปิดจำนวนมากกอง ขณะที่มีกองที่เปิดและดำเนินการไปแล้วจำนวน 4 กอง

กองทุนรวมอสังหาฯ ประเภท 2 นี้อนุญาตให้จัดตั้งเพื่อไปซื้อสินทรัพย์ ปรส.มาบริหาร ซึ่งรายที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดดูเหมือนจะเป็นกองทุนรวม โกลบอลไทย พร็อพเพอร์ตี้ ฟันด์ บริหารโดยบลจ.วรรณ อินเวสเมนท์ โดยผู้ลงทุนคือบริษัทเลห์แมน บรา-เธอร์ส และกองทุนรวมสตาร์วูดไทยแลนด์พร็อพเพอร์ตี้ 1 บริหารโดย บลจ. วรรณฯ เจ้าเดิม และลงทุนโดยกลุ่มบริษัทสตาร์วูด และบริษัท แสนสิริ

กองทุนรวมรูปแบบนี้มีข้อกำหนดให้ขายในลักษณะ private placement หรือขายให้แก่กลุ่มนักลง ทุนเฉพาะเจาะจง ซึ่งหากผู้ถือหน่วยลงทุนไม่ประสงค์จะเปิดเผยข้อมูลการถือหน่วยลงทุนแล้ว สาธารณชนจะไม่มีทางทราบเด็ดขาดว่าใครเป็นผู้ถือหน่วยลงทุนเหล่านี้ แม้สินทรัพย์ที่ลงทุนนั้นจะเป็นโครงการอสังหาริมทรัพย์ในไทยก็ตาม

วรวรรณ ธาราภูมิ กรรมการผู้จัดการ บลจ.ไทยเอเชียให้ความเห็นเกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุนรวมในลักษณะ พิเศษแบบนี้ ซึ่งมีช่วงเวลาให้ขออนุญาต เปิดแค่ปีเดียว (25 พ.ค. 2541-25 พ.ค. 2542) หรือเธอเรียกว่าช่วง happy hour ว่ากองทุนแบบนี้นอกจากจะช่วยประเทศชาติตามความเห็นของทางการแล้ว ยังมีส่วนช่วยอุตสาหกรรมกองทุนรวม (mutual fund industry) โดยรวมด้วย เป็นกิจกรรมที่ช่วยพยุงให้กองทุนรวมดำเนินธุรกิจต่อไปได้อีกพักหนึ่ง นอกเหนือไปจากการที่ไม่สามารถออกหน่วยลงทุนปกติมาขายได้

"กองทุนพวกนี้เป็นกองทุนปิด เมื่ออุตสาหกรรมเรายังไม่สามารถขยายได้มากมายในช่วงนี้ สิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่จะหล่อเลี้ยงชีวิตเราได้ ไม่อย่างนั้นกองทุนเรามีแต่ไหลออกกัน สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้เราผ่านพ้นได้อย่างน้อยก็ช่วงสัก 3-5 ปีไปได้ แต่มันจะเกิดจริงหรือไม่ ขึ้นอยู่กับว่าคนที่ลงทุนเขาหาเงินมาได้หรือไม่ ระดมทุนได้ไหม และเขาซื้อสินทรัพย์ได้ไหม"

โอกาสที่จะจัดตั้งกองทุนอสังหาฯ ประเภท 2 ได้สำเร็จ หรือแม้แต่กอง อสังหาฯ อีก 2 ประเภทคือ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์(ประเภท 1) และกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (ประเภท 3 ) ปัจจัยสำคัญอยู่ที่ ราคาซื้อขายสินทรัพย์ที่ตอนนี้ยังไม่มีราคากลางมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับกันสักเท่าใด ต้องอาศัยการเจรจาต่อรองกันเอาเอง

โอกาสที่จะตั้งกองทุนได้สำเร็จเป็นเรื่องยาก นอกจากเรื่องราคาซื้อขายสินทรัพย์ที่เป็นประเด็นอุปสรรคสำคัญแล้ว การแข่งขันในการจัดตั้งกองทุนประเภทนี้ยังเข้มข้นดุเดือดมากในหมู่บลจ. ในประเด็นเรื่องค่าธรรมเนียมการบริหาร

"การแข่งขันในอุตสาหกรรมนี้มีมาก ค่าธรรมเนียมการบริหารกองทุนพวกนี้กลายเป็นราคาต่ำมาก ทุกเจ้าเลย 0.1% ยังมีเลย บางเจ้าเสนอ 2 ล้านบาทต่อปี ไม่ว่าขนาดกองทุนจะเล็กใหญ่เพียงใด เหตุผลมีประการเดียวคือเพื่อให้ได้งาน" ซึ่งเหตุผลข้อนี้วรวรรณมองว่า "มันแย่มาก"

นักลงทุนต่างชาติมองว่าการครอบครองสินทรัพย์ในประเทศผ่านการ ตั้งกองทุน เป็นเสมือนการที่บลจ.ให้เช่าใบอนุญาตกองทุนรวม เพราะผู้บริหารสินทรัพย์ที่อยู่ในกองทุนก็คือผู้ถือหน่วย ลงทุนซึ่งก็คือนักลงทุนต่างชาตินั่นเอง

แต่วรวรรณมองว่า "หากเป็นการ เช่าใบอนุญาตจริง ต้องมีมูลค่ามากกว่านี้แน่เพราะเราต้อง contribute ทั้งหมด เหมือนกัน เพราะความเสี่ยงของเรามันผูกกองทุนเหล่านี้ด้วย มีปัญหาอะไร บลจ.ตายก่อนที่จะถึงผู้ถือหน่วยหรือนักลงทุนต่างชาติ"

วรวรรณมองค่าธรรมเนียมการบริหารกองทุนเหล่านี้ควรจะเรียกได้สูงกว่าที่เป็นอยู่ น่าจะเรียกได้ถึง 1%-2% เพราะกองทุนประเภทนี้ได้รับแรงจูงใจสนับสนุนมากในเรื่องภาษี เช่นได้รับส่วนลดทางภาษีในเรื่องการโอนทรัพย์สิน และภาษี capital gain tax เป็นต้น

ในส่วนของบลจ.ไทยเอเชียนั้นมีการยื่นขออนุญาตจัดตั้งกองทุนอสังหาฯ ประเภท 2 เช่นกัน คาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ในเร็วๆ นี้ แต่สิ่งที่วรวรรณอยากทำมากกว่าและเธอพยายามทดสอบตลาดอยู่คือการตั้งกองทุนรวมอสังหา ริมทรัพย์(ประเภท 1) ซึ่งขายให้กับประชาชนทั่วไป (public offering) ซึ่งมีข้อกำหนดว่าต้องมีมูลค่ากองทุน 500 ล้านบาทและมีผู้ถือหน่วย 250 รายขึ้นไป เธอกำลังทดสอบว่าจะมีรายย่อยถือหน่วยลงทุนได้ถึง 250 รายหรือไม่

เธอให้เหตุผลที่อยากจะทำกองทุนนี้ว่า "รู้สึกเสียดายสินทรัพย์ราคาถูกที่ในที่สุดก็ต้องตกไปอยู่ในมือนักลงทุนต่างชาติหมด ลำพังเราตัวคนเดียวคงไม่มีปัญญาซื้อตึกทั้งหลังได้แน่ แต่ถ้าเป็นกองทุนก็สามารถทำได้ และนี่เป็นโอกาสสุดท้ายที่เราจะมีโอกาสเป็นเจ้าของ asset ราคาถูกได้"

อาจจะมีผู้ซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนประเภทนี้ของวรวรรณได้มากกว่า 250 ราย แต่ปัญหาคือความเสี่ยงของกองทุนนี้คือเรื่องการบริหารสินทรัพย์ที่ซื้อมา เพราะหากหาคนเช่าอาคารไม่ได้ กองทุนก็จะไม่มีรายได้ประจำ หรืออาจจะมีน้อยเพราะอัตราการเช่าไม่เต็มพื้นที่ นอกจากนี้ผลตอบแทนการลงทุนอาจจะไม่เท่าอัตราเงินฝาก แม้ดอกเบี้ยเงินฝากในยามนี้จะลดลงอย่างมากก็ตาม นั่นเท่ากับกองทุนประเภทนี้ก็มีความเสี่ยง สูงมาก

อย่างไรก็ดี วรวรรณคิดจะทำโครงการกองทุนแบบนี้กับอสังหาริม ทรัพย์ของธนาคารเอเชียที่เป็นผู้ถือหุ้นรายหนึ่งของบลจ. เพราะตึกสาขาของธนาคารนั้นมีผู้เช่าชัดเจน และผู้ลงทุนหรือผู้ถือหน่วยกองทุนก็จะพอใจว่าตนเป็นเจ้าของตึกสาขาของแบงก์ แต่ประ-เด็นนี้ก็ยังต้องลงไปดูในรายละเอียดอีกมาก "ต้องดูว่าใครเป็นเจ้าของ แบงก์เอง หรือบริษัทในเครือ และต้องดูในแง่ข้อดีข้อเสียในการลงบัญชีของแบงก์ซึ่งหากไม่มีปัญหาอะไร ก็คาดว่าเราจะตั้งกองทุนเพื่อลงทุนในแอสเซทของแบงก์ ให้คนอื่นเข้ามาถือ อย่างน้อยแบงก์ก็มีลูกค้าที่มีรอยัลตี้กับเขา ไม่ใช่แค่ผู้ถือหุ้นแบงก์ แต่เป็นเจ้าของแบงก์ เจ้าของตึก"

กองทุนอสังหาฯ สำหรับลูกค้ารายย่อยเป็นความสนใจของวรวรรณที่กำลังศึกษาลู่ทางความเป็นไปได้ว่า จะสามารถจัดตั้งได้หรือไม่ในครึ่งปีหลังนี้ นอกจากนี้เธอก็มองการจัดตั้งกองทุนที่ลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน โดยกำลังพิจารณาออกเป็นซีรี่ส์ ต่างไปจากสมัยก่อนที่มีการออกกองทุนในลักษณะเดียวกัน แต่ชื่อต่างกันเพราะทำกับผู้ถือหุ้นหลายๆ กลุ่ม แต่ต่อไปเธอต้องการปรับเปลี่ยน ให้เป็นกองที่ลงทุนในสินทรัพย์แตกต่างกันไป และมีความเสี่ยงในระดับต่างๆ กันเพื่อลูกค้าจะได้เลือกลงทุนตามความพอใจ เช่น equity fund, bond fund, money market fund และ guaranty fund เป็นต้น

ทั้งนี้บลจ.ไทยเอเชียได้ปรับเปลี่ยนนโยบายการบริหารกองทุนและการดำเนินงาน ให้สอดคล้องกับแนวทางของแบงก์เอเชียที่มีการปรับเปลี่ยนผู้ถือหุ้นใหญ่มาเป็นธนาคาร เอบีเอ็น แอมโร โดยเฉพาะการเข้ามาอิงกับฐานลูกค้าราย ย่อยของแบงก์และใช้สาขาของแบงก์เป็นช่องทางการขายหน่วยลงทุนมากขึ้น

เมื่อเปลี่ยนแนวทางการจัดตั้งกองทุนไปแล้ว กองทุนเดิมๆ ที่เปิดอยู่จะมีอนาคตอย่างไร วรวรรณเฉลยว่าที่ผ่านมาไทยเอเชียเคยปิดกองทุนไปบ้าง แต่ไม่ได้มีปัญหาเรื่องการ liquidate asset หรือถูก redeem จำนวนมากแต่อย่างใด แต่ที่ปิดไปนั้นวรวรรณขอปิดเอง เพราะเห็นว่ากองมีมูลค่าต่ำ และสปอนเซอร์รายใหญ่ของกองก็อยู่ใน FRA ไปแล้ว

"เราก็บอกปรส.ว่ามีรายย่อยถืออยู่ ตราสารหนี้ที่ค้างอยู่นั้น liquidate ไม่ออก ถ้าออกก็ราคาต่ำมาก เราก็ให้เขาเอาไปบริหารเอง ก.ล.ต.และปรส.ตก ลง เราก็แจ้งรายย่อยด้วยข้อมูลเดียวกัน ให้เขาตัดสินใจว่าจะเลิกหรือไม่ ที่เลิกไปก็มีรายย่อยประมาณ 3,000-4,000 รายเราก็ redeem ให้เขาไป ส่วนตราสารหนี้เราไม่ขาย ก็คืนให้ปรส.ซึ่งเป็นผู้ถือหน่วยรายสุดท้าย เพื่อเอาไปคลุกขายกับอันอื่น แต่บางกองตราสารหนี้เราไม่ได้ขายคืนให้ปรส. เพราะเราเห็นว่ามีทางบริหารได้ แต่ให้กองนั้นเลิก ไปก่อน ลูกค้าทุกรายได้เงินสดคืนไปแล้ว เท่าที่เราชำระได้ ส่วนที่เหลือให้เขารอโดยเราไม่ได้คิดค่าธรรมเนียมอะไรเลยในระหว่างนี้"

ดังนั้นกองที่เหลืออยู่ในเวลานี้ วรวรรณคิดว่าน่าจะไปได้ ส่วนกองปิดที่ ยังมีอยู่บ้างนั้น เมื่อครบกำหนด วร-วรรณมีนโยบายคืนเงินให้ผู้ถือหน่วย ไม่เปลี่ยนเป็นกองเปิด

"ลูกค้าของบลจ.ไทยเอเชียตอนนี้ รายย่อยเดิมมีสองหมื่นกว่าราย ลดลงเหลือหมื่นห้าพันถึงหมื่นเจ็ดพันราย เทียบกับทั้งอุตสาหกรรมอยู่ที่ประมาณเจ็ดแสนราย เรามีรายย่อยน้อย แต่เราได้จากลูกค้ารายใหญ่ พวกสถาบัน ซึ่งเราก็ต้องขยายฐานรายย่อยออกไปอีก"

เธอสรุปบทเรียนที่ผ่านมาจากวิกฤตสถาบันการเงินว่า "ตอนนี้เราเริ่มเดินหน้าในทางที่ถูกบ้างแล้ว กองที่เหลือ อยู่ก็ไปเรื่อยๆ เพิ่มบ้างลดบ้าง คนยังคิดว่าเป็นการเข้ามาเก็งกำไรหรือถือเหมือนเป็นเงินฝาก ไม่ได้คิดว่ากองทุน เหมาะสำหรับการลงทุนระยะยาว ซึ่งก็แสดงว่าเราบกพร่อง เราไม่มีกองทุนระยะสั้นให้นักลงทุนแบบนี้เข้ามาหมุน พอพวกเขาขายหน่วยลงทุนมากๆ เราก็ถูกกดดันให้เข้าไปขายในราคาต่ำด้วย คือเราไม่มีสินค้าที่จะเข้าไปรับความต้องการของพวกนี้ นี่คือบทเรียนของเรา"

เธอหวังว่าแนวทางที่จะดำเนินต่อไปจะช่วยให้กิจกรรมของบลจ.ไทยเอเชียเข้ารูปเข้ารอยมากขึ้น ซึ่งผู้ถือหุ้น ก็มองว่าอุตสาหกรรมนี้จะไปได้ดีมากในอนาคตเช่นกัน และจะกินส่วนแบ่งตลาดของแบงก์เข้ามามาก

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us