Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2542
แบงก์ชาติแนะนำบริหารเงินส่วนบุคคล             
 


   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
ดวงมณี วงศ์ประทีป




หากเป็นสมัยก่อนที่เศรษฐกิจเจริญรุ่งเรืองและตลาดหุ้นก็ดีวันดีคืนนั้น คำพูดที่ว่า "คนจนเล่นหวย คนรวยเล่นหุ้น" เป็นคำพูดคุ้นหู ครั้นเศรษฐกิจฟุบ คนรวยมีจำนวนลดน้อยลง แน่นอนว่ามีคนหันมาเล่นหวยมากขึ้น

ในช่วงที่เศรษฐกิจเติบโตมากนั้น ผลกระทบในแง่ลบที่เกิดตามมาอย่างรุนแรงประการหนึ่งคือการออมภาคครัวเรือน ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญที่สุดในการออมรวมของประเทศมีแนวโน้มลดลงกว่าเท่าตัว จนมีขนาดการออมน้อยที่สุดในปัจจุบัน คือสัดส่วนต่อการออมรวมลดลงจากร้อยละ 45.0 ในปี 2530 เหลือร้อยละ 22.4 ในปี 2539 และหากเทียบสัดส่วนของการออมต่อ GDP ปรากฏว่ามีแนวโน้มลดลงจากร้อยละ 12.4 เหลือร้อยละ 7.6 ในปัจจุบัน

สาเหตุสำคัญที่ตัวเลขนี้เปลี่ยน แปลงไปในทางลบเนื่องมากจากพฤติ กรรมการบริโภคของครัวเรือนมีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่มีการบริโภค เพิ่มขึ้นมากกว่าการออม โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีการเลียนแบบการบริโภคสินค้า ฟุ่มเฟือยที่เกินความจำเป็น

ส่วนการออมรวมของประเทศนั้น คณะกรรมการรณรงค์ระดมเงินออม ธนาคารแห่งประเทศไทยเปิดเผยตัวเลขว่ามีสัดส่วนต่อ GDP เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 27.3 ในปี 2530 มาเป็นร้อยละ 33.1 ในปี 2539 ซึ่งมีขนาดสูงกว่าหลายประ-เทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เยอรมนี อังกฤษ ออสเตรเลีย

แต่การเพิ่มขึ้นของการออมดังกล่าวก็ยังช้ากว่าการขยายตัวของการลงทุน ส่งผลให้ช่องว่างของการออมและการลงทุนซึ่งสะท้อนออกมา ในรูปของการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเทียบเป็นสัดส่วนต่อ GDP ขยายตัวเพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 0.6 เป็นร้อยละ 7.9 ในช่วงระยะ เวลาดังกล่าว จึงทำให้ไทยต้องพึ่งพาเงิน ลงทุนจากต่างประเทศ และก่อให้เกิดภาระหนี้โดยเฉพาะภาคเอกชน

การพึ่งพิงเงินทุนจากต่างประเทศ เป็นมูลเหตุประการหนึ่งที่ทำให้เศรษฐกิจ ไทยเติบโตเป็นแบบ "ฟองสบู่" และประสบภาวะแตกสลายในที่สุดนั้น เมื่อหันมาดูต้นเหตุในเรื่องของการออมแล้ว รัฐบาลจึงเห็นว่าจำเป็นที่จะต้องแก้ปัญหา ตรงจุดนี้ด้วยการรณรงค์ให้ประชาชนเห็น ความสำคัญของการออม โดยกำหนดเป็นนโยบายและแนวทางในการส่งเสริมและเร่งระดมเงินออมอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้รัฐบาลได้จัดตั้งคณะกรรม การรณรงค์ระดมเงินออมขึ้นชุดหนึ่ง มี ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นประธาน และได้กำหนดให้วันที่ 31 ตุลาคมของทุกปีเป็น "วันออมแห่งชาติ" ซึ่งปี 2542 นี้จะเป็นปีแรกที่มีการจัดกิจกรรมการออมขึ้นในสถาบันการเงินต่างๆ โดยเฉพาะในส่วนของราชการ

ดวงมณี วงศ์ประทีป ผู้อำนวยการ สำนักผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประ-เทศไทย กล่าวว่า "แบงก์ชาติจะมีการจัดงานวันออมแห่งชาติขึ้น 2 วันคือ 30-31 ตุลาคม" จะมีการจัดนิทรรศการให้ความรู้แก่ประชาชน"

การออมก็คือการใช้จ่ายอย่างฉลาดมีแบบแผน หรืออาจจะเรียกตามนิยมการบริหารว่าการบริหารเงินส่วนบุคคลก็ได้ รัฐบาลประกาศใช้นโยบายนี้ตั้งแต่ปี 2540 แต่ครั้นปี 2542 รัฐบาลอาจปรารถนาให้คนใช้จ่ายมากขึ้นเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัว และต้อง การเม็ดเงินมาอัดฉีดมากขึ้น แต่คนทั่วไปก็คงไม่ใช้จ่ายกันมากนัก เพราะคงจะ รอดูสถานการณ์การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ว่าจะเป็นจริงหรือไม่ นักเศรษฐศาสตร์ที่ปรึกษารัฐบาลบางท่านออกมาอธิบายเหตุผลว่าทำไมคนไทยไม่เชื่อว่าเศรษฐกิจ ไทยฟื้นตัวแล้ว ขณะที่ฝรั่งก็ไม่เข้าใจว่าคนไทยไม่เชื่อทั้งที่ดัชนีตัวเลขสำคัญทางเศรษฐกิจบ่งบอกเช่นนั้น สถาบันวิเคราะห์เศรษฐกิจของต่างชาติทั้งหลาย ต่างประกาศปรับตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยเพิ่มขึ้น

แม้จะมีข้อถกเถียงกันดังกล่าว แต่หน่วยงานที่รับนโยบายรัฐบาลมาดำเนินการก็คงเดินหน้าต่อไป ธนาคารแห่งประเทศไทยได้จัดทำเอกสารคู่มือการออมเงิน รวมทั้งสมุดบันทึกรับ-จ่ายประจำครอบครัว สมุดบันทึกรับ-จ่ายของเด็กนักเรียน กระปุกออมสิน และโปสเตอร์

ในเอกสารคู่มือการออมนั้น มีตารางที่น่าสนใจเกี่ยวกับรูปแบบการออม ซึ่งปรากฏว่าในการสำรวจครัวเรือนพบว่า การออมส่วนใหญ่ยังคงอยู่ในรูปเงินฝาก ธนาคาร และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นด้วย (ในปี 2541) แม้ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนจากการฝากเงินจะลดต่ำลงมาก แต่คาดว่าเงินออมส่วนมากก็ยังคงอยู่ โดยอาจจะอยู่ในรูปการซื้อหุ้น กู้แบบพิเศษ (ได้แก่ Slips และ Caps)

การฝากเงินกับสหกรณ์ การซื้อ กรมธรรม์ประกันชีวิต ซื้อพันธบัตรรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ ก็ถือเป็นการออม ขณะที่การซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวม การลงทุนโดยผ่านการจัดตั้งกองทุนส่วนบุคคล และการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ก็อยู่ในนิยามความหมายเรื่องการออมได้เหมือนกัน

ในสมุดบันทึก รับ-จ่ายประจำครอบครัวนั้น ได้มีการสอดแทรกการบริหารเงินส่วนบุคคล ด้วยการลงบันทึกการวางแผนการใช้จ่ายอย่างระมัดระวังและเป็นระบบ มีตารางบันทึกการฝากเงินกับสถาบันการเงินและการออมด้วยการซื้อหลักทรัพย์ นอกจากนี้ยังมีแบบประเมินการประหยัดและการออมอย่างง่ายๆ แนะนำไว้อีกด้วย

ถือว่าเป็นคำแนะนำที่มีประโยชน์ อย่างยิ่งในยามที่ชีวิตควรให้ความสำคัญ กับการออมเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us