Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2542
แปลงสัมปทาน งานนี้ไม่มีเฮ             
 


   
search resources

Telecommunications




หลังรอคอยมานานในที่สุดกรอบที่ใช้ในแปลงสัมปทานสื่อสารโทรคมนาคม ที่ทีดีอาร์ไอรับเอาไปศึกษาก็ได้ข้อสรุปออกมา ซึ่งจะกลายเป็น "กติกา" ที่จะให้หน่วยงานรัฐและเอกชนคู่สัญญาต้องนำไปปฏิบัติตาม

การแปลงสัมปทานเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการในการเปิดเสรีโทรคมนาคม ที่รัฐบาลจำเป็นต้องเร่งดำเนินการให้สิทธิ เนื่องจากเงื่อนไขของสัญญา สิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่มีอยู่ในสัญญาขัดกับหลักการแข่งขันเสรี และที่สำคัญคือเรื่องผลประโยชน์ตอบแทนที่เอกชนเคยจ่ายให้กับรัฐบาลที่ยังเหลือเวลาอีกหลายปี

เอกชนทั้งหลายก็ตั้งความหวังเอาไว้ว่า หลังจากเปิดเสรีแล้ว ค่าต๋งเหล่านี้จะหมดไป เปลี่ยนเป็นการจ่ายค่าใบอนุญาตให้กับองค์กรกลาง ซึ่งค่าใบอนุญาตจะมีราคาถูกกว่าค่าต๋งหลายเท่านัก จะทำให้การทำธุรกิจคล่องตัวมากขึ้น จะหาคนมาลงทุนก็ทำได้ง่ายกว่าเก่า

แต่เรื่องไม่ง่ายอย่างคิด เพราะหน่วยงานรัฐก็ต้องสูญเสียรายได้ที่เคยคาดว่าจะได้ไปมหาศาล การแปลงสัมปทานจึงเป็นเรื่องสลับซับซ้อน ยิ่งสัมปทานไหนมีมูลค่ามากๆ ก็ยิ่งยุ่งยาก ประเภทที่จะได้ประโยชน์ทั้งคู่ก็ทำไม่ได้ง่ายๆ อย่างเก่งก็ให้สมน้ำสมเนื้อ

ก่อนหน้านี้ กระทรวงคมนาคม เคยว่าจ้างกลุ่มที่ปรึกษาประกอบไปด้วยบริษัทหลักทรัพย์ธนสยาม บริษัทแบริ่ง บราเทอร์ส จำกัด และเครดิตซุเอซเฟิสท์บอสตัน ควบคู่ไปกับการศึกษาของคณะทำงานพิจารณาการแปรสัญญาร่วมการงาน ทั้งสองฝ่ายก็มีแนวทางที่แตกต่างกันไป คณะกรรมการกำกับนโยบายรัฐวิสาหกิจ (กนร.) จึงได้มอบหมายให้ทีดีอาร์ไอ เป็นผู้รวบรวมผลศึกษาของทั้งสองหน่วยงาน และให้ไปรวบรวมข้อมูลและความคิดจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมาด้วย และผลศึกษาที่ได้จากทีดีอาร์ไอจะเป็นกรอบกติกาสุดท้ายที่คู่สัญญาของรัฐบาล และเอกชนที่แปลงสัมปทานต้องนำไปยึดถือปฏิบัติ

ข้อเสนอของทีดีอาร์ไอที่ทำออกมาไม่ได้กำหนดเฉพาะเจาะจงไปว่า สัมปทานไหนจะต้องแปรสัญญา แต่ใช้วิธีจัดอันดับความสำคัญของสัมปทาน โดยพิจารณาจากผลประโยชน์ที่มีต่อผู้ใช้จากการแปรสัญญา

อันดับแรกหนีไม่พ้นโทรศัพท์พื้นฐาน ของสองค่ายคือ ทีเอ และทีทีแอนด์ที ตามมาด้วยโทรศัพท์มือถือ ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มที่มีผลประโยชน์ต่อผู้ใช้จากการแปรสัญญาสูง และอันดับสามอยู่ในระดับปานกลางคือ กิจการดาวเทียม และอันดับ 4 เป็นกิจการประเภทบริการสื่อสารข้อมูลระหว่างประเทศ วิทยุติดตามตัว และประเภทที่รับจ้างติดตั้งโครงข่าย

เมื่อมาถึงในส่วนของ "ค่าต๋ง" ที่จะถูกยกเลิกนั้น ทีดีอาร์ไอเสนอให้เอกชนที่แปรสัญญาจะต้องจ่ายชดเชยให้กับรัฐ เพื่อแลกกับสิทธิการใช้ประโยชน์จากโครงข่ายที่ลงทุนไป โดยคำนวณจากผลประโยชน์ตอบแทนที่คาดว่าจะต้องจ่ายตลอดอายุสัญญาที่เหลือ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ การเปลี่ยนของเทคโนโลยี การแข่งขันและสภาพปัจจุบันมาใช้ประกอบในการคิดคำนวณด้วย

เช่นว่า สัมปทานมีอายุ 30 ปี ให้บริการไปแล้ว 10 ปี ยังเหลืออีก 20 ปี ก็ให้นำ 20 ปีที่เหลือมาคิดคำนวณ แต่ให้เอาปัจจัยในด้านอื่นมาคำนวณประกอบด้วย ส่วนเอกชน จะได้รับสิทธิชดเชยค่าธรรมเนียมกลับไปด้วย

นอกจากนี้ ทีดีอาร์ไอยังกำหนดวิธีการจ่ายค่าชดเชยไว้ด้วยว่า จะจ่ายได้ 2 รูปแบบคือ จ่ายเป็นเงินสด หรือตราสารหนี้เท่านั้น ห้ามจ่ายเป็นหุ้น หรือเลขหมาย และการจ่ายค่าชดเชยนี้ให้จ่ายเป็นงวดได้ แต่จะต้องเสีย ดอกเบี้ย แต่ต้องจ่ายภายใน 4 ปี คือ แบ่งจ่ายก้อนแรก 50% ภายใน 2 ปี จากนั้นจึงค่อยทยอยจ่ายส่วนที่เหลือในอีก 2 ปีที่เหลือ

ดร.อัมมาร สยามวาลา บอกว่า สิ่งที่ต้องทำต่อจากนี้คือ ให้ครม.มีมตินำสัญญาเข้าสู่กระบวนการกำกับ โดยให้ตั้งคณะอนุกรรมการกำกับการแปรรูปสัญญาร่วมงานด้านกิจการโทรคมนาคม (กปส.) ห้ามหน่วยงานรัฐและเอกชนตกลงกันนอกรอบ

ปรากฏว่า เมื่อเจอเงื่อนไขเหล่านี้ ในการประชาพิจารณ์ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 11 สิงหาคมที่ผ่านมา ทีเอ และชินวัตร เป็นสองค่ายหลักที่ออกมาคัดค้านกันแบบสุดๆ ส่วนเอกชนรายอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นทีทีแอนด์ที ยังไม่ได้แสดงท่าทีอะไร

เริ่มต้นจากช่วงเช้า ดร.วัลลภ วิมลวณิชย์ ทำหน้าที่ตัวแทนเอกชนคัดค้านหลายจุด เช่นว่า การจ่ายค่าชดเชย ตามที่ทีดีอาร์ไอกำหนดให้จ่ายถึงสิ้นสุดสัมปทาน และยังต้องจ่ายค่าใบอนุญาตอีก เท่ากับเป็นการจ่ายซ้ำซ้อนกัน และระยะเวลาชำระค่าชดเชยที่ให้จ่ายครึ่งหนึ่งภายใน 2 ปี และเป็นเรื่องยากมากที่จะจ่ายสัมปทานเพราะยังเป็นหนี้ก้อนใหญ่ ที่ต้องหาทางประนอมหนี้อยู่ เรื่องหาเงินก้อนใหม่มาจ่ายชดเชยจึงเป็นไปแทบไม่ได้

พอมาถึงช่วงบ่าย บรรยากาศก็เริ่มเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ บุญคลี ปลั่งศิริ ประธานกรรมการบริหาร ของชิน คอร์ ปอเรชั่น ออกมาแสดงความคิดเห็นคัดค้านอย่างเต็มที่ ยิ่งไปกว่านั้นเอไอเอสจะไม่ได้ค่าธรรมเนียมชดเชยจากองค์การโทรศัพท์ฯ เลยแม้แต่บาทเดียว งานนี้บุญคลีเลยประกาศว่า จะไม่ขอแปลงสัมปทาน แต่จะรอจนกว่าจะตั้งองค์กรกลางขึ้นมาก่อน จึงค่อยไปแปลงเอาตอนนั้น

งานนี้ก็ยังไม่รู้ว่าจะลงเอยยังไง แต่ที่แน่ๆ ทีดีอาร์ไอก็บอกมาแล้วว่า ขึ้นอยู่กับคู่สัญญาสองฝ่ายจะแปลงสัญญาหรือไม่แปลงก็ได้ ถ้าอย่างนั้นแล้ว ไม่รู้ว่า "คู่มือ" ของ ทีดีอาร์ไอนี้จะได้ใช้หรือเปล่า เพราะดูจากท่าทีแล้วคงจะหาเอกชนมาขอแปลงสัมปทานยากแน่

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us