Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2542
พลิกโฉมหน้าเว็บไทย             
 


   
search resources

Web Sites




กระแสของ sanook.com ฟีเวอร์ รวมถึงแคมเปญสมัครสมาชิกอินเตอร์เน็ตแถมพีซีที่ลือลั่นไปทั่ว กำลังกลายเป็นตัวปลุกอินเตอร์เน็ตในไทยที่ส่งผลไปทั่ว ไม่เพียงแต่เว็บใหม่สัญชาติไทยที่ปรากฏขึ้นบนเครือข่ายแห่งนี้เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงบรรดาเสือปืนไวทั้งหลายที่นำเว็บไซต์ปล่อยทิ้งร้างกลับมาพลิกโฉมหน้าใหม่อย่างคึกคัก

ที่น่าสนใจ ก็คือ การพลิกโฉมจากเว็บหน้าโฆษณาไปสู่การใช้เว็บเป็นอาวุธทางการตลาดในการเข้าถึงลูกค้า โดยอาศัยการสื่อสารได้สองทาง (interactive) ที่อินเตอร์เน็ตมีโอกาสทำได้มาก กว่าสื่ออื่นๆ ภายใต้ต้นทุนที่เท่าๆ กัน

เว็บไซต์ www.ais900.co.th โฮมเพจแรกของเอไอเอสทำขึ้นเมื่อ 3 ปีที่แล้ว และใช้เป็นแค่ส่วนขยายของวาร-สารเซลลูลาร์ 900 ให้กับลูกค้าชาวต่างชาติไว้เรียกข้อมูล เนื่องจากเป็นช่วงที่การโปรโมตบริการอินเตอร์เนชั่นแนลโรม มิ่ง (บริการนำมือถือใช้ข้ามประเทศ) กำลังเริ่มต้นขึ้นพอดี เนื้อหาในนั้นเป็นภาษาอังกฤษ

แต่หลังจากบริการเสริมของจีเอเอ็มเริ่มเดินเครื่อง เว็บไซต์นี้ก็ถูกแปลงโฉมใหม่เพื่อให้รับกับบริการเสริมบนเว็บ เริ่มด้วย 3 บริการนำร่อง บริการ short mail คือ บริการรับส่งข้อความทางอีเมลจากโทรศัพท์มือถือด้วยตัวเอง web messaging บริการส่งข้อความจากเว็บมาที่โทรศัพท์เคลื่อนที่ และ mail note บริการแจ้งเตือนเวลามีอีเมลส่งมาถึง

"ที่เราทำไม่ได้หวังผลทางธุรกิจ แต่เป็นบริการเสริม เรามองว่าเรื่องนี้เป็นการแข่งขันเทคโนโลยี ใครพร้อมกว่า มีความเห็นตรงกัน เพราะเทคโนโลยีเท่ากันหมด ใช้ปัญญาประดิษฐ์นิดหน่อยก็ทำได้แล้ว" ยรรยง อัครจินดา-นนท์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) บอกถึงเหตุผลการนำเอาเว็บมาให้บริการ

และการสร้างบริการ 3 ประเภท ก็ถูกพัฒนาขึ้นมาจากทีมงานของฝ่ายการตลาด และฝ่ายวิศวกรรมของเอไอเอส ที่ร่วมมือกับทีมซอฟต์แวร์ ของบริษัทชินวัตรอินฟอร์เมชั่น

จากจำนวนยอดผู้ใช้บริการบนเว็บเพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ เป็นตัวเลขที่เอไอเอส ตัดสินใจพลิกโฉมเว็บไซต์นี้อีกครั้ง คราวนี้เอไอเอสตัดสินใจเปลี่ยนไปเป็น Service site หรือเว็บไซต์ที่ใช้บริการเต็มตัว ไม่ใช่ Information site แบบเดิม ซึ่งเป็นความพยายามเคลื่อนย้ายธุรกิจมาให้บริการอินเตอร์เน็ตที่เป็นรูปธรรมที่สุด

ชื่อของ www.ais.900.co.th ถูกเปลี่ยนมาใช้เป็น ais.900.com เพื่อ ให้เป็นสากลมากขึ้น และหากไม่โดนชิงตัดหน้าจดชื่อโดเมนเนมคำว่า ais ไปแล้วคงไม่ต้องมี 900 คั่นตรงกลาง

บริการแรกที่ถูกบรรจุภายใต้คอน เซ็ปต์ใหม่ก็คือ Billing on the web เป็นบริการให้ลูกค้าเช็กยอดค่าใช้โทร-ศัพท์มือถือที่ต้องชำระในแต่ละเดือน ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นบริการนำร่องก่อนจะขยับไปสู่บริการชำระค่าบริการผ่านเว็บ หรือ e-payment ที่ยรรยงบอกว่า จะเริ่มได้ภายในต้นปีหน้า และเป็นส่วนหนึ่งของการเคลื่อนไปสู่อิเล็กทรอนิกส์ คอมเมิร์ซ ในรูปแบบของ business to business หรือบีทูบี ที่อยู่ในเฟสต่อไปของเอไอเอส

การบริหารฐานข้อมูลของเอไอเอส ก็ไม่ต่างกับบริษัทอื่นๆ นั่นก็คือจะอยู่ในรูปของ อินเตอร์เน็ต อินทราเน็ต (เป็นข้อมูลที่ใช้เฉพาะภายใน) และเอ็กซ ทราเน็ต (อนุญาตบุคคลภายนอกให้เข้ามาขอบเขตหนึ่ง) ซึ่งเป็นการจัดลำดับการใช้ข้อมูล

ข้อมูลของเว็บนี้ นอกจากรายละเอียดเกี่ยวกับตัวบริษัท ที่เป็นข้อมูลพื้นฐานทั่วไปของเว็บไซต์ต่างๆ แล้ว เช่น ตัวองค์กรเอไอเอส โปรโมชั่นใหม่ๆ รวมถึงข้อมูลโทรศัพท์มือถือแต่ละรุ่น ข้อมูลเหล่านี้ยังมีไว้เพื่อตอบสนองการใช้งานในแบบบีทูบี คือ ระหว่างเอไอเอสและดีลเลอร์

"วันนี้เราอนุญาตให้ดีลเลอร์เข้าบางส่วนของอินทราเน็ต มันอยู่บนอินฟอร์เมชั่น เน็ตเวิร์คของเราเองทั่วประเทศ สิ่งที่จะทำในอนาคต ก็คือ business to business คือ จะให้ดีล เลอร์ Login เข้ามาในวงของอินทราเน็ต ที่เราจะให้เขาดูข้อมูลของเราได้บางส่วน"

ทันทีที่เครื่องรุ่นใหม่ออกสู่ตลาด แทนที่เอไอเอสจะต้องส่งเป็นโบรชัวร์หรือแฟกซ์ไปให้ ดีลเลอร์ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดเเรียกดูข้อมูล และ print ข้อมูลเหล่านั้นจากเว็บไซต์ออกมาใช้งาน เรียกว่า เอไอเอสก็ประหยัดทั้งค่าแฟกซ์และค่าโทรศัพท์ไปได้เยอะ

และในปีหน้า ดีลเลอร์จะเข้าไปในวงอินทราเน็ต เพื่อเช็กยอดสต็อกสินค้า รวมถึงบริการ online register คือ ให้ลูกค้าจดทะเบียนใช้โทรศัพท์มือ ถือ และเมื่อบริการนี้เปิดขึ้นมาการจดทะเบียนที่เคยอยู่ในรูปของกระดาษ หรือ แฟกซ์จะเปลี่ยนเป็นอิเล็กทรอนิกส์ ฟอร์ม ลูกค้าในต่างจังหวัดแทนที่จะต้อง รอนาน 3 ชั่วโมง ก็เหลือ 5 หรือ 10 นาที

"เราจะใช้อินเตอร์เน็ต เป็นเครื่องมือการตลาดอย่างหนึ่ง รวมถึงการเป็นเครื่องมือสื่อสารด้วย เราพบว่า การที่ดีลเลอร์สามารถออนไลน์รีจิสเตอร์ ได้ ดีลเลอร์จะมีความสุขในการติดต่อธุรกิจกับเรา การจ่ายเงินก็ทำได้ง่ายและ เมื่อดีลเลอร์สามารถเช็กข้อมูลกับเราได้ เมื่อเขาได้ข่าวสารมาไม่ถูกต้องก็ไม่เกิดความเข้าใจผิด"

ในอนาคตของเว็บไซต์นี้ถูกเตรียมไว้สำหรับให้ลูกค้าชำระเงินผ่านเว็บ รวมถึงการให้สั่งซื้อโทรศัพท์มือถือ และอุปกรณ์เสริมผ่านทางเว็บ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอี-คอมเมิร์ซ ที่เอไอเอสไม่ยอม พลาด

ลูกเล่นต่างๆ ที่ใส่ในเว็บไซต์แห่งนี้ ทำให้หลายคนไม่เชื่อว่าเอไอเอสไม่ได้ต้องการเป็นแค่ service site แต่กำลังสร้างชุมชนของตัวเองขึ้นมาในเว็บแห่งนี้ จะว่าไปแล้วก็ไม่ต่างจาก Portal site อีกรูปแบบหนึ่ง

และแม้ว่าเว็บนี้จะกลายเป็นเครื่องมือที่ย่นย่อระยะทางระหว่างเอไอเอส ดีลเลอร์ รวมถึงลูกค้าได้ แต่จำนวนผู้ใช้อินเตอร์เน็ตที่ยังอยู่แค่ไม่กี่แสนราย ยรรยงยืนยันว่าไม่ใช่อุปสรรค เป็นความจำเป็นที่เอไอเอสต้องเข้าไปก่อน เพราะนี่คือส่วนหนึ่งของการเคลื่อนย้ายธุรกิจสู่อินเตอร์เน็ตของเอไอเอสที่จำเป็นต้องเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ

นับจากเปลี่ยนมาเป็นใช้โลโก "ยูบีซี" เว็บไซต์ของเคเบิลทีวีที่กลายเป็น รายเดียวของเมืองไทย ที่ถูกปรับโฉมใหม่และเสร็จลงไปหมาดๆ เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา

ยูบีซีเรียนรู้ที่จะใช้ประโยชน์จากเว็บ มาเชื่อมโยงกับการเป็นบริษัทมหาชนที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ หน้านี้จึงมีไว้สำหรับผู้ลงทุน (Investors) โดยเฉพาะ ข้อมูลที่บรรจุไว้ จะมีตั้งแต่โครงสร้างผู้ถือหุ้น การบริหารงาน รวมถึงสถานะทางการเงิน (Financials Per-formance) และราคาหุ้น (Stock Performance) รวมถึงการคาดหมายในอนาคต และสภาพแวดล้อมของธุรกิจ และยังรวมไปถึงการตอบคำถามกับผู้ลงทุนผ่านเว็บไซต์แห่งนี้ด้วย

ข้อมูลเหล่านี้จะอัพเดททุกเดือนโดยแผนกไฟแนนซ์ของบริษัท และหากเป็นราคาหุ้นข้อมูลจะเปลี่ยนแปลงทุกวัน และทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่ส่งให้ตลาดหลักทรัพย์ข้อมูลการลงทุนบนเว็บ จะเปลี่ยนแปลงตามไปด้วยเช่นกัน

ตัวเลขยอดผู้เข้ามาดูเฉพาะหัว ข้อนี้ ที่มีอยู่ 1,800 คน ในช่วงเกือบ 1 เดือนที่เปิดเว็บมา และตอบรับกลับมา 50 รายที่มาขอข้อมูลและเสนอความเห็นเพิ่ม เป็นตัวเลขที่ทำให้ยูบีซีเชื่อมั่นว่าเดินมาถูกทาง

นอกนั้นจะเป็นข้อมูลด้านรายการ ให้กับสมาชิกยูบีซี ที่จะถูกจัดตามช่องต่างๆ แล้ว ยังแบ่งเป็นหมวดหมู่ของรายการ

และดูเหมือนว่า ยูบีซีจะใช้ประโยชน์จากธุรกิจเอ็นเตอร์เทนเมนต ์มาสร้างสีสันให้กับเว็บของตัวเองได้ลงตัวเป็นครั้งแรก เพราะนอกจากการทำเว็บลิงค์ไปยังสตูดิโอของค่ายหนังต่างๆ ที่ยูบีซีถือลิขสิทธิ์อยู่ ยูบีซีใช้วิธีเรียกน้ำย่อยให้กับคนที่ล็อกอินมาที่เว็บไซต์ของยูบีซี ด้วยการให้ดูหนังตัวอย่างบนเว็บ ซึ่งใช้โปรแกรมวีโว่แอคทีฟเพลเยอร์ มาใช้เพื่อให้ภาพเคลื่อนไหวเหมือนจริงจน อดนึกถึงเว็บทีวีไม่ได้

องอาจ ประภากมล เล่าว่าเป้าหมายของเว็บไซต์นี้ นอกจากเป็นแหล่ง ข้อมูลแล้ว จะใช้เป็นเครื่องมือในการทำ Royalty Program ระหว่างยูบีซีและสมาชิกที่มีอยู่ 3 แสนราย นั่นก็คือ การมีเกมส์ ทายผล ซึ่งองอาจบอกว่าเป็น การเคลื่อนย้ายกิจกรรมที่เคยทำบนอากาศ และบนดินมาเป็นการทำกิจ กรรมบนเว็บไซต์

องอาจบอกว่า ยูบีซีกำลังต้อง การใช้เว็บ www.ubctv.com แห่งนี้เป็นเครื่องมือในการทำตลาดที่จะเจาะไปถึงลูกค้าแต่ละราย ซึ่งเขาให้นิยามเอาไว้ว่า เป็นการทำตลาดแบบ one to one marketing ครั้งแรกของยูบีซี

"เมื่อก่อนเราพูดกันแบบ mass พูดกับลูกค้า 3 แสนราย แต่วันนี้เรากำลังพูดถึงความต้องการของลูกค้าที่เป็นคนต่อคน ลูกค้าแต่ละคนต้องการโปรแกรมที่ต่างกัน คนหนึ่งสนใจกีฬา อีกคนสนใจบันเทิง ตรงนี้ทีวีทำไม่ได้ไม่สามารถรู้ได้เลยว่า ลูกค้ากี่เปอร์เซ็นต์ต้องการดูอะไร แต่อินเตอร์เน็ตทำได้"

นั่นเพราะสิ่งที่ยูบีซีได้รับตามมาจากกิจกรรมเหล่านี้ก็คือ ฐานข้อมูลทางการตลาด ที่ยูบีซีจะนำเสนอบริการให้ตรงกับลูกค้าเป้าหมายในแต่ละราย

"สมมติ มีคนกลุ่มหนึ่งทายผลเรื่องหนังตลอดเวลา เราก็จะรู้เลยว่าเขา ชอบอะไร เพราะเวลาที่เขา log on เข้ามาในเว็บ จะต้องใส่ว่าเขาชื่ออะไร เลขที่สมาชิกเท่าไหร่ เราจะสามารถทำกิจกรรมไปให้เขาได้โดยตรงกลุ่ม เราไม่ต้องพูดกับคน 3 แสนคน เพราะคนเหล่านี้ไม่ได้อยู่บ้านตลอด และส่งไปรษณีย์ 3 แสนใบก็ไม่คุ้ม แต่ตรงเว็บนี้ เราจะรู้ได้เลยว่า ลูกค้าแต่ละรายชอบอะไร" องอาจกล่าว

องอาจบอกว่า ยูบีซีต้องการสร้างคอนเทนท์ ที่เน้นเรื่องของเอ็นเตอร์ เทนเมนต์และนั่นคือเหตุผลของการที่ทำ U-LINK เป็นแหล่งรวมลิงค์ ที่จะเชื่อมไปยังเว็บไซต์ของหนังสือพิมพ์ค่ายต่างๆ และยังรวมไปถึงค่ายหนังใหญ่ๆ อย่าง ฟอกซ์สตูดิโอ วอร์เนอร์สตูดิโอ ที่ยูบีซีถือลิขสิทธิ์หนังจากค่ายเหล่านี้อยู่แล้ว รวมถึงการให้สมาชิกค้นหาข้อมูลจากเว็บไซต์อื่นๆ ทาง Search engin ของค่ายต่างๆ ทั้ง yahoo และ altavista และยังมีบริการลิงค์ไปยังค่ายเพจเจอร์ และโทรศัพท์มือถือ

และที่มองข้ามไม่ได้ก็คือ หน้านี้ยังมีไว้สำหรับให้ทั้งที่เป็นสมาชิก และไม่เป็นสมาชิกไว้สำหรับแนะนำเว็บไซต์ที่น่าสนใจมาลงได้

จะว่าไปแล้วเว็บไซต์ของยูบีซี ก็ดูไม่ต่างไปจาก portal web ของไทยในเวลานี้เท่าไหร่นัก แถมยังมีเนื้อหาที่เป็นของตัวเอง แทนที่จะเป็นแหล่งรวม ลิงค์อย่างเดียว ขาดแต่เพียงแค่ chat room (ห้องสนทนา) เท่านั้น

และต้องไม่ลืมว่า ยูบีซี เป็นหนึ่งในพันธมิตรของ MIH บริษัทแม่ของเอ็มเว็บ ที่เพิ่งซื้อเว็บ sanook.com ไปหมาดๆ และอยู่ระหว่างระดมทีมงานกันอย่างขะมักเขม้น และเป็นที่แน่ชัดแล้วว่า ผู้บริหารของยูบีซี และ MIH ก็ ได้เปิดโต๊ะเพื่อร่วมกันกำหนดยุทธศาสตร์ ของการที่จะ Synergy ธุรกิจร่วมกัน จากสิ่งที่ทั้งสองมีอยู่ในมือ ก็ในเมื่อยูบีซีก็มีฐานสมาชิกเคเบิลทีวีในมือ 3 แสนราย และบริษัทแม่ก็เป็นเจ้าของโครงข่ายไฟเบอร์ออพติก ส่วน sanook. com ก็มีสมาชิกที่เข้ามาใช้บริการหลายหมื่นรายต่อวัน ตรงนี้ก็คือโจทย์ที่ทั้งสองกำลังวางสมการร่วมกัน ที่อีกไม่นานก็คงรู้ผล

และนี่คือส่วนหนึ่งของกระบวนการเคลื่อนย้ายธุรกิจมาสู่อินเตอร์เน็ต ของกลุ่มธุรกิจ งานนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับว่าใครจะทำได้โดนใจได้มากกว่ากัน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us