Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2542
มร.สเปนเซอร์ ลิม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เคเค-เจทีซีไอ             
 

   
related stories

มร. วิลเลียม เอส. บอทวิค (William S. Botwick)

   
search resources

เคเค-เจทีซีไอ
สเปนเซอร์ ลิม




บริษัท เคเค-เจทีซีไอ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้พัฒนานิคมอุตสาหกรรมทีเอส 21 ที่อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง ได้ประกาศแต่งตั้ง มร.สเปนเซอร์ ลิม เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ก่อนหน้านี้มร.สเปนเซอร์ เคยดำรงตำแหน่งผู้จัดการทั่วไป (Oversea Operation) ของบริษัท เจทีซี อิน-เตอร์เนชั่นแนล มร.สเปนเซอร์ มีประสบการณ์ด้านการพัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มากว่า 15 ปี โดยได้ร่วมงานกับบริษัทนานาชาติ และบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ชั้นนำของทวีปเอเชีย

เคเค-เจทีซีไอ ได้เริ่มโครงการนิคมอุตสาหกรรมทีเอส 21 มูลค่า 770 ล้านเหรียญสหรัฐ ที่จังหวัด ระยอง ในอีก 15-18 ปี เมื่อโครงการนี้ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มรูปแบบ คาดว่าจะเกิดการสร้างงานถึง 90,000 ตำแหน่ง และมีมูลค่าการลงทุนของโรงงาน และเครื่องจักรจากบริษัทต่างชาต ิและบริษัทของคนไทยที่มาตั้งในนิคมอุตสาหกรรมทีเอส 21 กว่า 5 พันล้านเหรียญสหรัฐ

นิคมอุตสาหกรรมทีเอส 21 ตั้งอยู่ในโซน 3 ของเขตพื้นที่ชายฝั่งตะวันออก ซึ่งจะเป็นเขตอุตสาห-กรรมเพื่อการส่งออกอย่างครบวงจร นักลงทุนจะได้รับสิทธิประโยชน์จาก สำนักงานส่งเสริมการลงทุน (BOI) นิคมอุตสาหกรรมทีเอส 21 จะเป็นนิคมอุตสาหกรรม ในกลุ่มแรกๆ ที่สามารถเชื่อมโยงการสื่อสารกับศุลกากรไทยโดยผ่าน Electronic Data Interchange เพื่อขั้นตอน ที่สะดวกรวดเร็วสำหรับการส่งออก สินค้าและการนำเข้าวัตถุดิบของนักลงทุนและผู้ประกอบการ

"นิคมอุตสาหกรรมทีเอส 21 เป็นนิคมอุตสาหกรรมที่มีแนวคิดและการดำเนินการแบบสมัยใหม่ ที่มีระบบจัดการที่ดี มีมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมที่ได้มาตรฐาน เพื่อให้อุตสาหกรรมและชุมชนสามารถอยู่ร่วมกันได้ ระบบสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เหมาะแก่การดำเนินธุรกิจ ในขณะเดียว กันคนงาน ชุมชนท้องถิ่นและผู้อยู่อาศัยในบริเวณนิคมฯ ก็มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ทั้งยังมีรายได้เพิ่มขึ้นด้วย" มร.สเปนเซอร์กล่าวถึงไอเดียและความตั้งใจของเขา

โครงการนิคมอุตสาหกรรมทีเอส 21 ภายใต้การบริหารงานของบริษัทเคเค-เจทีซีไอ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นนิคมอุตสาหกรรม ที่ก่อตั้งขึ้นโดยการร่วมทุนระหว่างบริษัทน้ำตาลตะวันออก จำกัด และบริษัทเจทีซี อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด บริษัทในเครือจูร่ง ทาวน์ คอร์ ปอเรชั่น ซึ่งเป็นหน่วยงานพัฒนนานิคมอุตสาหกรรมของรัฐบาลสิงคโปร์ มีประสบการณ์และความชำนาญในการบริหารจัดการนิคมอุตสาหกรรมอย่างครบวงจรมา กว่า 30 ปี ปัจจุบันบริษัทเจทีซี อิน-เตอร์เนชั่นแนล จำกัด มีโครงการรวมมากกว่า 24 โครงการ ใน 8 ประเทศแถบเอเชีย บริษัทเคเค -เจทีซีไอ (ประเทศไทย) จำกัด มีณัฐิกา วัธนเวคิน อังอุบลกุล เป็นประธานกรรมการบริหาร พนิดา เทพกาญจนา เป็นกรรมการผู้จัด การ และมร.สเปนเซอร์ ลิมเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร

"KK-JTC (THAILAND) เข้า ใจว่าชื่อ KK เป็นชื่อย่อในตลาดหุ้นไทย ของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เกียรตินาคิน แต่ความลงผู้ลงนามสัญญาเป็นบริษัทโรงงานน้ำตาลตะวันออก ซึ่งก็ไม่เป็นไร เป็นกิจ การของตระกูลเดียวกัน

ตระกูลวัธนเวคิน เดิมฐานเป็นโรงงานน้ำตาล ซึ่งมีฐานที่ระยอง ด้วยเหตุนี้ตระกูลธุรกิจนี้ จึงมีที่ดินที่ระยองจำนวนมาก

ตระกูลนี้ เป็นตระกูลธุรกิจเก่าของไทย ในช่วง 20 ปีมานี้ ดำเนินธุรกิจอย่างระมัดระวัง มีกิจ การนอกจากโรงงานน้ำตาล ที่สำคัญ ก็คือ ศูนย์การค้า และกิจการธุรกิจ การเงิน ในนามบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เกียรตินาคิน ซึ่งดำเนินอย่างรัดกุมพอใช้

การร่วมลงทุนในกรณีนี้ น่าศึกษาเนื้อในพอประมาณ

ตระกูลวัธนเวคิน ใช้ที่ดินจำนวน 7,000 ไร่ในฐานประเทศไทย ซึ่งถือเป็นทรัพย์สมบัติของชาติ ที่ประเทศสิงคโปร์ ไม่มีวันมีที่ดินแปลงใหญ่ๆ เช่นนี้ เป็นฐานของการ ลงทุนฝ่ายไทย ขณะที่สิงคโปร์เข้ามาบริหารโครงการ โดยใช้ประสบ การณ์ความรู้ที่ได้จากการทำโครงการนิคมอุตสาหกรรมทั่วอาเซียน ตั้งแต่ตั้งบริษัทมา 28 ปี ของ JU-RONG TOWN มาบริหาร บวกกับเครือข่ายการตลาดของนิคมทั่วเอเชีย มากกว่า 20 แห่ง และเครดิตที่มีเพื่อ ระดมทุนในการแสวงหาเงินลงทุน "เป็นความเห็นของนักสังเกตการณ์ในกรณีร่วมทุนครั้งสำคัญของกลุ่มธุรกิจไทยกับต่างประเทศ ในช่วงต้นของวิกฤติ การณ์เศรษฐกิจไทยเมื่อกลางปี 2540 (จากหนังสือ "โรค โลกานุวัตร" ของวิรัตน์ แสงทองคำ)

ประธาน "จีเอ็ม" คนใหม่

มร.โรนัลด์ ดี.ฟริซเซลล์ ประธาน บริษัทเจนเนอรัล มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด ได้มอบหมาย ตำแหน่งประธานบริษัทในประเทศไทยให้กับ มร.วิลเลี่ยม เอส.บอท-วิค ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งประ-ธานบริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส อินโดนีเซีย หลังจากที่ มร.ฟริซเซลล์ ได้รับการแต่งตั้งให้ไปรับตำแหน่งผู้อำนวยการใหญ่บริษัท จีเอ็ม ภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอินเดีย ณ สำนักงานงานของจีเอ็มเอเชียแปซิฟิก ที่ประเทศสิงคโปร์โดยจะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคมศกนี้ ซึ่งการย้ายตำแหน่งของผู้บริหารระดับสูงครั้งนี้ เป็นไปตามนโยบายของจีเอ็ม ในการรองรับการเจริญเติบโตของธุรกิจ รถยนต์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

มร.วิลเลี่ยม เอส.บอทวิค ประธานบริษัทคนใหม่กล่าวว่า จะยังคงดำเนินตามนโยบายของ มร. ฟริซเซลล์ ที่จะเร่งสานต่อโครงการศูนย์ผลิตรถยนต์ ในนิคมอุตสาห-กรรมอีสเทิร์น ซีบอร์ดให้เสร็จสิ้นภายในช่วงปลายปี 2542 และจะเริ่มผลิตเชิงพาณิชย์ในช่วงกลางปี 2543 เพื่อใช้ศูนย์แห่งนี้เป็นฐานการผลิตรถยนต์ "ซาฟิร่า" เพื่อการส่งออกไปยังภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก ซึ่งคาดว่าจะมีกำลังการผลิตในช่วงต้นราว 40,000 คันต่อปี

"ผมมีความภูมิใจอย่างยิ่งที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ดูแลศูนย์ผลิตรถยนต์ของจีเอ็มที่จังหวัด ระยอง ซึ่งเป็น 1 ใน 4 โรงงานอัน ทันสมัยที่จีเอ็มได้สร้างขึ้นใหม่ทั่วโลก ได้แก่โรงงานที่กลิวิช ประเทศโปแลนด์ โรงงานที่โรซาริโอ ในอาร์เจนตินา และโรงงานที่เซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน ซึ่งโรงงานในไทยแห่งนี้จีเอ็มใช้เงินลงทุนกว่า 500 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 20,000 ล้านบาท) เพื่อทำการผลิตรถยนต์ "ซาฟิร่า" ส่งออกไปยังตลาดทั่วโลก มร. บอทวิคกล่าว

"ฟอร์ด แห่งสหรัฐอเมริกา ได้วางนโยบายในการเข้ามาลงทุนในไทยด้วยโครงการขนาดใหญ่ เช่น โรงงานประกอบรถยนต์ในนาม "ออโต้ อัลลาย แอนซ์ (ประเทศไทย)" ซึ่งจะประกอบทั้งมาสด้า ฟอร์ด หรืออาจจะคืบไปถึงวอลโว่ในอนาคต"

ด้วยแนวทางการเข้ามาลงทุนที่หวังผลระยะยาวเป็นยุทธศา-สตร์ระดับภูมิภาค

การรวบรวมกิจการเครือข่าย ด้วยการบริหารงาน และการลงทุน ที่ออกไปจากบริษัทแม่โดยตรงจึงน่าจะถึงเวลาที่สมควรแล้ว

ราวปี 2539 ฟอร์ด ได้ยึดการดำเนินกิจการ การทำตลาดรถยนต์ฟอร์ดในไทยมาจากตัวแทนซึ่งขณะนั้นมีอยู่สองรายคือกลุ่มยนตรกิจ และกลุ่มไซเคิล แอนด์ แคเรจ แต่ขณะนั้น ก็ยังไม่ชัดเจนว่าฟอร์ด จะวางแผนงานเชื่อมโยงเครือข่ายอย่างไร

จนกระทั่งปี 2540 เมื่อแผนการตั้งโรงงานประกอบในไทยเพื่อเป็นฐานการส่งออกเสร็จสมบูรณ์ การรุกคืบในการเชื่อมองค์กรเครือข่าย จึงถูกวาดแผนขึ้นมา

ณ ปัจจุบัน สำหรับกิจการในไทย ฟอร์ด โอเปอเรชั่นส์ (ประเทศไทย) จะทำหน้าที่เสมือนบริษัทแม่ ดูแลกิจการของเครือข่ายที่มีอยู่ทั้งหมด เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามแผนงานและแนวทางเดียวกัน

อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการวางแผนงาน และการทำงานในหลายเรื่องร่วมกัน แต่ผู้บริหารของฟอร์ดยืนยันว่า ในส่วนของการตลาด เช่น โชว์รูมจำหน่ายรถ การขยายเครือข่ายของแต่ ละยี่ห้อยังคงแยกกันอย่างชัดเจน โดยแต่ละบริษัทเพียงแค่รายงานตรงต่อบริษัทแม่เท่านั้น

สำหรับเครือข่ายของฟอร์ด ในไทยที่ว่านี้ ถ้าแบ่งตามยี่ห้อรถก็จะมีอยู 3 กลุ่มด้วยกัน คือ ในส่วน ของฟอร์ดเองในส่วนของมาสด้า ซึ่งมาสด้า มอ-เตอร์ แห่งญี่ปุ่นถือได้ว่าเป็นบริษัทที่อยู่ในกลุ่มฟอร์ด แห่ง อเมริกา และล่าสุดก็คือ วอลโว (จาก อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยหมดยุคเถ้าแก่ไทยใน "ผู้จัดการ" สิงหาคม 2542)

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us