Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2542
บทเรียนสุกรี โพธิรัตนังกูร             
โดย วิรัตน์ แสงทองคำ
 


   
search resources

สุกรี โพธิรัตนังกูร




สุกรี โพธิรัตนังกูร จากโลกไปเมื่ออายุ 83 ปี พร้อมกับทิ้งปัญหา "ความไม่แน่นอน" ของอุตสาหกรรมสิ่งทอไทย ไว้ข้างหลัง

ผู้รู้จักเขามานานบอกว่าเตี่ยหอบ หิ้วเขาข้ามน้ำข้ามทะเลมาจากเกาะไหหลำ เขาเกิดปี 2459 อันเป็นระยะไล่เลี่ยกับ การเกิดความไม่สงบบนเกาะไหหลำ ส่ง ผลให้คนจีนหอบเสื่อหอบหมอนมาพึ่งแผ่นดินร่มเย็นของไทยเป็นทิวแถว เช่น ตระกูลเจ็งหรือจิราธิวัฒน์ ส่วนเจ้าตัวบอกว่า เกิดที่บ้านริมคลองบางกระดี่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ในครอบครัวมีอันจะกิน มีเรือสินค้าหลายลำ ต่อมามีอันต้องล้มละลายเพราะถูกโจรปล้น พ่อของเขาถูกยิงที่ขา เขาจึงเป็นลูกคนเดียวที่มิใช่หัวปีแต่ไม่มีโอกาสได้ร่ำเรียน

เขาคือคนจีนกลุ่มหนึ่งสร้างความ ร่ำรวยจากความพินาศของภัยสงคราม เช่นเดียวกับคนอื่น ไม่ว่า ชิน โสภณ-พนิช, ชวน รัตนรักษ์ ฯลฯ หากนักประวัติศาสตร์ธุรกิจยุคใหม่สนใจจะพบข้อเท็จจริงหลายประการยืนยันว่า "ความ ร่ำรวย" ดังกล่าวเกิดจากความฉลาด ฉกฉวยจากสถานการณ์ ความอ่อนแอของอำนาจการควบคุมระบบเศรษฐกิจของรัฐ

ร้านกิมย่งง้วน ใกล้วัดสามปลื้ม สำเพ็ง เป็นร้านค้าผ้าที่เอาการเอางานหรือเป็นการลงรากครั้งแรกในยุทธจักรค้าผ้า ในปี 2485 ภายหลังที่สุกรีบอกว่าเคยอาศัยเรือค้าขายตามท้องน้ำแม่กลอง แม่น้ำเจ้าพระยามานานปี

ประวัติระบุว่าเปิดร้านช่วงแรกของสงครามโลกครั้งที่ 2 กิมย่งง้วนนี้ การค้าส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าจากญี่ปุ่น และฮ่องกง ผู้ศึกษาประวัติศาสตร์ธุรกิจ เชื่อว่าการค้าของคนจีนโพ้นทะเล อันเกี่ยวกับการส่งออกนำเข้าร่ำรวยจากภาวะสงคราม เพราะอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา บวกกับดีมานด์ที่วิ่งเร็วแซงหน้าซัปพลายอย่างไม่เห็นหลัง ใครเก็งถูกจังหวะก็รวยชั่วข้ามคืน

สุกรีบอกว่าเขาเป็นคนจีนคนเดียวในหมู่แขกซึ่งถือกันว่าเป็นเจ้ายุทธจักรค้าผ้าในสำเพ็งตราบเท่าทุกวันนี้ "ผมเป็นพ่อค้าผ้าจีนคนเดียวที่สู้แขกได้" เขาเคยกล่าวอย่างภาคภูมิ

จากการค้าผ้าช่วงขาดแคลนในสงคราม สะสมเงินทองได้มากพอสมควร เขาก็ผันตัวเองเข้าไปเกี่ยวข้องกับกองทัพในฐานะผู้ส่งผ้าขายให้เหล่าทัพต่างๆ เป็นครั้งคราว ในช่วงนั้นรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้รุกคืบเข้าครอบครองอุตสาหกรรมต่างๆ ตามนโยบายชาตินิยม และบั่นทอนอิทธิพลทางเศรษฐกิจของชาวจีน ในปี 2493 กรมเกียกกาย ทหารบกได้ตั้งโรงงานทอผ้าใช้เครื่องจักรครั้งแรก 2 โรงงานที่เกียกกายและวัดสร้อยทอง เชิงสะพานพระราม 6 ซึ่งเป็นกิจการปั่นด้าย ตามสูตรรัฐจึงประกาศห้ามนำเข้าเส้นด้ายด้วย

ความสำเร็จของนายห้างสุกรี ขณะนั้นก็เป็นเพียงนายห้างตัวเล็กๆ ในย่านสำเพ็งเท่านั้น การเข้า "เกาะติด" ผู้มีอำนาจในยุคสฤษดิ์-ถนอม-ประภาส (ปี 2501 เป็นต้นมา) มิใช่เรื่องง่าย เขาไม่ยิ่งใหญ่เท่าชวน รัตนรักษ์, สหัส มหาคุณ หรือถาวร พรประภา และเมื่อมายุคถนอม-ประภาส พ่อค้าจีนจึงวิ่งเข้าหาจอมพลประภาสมากกว่าจอมพลถนอม

ชำนาญ เพ็ญชาติ เป็นเลขาฯ และลูกเขยถนอม กิตติขจร สุกรีเล็งเห็นว่าหากผ่านสายนี้คงไม่ยุ่งยากต้องแหวกวงล้อมหลายชั้น ทางด้านประภาส กว่าจะถึงตัวจอมพลผ้าขาวม้าแดง เป้าหมายของเขาอยู่ที่สิทธิการเช่าโรงงาน วัดสร้อยทองซึ่งทหารบริหารงาน

นี่เป็นจุดหัวเลี้ยวหัวต่อครั้งที่สองของเขา หากนับหนึ่งจากร้านกิมย่ง ง้วน และเป็นก้าวแรกในการเข้าสู่อุต-สาหกรรมสิ่งทอ

"คนอื่นเขาไปเจ๊งมาแล้ว 3 รายผมไปเซ้งต่อโดยมีผู้ใหญ่คนหนึ่งติดต่อ ค่าเช่า 2 แสนบาท ตอนนั้นยังไม่รู้เรื่องเครื่องปั่นด้ายทอผ้าเลย เมื่อเข้าแล้วก็ต้องทำ คนอื่นเขาว่าเจ๊งแน่ เพราะเป็นโรงอาถรรพ์มีแกนปั่นด้าย 22,000 แกน แต่ทำได้ 9,000 แกน ผมเดินเครื่อง 24 ชั่วโมง สิ้นเดือนมีเงินเหลือ 1 แสนบาท" นายห้างฟื้นความหลังครั้งแรกกระโจนสู่อุตสาหกรรมนี้ให้กับผมฟังเมื่อ 10 ปีที่แล้ว

สุกรี โพธิรัตนังกูร เดินตามรอยคนจีนโพ้นทะเลทั่วไป ตามเส้นทางสายผู้มีอำนาจ และได้มีการพัฒนาปรับตามคลื่นที่ผันผวนในบางครั้งขณะ เดียวกันก็พลิกกลยุทธ์แสวงหาแหล่งเงินทุน-โนว์ฮาวการผลิต พัฒนาและขยายอุตสาหกรรมอยู่ตลอดเวลา

เมื่อประสบความสำเร็จในการเข้าไปฟื้นฟูโรงงานทอผ้าของทหารในวัดสร้อยทอง สุกรี-ชำนาญ ก็ก้าวพ้นมามีกิจการของตนเอง ในปี 2502 ได้ตั้งบริษัทโรงงานอุตสาหกรรมผ้าห่มไทย (THAI BLANKET INDUSTRY หรือTBI)อยู่ที่ซอยเสนานิคม 2 บนเนื้อที่ 91 ไร่ ผลิตผ้าห่ม เพื่อขายกองทัพเป็นส่วนใหญ่ ถือเป็นโรงงานแห่งแรกของเขา และชื่อทีบีไอ จึงกลายเป็นชื่อเรียกกลุ่มธุรกิจนี้ในเวลาต่อมา

ปี (2502) เดียวกัน กลุ่มซอยราชครูนำโดย พลตรีประมาณ อดิเรกสาร ได้ตั้งโรงงานในนามบริษัทอุตสาห-กรรมทอผ้าไทย (เดช บุญ-หลง เคยเป็นผู้บริหาร) และอีกโรงที่เก่าแก่กว่าเรียกว่าโรงงานบู๊ง้วนหรือพิพัฒนกิจสองรายหลังนี้เข้าสู่อุตสาหกรรมทอผ้าก่อนสุกรี ทั้งเริ่มต้นในยุคซอยราชครูทรงอิทธิพล

ประสบการณ์จากวัดสร้อยทอง โรงงานผ้าห่มไทยของสุกรี โพธิรัตนังกูร จึงหันมาปั่นด้ายด้วย แต่เนื่องจากเทคนิคค่อนข้างล้าสมัย วงการบอกว่า จึงสู้โรงงานของพลตรีประมาณไม่ได้

นอกจากนี้ยังมีคู่แข่งรายสำคัญอีก 2 รายเกิดขึ้นได้แก่บริษัทลักกี้เท็คซ์ (ประเทศไทย) และบริษัทไทยดูราเบิ้ลเท็กซ์ไทล์ ซึ่งเกิดจากการร่วมทุนของนักลงทุนจากจีนแผ่นดินใหญ่ ฮ่องกง และไต้หวัน ขณะที่โรงงานเช่าทหารและ โรงงานของตนเองแห่งแรก ของสุกรี โพธิรัตนังกูร มีปัญหาความสามารถในการแข่งขันโดยเฉพาะด้านเทคนิค โนว์ฮาว

สุกรี เผชิญปัญหาการแข่งขันอย่างรุนแรงในช่วงอุตสาหกรรมสิ่งทอ เพื่อทดแทนการนำเข้า หรือเพื่อขายสินค้าในตลาดไทย ซึ่งเริ่มจำกัด เพราะการแข่งขันมากราย

นี่คือ แรงกดดันสำคัญทำให้กลุ่มอุตสาหกรรมไทยยุควางรากฐาน แสวงหาอำนาจ เงินทุนและเทคโนโลยี ในการขยายตัวอาณาจักรธุรกิจ เพื่อครอบงำตลาดไว้ส่วนใหญ่ สุกรี โพธิรัต นังกูร ก็ไม่สามารถหลุดพ้นไปจากวงจร นี้ได้ ในยุคเมื่อ 30 ปีที่แล้ว

สุกรี โพธิรัตนังกูร ใช้กลยุทธ์ "การร่วมทุน" กับพันธมิตรต่างประเทศ ขยายกิจการอย่างก้าวกระโดด และสร้างความมั่งคั่งให้กับตระกูลโพธิรัตนัง กูร นับเป็น "กรณีศึกษา" ที่ดีอีกกรณีหนึ่ง

เมื่อสายสัมพันธ์สุกรี-ชำนาญ เพ็ญชาติ เป็นข้อต่อสำคัญในการเข้าสู่วงการอุตสาหกรรมสิ่งทอ ของกลุ่มทีบีไอ 3 ประการ หนึ่ง-สุกรีได้เข้าสู่เส้นทางสายผู้มีอำนาจครั้งแรก ต่อมาได้รับสิทธิ์ในการบริหารโรงงานทอผ้าของทหาร สอง-มีแหล่งเงินทุนสนับสนุน เพราะชำนาญ เพ็ญชาติ ไม่เพียงเป็นลูกเขยจอมพลถนอม เขายังเป็นผู้บริหารในธนาคารสหธนาคารด้วย ต่อมาธนาคารนี้ได้กลายเป็นแหล่งการเงินแหล่งแรกของกลุ่มทีบีไอ สาม-สายสัมพันธ์ชักนำให้เขามีพันธมิตรต่างประเทศ โดยเฉพาะญี่ปุ่น

ชำนาญ เพ็ญชาติ กับสุกรี โพธิรัตนังกูร เดินทางไปญี่ปุ่น ติดต่อชักชวนบริษัท SHIKIBO INC. ยักษ์ใหญ่ทอผ้าในประเทศนั้น โดย SHI-KIBO ตัดสินใจร่วมทุนกับสุกรี ในบริษัทโรงงานอุตสาหกรรมผ้าห่มไทยเบื้องแรก ในปี 2507 โดยนำเงินลงทุนพร้อมๆ กับเทคนิคการปั่นด้ายที่ทันสมัยของโลก

เมื่อ SHIKIBO มาร่วมทุนกับบริษัทอุตสาหกรรมผ้าห่มไทยนั้นมีสัด ส่วน 49/51 ผลประกอบการมีกำไรทาง ญี่ปุ่นก็ต้องการให้แบ่งเงินปันผล แต่สุกรีไม่ยอมจ่ายเงินปันผล แต่กลับขยายงานไม่หยุด

ถึงแม้ SHIKIBO จะไม่ชอบการขยายงาน แต่ก็หลวมตัวลงทุนไปจนถึงโรงที่ 3 จากอุตสาหกรรมผ้าห่มไทย ไทยทรีค็อต (2509) ผลิตสินค้าสำเร็จและเทคโนโลยีการย้อมผ้าทันสมัย และไทยซินเนทิคส์ เท็กซ์ไทล์ (2511) ในบริเวณเดียวกันที่ซอยเสนานิคม 2 เพื่อ ขยายกำลังการปั่นด้าย รวมทั้งได้เพิ่มการผลิตด้ายประเภทใยสังเคราะห์ขึ้นมาด้วย โรงงานแห่งนี้ว่ากันว่า ตอนนั้น ทันสมัยที่สุด ในเอเชียอาคเนย์

"เขาพยายามพบผม ผมไม่ยอม... เขาก็เรียกบัญชีไปตรวจ ตรวจประมาณ อาทิตย์กว่า แล้วยื่นหนังสือลาออกจากกรรมการ ผมเห็นว่าได้โอกาส เลยเซ็นทันทีเหมือนกัน เขากลับไปญี่ปุ่น ถอนเงินค้ำประกัน 700 ล้านไปทั้งหมด แต่ตอนนั้นเรามีชื่อเสียงแล้ว สามารถหา เงินมาช่วยเหลือได้ทั้งหมด จากแบงก์กรุงเทพ สหธนาคาร..." สุกรี โพธิรัต นังกูร เคยเล่าให้ผมฟังถึงจุดแตกหักกับญี่ปุ่นในครั้งแรก และไม่นานจากนั้น SHIKIBO และ NOMURA TRADING ก็ค่อยๆ ถอนตัวออกไป

เมื่อ SHIKIBO อันรวมถึง NO-MURA TRADING จากไป NISSHO-IWAI, TOYOMENKA และ KANEBO จากญี่ปุ่นก็เข้ามาร่วมทุน กับกลุ่มทีบีไออีก ในบริษัทไทยอเมริกันเท็กซ์ไทล์ (เดิมบริษัทแห่งอเมริการายหนึ่งสนใจจะร่วมทุน ครั้นราคาฝ้ายตกต่ำเป็นประวัติการณ์จึงขอถอนตัวไป) ในปี 2513 ไทยแมล่อนโพลีเอสเตอร์ (2515) ไทยแอโร่ (2515) และ บริษัทไทยแมล่อนเท็กซ์ไทล์ (2516)

ถึงแม้ว่านักลงทุนกลุ่มต่อมา จะมีปัญหาเช่นเดียวกับกลุ่มแรก และลดบทบาทไปในเวลาต่อมา แต่ในช่วงนั้น ก็ทำให้กลุ่มทีบีไอเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอครบวงจร ใหญ่ และทันสมัยที่ สุดในเมืองไทย

ในช่วงนั้นสังคมไทย อยู่ในช่วงความยินดีปรีดากับการเมืองระบบเปิด และแวดวงวิชาการทางเศรษฐศาสตร์

กำลังวิพากษ์กลุ่มทุนจากต่างประเทศขนาน ใหญ่ โดยเฉพาะบรรษัทข้ามชาติ (ศัพท์ในขณะนั้น) จากสหรัฐฯ และญี่ปุ่น ที่อ้างว่าเข้ามามีความสัมพันธ์ทางเศรษฐ กิจที่เอาเปรียบ และครอบงำเศรษฐกิจไทย

ขณะเดียวกันนั้น กลุ่มตระกูลธุรกิจขนาดกลางของไทยที่มีโอกาส และมีความสัมพันธ์กับบรรษัทข้ามชาติที่ว่านั้น ได้อาศัยทุน และเทคโนโลยีของพวกเขา สะสมความมั่งคั่งของตระกูลธุรกิจที่ยิ่งใหญ่ในเวลาต่อมา และเป็นฐานการเจริญเติบโตเศรษฐกิจไทยในเวลาต่อมาอีก 2-3 ทศวรรษ

ความยิ่งใหญ่ ครบวงจรและการผูกขาด เป็นปรัชญาของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมไทย ซึ่งสุกรี โพธิรัต นังกูร มีเต็มเปี่ยม แต่สิ่งนี้ในเวลาต่อมา พิสูจน์ว่า ไม่สามารถรักษาสาระของการเป็นนักอุตสาหกรรมได้

- เมื่อสายสัมพันธ์พันธมิตรธุรกิจญี่ปุ่นขาดสะบั้น สุกรีพยายามขยายโรงงานต่อไปด้วยเครื่องจักรราคาถูกจากจีน ซึ่งเป็นการเดินทางที่ผิดพลาด เพราะจีนไม่มีเทคโนโลยีระดับโลก การตั้ง WORKSHOP เมื่อพัฒนาเครื่องจักรของตนเองก็เป็นสิ่งเป็นไปไม่ได้ จากนั้นมาความใหญ่ของทีบีไอ ก็คือความใหญ่ที่เริ่มมีปัญหา

- ตลาดสิ่งทอในช่วงหนึ่งมีตลาด ค่อนข้างแน่นอน จากในประเทศและโควตาในการส่งออก ทำให้อุตสาหกรรม ที่ใหญ่และครบวงจรได้เปรียบ นี่คือสาเหตุของความไม่สนใจพัฒนาอุตสาห-กรรมระดับโลกในเวลาต่อมา

- เงินทุนในประเทศ มีมากพอจากการขยายตัวอย่างบ้าคลั่งของสถาบัน การเงินไทย กับเทคนิคการระดมเงินสมัยใหม่ เกื้อกูลธุรกิจใหญ่ให้อยู่รอดระยะหนึ่ง แต่สิ่งนี้ไม่ได้สร้างการบริหาร ที่มีประสิทธิภาพของธุรกิจเทียบเท่าระดับโลกเลยแม้แต่น้อย

เมื่อตลาดโลกผันแปรอย่างรวดเร็ว ก็นำมาซึ่งปัญหา ซึ่งความจริง กลุ่มทีบีไอมีปัญหารากฐานของอุตสาห-กรรมมาเกือบ 10 ปี แต่ด้วยสังคมไทยที่เกื้อกูลรายใหญ่อุ้มและลากมาอย่างยาวนานจนถึงทุกวันนี้

เมื่อ 5-6 ปีที่แล้ว ผมเคยเขียน ถึงกรณีผู้บริหารโรงงานทอผ้าในอังกฤษ มาเป็นผู้จัดการธนาคารใหญ่ในอังกฤษได้ เพราะว่าเขาได้ผ่านประสบการณ์ของการบริหารการเปลี่ยนแปลง ในขณะนั้นนายธนาคารรุ่นเก่าเคยชินกับการบริหารความเสี่ยง จากนั้นธนาคารไทยจึงเข้าสู่ยุครีเอนจิเนียริ่งกันอย่างขนานใหญ่

บริหารเปลี่ยนแปลงของโรงงานทอผ้า ก็คือ การพัฒนาคนให้เข้ากับเทคโนโลยีใหม่ๆ ของเครื่องจักร และดีไซน์ใหม่ๆ ตอบสนองลูกค้าที่มีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงอย่างสูง

ผมก็เชื่อว่า นี่คือสาระสำคัญของอุตสาหกรรมสิ่งทอ มิใช่ความใหญ่ ครบวงจร และการผูกขาด และนี่ก็คือ บทเรียนที่เจ็บปวดของกลุ่มอุตสาหกรรม สิ่งทอที่ใหญ่ที่สุดในเมืองไทย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us