Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2542
เม็ดเงินยุโรปไหลเข้าไทยมากที่สุด             
 


   
search resources

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน - บีโอไอ
จุฑาทิพย์ เกรียงไกรสกุล




จุฑาทิพย์ เกรียงไกรสกุล ในฐานะตัวแทนสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ประจำ ณ นคร แฟรงก์เฟิร์ต สหพันธ์สาธารณรัฐเยอร-มนี ได้เปิดเผยตัวเลขการลงทุนจากประเทศแถบยุโรปมาสู่ประเทศไทยในช่วงปี" 41 ว่ามีมูลค่าสูงถึง 118,769 ล้าน บาท จากโครงการที่ยื่นขอรับการส่งเสริมจาก BOI ถึง 166 โครงการ เพิ่มขึ้นจากปี" 40 ถึง 15% ซึ่งถือเป็นตัวเลขการลงทุนสูงสุดเมื่อเปรียบเทียบมูลค่าการลงทุนที่มาจากประเทศอื่น แม้ว่ามูลค่าจะลดลงจากปี" 40 ที่มีมูลค่า 121,713 ล้านบาทไปบ้าง โดยสาเหตุที่ลด ลงนั้น จุฑาทิพย์ให้เหตุผลว่า "เนื่อง จากการลงทุนของประเทศในยุโรปจะเข้ามาในรูปของโครงการขนาดกลางและ ขนาดเล็กเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งจากปรากฏ การณ์นี้ทำให้เกิดข้อสังเกตว่า วิกฤต การณ์ทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย ไม่ได้ส่งผลกระทบให้จำนวนการลงทุนจากยุโรปลดลง"

สำหรับประเทศธงนำจากยุโรปที่เข้ามาลงทุนในไทยสูงสุด ได้แก่ สหพันธ์ สาธารณรัฐเยอรมนี ซึ่งมีจำนวนโครงการสูงที่สุดถึง 27 โครงการในปี" 41 เพิ่ม ขึ้น 17.4% จากปี" 40 ที่มี 23 โครงการ แต่เม็ดเงินการลงทุนมีมูลค่า 13,160.60 ล้านบาท หรือลดลง 11.6% เมื่อเทียบกับปี" 40 ที่อยู่ที่ 14,892.2 ล้านบาท

โครงการที่เยอรมนีได้รับการอนุมัติทั้ง 27 โครงการประกอบด้วย โครงการใหม่ 19 โครงการ โครงการส่วนขยาย 8 โครงการ และโครงการใหม่ ที่มีเงินลงทุนเกิน 100 ล้านบาท โดยมีต่างชาติถือหุ้นเกิน 10% จำนวน 6 โครง การ อาทิ บริษัท ซาซาเรียส สโตโร่ เอ็กซเพิร์ต (ประเทศไทย) ทำอุตสาห-กรรมผลิตโฟม (ESP) เพื่อส่งออก 50% และมีมูลค่าการลงทุนเท่ากับ 130 ล้านบาท โรงงานตั้งอยู่ที่นครสวรรค์, บริษัท เดกุสซ่า แคททาลิสท์ (ไทยแลนด์) จำกัด ผลิต Catalytic Converters & Attachment เพื่อส่งออก 30% มูลค่าการลงทุน 300 ล้านโรงงานตั้งอยู่ที่เขตอุตสาหกรรม อมตะ จ.ระยอง และบริษัท ไบเออร์ โพลีเมอร์ จำกัด ผลิต Bisphenol-a และ Bisphenol Tar ส่งออก 80% มีมูล ค่าการลงทุนเท่ากับ 4,600 ล้านบาท โรง งานตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยอง เป็นต้น

จากการที่สำนักงาน BOI ในต่าง แดน ทำหน้าที่เป็นคลังข้อมูลประสานงาน และเชิญชวนให้นักลงทุนเยอรมันหรือประเทศอื่นในยุโรปเข้ามาลงทุนในไทยพบว่า ในช่วง 3 ปีที่ผ่าน มา (2539-2541) ความสนใจของนักลงทุนเยอร-มันจะกระจายไปในทุกสาขาแต่สาขาที่ได้ รับความสนใจน้อยที่สุดคือ สาขาเกษตร และผลิตผลจากการเกษตร ส่วนสาขาที่ได้รับความสนใจอย่างสม่ำเสมอ ได้แก่ สาขาอุตสาหกรรมเบา/สิ่งทอ สาขาผลิตภัณฑ์โลหะและเครื่องจักร สาขาเคมี กระดาษ ไฟฟ้า และผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์

สำหรับกิจกรรมที่ได้รับความสนใจมากเป็นพิเศษและคาดว่าจะมาแรงในปีนี้คือ อุตสาหกรรมในหมวดบริการ โดยมีการขอรับการส่งเสริมการลงทุนมากกว่าปกติ โดยเฉพาะในกิจ การสำนักงานสนับสนุนการค้าและการลงทุน โดยบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมในกิจการนี้แล้ว เช่น Siemens AG และล่าสุด ได้แก่ บริษัท Thyssen Krupp Industriea (Thailand) ซึ่งเป็นบริษัทที่ใหญ่เป็นอันดับ 5 ของเยอรมนี มีบริษัท ในเครือประมาณ 600 บริษัท ในสาขาโลหะ เครื่องจักร การต่อเรือ เคมี วิศวกรรม เป็นต้น และมีการจ้างงานทั่วโลกประมาณ 200,000 คน และมีมูลค่ายอดขายในปี"41 สูงถึง 70 พันล้านมาร์ก

จากตัวเลขการลงทุนของเยอรมนี ที่มีแนวโน้มที่ดีนั้น ไม่ใช่เป็นการเข้ามาลงทุนอย่าง่ายๆ นักลงทุนต่างชาติทุกราย โดยเฉพาะเยอรมันให้ความสำคัญกับ "ข้อมูล" มาก ตัวแทน BOI ในเยอรมนีเล่าว่า แม้ว่านักลงทุนเหล่านี้จะเข้ามาติดต่อขอข้อมูลกับทางศูนย์ฯ โดยตรงแล้ว แต่กระนั้นพวกเขายังหาข้อมูลจากที่อื่นอีกด้วย รวมทั้งมีการทำวิจัยเอง ซึ่ง เป็นที่น่าดีใจที่ผลการวิจัยของสถาบันที่มีชื่อเสียงอย่าง UNCTAD (United Nations Conference on Trade Development) รายงานว่า ภาวะเศรษฐกิจการลงทุนของไทยเปรียบเทียบกับชาติอื่นในเอเชีย ได้แก่ ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ในปี"41 หลังจากเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจแล้ว พบว่า มีเพียงประเทศไทยและเกาหลีใต้เท่านั้นที่ยังมีการลงทุนจากต่างชาติในระดับที่พอดี โดยมีการลงทุนในประเทศไทยเป็นมูลค่ารวม 7 พันล้านเหรียญสหรัฐ และในเกาหลีมูลค่า 5 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ส่วนการศึกษาอีกฉบับเป็นของบริษัท Roland Berger & Partner GmbH ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านการลงทุนที่มีชื่อเสียงของเยอรมนี ได้ทำรายงานร่วมกับหอการค้าเยอรมันในหลายประเทศในแถบเอเชีย โดยสำรวจความเห็นของนักลงทุนเยอรมัน ต่อผลกระทบของวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจและการเงินในส่วนของประเทศไทยพบ ว่า นักลงทุนเยอรมันมีความเชื่อว่า "เศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวในไม่ช้า และเชื่อว่ารัฐบาลกำลังดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจที่ถูกต้องในการแก้ปัญหา ซึ่ง 79% ของนักลงทุนเยอรมันนั้นเข้ามาลงทุนโดยหวังผลในระยะยาว และ 90% ยืนยันว่าจะไม่ถอนตัวไปจากตลาดในภูมิภาคเอเชีย รวมทั้งไทยอย่างแน่นอน และ 93% ยังสนใจที่จะลงทุนในประเทศ ไทยต่อไปอีก"

สำหรับในปี"42 นี้ เธอเปิดเผยว่า ในช่วงครึ่งปีแรกมีโครงการเยอรมันที่ยื่นขอรับการส่งเสริมทั้งสิ้น 12 โครงการ โดยได้รับการส่งเสริมแล้ว 7 โครงการ และในจำนวนนี้มีโครงการขนาดใหญ่ที่ลงทุนสูงกว่า 1,000 ล้านบาท ได้แก่ บริษัท BMW Manufacturing (Thailand) บริษัทผู้ผลิตรถยนต์นั่งส่วนบุคคล เพื่อจำหน่ายในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งดีลนี้ใช้เวลานานมากในการชักจูง โดยเริ่มตั้งแต่ปี" 38 และมีการให้ข้อมูลอย่างต่อเนื่องมีการนัดพบกับทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายเอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อแสดงให้เห็น ถึงประโยชน์ในการเข้ามาลงทุนในประเทศไทยหลายครั้ง จนกระทั่งในปี 40 ทาง BMW เริ่มมีความสนใจอย่างจริงจัง และได้เปิดตัวบริษัทในปี"41 ตามที่ "ผู้จัดการ" เคยเสนอข่าวไปแล้ว

"งานหลักของเราคืองานประชา-สัมพันธ์ เราทำงานเหมือนกับเซลส์ ต้องมีการดูแลลูกค้า ต้องส่งเสริมการขาย โดยจะแบ่งงานออกเป็น 2 ส่วนคือส่วน ของการทำงานด้านการตลาด และส่วนของงานด้านวิชาการ งานด้านการตลาดก็คือ แนะนำให้รู้จักสำนักงานส่งเสริมฯ ให้รู้ว่าเรามีบริการอะไรบ้าง และชักจูงให้มาลงทุนในเมืองไทย ในส่วนของงานวิชาการคือ ศึกษาภาวะอุตสาหกรรมที่เราควรจะชักจูงให้มาลงทุนในบ้านเรา" จุฑาทิพย์เล่าถึงบทบาทหน้าที่ของตัวแทน สำนักงาน BOI ที่อยู่ในต่างประเทศ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us