Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2542
นีลส์ ลุมโฮลท์             
 


   
search resources

การบินไทย, บมจ.
นิลส์ ลุมโฮลท์




ชาตะ 12 ธันวาคม 2475 มรณะ 18 สิงหาคม 2542

ย้อนกลับไปในช่วงที่ บมจ.การบินไทย (THAI) เริ่มดำเนินธุรกิจด้วยทุนจดทะเบียนขั้นแรก 40 ล้านบาท โดย บริษัทการบินไทยถือหุ้น 70% และสายการบินสแกนดิเนเวียน แอร์ไลน์ ซิสเต็ม (เอสเอเอส) 30% การดำเนินธุรกิจการบินพาณิชย์ของการบินไทยในขณะนั้น ต้องบริหารอย่างเต็มที่ ทั้งด้านการตลาด เทคนิค ตลอดจนการฝึกอบรมพนักงาน

บุคคลสำคัญคนหนึ่งที่ช่วยให้การดำเนินงานสายการบินแห่งนี้โชติช่วงจนถึงปัจจุบัน คือ นิลส์ ลุมโฮลท์ (Niels Lumholdt) ผู้มีบทบาทในฐานะผู้วางรากฐานการพัฒนาการขายของการบินไทย ซึ่งไม่มีใครสามารถปฏิเสธฝีมือเขาได้ อีกทั้งยังเป็นผู้มีส่วนร่วมผลักดันให้สายการบินไทยโดดเด่นคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ไทย แตกต่างจากสายการบินอื่นๆ

ลุมโฮลท์ เกิด 12 ธันวาคม 2475 เมืองเอสเบิร์ก เดนมาร์ก ศึกษาระดับปริญญาตรีคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมินนิโซตา สหรัฐฯ เริ่มทำงานกับบริษัทอเมริกันเอ็กซ์เพรส แล้วเข้ามาร่วมงานกับสายการบินเอสเอเอส จนกระทั่งปี 2507 เข้ามาทำงานในการบินไทย จนปี 2512 ก็ขึ้นรั้งตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด

ขณะนั้น การบินไทยกำลังอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ ที่กำลังอยู่ในช่วงปรับ เปลี่ยนองค์กร อีกทั้ง เอสเอเอส กำลังจะหมดสัญญาในการบริหารงานในการบินไทยในปี 2520 ส่งผลให้ตำแหน่งของ ลุมโฮลท์ เริ่มสั่นคลอน ทั้งๆ ที่เขาคือ ปรมาจารย์ด้านการตลาดอุตสาหกรรมการบินพาณิชย์

อย่างไรก็ดี เมื่อปี 2514 ฉัตรชัย บุญยะอนันต์ ซึ่งเป็นคนไทยที่หาตัวจับยากในความสามารถด้านการตลาดธุรกิจ การบินพาณิชย์ เขาจึงได้รับการยอมรับและให้เข้ามาดูแลงานในตำแหน่งรองผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายการตลาด เหมือนเป็นการเตรียมตัวรับช่วงต่อจากลุมโฮลท์ อย่างไรก็ดี เป็นที่รู้กันว่าทั้งสองรู้จักมักคุ้นกันดี

ความสัมพันธ์ของคนทั้งสอง ทั้งด้านความสามารถได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอำนาจครั้งใหญ่ในการบินไทย ในด้านการตลาดยิ่งใหญ่มาก ส่งผล ให้อิทธิพลของฉัตรชัยเริ่มแข็งแกร่งขึ้น สังเกตจากหลังที่เอสเอเอส หมดสัญญา ลุมโฮลท์ยังคงทำงานอยู่เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้ทั้งฉัตรชัยและสถานะของการบินไทย โดยลุมโฮลท์ ขึ้นเป็นผู้อำนวยการฝ่ายวิสาหกิจ ต่อมารับตำแหน่งผู้อำนวยการใหญ่อาวุโสฝ่ายอุต-สาหกรรมการบิน จนกระทั่งปี 2532 เขาจึงลาออกจากการบินไทยเพื่อไปเปิดบริษัทดำเนินธุรกิจด้านการท่องเที่ยวของตัวเอง

นอกจากได้รับการยกย่องว่าเป็น ผู้วางรากฐานการพัฒนาการขายให้กับการบินไทยแล้ว ลุมโฮลท์ยังได้ชื่อว่าเป็นผู้บุกเบิกอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในไทยอีกด้วย ในตลอดชีวิตเขาอยู่ในวงการท่องเที่ยวมาโดยตลอด ซึ่งเป็นสิ่งที่เขาปรารถนามาโดยตลอด ดังคำพูดของเขาที่ว่า "ผมเชื่อว่าการที่คนมาท่องเที่ยวแล้วได้รับความเอาใจใส่อย่างเพียงพอ จะแสดงออกถึงความเป็นเจ้าบ้านที่ดีและเป็นผู้เข้าใจในวัฒนธรรม"

วันนี้ลุมโฮลท์ จากไปด้วยโรคหัวใจล้มเหลวเมื่อเช้าวันพุธที่ 18 สิงหาคม 2542 ที่เมืองโคเปนเฮเกน เดนมาร์ก ด้วยวัย 67 ปี ทิ้งไว้แต่ความทรงจำที่ดีในสายการบินแห่งชาติของไทย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us