Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2542
นิเวศ พันธ์เจริญวรกุล ชี้รัฐต้องเร่งสางปัญหาส่งออกไทย             
 

   
related stories

ตำนาน "เท็ดดี้แบร์" ในเมืองไทย จาก "รับจ้างผลิต" สู่ "แบรนด์ของตัวเอง"

   
search resources

ซิดดี้ทอยส์
เท็ดดี้เฮาส์
นิเวศ พันธ์เจริญวรกุล




นิเวศ ได้เข้ามาร่วมธุรกิจกับซิดดี้ทอยส์ เมื่อ 8 ปีที่แล้ว ด้วยเหตุผลหลัก 2 ประการคือ ธุรกิจส่งออกเป็นธุรกิจที่นำเงินตราเข้าประเทศ และช่วยสร้างงานภายในประเทศ นอกจากนั้นเขายังมองเห็นศักยภาพในการเติบโตของอุตสาหกรรมส่งออกด้วย โดยเฉพาะในช่วงวิกฤติทางเศรษฐกิจ การนำเข้าสินค้าสำเร็จรูปจะลดลงมาก ดังนั้นสินค้าที่คนไทยสามารถผลิตได้เองจะสามารถทดแทนสินค้านำเข้าเหล่านั้นได้

จากอาชีพทนายความ นิเวศมีโอกาสได้สัมผัสกับคนในหลากหลายอุตสาหกรรม ทำให้เขาซึมซับเอาปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละอุตสาหกรรม แม้แต่อุตสาหกรรมส่งออก ซึ่งเขาอยู่ใกล้ชิดมากก็ยังประสบกับอุปสรรคมากมาย อันทำให้ไม่สามารถเติบโตได้อย่างก้าวกระโดด ซึ่งปัญหาในภาพรวมเหล่านี้ผู้ประกอบการไม่สามารถแก้ไขได้โดยลำพัง รัฐบาลจะต้องเข้ามาร่วมแก้ไขอย่างจริงจัง

นิเวศในฐานะตัวแทนผู้ส่งออกไทยอยากให้ภาครัฐแก้ปัญหาต่อไปนี้อย่างรวดเร็วและเป็นรูปธรรม

1. เรื่องการประชาสัมพันธ์สินค้าไทยในต่างประเทศ ต้องมีการปฏิบัติอย่างจริงจัง รวดเร็ว และทั่วถึง มิใช่เพียงแต่มีการพูดกันในระดับนโยบายเท่านั้น

2. เรื่องโครงสร้างภาษีการนำเข้าวัตถุดิบ ควรจะปรับลดลงให้ถูกกว่านี้ เพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้ผลิต

3. เรื่องเงินทุน หน่วยงานของรัฐ อย่างเช่น เอ็กซิมแบงก์ มีเงินมากจริง แต่ผู้ส่งออกไม่สามารถกู้ได้ เนื่องจากยังคงต้องผ่านกระบวนการของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะกู้เงินในวันนี้

"สมมติ ถ้าเรามี LC เข้ามาเราไปแพค แบงก์จะบอกเลยว่า คุณต้องเอาเงินสดมาวางเป็นหลักประกันในอัตราไม่น้อยกว่า 110% คือ เราต้องมีเงินสดๆ ไปค้ำ มีโฉนดที่ดินยังไม่รับเลยเดี๋ยวนี้ ซึ่งถ้าเรามีเงินไปวางค้ำประกันขนาดนั้นแล้วเราจะไปกู้เขาทำไมกัน" เป็นความรู้สึกอัดอั้นของคนทำธุรกิจในยุคนี้

อย่างไรก็ดี นิเวศคิดว่า เริ่มมีสัญญาณที่ดีต่ออุตสาหกรรมบ้างแล้วคือ การที่รัฐบาลออกกฎหมายเอสเอ็มอีมา และพยายามจะตั้งกองทุนธุรกิจขนาดกลาง-เล็ก ซึ่งเขาคิดว่าอาจจะช่วยได้ระดับหนึ่ง "บริษัทเล็กๆ กลางๆ เหล่านี้เป็นหัวใจที่ทำให้เศรษฐกิจโต เพราะบริษัทใหญ่พอมีปัญหาตูมหนึ่งก็ไปทั้งระบบ บริษัทเล็กๆยังพอมีที่จะอยู่ได้ และที่สำคัญคือ สามารถสร้างงานได้ทุกระดับ" เป็นความเห็นของผู้อยู่เบื้องหลังในการสานต่ออนาคตของซิดดี้ทอยส์ จนกระทั่งให้กำเนิดเป็น "เท็ดดี้เฮาส์" ในปัจจุบัน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us