Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2542
สมรภูมิของธนาคารกสิกรไทย             
 

   
related stories

ธนาคารในเอเชียหลังมรสุมทางเศรษฐกิจ
รวบทุกอย่างเข้าด้วยกัน: แผนการผนวกและซื้อกิจการของเอบีเอ็น แอมโร
ธนาคารแห่งอินเดีย ยักษ์ที่เพิ่งตื่นจากหลับใหล
การผนวกและซื้อกิจการธนาคาร: โอกาสทางประวัติศาสตร์ ที่ไม่ใช่สำหรับกิจการที่อ่อนแอ
บทเรียนจากละตินอเมริกา
ยกเครื่องธนาคารในเอเชีย

   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารกสิกรไทย

   
search resources

ธนาคารกสิกรไทย, บมจ.
Banking and Finance




ประสบการณ์ล่าสุดของธนาคารกสิกรไทย ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์ยักษ์ใหญ่อันดับสองของไทย และเป็นธนาคารเอกชนแห่งหนึ่งที่มีระบบบริหารที่ดีที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชี้ให้เห็นถึงปัญหาที่สถาบันการเงินย่านเอเชียกำลังเผชิญในขณะที่กำลังฟื้นฟูกิจการ ธนาคารกสิกรไทยเริ่มต้นดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดตั้งแต่เมื่อปี 1998 แต่วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจหนักหน่วงจนทำให้การพยายามปรับโครงสร้างทุนในครั้งแรกไม่บรรลุผล และกดดันให้ต้องดำเนินความพยายามอีกเป็นคำรบที่สอง

การดำเนินการตามกลยุทธ์ที่กำหนดขึ้นอย่างดีตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ ช่วยให้ธนาคารกสิกรไทยระดมทุนเพิ่มได้ 884 ล้านดอลลาร์ จากตลาดหุ้นทั่วโลกเมื่อเดือนมีนาคมปีที่แล้ว โดยการขายหุ้นในราคาหุ้นละ 88 บาท ทำให้ตระกูลล่ำซำซึ่งถือหุ้นส่วนใหญ่ของธนาคารถือครองหุ้นลดลงเหลือน้อยกว่า 10% ขณะที่นักลงทุนประเภทสถาบันจากต่างชาติถือหุ้น 49% ธนาคารเร่งหาทางแก้ไขปัญหาเงินทุนหมุนเวียนด้วยการประกาศงดรับพนักงานใหม่ พร้อมๆ กับพิจารณาลดค่าใช้จ่ายในส่วนอื่นลง ธนาคารตัดสินใจแก้ไขปัญหาหนี้เสียโดยตั้งทีมผู้เชี่ยวชาญพิเศษถึง 8 ทีม โดยมีผู้ร่วมงานทั้งหมด 150 คน เพื่อจัดการเฉพาะในเรื่องการเร่งรัดหนี้สิน ด้วยวิธีการนี้ ธนาคารสามารถปรับปรุงระบบจัดการหนี้เสียเหล่านั้น และแยกแยะว่าการให้บริการนี้แตกต่างจากการให้สินเชื่อ และมักต้องอาศัยกลไกอิสระที่ไม่ยึดติดอยู่กับความสัมพันธ์กับลูกค้าเพื่อบังคับการชำระหนี้

ในเดือนมิถุนายนปีที่แล้ว ธนาคารประกาศเข้าซื้อหุ้นเพิ่มในบริษัทภัทรธนกิจเป็น 51% จากเดิม 49% ในขณะนั้นภัทรธนกิจกำลังประสบปัญหาด้านการเงิน เนื่องจากผู้ฝากเงินแห่กันมาถอนเงินด้วยเกรงถึงความมั่นคงของสินทรัพย์ของตนเอง ในช่วงนั้นราคาหุ้นของธนาคารกสิกรไทยลดลงเหลือหุ้นละ 40 บาท ธนาคารพาณิชย์อีก 7 แห่ง ก็ประกาศผลประกอบการในเดือนกรกฎาคม ปี 1998 ว่าลดลงเนื่องมาจากสัดส่วนหนี้เสียที่เพิ่มสูงขึ้น ราคาหุ้นของธนาคารกสิกรไทยจึงขยับลดลงเหลือเพียงหุ้นละ 35 บาท ในช่วงกลางเดือนสิงหาคม ธนาคารกสิกรไทยยังคาดการณ์อีกว่า เงินกู้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ของกิจการจะเพิ่มสูงขึ้นเป็น 38% ของยอดการปล่อยสินเชื่อทั้งหมดในช่วงกลางปีนี้โดย 50% ของเงินกู้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้นี้จะถูกตัดเป็นบัญชีหนี้เสีย ข่าวนี้ทำให้ราคาหุ้นของธนาคารลดลงฮวบฮาบเหลือเพียงหุ้นละ 20 บาท

เมื่อเป็นเช่นนี้ เงินทุน 834 ล้านดอลลาร์ ที่ระดมมาจากตลาดหุ้นทั่วโลกจึงไม่เพียงพอที่จะแก้ไขปัญหาเงินกู้ แต่ธนาคารก็ประสบความสำเร็จเมื่อตัดสินใจเพิ่มฐานเงินทุนด้วยกลยุทธ์การระดมทุนมูลค่า 40,000 ล้านบาท (3,100 ล้านดอลลาร์) ด้วยการออกหุ้นบุริมสิทธิและหุ้นกู้ เมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้ว

โดยสรุป จะเห็นได้ว่าธนาคารกสิกรไทยดำเนินการอย่างทันท่วงทีจนสามารถรั้งตำแหน่งผู้ชนะท่ามกลางวิกฤตการณ์การเงินร้ายแรงที่สุดครั้งหนึ่ง ความพยายามของธนาคารกสิกรไทยสะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องมองอุปสรรคท้าทายต่างๆ ด้วยความฉับไว ซึ่งรวมถึงการบริหารหนี้เสีย ระดมทุน ปรับโครงสร้างค่าใช้จ่ายและเพิ่มพูนทักษะใหม่ๆ ความสำเร็จจึงขึ้นอยู่กับความยืดหยุ่นและนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อก้าวพ้นอุปสรรค ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงใดๆ ก็ตาม มีแนวโน้มว่าจะเกิดขึ้นเมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัวและภาคธุรกิจมีการปรับโครงสร้าง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us