ท่ามกลางนโยบายคุมเข้มจากภาครัฐของอินเดีย ดูเหมือนว่าธนาคารแห่งอินเดีย
(SBI) จะแตกต่างจากธนาคารของรัฐบาล 26 แห่งและธนาคารเอกชน 34 แห่งใน ปี 1998
อันเนื่องมาจากขนาดและหลักการดำเนินงาน ด้วย สินทรัพย์มูลค่า 40,000 ล้านเหรียญ
เงินฝาก 30,000 ล้าน เหรียญและบัญชีอื่นๆ อีกมากกว่า 20 ล้านบัญชี ธนาคารแห่งอินเดียถือครองส่วนแบ่งตลาดธนาคารของอินเดียถึงหนึ่งในสี่ของทั้งหมด
การให้บริการของธนาคารครอบคลุม ตั้งแต่การปล่อยสินเชื่อให้กับบริษัท การรับฝากเงินของลูกค้ารายย่อยและการปล่อยกู้
การดำเนินธุรกิจของธนาคารสะท้อนให้เห็นถึงนโยบายเศรษฐกิจของธนาคารโดยตรง
กล่าวคือ เอสบีไอต้องจัดสรรเงินกู้ 40% ให้กับบริษัทที่มีความสำคัญเป็นอันดับแรกสุด
รวมถึงภาคการเกษตรและธุรกิจขนาดเล็ก และกระจายสินเชื่อ 50% ให้กับกิจการชั้นนำและไม่เกิน
10% ให้กับผู้บริโภค โดยเงินกู้เพื่อผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นการปล่อยกู้ให้กับพนักงานบริษัท
ตลอดทศวรรษ 1990 ธนาคารแห่งอินเดียตอบสนองนโยบายของรัฐบาลอย่างเข้มงวดด้วยการกระตุ้นการออม
ของประชาชนมากกว่าการกู้ยืมหรือการดำเนินธุรกิจการปล่อยกู้ให้กับผู้บริโภค
กระนั้นก็ดี ธนาคารแห่งอินเดียกลับไม่ประสบความสำเร็จมากนักในด้านการรับฝากเงินรายย่อย
สาขากว่า 9,000 แห่งกระจายเข้าถึงทุกหมู่บ้านในประเทศ ทำ ให้ธนาคารได้รับความไว้วางใจ
แต่ธนาคารแห่งอินเดีย กลับมองบรรดาผู้ฝากเงินเป็นเพียงลูกค้าธรรมดาๆ เกือบตลอดทศวรรษ
1990 โดยธนาคารเสนอบริการเพียงบางกลุ่มในรูปของบัญชีออมทรัพย์หรือบัญชีเงินฝากประจำ
ทว่า ในช่วงปลายทศวรรษ 1990 การแข่งขันก็เพิ่มสูงขึ้นเนื่อง จากรัฐบาลจำเป็นต้องผ่อนคลายกฎและอนุญาตให้ธนาคาร
ต่างชาติเข้ามาดำเนินกิจการแม้ว่าจะจำกัดให้เปิดสาขาได้เพียงไม่กี่แห่งก็ตาม
ต่อมาในปี 1995 รัฐบาลอินเดียตัด สินใจส่งเสริมการขยายเครือข่ายเครื่องเบิกถอนเงินสดอัตโนมัติ(เอทีเอ็ม)ทั่วประเทศ
ส่งผลให้ธนาคารชั้นนำอย่าง ซิตี้แบงก์และเอชเอสบีซีพัฒนากิจการได้อย่างรวดเร็ว
และได้รับผลตอบแทนจากการขยายตัวในเวลาอันสั้น
ธนาคารแห่งอินเดียตระหนักดีว่า ส่วนแบ่งตลาดของกิจการกำลังล่อแหลม จึงเร่งปรับปรุงการดำเนินธุรกิจ
ที่เกี่ยวข้องกับลูกค้ารายย่อยเมื่อปี 1998 พร้อมประกาศแผนสร้างศูนย์บริการลูกค้ารายย่อยเกือบ
100 แห่งกระจาย ทั่วประเทศ ศูนย์บริการแห่งนี้จะจัดการกับความผิดพลาด ที่เกิดขึ้นจากการใช้เครื่องเบิกถอนเงินสดอัตโนมัติในปี
1996 นอกจากนั้น ธนาคารติดตั้งเครื่องเบิกถอนเงินสดใหม่ๆ อีกไม่ต่ำกว่า 50
เครื่องในปี 1998 และตัดสินใจปรับปรุงงานด้านการให้บริการและประสิทธิภาพโดยรวมของกิจการ
ด้วยการนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ในสาขาต่างๆ ร่วม 1,500 สาขา พร้อมดำเนินแผนจัดตั้งบริษัทร่วมทุนกับจีอี
แคปิ-ตอล เพื่อออกบัตรเครดิตวีซ่าแก่ลูกค้า
ในศตวรรษที่ 21 ที่ใกล้เข้ามา ธนาคารแห่งอินเดีย ได้เตรียมความพร้อมหลายด้าน
อาทิ การร่างแผนเชิงรุก รองรับระบบการชำระเงินและการประกันภัยเพื่อช่วงชิงข้อได้เปรียบจากเครือข่ายสาขาที่มีอยู่อย่างทั่วถึง
แต่ธนาคาร ต้องเผชิญกับแรงท้าทายสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฝึกอบรมพนักงานเรือนหมื่นเพื่อจัดการกับภารกิจใหม่
ผลิต ภัณฑ์ใหม่และบริการใหม่
ธนาคารแห่งอินเดียก็เหมือนกับธนาคารภาครัฐทั่วไป ในเอเชีย ในแง่ที่ว่าธนาคารจะต้องอยู่
"ถูกที่ ถูกเวลา" หาก ต้องการรักษาฐานะผู้นำธุรกิจธนาคารสำหรับผู้บริโภครายได้
ต่ำและรายได้ปานกลางซึ่งเป็นตลาดขนาดใหญ่เอาไว้