กองทุนเปิด ทหารไทยธนบดี ของบลจ.ทหารไทยตอนนี้เป็นกองทุนเปิดที่มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิสูงสุดถึง
20,176 ล้านบาทไปแล้ว ถือเป็นการบริหารกองทุนที่ประสบ ความสำเร็จมากรายหนึ่งในยามที่บรรยากาศการลงทุนในประเทศนี้ยังไม่สดใสแม้
ดัชนีตัวเลขสำคัญทางเศรษฐกิจจะเริ่มบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวแล้ว โชติกา
สวนานนท์ กรรมการผู้จัดการบลจ.ทหารไทย เปิดใจให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับแนวทางการบริหารกองทุนเปิด
รวมทั้งนโยบายการจัดตั้งกองทุนใหม่ในปีนี้ ซึ่งเธอเน้นทำธุรกิจหลัก ไม่ทำกองทุนพิเศษใดๆ
บลจ.ทหารไทย (TMBAM) ถือเป็นน้องใหม่ในวงการบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมรายหนึ่งที่น่าสนใจไม่น้อย
ในแง่ที่ว่ากองทุนทหารไทยธนบดี ซึ่งเป็นกองทุนเปิดที่เสนอขายแก่ประชาชนทั่วไป
และเป็นกอง money market fund ซึ่งนโยบายของกองนี้คือลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้น
อายุไม่เกิน 1 ปี หรือหากมีอายุเกิน 1 ปีก็ต้องมีอัตราดอกเบี้ยลอยตัว (floating
rate note) เป็นกองเดียวที่มีมูลค่าสินทรัพย์สุทธิสูงที่สุดในเวลานี้ หลังจากที่บลจ.บัวหลวง
เคยทำมา 4 กองและประสบความสำเร็จ มาก แต่ก็ต้องมาปิดไปเพราะเจอเหตุ การณ์วิกฤตการเงินเมื่อ
ก.ค. 2540
กองทุนทหารไทยธนบดีเริ่ม launch ครั้งแรกด้วยมูลค่า 2,495 ล้านบาท เมื่อ
15 พ.ค. 2540 ทำไปได้สักเดือนครึ่ง ก็เจอเหตุการณ์ปิด 42 ไฟแนนซ์ พอถัดมาวันที่
2 ก.ค. ก็เจอ floated baht โชติกา สวนานนท์ กรรมการผู้จัดการ บลจ. ทหารไทย
ให้สัมภาษณ์ "ผู้จัดการ" เป็นครั้งแรกว่า "จริงๆ แล้วเราผ่านมากับอะไรที่แย่
คือสถานการณ์ที่ค่อนข้างเนกาทีฟสำหรับตราสารหนี้ ส่วนตราสารทุนนั้นมันแย่ก่อนหน้านานแล้ว
ซึ่งทำให้เรามาออกตราสารหนี้เป็นกองแรก แต่เราก็รอด เพราะเราไม่ได้ติดใน
42 ไฟแนนซ์เลย ไม่ได้ผลกระทบจากตรงนั้นเลย"
แต่แม้ไม่ได้รับผลกระทบจากจุดนั้น บลจ.น้องใหม่รายนี้ก็มาเจอกับสถานการณ์อีกแบบหนึ่ง
คือการที่ TMBAM เข้าไปลงทุนใน FIDF Bond ไปลงไว้เยอะมาก การที่ไปลงไว้เยอะ
เธอให้เหตุผลว่า "เพราะว่าเราเห็นว่ามันมีความปลอดภัย เป็นหน่วยงานภาครัฐ
การลงทุนใน FIDF Bond นี่เราเห็นว่าไม่เสี่ยงขณะที่คนอื่นมองว่าเสี่ยง แต่เราก็เปิดพอร์ตทุกวัน
นักลงทุนสามารถดูได้ทุกวัน ไม่ได้ปิดบังอะไร"
TMBAM ลงทุนใน FIDF Bond ตั้งแต่ที่เริ่ม crash คือตั้งแต่ ก.ค. 40 ดอกเบี้ยปลายปี
40 สูงกระฉูด พอปี 41 ดอกเบี้ยเริ่มลง รัฐบาลเริ่มออก Go- vernment Bond
แล้วให้ FIDF replace เริ่มมีการลากดอกเบี้ยลงแล้ว ซึ่งดอกเบี้ยขาลงเป็นสิ่งที่คนเริ่มกลัว
ลูกค้ากลัว ผู้ถือหน่วยทุกคนกลัว และก็เริ่มมี tendency ที่จะเข้าหา Govt.Bond
ทีนี้ในภาวะดอกเบี้ยขาลง ก็มีการทำกำไรกันเยอะมาก แต่กองทุนทหารไทยธนบดีมี
constrain อย่างหนึ่งคือนโยบายการลงทุนที่ promise ไว้กับผู้ถือหน่วย ทั้งนี้นโยบายการลงทุนดังกล่าวคือลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้นอายุต่ำกว่า
1 ปีหรือตราสารหนี้ระยะยาวที่มีดอกเบี้ยลอยตัว ที่นโยบายของ TMBAM ต้องเป็นเช่นนี้
"เพราะว่าก.ล.ต. ไม่ให้เราออก money market fund ตัวกองทุนแบบนี้คืออะไรที่เป็น
short term ไม่ใช่เงินฝาก"
แต่การณ์กลับเป็นว่า สมาคม บลจ.จะมองว่า money market fund เป็นกองทุนรวมเงินฝาก
ขณะที่โชติกามองว่า "มันไม่เห็นจะเป็นเงินฝากเลย หากมันเป็นอะไรที่เป็น short
term paper คำว่า money market นี่ขอให้เป็นอะไรก็ได้ที่เป็น short term
paper มันจะเสี่ยงหรือไม่เสี่ยงขึ้นอยู่กับผู้ออกตราสาร หากเราซื้อพันธบัตรรัฐบาล
อายุ 3 เดือน มันก็เป็นกองทุน money market fund ในอเมริกา ไม่เห็นจำเป็นต้องไปฝากแบงก์เลย
หรือซื้อพันธบัตร FIDF 100% ของพอร์ต มันก็เป็น money market fund แล้ว เพราะว่ามันสั้น
ความที่มันสั้นมันก็ไม่มี interest rate risk หรือมี interest rate risk
ต่ำความเสี่ยงอัตราดอกเบี้ยเป็นเรื่องที่อธิบายให้คนเข้าใจยาก และมันไม่ได้อยู่ในคอนโทรลของเรา
เราวิเคราะห์ได้เหมือนกัน เป็นภาพกว้างๆ แต่ขณะเดียวกันก็เป็นนโยบายรัฐบาลได้เหมือนกันที่จะดึงดอกเบี้ยลงมาหรือกระชากดอกเบี้ยขึ้น
หรืออะไรก็ตาม ซึ่งมัน out of control ของเรา มันเหมาะกับ educated investor
ฉะนั้นในกองแรกของเรานี่ เราบอกว่ามันยากที่จะ educated คนในเรื่อง interest
rate risk มันยังไม่ sophisticate ถึงขนาดนั้น เพราะคนจะชินเรื่องดอกเบี้ยเงินฝากมากกว่า
ดังนั้นเราจึง minimized มัน ด้วยการกำหนด policy เลยว่าเป็นหลัก คือจะหาตราสารระยะสั้นอย่างเดียวมันก็ยากเพราะว่าไม่ค่อยมีคนออก
ดังนั้นเราก็บอกว่าหากไม่สั้นก็ยาวที่เป็นดอกเบี้ยลอยตัว เพราะตราสารระยะยาวที่มี
ดอกเบี้ยลอยตัวนี่ มัน hedge itself อยู่แล้ว เพราะดอกเบี้ยจะ floated ไปตามภาวะตลาด
เพราะตราบใดที่ดอกเบี้ย floated ไปตามภาวะตลาด มันก็จะไม่มีผลกระทบต่อราคามากมายนัก
มันก็จะกลับมาที่พาร์หรือใกล้เคียงพาร์ interest rate risk จะต่ำมากเพราะถือว่าทุกครั้งที่ปรับ
coupon ก็ปรับไปตามมาร์เก็ต คือจะ link กับ MLR หรืออะไรก็ตาม เพราะฉะนั้นการลงทุนของเราไม่เคยเบี่ยงเบนไปจากนโยบายนี้
โอกาสที่เราจะลงใน long term fixed นี่น้อยมาก ดังนั้นถึงเราจะมี Govt. bond
เยอะนี่ ก็ไม่เยอะมาก อาจจะดู เยอะเพราะว่าขนาดของเราใหญ่ คือ เทียบเป็นเปอร์เซ็นต์ของ
portfolio ของเรานี่ ไม่เยอะเลย เพราะว่าเราบอกว่าเป็นหลัก เท่าไหร่จึงจะเป็นหลักอย่าง
น้อยก็ต้องมากกว่า 60% เพราะว่าก.ล.ต. ต้องมาตรวจ"
โชติกาอธิบายยืดยาวเพื่อให้เห็นว่าเธอกำหนดนโยบายการลงทุนอย่างไร และเธอยึดถือมันอย่างไร
เธอได้เปิดเผยเป็นครั้งแรกเมื่อถูกถามเกี่ยวกับผลการดำเนินงานของกองทุนว่าทำไมไม่มี
volatility ใน price ของ NAV
เธอตอบว่าเป็นเพราะ "เราไม่ expose ตัวเราเองกับของที่มันเป็น long term
fixed ฉะนั้นจริงๆ แล้ว return เราไม่ได้สูง เราไม่ใช่ที่หนึ่งของ ตลาดด้วยซ้ำไป
performance เราแย่กว่าคนอื่นด้วยซ้ำไป พอเรากำหนดตัวเราเองอย่างนั้นปั๊บ
โอกาสที่เราจะทำกำไรในช่วงขาลงก็นิดเดียวตามนโยบาย นั้น คนอื่นกำไรกันตูมๆ
เราก็นั่งมองตาปริบๆ เพราะดอกเบี้ยเราจะ floated ไป ตามมาร์เก็ตเป็นส่วนใหญ่
ประมาณ 75%-80% ของพอร์ต ฉะนั้นดอกเบี้ยไหลลงก็ไหลลง มันมี room เพียงนิดเดียวที่จะทำกำไรได้
ที่จะ allow ให้ fund manager เข้าไปเล่น Govt. bond ในช่วงดอกเบี้ยขาลงได้นิดเดียว
ไม่เยอะ เพราะฉะนั้นหากจะเกิดอะไรขึ้นในตลาดบอนด์ เรากระทบน้อยอยู่แล้ว เพราะมันถูกกำหนดไว้แล้วจากนโยบายการลงทุน
และถูกกำหนดอีกครั้งด้วยการดูว่าไม่ใช่ 60% นะ ต้องเป็น 70% หรือ 75% ไม่ต่ำกว่า
80% แล้วแต่ว่าเราวิเคราะห์ทิศทางดอกเบี้ยอย่างไร"
crisis เมื่อเดือนมีนาฯ ทหารไทยธนบดีก็เจอเหมือนกัน
เธอเริ่มเข้าประเด็นเกี่ยวกับการ mark ราคาบอนด์ หลังจากที่เกิด crisis
ย่อยในหมู่ผู้ซื้อขายบอนด์เมื่อเดือนมีนาคม ซึ่งเป็นเหตุให้บลจ.หลายแห่งที่บริหารกองทุนตราสารหนี้เกิดระส่ำระสาย
กันพักหนึ่ง เพราะลูกค้าตกใจและมีการถอนคืนหน่วยลงทุนกันมากว่า "วันนั้น
ก.ล.ต.เรียกเราเข้าไป แล้วแจกชีท แผ่นหนึ่งบอกว่า คุณดู มีการ markหุ้นกู้ในราคาที่ไม่เท่ากันในแต่ละบลจ.
ก.ล.ต.ก็เรียกว่าเป็นบลจ. เอ บี ซี ดี อี เอฟ แล้วก็ให้ชื่อหุ้นกู้และราคาต่อหน่วยที่
mark ต่างกัน ทีนี้พอเราเห็นอันนี้ปุ๊บ เราก็บอกว่านี่ไม่ใช่เราแล้ว เพราะว่าเราเกิดมานี่หุ้นกู้พวกนี้ก็ตายหมดแล้ว
มันไม่มีให้เราลงแล้ว ช่วงที่เราเกิดนี่มันเกิด crash แล้วหุ้นกู้เหล่านี้ไม่มีให้เราลงแล้ว
อาจจะมีอยู่ตัวเดียวคือหุ้นกู้แบงก์ทหารไทย ที่เรากว้านซื้อในตลาดรองตอนที่ราคามันกระฉูดไปแล้ว
คนไม่เชื่อใน risk ของธนาคารอาจจะด้วยว่ามันเป็นแบงก์กลาง หรืออะไรก็ตาม
แต่เราก็เชื่อใน risk ของแม่เรา ว่าโอเค คือถ้าจะว่าไป เรามีตัวเดียว แต่นี่คือ
list ที่ก.ล.ต.ให้มา ซึ่งก็ไม่น่าจะเกี่ยวกับเรา สิ่งที่ก.ล.ต.ให้มานี่น่าจะว่าบลจ.เก่ามากกว่า
เพราะว่าบลจ.ใหม่ ไม่น่ามี ITD ไม่น่ามี Q-House, Perfect, Nation มีได้อย่างไร
เราก็งง แต่ก็สบายใจว่าเขาคงไม่ ได้ว่าเรา เพราะเวลาที่เขาว่ากันนั้น เขามักไม่เอ่ยชื่อ
และเมื่อเราเบื่อมากๆ ก็ลาออกจากสมาคมไปแล้ว ขี้เกียจฟังและเอาเวลาไปทำงานดีกว่า"
เธอเท้าความเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่า มีอยู่วันหนึ่งที่ราคา Govt.Bond พลิก
คือช่วงต้นเดือนมีนาคมที่ yield curve วิ่งกลับ เพราะฉะนั้นกำไรที่กองทุนหุ้นกู้ทั้งหลาย
mark กัน มันก็เกิดขาดทุนอย่างมาก (loss)
สำหรับกองทหารไทยธนบดีในช่วงนั้นเป็นช่วงที่มีการปิดขายกองทุน เพราะว่าโชติกาเห็นว่าเม็ดเงินใหม่ไม่
contribute แล้ว จะเอาไปฝากอะไร ไปลงทุนที่ไหน มันก็ไม่ได้ yield เท่าเดิม
"ในเมื่อเราทำอะไรกับเงินใหม่เขาไม่ได้ เพราะไม่มีของจะลง FIDF หยุดออกแล้ว
มันไม่มีบอนด์ระยะสั้นให้แล้ว มันมีแต่บอนด์ 5 ปี 7 ปี แต่นโยบายกองทุน limit
ตัวเองไว้ ลงไม่ได้ รัฐ บาลตอนนั้นเริ่มออกบอนด์ 1 ปี ซึ่งตอน นั้นเราก็ยังลงได้เยอะอยู่
แต่แล้วลุกขึ้นหยุดหนึ่งปี ออกสองปี สามปี ห้าปี ซึ่งเราก็ลงไม่ได้แล้ว เราก็ต้องปิดรับเงินแล้วเพราะว่ามันติด
limit money market 45% ซึ่งเราก็ลงไปเต็มแล้ว ที่เหลือก็เป็นบอนด์อื่นๆ
ที่เราซื้อมาใน ตลาดที่เป็น floating rate เช่น TMB#3, Bay#1 และ IFCT เป็นต้น
โดยเป็นแบบอัตราดอกเบี้ยลอยตัวทั้งสิ้น และเราก็ลง big portion
เราหยุดรับเงินวันที่ 22 ก.พ. ซึ่งช่วงนั้นเราก็แย่แล้ว เราไม่รู้จะเอาเงินไปทำอะไร
ตอนที่ปิดนั้นมูลค่าประมาณ 17,000 ล้านบาท แล้วเราก็ forsee ว่าสิ่งที่จะเกิดคือ
redemption อย่างเดียวเราหยุดรับขาซื้อ ไม่ได้หยุดรับขาขาย สิ่งที่เราทำก็คือสำรอง
liquidity เพราะเรารู้ว่ามันจะไม่มีขาซื้อมารองรับขา ออกแล้ว เพราะฉะนั้นเราสำรองสภาพคล่องไปเยอะมากเลย
และก็ใจหนึ่งที่หยุดเพราะว่าเงินใหม่เข้ามาแล้วเอาไปฝาก ก็เหมือนกับถูก discriminate
ไม่รู้จะเอาเงินไปทำอะไร คนเก่าฝากอยู่ได้ 5% คนใหม่เอามาฝากก็ทำให้ได้แค่
3% หรือ 2% เท่านั้น หยุดดีกว่า แล้วมันก็มากเกินไป แล้วตอนนั้นก็มีนักลงทุนสถาบันเข้ามาเยอะ
เพราะว่าเขาถูก discriminate มา ก็ไม่ใช่พวก retail แล้ว แต่นโยบายเรามักจะไปหาลูกค้ารายย่อยเพราะเราคิดว่าเรามี
value added ให้มากกว่า
พอเราหยุดรับแล้ว วันหนึ่งก็มีคนโทรฯ มาบอกว่าเรารับได้ไหมเหตุ การณ์นี้
เราก็ถามว่าเรื่องอะไร เขาบอกว่ากำลังมี crisis เล็กๆ อยู่ในตอนนี้ คือกำลังมี
redemption อยู่ในกองทุนของบลจ.อื่น เราก็บอกว่าคิดว่าเอาอยู่นะ เพราะว่าจากการปิดกองทุนนี่เราสำรองสภาพคล่องไว้พอควร
น่าจะเอาอยู่"
เธอเอาอยู่ แม้จะถูก hit เหมือน กัน แต่ประเด็นนี้เป็นคนละเรื่องกับการลงบัญชีราคาหุ้นกู้"มันก็เป็น
snowball กระมัง ถามว่าเราไม่ mark to market ตามที่เขาตั้งข้อหาเราหรือ
ไม่นะ เรา mark ทุกตัว บอนด์ที่เรามีอยู่ 20% กว่านั้นเรา mark ทุกตัวและเราก็โดน
hit เหมือนกัน ขาดทุนเหมือนกัน แต่ขาดทุนน้อย เพราะว่าเราไม่ลงบอนด์ยาว และมันเป็น
สัดส่วนน้อย เป็น portion เล็กมาก ดอกเบี้ยรับของอีกข้างกว่า 80% นี่มันสูงกว่า
มัน cover อันนี้ได้พอสมควร yield ตอนนั้นของเราต่ำกว่า yield เงิน ฝากด้วยซ้ำ
อาจจะประมาณพาร์ๆ หรือ ใกล้เคียง ขณะที่คนอื่นเป็น negative เพราะว่าเขา
load Govt. bond ไว้เต็มพอร์ต"
เมื่อถูกไถ่ถอนหน่วยลงทุนนั้น เธอแก้ปัญหาด้วยการ "เราก็ควักเอา B.E. ออกมาขายทำกำไร
มาโปะตรงนี้ คือมันต้องทำอะไรน่ะ แต่ว่าสภาพคล่อง เราพอ ส่วนที่เราโดน hit
นั้นเราก็พยายามขายของ เพราะว่าไม่อยากจะ show return ให้คน alarm เพราะว่าเราเห็นมาในอดีตว่าพอคน
alarm ปั๊บ นี่ redemption เริ่มมานี่ มันเหมือน bank run พอเริ่ม run แล้วนี่มันมี
portion ที่ลง long term จะเป็น TMB ก็ดี IFCT ก็ดี เป็นระยะยาวทั้งนั้น
แต่เป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ถ้ามันกินเข้ามาถึงระดับนี้เมื่อไหร่เราก็แย่แล้ว
เราไม่อยากไปถึงจุดที่เราถูก force sale เราจึงขุด B.E. ออกมาขาย พวกตั๋วเก่าที่มันมีลักษณะ
tradable ได้ ส่วนใหญ่ ก็เป็นตั๋วบีอี เอามาขายทำกำไร เพื่อที่จะให้มัน barely
cover loss หรือมี loss นิดหน่อย เพราะว่าที่เหลือมันจะมาจากดอกเบี้ยแล้ว
เพราะดอกเบี้ยมัน จะเป็น 80% ของพอร์ตอยู่แล้ว เรา cover ด้วยการขายของเล็กน้อย
ซึ่งมันก็แทบจะมองไม่เห็น แต่ถามว่าเกิดเพราะเราไม่ mark to market หรือเปล่าไม่ใช่
เพราะก.ล.ต.ก็เข้ามาตรวจสอบเราอยู่เป็นปกติ เมื่อเดือนเมษายนก็เข้ามา วันที่เขารบกันเราได้
4.4% ก่อน หน้าก็ 7% หรือ 8% "
"ดังนั้นประเด็นเรื่องการ mark ราคาต่างกันมากในบอนด์ตัวเดียวกันและวันเดียวกัน
อันนี้เกิดจากอะไร เราก็ไม่ทราบ และสิ่งที่ก.ล.ต.เรียกเราไปแล้ว เปิดให้เราดูนี่
มีแต่หุ้นกู้คอร์ปอเรท สมัยโบราณมาก และไม่ใช่ Govt.bond ที่ mark ราคาต่างกัน"
เธอเท้าความให้ฟังว่าในอุตสาหกรรมช่วงนั้น เกิดข่าวลือ อะไรสักอย่าง ซึ่งไปมีผลกระทบกับ
Govt.bond แล้วราคา swap พุ่งขึ้น แบงก์ฝรั่งลุกขึ้นมาขาย Govt.bond ไป speculate
อะไรสักอย่าง ในเดือน มีนาคม แล้ว overnight ขึ้นไป 9% เพราะฉะนั้น เมื่อ
nav ติดลบ คนที่เคยเห็นกำไร 20% ต่อปี ก็ขอออกก่อนดีกว่าพวก smart ทั้งหลาย
ขอออกก่อน ดีกว่า ก็เลยเกิด spiral เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้มันก็ขึ้นอยู่กับว่าผู้จัดการกองทุนทั้งหลายจะ
manage liquidity ของ กองอย่างไร
สำหรับทหารไทยธนบดีนั้น ต้อง ถือว่าโชคดีที่ออกมาก่อน คือปิดขาซื้อ และมีการสำรองสภาพคล่องไว้เพียงพอ
โชติกาเล่าว่า "พอมากเลย แต่ว่าเหนื่อยกับการขุดบีอีมาขายทำกำไร ก็เหนื่อย
มากของที่ควรจะทำกำไรได้เยอะ ก็ ได้ไม่เยอะเท่าที่ควรจะได้ เพราะว่า trend
ดอกเบี้ยกำลังพลิก มันก็ barely เหลือ 4% บ้าง 6% บ้าง ตอนนั้นดอกเบี้ยยังไม่
6% นะ ยังไม่ได้อยู่ในระดับนี้ 6 นี่ก็เรียกว่าต่ำแล้ว ก็ไม่รู้จะอธิบายอย่างไร
นี่เป็นครั้งแรกที่อธิบาย แล้วก็ไปอธิบาย ที่ก.ล.ต.มาด้วย"
โชติกาเปิดใจอธิบายต่อสา-ธารณะเป็นครั้งแรก ผู้หญิงทำงานอย่างโชติกาเป็นคนที่หวงเวลาเป็นอย่างยิ่ง
เพราะคนที่คลุกคลีอยู่กับธุรกิจหลักทรัพย์มาหลายๆ ด้านอย่างเธอมองเห็นอะไรๆ
ที่อยากทำอีกมาก
โชติกาเป็นนักวิเคราะห์ที่แบริ่งส์ตั้งแต่สมัยบุกเบิกกับดร.ก้องเกียรติ
โอภาสวงการ และก็เป็นหนึ่งในทีมนักวิเคราะห์ที่มาร่วมทำงานกับดร.ก้อง-เกียรติที่บล.แอสเซท
พลัส ก่อนจะผันตัวมาสู่การบริหาร บลจ.ทหารไทย
เธอกล่าวว่า "จาก equity analyst มาทำ Investment Bank แล้ว มันก็ได้ประสบการณ์มากแล้ว
ก็เหลืออีก 2 อย่าง แต่ตัวเองไม่ชอบมาร์เก็ตติ้ง ไม่ชอบ เหลืออันเดียว ที่อาจจะเรียกว่าเป็น
challenge คือ fund management ก็อยากจะทำอันนี้ อยากทำ mutual fund มากกว่า
private fund เพราะคิดว่าเมืองไทยมันยังมี untapped market มันยังมีโอกาส
อีกมาก มีอะไรให้เราได้เรียนรู้อีกเยอะ เพราะว่าขนาดประกัน คนไทยยังรู้จักโปรดักส์ประกันเยอะมากกว่า
mutual fund ทั้งที่ mutual fund simple กว่า ตั้งเยอะ โปรดักส์ประกันนี่
complex กว่า mutual fund ตั้งเยอะ และมูลค่าตลาดของประกันก็ใหญ่กว่ามูลค่า
ตลาดกองทุนรวมตั้งเยอะ มันยังมี untapped market อยู่เยอะมากในความ รู้สึกของเรา
กองทุนรวมนี่เป็นโปรดักส์ที่ง่ายกว่ามากและเป็นโปรดักส์ที่เป็น การออมระยะยาวด้วย"
"ที่ออกจากสมาคมฯ เพราะมันมีแต่เรื่องอะไรอย่างนี้ มัน disrupt การทำงาน
เอาเวลาไปทำงานให้ผู้ถือหน่วยดีกว่า มีการบ้านที่ต้องทำอีกมาก มีอะไรที่
plan อยู่ในสมองมากที่อยากจะทำ หรือว่า upgrade ระบบที่จะทำ customer service
ให้ดีขึ้นเพราะไปประชุมทีหนึ่งนี่เป็นวัน" เธออธิบายเหตุผลสั้นๆ ง่ายๆ
กระชับ
อย่างไรก็ดี หลังจากที่เกิดวิกฤตขนาดย่อมๆ นี้ขึ้นแล้ว ก็มีการประนี ประนอมกันในสมาคมบลจ.
โดยมีการดึงเอาสมาคมนักบัญชีมาทำมาตรฐานบัญชี ซึ่งในเรื่องนี้ โชติกาเห็นด้วย
"อันนี้เราก็เห็นด้วยทุกอย่าง เรื่องมาตร ฐานการลงบัญชี mark to market ที่มีการเสนอขึ้นมานี่ดีทุกอย่าง"
อย่างไรก็ดี อาจจะมีข้อท้วงติง อยู่บ้างก็ตรงที่ เมื่อ ก.ล.ต.ให้สมาคมออกกฎในการคำนวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ
กฎสมาคมก็ต้องแก้ไขปรับปรุงใหม่ และก็ต้องเป็นไปตามแนวทางเดียวกับมาตรฐานการบัญชี
ไม่อย่างนั้นเมื่อบลจ.ทำตามกฎสมาคม ครั้นสิ้นปี สนง.บัญชีมี comment อีก
มันก็ไม่สวย หรือหากทำตามมาตรฐานการบัญชี ก็ผิดกฎสมาคมฯอีก
"ความจริงเรื่องนี้เป็นของเก่า มัน เคยมีเรื่อง mark to market นี่นานมากแล้ว
ตั้งแต่ก่อนที่บลจ.ใหม่ๆ จะเกิดอีก มันถึง reflex ใน different pricing อย่างนี้
ดังนั้นที่ก.ล.ต.เรียกไป คือเขาไม่ได้ว่าเราอยู่แล้ว เพราะเราไม่มีของในพอร์ตที่เขาโชว์ออกมา
แต่สมา-คมฯ นี่ว่าเราแน่ แต่ว่า base on อะไรเราไม่ทราบ เราได้ยินแต่ว่า
คนละมาตรฐาน ไม่ใช้ closing price ของ BDC ทั้งที่เรา mark ตลอด ใช้ราคา
BDC ตลอด เพียงแต่ว่า ตัวที่เราโหลดหนักๆ อย่าง TMB #1, #2, #3 นี่เราไม่เคยเทรดและเป็นอัตราลอยตัว
หรือ BAY อย่างนี้ มันเป็นของที่ไม่ liquid แล้วเราก็ชอบของแบบนี้ เพราะมันเป็นลอยตัว
เราชอบ เราเชื่อว่าเราทำการบ้านมาดีพอและเราสามารถคอนโทรลความเสี่ยงเราได้
นอกจากนี้เรายังเชื่อว่าเขามีความสามารถที่จะชำระเงินต้นและดอกเบี้ยเราแน่นอน"
กล่าวได้ว่า พอร์ตทหารไทยธนบดีจะมีพวกหุ้นกู้ที่เป็นระยะยาวอัตราดอกเบี้ยลอยตัวอยู่ค่อนข้างมาก
มีประมาณ 45% ที่เป็นเงินฝาก
หลังจากปิดข้างซื้อได้ไม่นาน ทหารไทยธนบดีก็เปิดให้ซื้อได้อีกครั้งเมื่อ
22 มีนาคม โชติกาอธิบายว่า "สาเหตุหลักคือเราไม่อยากให้เกิดผลกระทบทางจิตวิทยาว่าเอ..กองทุนนี้หมกเม็ดอะไรหรือเปล่า
อย่างไรก็ดี เราก็ได้รับผลกระทบตอนที่หุ้นมีราคาดีขึ้น และตามมาด้วยการออก
Super CAP ของแบงก์ทหารไทย" ซึ่งอาจกล่าวได้ว่านี่เป็นผลกระทบระลอกถัดมาของทหารไทยธนบดี
เป็นเรื่องที่เกิดเฉพาะกองนี้ สาเหตุเพราะสาขาแบงก์ช่วยขายให้กองทุนฯ เยอะ
พอแบงก์ขาย ของตัวเอง พนักงานก็เรียกลูกค้าออกจากกองทุนฯ ไปซื้อของแบงก์
ทั้งนี้ ฐานลูกค้าของกองทุนฯส่วนมากก็มาจากแบงก์ เพราะ volume ที่ขายผ่านแบงก์นี่มีถึง
80% กว่าของยอดขายรวมทีเดียว
ด้านซุปเปอร์แคปแบงก์ทหารไทย ให้ 11% ขณะที่ทหารไทยธนบดีให้ 6%
ถัดจากนั้นก็ยังมีระลอก 3 ที่ทหารไทยธนบดีได้รับผลกระทบคือ Govt. Bond
ที่ให้ 6.75% ที่ห้ามกองทุนฯ/นักลงทุนสถาบันซื้อ แต่ขายให้รายย่อย ก็มีนักลงทุนของทหารไทยธนบดีขายออกไปซื้อ
Govt.bond แล้วเอาไปขายให้แบงก์แล้วก็เอาเงินกลับมาซื้อกองทุนใหม่อีกรอบ
ซึ่งก็เพิ่งจะเริ่มกลับมาใน 3 วันนี่เอง
"ทั้งเดือน มี net sale ทุกวัน มี net buy อยู่ 3 วันสุดท้ายนี่เอง"
โชติกาเล่าสถานการณ์ซื้อขายกองทุนให้ฟัง
ขนาดของกองทุนทหารไทยธนบดีซึ่งใหญ่ประมาณ 16,000-17,000 ล้านบาทนี้ จะไปได้ถึงขนาดใด
โชติกาอธิบายข้อข้องใจนี้ว่าขนาดไม่ใช่เรื่องสำคัญมากเท่ากับว่าเธอมีสินค้าให้เลือกลงทุนหรือไม่
เธอสามารถสร้างผลตอบแทนแก่ผู้ถือหน่วยดีกว่าที่เขาจะลงทุนเองหรือไม่
"คือเรายังยืนจุดเดิม ซึ่งก็คือเมื่อใดก็ตามที่เราหาของลงไม่ได้ หรือเราไม่ได้
contribute ให้แก่ผู้ถือหน่วยอีกแล้ว เราก็จะหยุดอีก จนกว่าเราจะมีของลง
ตราบใดที่ยังหาของลงได้ ของที่ดีกว่า มีช่องทางลงได้ เราก็ยังเปิดขายต่อแน่นอน
แต่ตราบใดที่เราไม่มีช่องทางลง เราก็หยุดอีก คือคนชอบถามเรื่อยว่าจะหยุดอีกไหมนี่
คือเราก็ยืนอยู่ในหลักการเดิมว่าหากมันเป็นเพื่อ ผลประโยชน์ของผู้ถือหน่วย
เราก็หยุด
มันไม่ได้อยู่ที่ขนาดว่าใหญ่หรืออืดแล้ว ทุกอย่างมัน fairy rated ความใหญ่ของมันทำให้มันไม่ดีหรือ
มันก็ไม่ใช่ แต่ถ้าความใหญ่ของมันทำให้มันไม่ดีกับผู้ถือหน่วยปัจจุบันเมื่อไหร่
เราก็หยุด เมื่อไหร่เงินใหม่ที่เข้ามาไม่ contribute เราก็หยุด เมื่อไหร่ที่ไม่มีของจะลง
ที่ดีกว่าผู้ถือหน่วยเดิมเอาเงินเขาไปซื้อของอย่างอื่นใน same risk ได้ดีกว่า
เราก็หยุด มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับความใหญ่ ตราบใดที่เรามี access ที่ดีกว่า
ตราบใดที่เราให้ value added กับเขาได้ เขาทำเองคนเดียวไม่ได้ ด้วยเงินแค่
2,000 บาท เพราะเรา require การลงทุนขั้นต่ำที่ 2,000 บาท หากเรา contribute
ตรงนั้นได้ เราก็ยังทำ
คือดิฉันคิดว่าขนาดไม่ใช่เป็นตัวที่จะบอกว่าดีหรือไม่ดีสำหรับผู้ถือหน่วย
dilute หรือไม่ dilute นี่ หากว่า fairy mark to market มันก็ยุติธรรมอยู่แล้วมันไม่ใช่ว่าผู้ถือหน่วยเดิมจะ
dilute มัน fair อยู่แล้ว
นโยบายการลงทุนตอนนี้ก็คือลงในหุ้นกู้ของสถาบันการเงินขนาดใหญ่ ที่ไม่มีปัญหาเรื่องสภาพคล่อง
มี default risk ต่ำมาก และก็พันธบัตรรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ ส่วนพันธบัตรคอร์ปอเรท
นั้นเราไม่ได้ซื้อไว้เลย" โชติกาอธิบายอย่างแจ่มกระจ่างอีกครั้ง
ออกกองทุนใหม่เป็น corporate bond fund
นอกจากกองทุนทหารไทยธน บดีแล้ว โชติกากำลังจะออกกองใหม่มา เพื่อลงคอร์ปอเรทบอนด์โดยเฉพาะ
เพราะเธอมองว่ามันเป็น different risk "ธุรกิจแบงก์ไม่มีคำว่า cash flow
ไม่มีคำว่า debt to equity มีแต่คำว่าเงินเงินเงิน เพราะแบงก์มีความสามารถหาเงินได้อยู่ทุกที่
แบงก์มีความสามารถในการจ่ายเงินต้นและดอกเบี้ยตลอดตราบ ใดที่ไม่ run หรือถึงจะ
run อย่างไร ก็ยังมี interbank ให้ไปหา หรือมี FIDF ให้กู้มี lender of last
resource ทุก อย่าง เราก็เลยมองว่าสถาบันการเงินมี risk ต่ำกว่าคอร์ปอเรททั่วไป
แต่คอร์ปอเรทนี่เป็นอีก risk หนึ่ง ซึ่งหากจะอยากได้ higher return คุณก็ต้องมี
higher risk แล้วซึ่งดิฉันเห็นว่าถึงเวลาที่จะสอนผู้ถือหน่วยลงทุน สอน มาร์เก็ตว่า
risk กับ return นี่ต่างกัน ช่วงที่คุณจะเอ็นจอยดอกเบี้ยสูงๆ จากครั้งแรกนี่
risk free เพราะว่ามันเป็นพันธบัตรกองทุนฟื้นฟูฯ เราเอ็นจอยมาก และช่วงที่ดอกเบี้ยมันลงอย่างนี้
พวกที่ถือพันธบัตรก็กำไร เรามีอยู่นิดหนึ่งยังได้กำไรตรงนั้นมาทำให้สูงกว่าที่นักลงทุน
จะได้จากการฝากแบงก์ ทีนี้พอทุกอย่างมันต่ำนิ่ง ก็อยากได้ risk ต่ำๆ มันก็ได้อย่างนี้แหละ
มี return เท่านี้
คือนี่ก็เป็นอีก step หนึ่งคือจะออก corporate bond fund อยากได้ที่ MLR
ที่ 10% แทนที่จะเป็น 6% หรือ 5% ก็ต้องมา take risk หน่อย กองใหม่นี้อยู่ระหว่างการยื่น
filing ไป ยังไม่ได้รับอนุมัติ"
ว่าไปแล้วตอนนี้คอร์ปอเรท บอนด์ มีให้เล่นน้อย แต่คนก็เริ่ม ทยอยออกกันมาเรื่อยๆ
ผลพลอยได้อีก อย่างที่เธอเล็งไว้คือ การออกกองใหม่นี้ช่วยเก็บรักษาฐานลูกค้าไว้ได้
โดยเฉพาะลูกค้าที่อยากจะมี risk เพิ่มขึ้นเพื่อให้ได้ return สูงกว่ากองทหารไทยธนบดี
ก็สามารถมาลงตัวนี้ได้ ดีกว่าย้ายไปเล่นกองของบลจ.อื่นเลย "หากรับ risk ได้
ตราบใดที่เราเปิดเผยข้อมูล เรา ก็เชื่อว่าหากเราเปิดเผย แล้วเขารับได้ เขาก็เลือกเองว่าจะอยู่กองไหน"
กองคอร์ปอเรท บอนด์ที่เธอจะตั้งใหม่ เริ่มด้วยมูลค่าประมาณ 500-1,000 ล้านบาท
เพราะเธอยังไม่แน่ใจว่า supply ของ quality issue of corporate bond จะมีมากน้อยเพียง
ใดและ return คุ้มค่ากับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นหรือเปล่า
"เพราะหากจะเอา quality bond จริงๆ นี่ อย่าง SCC นี่ เดี๋ยวนี้ก็เทรดอยู่ที่
8% กว่าๆ นิดหน่อย เทียบกับเงินฝาก 5% กับ risk ของคอร์ปอเรท ที่เพิ่มขึ้น
แต่ว่าหากไปทำการบ้านแล้ว อาจจะเห็นว่าคุ้มเพราะว่าความเสี่ยงมันต่ำมากและ
cash flow ดีมากอะไรอย่างนี้ ก็ดูอีกทีว่าหากมี quality bond ดีๆ ขยายได้เรื่อยๆ
ความเสี่ยงมันคุ้ม เราก็คงขายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ"
ออกกองทุนอสังหาฯ ได้ต่อเมื่อทำกับบริษัทแม่เท่านั้น
เมื่อถามเกี่ยวกับกองทุนอสังหา ริมทรัพย์ที่มีบางบลจ.ทำกันมากนั้น และบลจ.ทหารไทยก็เริ่มประเดิมออกไป
ในยุคแรกๆ เหมือนกัน คือกองพญาไท นั้น มันเป็นกองอสังหาฯ type 2
เธอเล่าเบื้องหลังให้ฟังว่า "ตอนที่ก.ล.ต.ออกกฎมานั้นเป็นช่วงที่แบงก์มีปัญหาคือมีแรงกดดันการตั้งสำรองเพราะมีหนี้เสีย
มันมีกฎเกณฑ์เรื่องการตั้งกองทุนอสังหาฯอยู่แล้ว เราไม่เคยสนใจเลยเพราะว่าเราไม่มีความชำนาญ
แต่มันมีกองทุนอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไข ปัญหาในระบบสถาบันการเงินออกมากับกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน
หรือ type 2 กับ 3 ซึ่งตราบใดที่มีใบอนุญาต mutual fund เท่านั้นจึงจะทำได้
ใบอนุญาตนี้เราก็จะให้แม่เท่านั้นหากมันเป็นประโยชน์กับแบงก์ เราก็จะทำ เพราะมันเป็นของเขา
เขาเป็นเจ้าของกองทุนรวมแห่งนี้"
เธอประกาศชัดเจนว่าไม่มีความตั้งใจจะทำกองทุนอสังหาริมทรัพย์เพราะ ไม่มีความชำนาญในด้านนี้
แต่ที่ทำเป็นกองแรกๆ นั้นก็เพื่อช่วยให้เกิดประโยชน์ แก่บริษัท ซึ่งหมายถึงธนาคารทหารไทย
"เราก็เอากฎไปเสนอเขา ว่าเขาจะมีไอเดียอะไร อยากจะใช้ใบอนุญาตนี้ให้เป็นประโยชน์หรือไม่
หากมันสามารถเป็นประโยชน์แก่แบงก์ได้ก็ดี แบงก์ก็เลยลุกขึ้นขายตึกส่วนหนึ่ง
และถือไว้ส่วนหนึ่ง ขายอาคารพญาไทที่เป็นสำนักงานใหญ่เดิม ขายให้แก่นักลงทุนสถาบันเพื่อเอาผลกำไรส่วนหนึ่ง
และอีก 30% เขาก็ยังถือ คือก.ล.ต.ห้ามถือเกิน 30% และแบงก์ก็เป็นผู้เช่าส่วนหนึ่ง
ที่เหลือก็เป็นผู้เช่ารายอื่นๆ สมบัติแทนที่จะเป็นของแบงก์คนเดียว ก็แบงก์ถือแค่
30% ที่เหลือเป็นนักลงทุนสถาบันถือ มูลค่ากองทุนเท่ากับมูลค่าตึก รายรับก็มาจากค่าเช่าตึก
แล้วเราก็ sub contract ให้แก่ผู้บริหารรายเดิม property management ไปเก็บค่าเช่า
ไปบริหาร สรุปคือกองนี้ไม่มีอะไรซับซ้อน ไม่เหมือนกองที่ไป bid สินทรัพย์จากปรส."
"นโยบายการลงทุนของกองนี้ คงไม่มีอะไรมาก เพราะเราไม่มีความรู้เรื่องการบริหาร
property ซึ่งตรงนี้เรา ก็ตั้งนโยบายออกมาว่าเราจะไม่ทำแบบนี้กับคนอื่น นอกจากแม่
แม่คนใดก็ได้ และแม่ก็จะต้องมี stake อยู่ด้วย เพราะก.ล.ต.บอกว่าเราต้องรับผิดชอบ"
เธอกล่าวอย่างชัดเจนว่า "core business คือกองทุนรวม เราก็ทำเฉพาะด้านนี้
กองทุนสำรองเรายังไม่ทำเลย แม้จะมีใบอนุญาตก็ตาม เพราะว่าแบงก์ทำแล้ว private
fund แบงก์ก็ทำแล้ว เราเลยไม่ทำ เราตั้งใจว่าเอาธุรกิจหลักให้ดีที่สุด"
นโยบายของบลจ.แห่งนี้ไม่ได้มีการกำหนดว่าปีหนึ่งๆ จะออกกองทุนกี่กอง เพียงแต่มีนโยบายกว้างๆ
ว่าจะไม่มีการ duplicate กองทุน จะไม่ออกกองทุนที่นโยบายเหมือนกันหลายกองเพราะว่ามีปัญหาเรื่อง
asset allocation และผู้ลงทุนก็จะงงว่ากองไหน มันดีกว่ากองไหน กองไหนมันคืออะไร
เพราะฉะนั้นทุกกองที่จะออกต้องมีนโยบายการลงทุนที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน
นั่นคือนโยบาย
นั่นเท่ากับว่าบลจ.ทหารไทยจะออกกองทุนได้ 3 อย่างคือ(1) fixed income ที่เสี่ยงต่ำมากและ
interest rate risk ก็แทบไม่มี แล้วก็มีกอง (2) corporate bond fund และ
(3) equity fund ซึ่งหากตลาดเริ่มมีการศึกษา มากขึ้น หรือรับ risk routine
ไม่ได้ ก็อาจจะมี aggressive growth fund หรืออาจจะมี high yield fund มาแทนคอร์ปอเรท
ส่วนกองหุ้น(equity fund)นั้น โชติกาก็อยากออกนะ แต่มีปัญหาว่าความมั่นใจของมาร์เก็ตมากกว่า
"คนที่กลับเข้าตลาดตอนนี้คือคนเล่นเอง ไม่ใช่คนที่ซื้อกองทุน เราก็อยากทำ
แม่คือDBS ก็บอกให้ทำ ถึงเวลาแล้ว ว่าเราต้องมี track record นะไม่อย่างนั้นไปออกเมื่อตลาดมันบูมไปแล้ว
คุณก็ไม่มี track record แล้วหรือ track record คุณก็จะไม่ดีเท่าคนอื่นแล้ว
เราบอกว่าแล้วจะให้เราขายใคร คุณลงมาก่อนไหม ลงมาก่อนจนกว่าเราจะ build
confident ได้ก็โอเค เอาเลยมันก็ยังอยู่ในการเจรจาเป็นแนวกว้างๆ ก็ยังไม่
commit อะไรเราอยากออกนะ แต่ว่ามันมีปัญหาเรื่องความเชื่อมั่นของนักลงทุน
เราไม่รู้จะขายใคร"
โชติกาประกาศชัดว่าไม่ทำกองทุนอสังหาฯ ใดๆ อีกเพราะไม่มี know how เพราะไม่รู้จัก
ชีวิตเธอรู้จักแต่หุ้น บอนด์ เงิน เธอไม่รู้จัก loan หรือ distress asset
แบบนั้น "ยอมรับว่าไม่มีความชำนาญ จะให้เราตั้งทีมไป reschedule หนี้ หรือไปตามหนี้
ทำไม่เป็น ไม่ใช่หน้าที่เรา หากให้ตั้งแล้วขายเอาเงินไปซื้อ ปรส.นั้นไม่ทำ
ถามว่าให้เช่าไลเซนส์ไหม ทำไหม มีความเสี่ยงก็ไม่ทำ เพราะว่าก.ล.ต.ก็ตรวจสอบเรา
ดังนั้นตอบได้ในหลักการว่าแม่ต้องถือหุ้น หากทหารไทยคิดจะทำ และลงทุนในกองนี้
100% หรือมากกว่า 50% แล้วไป bid ปรส.มาได้และเขาเอาไปบริหารหนี้ สมมติ ถามว่าอยากทำไหม
หากเขาทำได้เราก็ทำให้ แต่ต้องมาร่วมรับผิดชอบด้วย เพราะมีอะไรผิดพลาดนี่ก.ล.ต.
เอาเราก่อนเพื่อน"
เธอให้ความเห็นเกี่ยวกับกองทุนเหล่านี้ว่า "ถ้าเป็นนักลงทุนต่างชาติที่เอาเงินเข้ามาลงทุนในสินทรัพย์ในประเทศแล้วถือระยะยาวจริง
ก็เห็นด้วย กับนโยบายของรัฐและก.ล.ต.ที่อุตส่าห์ร่างกฎเพื่อเป้าประสงค์นี้โดยเฉพาะ
แต่ปัญหาคือมันมักจะเป็น short term foreign fund ซึ่งอันนี้ไม่เห็นด้วย
เข้ามา bid ประมูล แล้วแป๊บเดียวขาย
หากมันออกมาเป็น Jinnie Mae คือบบส.ทำนี่ อันนี้อาจจะสนใจ แต่แค่นั้น valuation
เมืองไทยก็ยากแล้วสมาคมฯ จะออกกฎตามทันหรือเปล่าเพราะมันมี pre-payment มันมี
amortise ด้วย จะประเมินอย่างไร
แต่ที่บบส.ทำเราสนใจเพราะเราเห็นว่ามันเป็นแบบ Jinnie Mae คือมันเป็นรัฐบาล
ก็คือเหมือนกับรัฐบาลสแตมป์ การันตี risk มันเป็นของรัฐบาลตราบใดที่บบส.เป็นรัฐวิสาหกิจ
และตราสารที่เขาออกมี collateral เป็น morgage เราก็โอเค"