Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2543
หอศิลป์ร่วมสมัยแห่งกทม. "หอศิลป์" ในฝัน             
 





เป็นเรื่อง ที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง หากหอศิลป์ร่วมสมัยแห่งกทม. ที่ผ่านการคัดเลือกแบบจากบริษัทสถาปนิกต่างๆ กว่า 10 บริษัท มีการคัดเลือกผู้รับเหมาก่อสร้างไปเรียบร้อย และได้ทำพิธีวางศิลาฤกษ์ไปแล้วตั้งแต่วันที่ 7 พฤษภาคม 2543 นั้น ต้องหยุดชะงักลงอีกครั้งหนึ่ง

ไม่ว่าผู้บริหารกทม.ชุดใหม่นี้จะ "เอา" หรือ "ไม่เอา" กับแบบ ที่ผ่านขั้นตอนการคัดเลือกมาแล้วอย่างถูกต้องหรือไม่ก็ตาม ต้องยอมรับว่าหอศิลป์ในฝันของประชาชน ที่บริษัท โรเบิร์ต จีบุย แอนด์ แอสโซซิเอท ไดัรังสรรค์รูปแบบไว้จนได้รับชัยชนะนั้น เป็นความฝันของคนในประเทศจริงๆ

รูปแบบของอาคาร ที่ก่อสร้างในพื้นที่ 1.5 ไร่ บริเวณสี่แยกปทุมวันนั้น มีทั้งหมด 11 ชั้นเป็นชั้นใต้ดิน 3 ชั้น เหนือดินอีก 8 ชั้น พื้นที่ของอาคารโดยรวม 25,328 ตารางเมตร แบ่งเป็นพื้นที่พิพิธภัณฑ์ประมาณ 55 เปอร์เซ็นต์ และเป็นพื้นที่พาณิชย์ ประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์

ความโดดเด่นในเรื่องการออกแบบสถาปัตยกรรมของตัวอาคาร และการออกแบบสถาปัตยกรรมภายใน (Interior Concepts) เป็นจุดที่ทำให้บริษัทโรเบิร์ต จีบุย ชนะขาดในครั้งนั้น

เมื่อดูจากภายนอกรูปลักษณ์ของอาคารหลังนี้ค่อนข้างจะเป็นอาคาร ที่ทันสมัย แต่ในขณะเดียวกันทางบริษัทสถาปนิกก็ได้สะท้อนให้เห็นลักษณะรูปร่าง และรูปทรงความเป็นไทยหลายประการ เช่น การนำการสอบเข้าของผนัง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสถาปัตยกรรมไทย มาประกอบการออกแบบรูปทรงอาคารภายนอก

ช่วงหน้าต่างแคบๆ ซึ่งเป็นรูปทรงแบบไทยๆ ได้ถูกนำมาดัดแปลงให้เกิดเป็นองค์ประกอบสมัยใหม่ในลวดลาย และรูปทรง

ความโค้งของหลังคาทรงไทย และรูปทรงอื่นๆ ของไทย เช่น ท่วงท่าในการรำ และเครื่องใช้ดั้งเดิม เช่น งอบ ได้ถูกแปรเปลี่ยนโดยการใช้ส่วนโค้งเหล่านั้น มาเป็นส่วนประกอบของหลังคา และแผงกันแดด

ภายในตัวอาคาร พื้นที่ใช้สอยในส่วนของการแสดงผลงานทางด้านศิลปะ และพื้นที่ของร้านค้านั้น จะถูกแยกออกจากกันชัดเจน พื้นที่ร้านค้าจะอยู่ในบริเวณของชั้น 1-5 ส่วนของพิพิธภัณฑ์ จะเริ่มตั้งแต่ชั้น 6-8 แต่การออกแบบจะมีความเป็นหนึ่งเดียวกันทางสถาปัตยกรรม พื้นที่ภายในพัฒนาจากจุดศูนย์กลางคือ พื้นที่โล่งทรงกระบอก ซึ่งนำเสนอจุดเด่นแก่สายตาเมื่อเข้าสู่อาคาร และพื้นที่เปิดโล่งส่วนกลาง นี้ยังนำสายตา สู่ชั้นบน ที่เป็นส่วน ที่แสดงผลงาน รูปทรง ซึ่งมีจุดศูนย์กลางเช่นนี้ ทำให้เห็นกิจกรรม ที่หลากหลายในอาคาร สร้างความตื่นเต้น และเร้าใจให้กับผู้ที่เข้ามา

สิ่งที่ประชาชนทั่วไปควรจะได้ประโยชน์จากหอศิลป์แห่งนี้ บริษัทสถาปนิกได้เตรียมพื้นที่สำคัญๆ ไว้หลายจุด เช่น ชั้นล่างสุดของพิพิธภัณฑ์จะมีห้องสมุดประชาชน ที่นอกจากจะมีหนังสือทั่วไปแล้วควรจะเน้นไปยังหนังสือทางด้านศิลปะทุกแขนง ชั้น ที่ 1 ระดับเดียวกับพื้นดิน จะมีร้านค้าอาคารพาณิชย์ มีพื้นที่โล่งสำหรับงานแสดงศิลปะ และกิจกรรมต่างๆ ชั้น 2 จะมีส่วนเก็บรักษาผลงาน เช่นเดียวกับชั้น 3 ชั้น 4 จะเป็นร้านค้า ส่วนเตรียมนิทรรศการ ห้องประชุม ชั้น 5 จะเป็นโถงเข้าพิพิธภัณฑ์ มีมิวเซียมชอป ห้องประชุมย่อย ห้องฉายภาพยนตร์ประมาณ 200 ที่นั่ง ต่อเนื่องจากชั้นนี้ก็จะก้าวสู้ชั้น 6, 7, 8 เป็นส่วนแสดงงานศิลปะ ซึ่งเป็นหัวใจ ที่สำคัญที่สุดของอาคารหลังนี้

พื้นที่ทั้ง 3 ชั้นบนสุดนั้น แม้จะเชื่อมโยงกัน แต่ก็จะมีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว เช่นในพื้นที่ชั้น 7 ซึ่งเป็นส่วน ที่แสดง งานศิลปะถาวร และแสดงงานประติมากรรม ได้ถูกออกแบบให้มีเพดานสูงถึง 10.20 เมตร เพื่อเตรียมไว้รองรับงานศิลป์สมัยใหม่ ที่ไม่สามารถควบคุมกฎเกณฑ์ความสูง หรือความใหญ่ของชิ้นงานได้

สถาปนิกได้ให้ความสำคัญ อย่างมากเกี่ยวกับเรื่องของ แสง และการควบคุมสภาพแวดล้อม อาคารหลังนี้ได้ถูกออกแบบให้ประหยัดพลังงาน การใช้วัสดุป้องกันรังสียูวี การวางตำแหน่งหน้าต่าง หรือช่องเปิด ถูกออกแบบไว้เฉพาะตำแหน่ง ที่ต้องการให้มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างภายนอก และภายใน หรือเมื่อแสงธรรมชาติเหมาะสม ที่จะนำมาใช้ในห้องแสดงศิลปะ

บนพื้นที่ชั้น 7 จะถูกปิดล้อมด้วยช่องแสงสูง และหลังคากระจก ซึ่งมีบานเกล็ดปรับแสงได้ เป็นห้อง แสดงงานศิลปะ ที่สว่างที่สุดในพิพิธภัณฑ์ ในขณะที่ห้องแสดงศิลปะอีก 2 ห้องมีการควบคุมแสงธรรมชาติ ที่สม่ำเสมอมากกว่า และเสริมด้วยแสงของไฟฟ้า

ส่วนพื้นที่ชั้น 8 ซึ่งเป็นบริเวณจัดแสดงงานศิลปะหมุนเวียนนั้น ส่วน ที่ 1 มีรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า และมีหลังคาบานเกล็ดปรับได้ ซึ่งเป็นระบบการปรับลดแสงธรรมชาติ พื้นที่แสดงศิลปะอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งเล็กกว่าจะมีช่องแสง (Skylight) ที่บริเวณจุดตัดของหลังคา และผนัง เพื่อไล้ผนังให้สว่าง

จุดเด่นสำคัญอีกส่วนหนึ่งของอาคารหลังนี้ก็คือ สถาปนิกได้ออกแบบให้มีห้องเก็บผลงานขนาด ใหญ่ ซึ่งเป็นห้องที่ศิลปินส่วนใหญ่มีความต้องการอย่างมากๆ เพราะปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีอยู่ว่าศิลปินจะไม่มีพื้นที่เก็บผลงานของตนเอง บางส่วนจะถูกนำไปฝากไว้ ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหรือหอศิลป์ของมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นการเก็บ ที่ไม่ถูกวิธี ห้องเก็บผลงาน ที่อยู่บนชั้น 2 ทะลุชั้น 3 นี้ ได้ถูกออกแบบให้เป็นห้องที่มีการควบคุมอุณหภูมิให้สม่ำเสมอ เป็นห้องที่ไม่มีฝุ่น และความชื้น เพื่อเป็นการรักษาภาพให้คงทนได้มากที่สุด ส่วนชั้น ที่ 4 นั้น จะเป็นห้องสำหรับซ่อมผลงานศิลปะ

หากไม่มีปัญหาภายในของ กทม.เอง ความจริงแล้วประมาณกลางปีหน้า อาคารในฝันของประเทศ ที่มีความสำคัญอย่างมากในการเป็นศูนย์กลางของการแลกเปลี่ยนจินตนาการที่ไร้ขอบเขตนี้ คงเผยโฉมให้เห็นกันได้แล้ว และกำลังเป็นที่รอคอยว่า ผู้บริหาร กทม.ชุดใหม่จะมีความเด็ดขาดในการตัดสินใจอย่างไร

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us