Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2542
ฟาร์มหม่อนไหม ปัญหา-ความเสี่ยง-โอกาส และอนาคต             
 

   
related stories

จิม ทอมป์สัน ยุคใหม่ ยุคธุรกิจ "ครบวงจร"
อีริค บี บู๊ทซ์ ผู้นำจิม ทอมป์สัน รุ่นที่ 3
ดีไซเนอร์ ผู้สั่งสมมรดกภูมิปัญญาของ จิม ทอมป์สัน

   
search resources

อุตสาหกรรมไหมไทย, บจก
Agriculture




ห่างไปจากตัวอำเภอปักธงชัยประมาณ 20 กิโลเมตร ภาพในท้องที่ของตำบลตะขบ เชิงเขาพญาป่า และลำน้ำสำรายที่ต่อเนื่องมาจากเขื่อนลำพระ
เพลิง เป็นที่ตั้งของฟาร์มหม่อนไหม ฐานกำลังการผลิตที่สำคัญของผ้าไหมไทย จิม ทอมป์สัน ที่เลื่องลือบริษัท อุตสาหกรรมไหมไทยตัดสินใจลงทุนซื้อที่ดินบริเวณนี้เพื่อลงทุนทำฟาร์มหม่อนไหม ตั้งแต่ปี 2531 ด้วยความคิด ที่ว่าการลงทุนปลูกหม่อนเลี้ยงไหมเอง จะเป็นการควบคุมคุณภาพของผ้าไหม และควบคุมต้นทุนการผลิตให้กับบริษัท

พื้นที่ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมแบ่งออกเป็น 2 ฟาร์ม คือฟาร์ม 1 บนพื้นที่ประมาณ 600 ไร่จะมีการปลูกต้นหม่อน และเลี้ยงไหมเพื่อทดสอบพันธุ์ และฟาร์ม 2 ซึ่งเป็นพื้นที่ถัดไปอีกประมาณ 2,400 ไร่นั้น เป็นพื้นที่ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมเพื่อการผลิตรัง รวมทั้งเป็นที่ตั้งของโรงงานต่างๆ เริ่มจากการคัดรังไหมที่มีคุณภาพดี ก่อนที่จะส่งไปต้ม ไปสาว เข้าเครื่องกรอเพื่อความสะดวกในการจัดเก็บ จนถึงขั้นตอนตกแต่งเส้นไหม เตรียมเข้าสู่โรงทอต่อไป

ในระยะ 5 ปีแรกของการทำฟาร์มหม่อนไหมบริษัทจะมีผู้เชี่ยวชาญจากประเทศจีนเข้ามาดูแล และให้คำปรึกษาโดยจะผลัดกันเข้ามาครั้งละประมาณ 4-5 คน ในขณะเดียวกันจะมีเจ้าหน้าที่ของบริษัทเองไปดูงานในประเทศจีนด้วย ปัจจุบันนี้มีคนงานปลูกหม่อนเลี้ยงไหมประมาณ 100 คน และจะมีนักวิชาการซึ่งเป็นคนไทยเกือบทั้งสิ้นอีกประมาณ 13 คนโดยมีจริยา มีชื่น เจ้าหน้าที่คนหนึ่งที่เข้ามาทำงาน ตั้งแต่เริ่มเปิดฟาร์มเป็นผู้จัดการดูแล

เวลา 10 กว่าปีที่ผ่านไปจิม ทอมป์สัน สามารถควบคุมคุณภาพของ ผ้าไหมได้จริง แต่ก็ด้วยเม็ดเงินลงทุนจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการซื้อที่ดิน การขุดบ่อเก็บแหล่งน้ำจำนวนมหาศาลกว่า 3 แสนคิว ค่าจ้างแรงงานในการปลูกหม่อน เลี้ยงไหม รวมทั้งค่าศึกษาวิจัยพันธุ์ไหม โดยที่ในระยะเริ่มต้นนั้นล้วนแล้วแต่ต้องจ้างระดับเทคนิ-เชียลจากต่างประเทศมาทั้งสิ้น รวมทั้งได้ลงทุนสร้างโรงสาวเองทำให้ต้องใช้เงิน ไปแล้วทั้งสิ้นไม่ต่ำกว่า 200 ล้านบาท

แต่ในขณะเดียวกันบริษัทยังมีปัญหาของเรื่องการควบคุมต้นทุนเพราะ ในวันนี้ผลิตผลที่ได้จากการเลี้ยงไหมของฟาร์มเองมีเพียง 5% เท่านั้นต้องรับซื้อรังไหมจากชาวบ้านปีละประมาณ 300 กว่าตัน โดยให้ชาวบ้านรับซื้อไข่ไหมที่ผสมพันธุ์แล้วไปเลี้ยง หลังจากนั้นก็เอารังสดกลับมาขายให้กับบริษัทบริษัทก็จะเอาไปสาวเพื่อเตรียมไว้ทอผ้าต่อไป

จิม ทอมป์สัน ใช้เวลาหลายปีในการวิจัยพันธุ์ไหมและเพิ่งได้พันธุ์ที่ดีที่สุดเมื่อประมาณ 2 ปีที่ผ่านมานี้เอง ปัจจุบันพันธุ์ที่ใช้เป็นลักษณะลูกผสมต่างประเทศซึ่งเป็นพันธุ์ญี่ปุ่นผสมกับพันธุ์จีน ซึ่งหลังจากทดสอบแล้วจะพบว่าสายพันธุ์ชนิดนี้ จะทำให้ไหมที่ได้แข็งแรง เลี้ยงง่ายกว่าในขณะเดียวกันได้ผลผลิตที่สูงกว่าด้วย

ทุกวันนี้สมาชิกเลี้ยงไหมโดยใช้สายพันธุ์ของบริษัทมี 900 กว่ารายกระ-จายอยู่ใน 7 จังหวัดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้แก่ นครราชสีมา สุรินทร์ บุรีรัมย์ ขอนแก่น สกลนคร หนองบัวลำภู มุกดาหาร และอีก 4 จังหวัดในภาคอื่นๆ ได้แก่ ราชบุรี กำแพงเพชร อุทัยธานี และนครสวรรค์

ทั้งหมดมีพื้นที่ปลูกหม่อนรวมกันประมาณ 80,000 ไร่การให้ชาวบ้านเอาพันธุ์ไหมไปเลี้ยงและคอยรับซื้อรังไหมจากชาวบ้าน เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ ต้นทุนสูงขึ้น

"ปัญหาอย่างหนึ่งที่เจอก็คือเลี้ยง รังมาดีๆ แต่สาวไหมไม่ได้ ชาวบ้านอาจ จะมีวิธีการเลี้ยงที่ไม่ดี ดูรังสวยๆ แต่สาวไม่ออก ตรงนี้เป็นต้นทุนมหาศาลเลย เพราะเวลารับซื้อจ่ายในราคาเต็ม ปัญหานี้เป็นเรื่องที่เราต้องคอยตรวจสอบ แก้ไขตลอดเวลา เป็นปัญหาใหญ่ในเมืองไทยเพราะฝนตกบ่อยๆ ทำให้เป็นรังไหมที่มีคุณภาพต่ำต้นทุนสูง" สุรินทร์ ศุภสวัสดิ์พันธุ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ เล่าให้ฟังถึงปัญหาที่เกิดขึ้น

"ซึ่งตรงจุดนี้ชาวบ้านเขาไม่รู้แต่ โรงสาวไหมจะรู้เวลามาส่ง เห็นรังดีๆ ก็เลยให้ราคาดีตรงนี้เราเองยังไม่รู้ว่าจะแก้ไขอย่างไรหาวิธีศึกษาปัญหาเรื่องนี้มาแล้ว 3 ปี ยังจัดการไม่ได้ ถ้าเราทำเองเลี้ยงเองทั้งหมดจะมีผลผลิตเฉลี่ยแล้วดีกว่าชาวบ้านประมาณ 10% แต่เราเอามาปลูกเองเลี้ยงเองทั้งหมดไม่ได้เพราะต้องใช้คนมหาศาล และต้องใช้พื้นที่เป็นหมื่นไร่ถึงจะเพียงพอ"

นอกจากอาจจะได้รังไหมที่มีปัญหาดังกล่าวแล้ว สุรินทร์ยังบอกว่าบริษัทรับซื้อผลผลิตของชาวบ้านในราคาที่สูงเกินไปเพราะราคาที่ใช้มาตลอด เป็นราคาที่เอาดอกเบี้ยเงินลงทุนเข้าไปด้วย

"ดังนั้นราคารังไหมที่เรารับซื้อจากชาวบ้านกิโลกรัมละ 105 บาท 110 บาทนั้น จริงๆ แล้วมันควรมีราคาประมาณ 50-60 บาทเท่านั้น รัฐบาลเองก็มีกฎหมายควบคุมการนำเข้า หากไม่มีกฎหมายตัวนี้ ราคาอาจจะลดลงเหลือ กิโลกรัมละประมาณ 80 บาทซึ่งเป็นราคาที่เหมาะสมที่สุด"

โรงสาวไหมในฟาร์ม 2 นั้นเป็นเทคโนโลยีใหม่อีกขั้นหนึ่งที่เป็นความภาคภูมิใจของบริษัทว่า สามารถสาวไหมคุณภาพดีที่สุดในโลกและมีเส้นไหมได้หลากหลายชนิด

ทุกวันนี้จิม ทอมป์สัน เลยมีเจ้าหน้าที่ทางด้านวิชาการคอยช่วยเหลือให้ข้อมูลใหม่ๆ แก่ชาวบ้านตลอดเวลา รวม ทั้งคอยเก็บรวบรวมปัญหาต่างๆ ในการเลี้ยงเพื่อหาหนทางแก้ไขด้วย

ฟาร์มหม่อนไหมเป็นการลงทุนในระยะยาว ที่ใช้เงินเป็นจำนวนมาก ผู้ค้าผ้าไหมรายอื่นอาจจะไม่เลือกที่จะลงทุนด้วยวิธีนี้ โดยอาจจะตัดตอนด้วยการรับซื้อไหมดิบในประเทศแทน แต่ดูเหมือนว่าจิม ทอมป์สัน จะถอยหลังออกมาไม่ได้แล้วมันกลายเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจที่ลงทุนไปแล้วเลิกไม่ได้ ดังนั้นต้องพยายามศึกษาทุกวิธีการเพื่อให้ต้นทุนการผลิตลดลง

การหารายได้เพิ่มจากพื้นที่ที่ว่าง จากการปลูกหม่อนไหม ในพื้นที่ประมาณ 3,000 ไร่นี้ เจ้าหน้าที่ของบริษัทจึงได้ปลูกพืชเศรษฐกิจแซมไปทั่วอย่างเช่นขนุน กล้วย รวมทั้งมีการปลูกต้นไม้ประดับขายซึ่งคนที่สนใจซื้อไม้ใหญ่ไปปลูกก็จะติดต่อที่กทม.แล้ว จะมีเจ้าหน้าที่พามาดูที่ปักธงชัยมีขายทั้งปลีก ส่ง และจัดสวน

นอกจากนั้นกำลังจะทำสวนไม้ประดับขนาดใหญ่ในพื้นที่ประมาณ 20 ไร่ตอนนี้กำลังเพาะพันธุ์อยู่ประมาณ 1,000 ชนิด โดยใช้คนงานและเจ้าหน้า ที่ชุดเดิมของฟาร์มหม่อนไหม สุรินทร์กล่าวว่า จิม ทอมป์สันกำลังเรียนแบบบริษัทในญี่ปุ่นรายหนึ่งที่แรกเริ่มเขาก็มีการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม แต่ตอนนี้เขาก็มาเพาะพันธุ์ปลูกไม้ประดับเหมือน กัน

ย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 10 ปีที่แล้ว บริษัทเลือกพื้นที่ตรงทำเลนี้เป็นฟาร์มหม่อนไหมด้วยเหตุผลที่ว่าอยู่ใกล้โรงงานทอผ้าในตัวอำเภอ ในขณะที่ต้นทุนราคาที่ดินเพียงไร่ละ 1-2 แสนบาทเท่านั้น

แต่ไม่ได้สรุปว่าพื้นที่ตรงนี้ดีที่สุดในการปลูกหม่อน เพราะพื้นที่ทางภาคอีสานนั้นส่วนใหญ่มีปัญหาเรื่องแหล่งน้ำ และดินส่วนใหญ่ยังเป็นลูกรัง ทำให้การปลูกหม่อนที่ดี ไม่ใช่จังหวัดในแถบอีสาน พื้นที่ที่ปลูกหม่อนได้ดีตอนนี้คือที่อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรีที่มีผลผลิตต่อไร่สูง ดังนั้นในพื้นที่ของฟาร์มหม่อนไหมนั้นบริษัทก็ต้องลงทุนในการสร้างแหล่งเก็บน้ำมหาศาล การพัฒนาการในเรื่องการปลูกหม่อนจึงเป็นเรื่องที่กำลังเรียนรู้และหาทางออกเช่นกัน

และเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมาได้ทดลองปลูกหม่อนด้วยระบบน้ำหยด โดยวิธีนี้ทำให้ต้นหม่อนได้น้ำสม่ำเสมอ และสามารถปลูกได้ทุกฤดูกาล และปลูกได้ชิดกันด้วยจากไร่หนึ่งๆ เคยปลูกได้แค่ 5,000 ต้นก็จะเพิ่มเป็น 20,000 ต้น ขณะที่ฟาร์มหม่อนไหมจะปลูกด้วยระบบนี้ประมาณ 100 ไร่ ส่วนที่เหลือก็ยังเป็นวิธีปลูกด้วยวิธีปกติซึ่งต้องอาศัยน้ำจากธรรมชาติและแหล่งน้ำที่เก็บไว้อย่างเดียว

ระะบบน้ำหยดนี้ ชาวบ้านทั่วไปอาจจะทำไม่ได้ เพราะต้องมีแหล่งน้ำ และต้องเป็นน้ำกรองที่สะอาด นอกจากระบบน้ำหยด จิม ทอมป์สัน กำลังทดลองปลูกพืชผักสวนครัว ปลูกหม่อน ลอยฟ้าโดยไม่ต้องใช้ดินอีกวิธีหนึ่งด้วย

ทั้งหมดเป็นพัฒนาการเตรียมการที่ล้ำหน้าไปอีกขั้นหนึ่งของจิม ทอมป์ สัน ที่ยากจะมีใครตามได้ทัน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us