Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2542
ดีไซเนอร์ ผู้สั่งสมมรดกภูมิปัญญาของ จิม ทอมป์สัน             
 

   
related stories

จิม ทอมป์สัน ยุคใหม่ ยุคธุรกิจ "ครบวงจร"
อีริค บี บู๊ทซ์ ผู้นำจิม ทอมป์สัน รุ่นที่ 3
ฟาร์มหม่อนไหม ปัญหา-ความเสี่ยง-โอกาส และอนาคต

   
search resources

อุตสาหกรรมไหมไทย, บจก
ทินนาถ นิสาลักษ์
Silk




เส้นทางเดินบนถนนสายไหม ของแบรนด์เนมดัง "จิม ทอมป์สัน" เริ่ม ต้นที่ฝ่ายออกแบบในห้องบนชั้นที่ 5 ของบริษัทอุตสาหกรรมไหมไทย ในซอยสุขุมวิท 93 ซึ่งมีพนักงานฝ่ายออกแบบทั้งหมดประมาณ 25 คนกำลังทำงานอยู่อย่างขะมักเขม้น

ลายผ้าทุกชิ้นถูกวาดลงอย่างบรรจงบนแผ่นกระดาษ หลังจากถูกเลือกแล้วเลือกอีกจากนั้นจะถูกนำไปทดลองทอด้วยกี่ทอมือเล็กๆ ในห้องข้างๆ ซึ่งในห้องนี้จะมีเครื่องมือทุกอย่าง จำลองมาจากโรงงานที่อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา เมื่อเสร็จเรียบร้อยผ่านการแก้ไขและทอซ้ำจนพอใจ ต้น แบบเหล่านี้ก็จะถูกส่งไปที่โรงงานที่อำเภอ ปักธงชัย โรงงานทอผ้าไหมด้วยกี่มือที่ใหญ่ที่สุดในโลก

แล้วก็จะกลับมาสิ้นสุดที่หน้าร้านต่างๆ ของจิม ทอมป์สัน ในประ-เทศไทย ประเทศต่างๆ ในเอเชีย และอีกหลายประเทศในโลก

ผ้าทุกเมตร และสินค้าทุกชิ้นที่ขายได้ ก็คือรายได้ที่จะกลับคืนมาแก่แรงงานในชนบทที่เป็นลูกจ้างบริษัทแห่ง นี้เช่นกัน ต้องยอมรับว่า จิม ทอมป์สัน คือดีไซเนอร์คนแรกของบริษัท ซึ่งเป็นผู้ที่มีความปราดเปรื่องในเรื่องการเลือกใช้สีเป็นอย่างมาก เคล็ดลับอย่างหนึ่งในการประสบความสำเร็จที่ทำให้ผ้าไหมของเขาขายดีในยุคแรกๆ นั้น ไม่ใช่ผ้าไหมที่สีสันเจิดจ้าแสบตา อย่างที่ชาวบ้านทอใช้กันเอง แต่ผ้าไหมของจิมคือผ้าไหมสีธรรมชาติ สีแบบโบราณจริงๆ ที่ทำสีเลียนแบบมาจากวัตถุโบราณในพิพิธภัณฑ์ต่างๆ ทั้งในและนอกประเทศ ซึ่งสถานที่ต่างๆ เหล่านี้เป็นสิ่งที่จิมชื่นชอบและชื่นชมโดยนิสัยส่วนตัวอยู่แล้ว

ลายของแจกันเบญจรงค์ ลายดอกไม้ แจกัน และศิลปของดอกไม้จากยุโรป โดยเฉพาะลายช้าง คือลายเก่าๆ ที่จิมเป็นผู้ออกแบบขึ้น

ช่วงแรกๆ ที่จิมหายตัวไปการออกแบบลายใหม่ๆ ก็ไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงมากนัก แต่หลังจากนั้นประมาณ 4-5 ปี บริษัทจึงได้มีการจ้าง ดีไซเนอร์จากต่างประเทศเข้ามา เป็นฝรั่ง บ้าง เป็นญี่ปุ่นบ้าง แต่ส่วนใหญ่ก็จะมาอยู่แบบชั่วคราว อาจจะเป็นเพียงแค่อยากมารู้มาเห็นว่าไหมไทยเป็นอย่างไร ทำได้ประมาณปี 2 ปีก็กลับไป แล้วในช่วงเวลานั้นบริษัทเองก็ยังไม่ได้ใหญ่โตมากนัก

ดีไซเนอร์ คนสำคัญของจิมทอมป์สันคนหนึ่งที่เข้ามาพร้อมๆ กับการเปิดโรงงานทอผ้าโรงงานนี้ เมื่อ 20 ปีที่แล้วก็คือ "GARALD PIEART" ซึ่งเรียนจบมาทางแฟชั่นดีไซน์ เดิมทำงานทางด้านออกแบบอยู่ที่บริษัทในนิวยอร์กและ หลังจากนั้นประมาณ 1 ปี ทินนาถ นิสา ลักษ์ ผู้จัดการฝ่ายออกแบบคนปัจจุบัน ซึ่งเคยทำงานอยู่ที่เดียวกับมิสเตอร์ เพียตที่นิวยอร์ก ได้เข้ามาร่วมงานด้วย

แนวความคิดของทินนาถ และมิสเตอร์เพียต จึงเป็นส่วนผสมผสานของความเป็นตะวันตกและตะวันออกที่ไม่มีใครเหมือน และทั้งสองก็เลยเป็นกำลังหลักคนสำคัญทางด้านออกแบบของจิม ทอมป์สัน ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ทินนาถ จบมาจากคณะสถา-ปัตย์จุฬาทางด้านกราฟิกดีไซน์ แล้วไปทำปริญญาโทต่อที่ Syracuse University, New York และในระยะหลังก็มาเอาจริงเอาจังกับการออกแบบลวดลาย ซึ่งเรียกว่า Surface Pattern Design และทำงานทางด้านดีไซน์ผ้าอยู่ที่นิวยอร์ก ที่ร้าน Jack Lenor Larsen ขณะนั้นผลงานส่วนใหญ่ของเขาจะเน้นหนักไปทางด้านสินค้าเพื่อการตกแต่งบ้าน และบังเอิญร้านที่นั่นเป็นตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของจิม ทอมป์สันด้วย ทำให้มีโอกาสได้เจอ วิลเลี่ยม เอ็ม บู๊ทซ์ กรรมการผู้จัดการคนปัจจุบัน ของจิม ทอมป์สัน และบู๊ทซ์ได้ชวนให้เขากลับมาทำงานให้จิม ทอมป์สัน ที่เมืองไทย

เมื่อมาเริ่มงานที่เมืองไทยใหม่ๆ ทินนาถจะต้องปรับตัวอย่างมากทีเดียว เพราะจากเดิมจะเน้นหนักไปทางด้านการออกแบบอย่างเดียวและจะคุ้นเคยกับเครื่องจักร และเทคโนโลยีที่ทันสมัย ในขณะที่ในเมืองไทยการออกแบบลายผ้าและการถักทอทุกอย่างยังเป็นงานหัตถกรรมทั้งสิ้น ในช่วงแรก ดีไซ เนอร์ หัวนอกอย่างเขาก็เลยจำเป็นต้องลงไปยังบ้านของชาวบ้านที่อำเภอปักธงชัย และพบว่าแต่ละบ้านนั้นมีความเชี่ยวชาญ ไม่เหมือนกัน บางบ้านเชี่ยวชาญทางทอผ้าพื้น หรือผ้าลาย บางบ้านก็ชำนาญทางด้านมัดหมี่ไม่เหมือนกัน ส่วนการควบคุมคุณภาพที่ทำได้ในช่วงนั้นก็คือ ย้อมสีเส้นด้ายให้ชาวบ้านทอเพื่อที่สีที่ต้องการจะได้ไม่ผิดเพี้ยน

สำหรับลวดลายในเนื้อผ้าก่อนหน้านี้มีการยึดเอาแบบลายไทยต่างๆ เข้า มาประยุกต์ แต่เมื่อเวลาผ่านไป โลกเปลี่ยนไป เช่นเดียวกับพฤติกรรมของผู้บริโภค ดังนั้นลวดลายผ้าของจิม
ทอมป์สัน จำเป็นจะต้องมีความทันสมัยและหลากหลายมากขึ้น

เช่นเดียวกับการพัฒนาคุณภาพของตัวผ้าไหมเอง จากผ้าไหมที่มีสีพื้น และพิมพ์ลายเนื้อผ้า ผ้าไหมแบบทอ 1,2,4 และ 6 เส้น ก็ได้มีการนำเอามาผสมกันกับผ้าฝ้าย ผ้าวูล ผ้าคอตตอน ผ้าลินิน ซึ่งผลจากการศึกษาและพัฒนาในเรื่องของตัวเนื้อผ้าดังกล่าว ทำให้ฝ่ายออกแบบเองก็สามารถออกแบบได้กว้างขึ้นเช่นกัน

ในระยะเริ่มแรก ดีไซเนอร์จะเป็นผู้ที่คิดค้นเทคนิคใหม่ๆ นี้ เพื่อความหลากหลาย และความแปลกใหม่ในการออกแบบของตนเอง แต่ปัจจุบัน จิม ทอมป์สัน มีฝ่ายพัฒนาวัตถุดิบ ซึ่งกำลังค้นคว้าวัตถุดิบต่างๆ ในประเทศ ที่นอกเหนือไปจากไหม อย่างเช่นที่ประเทศฟิลิปปินส์ จะมีผ้าที่ทำจากเส้นใยสับปะรดที่โด่งดังไปทั่วโลกเช่นกัน เรื่องของผ้าไหมผสมฝ้าย หรือผ้าไหมผสมลินิน รวมทั้งใยกัญชา เป็นผลงานชิ้นใหม่ของจิม ทอมป์สัน ที่ต้องติดตามกันต่อไป

"ในงาน แฟชั่นโชว์ "Nagara For Jim Thompson" ในคอลเลกชั่น "elephant pares" ที่เบียร์ช้าง ร่วมกับจิม ทอมป์สัน และห้องเสื้อนาการ่า จัดขึ้นเมื่อปลายเดือนกรกฎาคม 2542 ที่ผ่านมานั้นได้มีการเสนอคอลเลกชั่นใหม่ล่าสุด คือไหมไทยพิมพ์ลายช้างทรงเครื่อง มีการใช้เทคนิคพิมพ์มุกบนไหมไทย นำลายไทยมาประยุกต์เป็นลายผ้าพิมพ์และ ได้พัฒนาการทอไหมร่วมกับเส้นใยลินิน และด้ายเงินด้ายทอง ได้อย่างสวยสดงดงาม

สำหรับแนวโน้มการออกแบบ ดีไซน์ในปี 2000 นี้ทินนาถบอกว่าแฟชั่นทั่วโลกจะนิยมความเป็นตะวันออกมากขึ้น คอลเลกชั่นใหม่ๆ ของจิม ทอมป์สันที่จะออกมาก็กำลังหวนคืนไปสู่ความ เป็นไทยมากขึ้นเช่นกัน ดังนั้นลวดลายเก่าที่นายห้างจิมเคยออกแบบไว้ จึงอาจจะมีอิทธิพลอีกครั้งในยุคหน้านี้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us