Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2542
กว่าจะมาเป็นแม่โขง             
 


   
search resources

สุรามหาราษฎร




แม่โขงเกิดที่โรงงานสุราบางยี่ขัน ซึ่งตั้งอยู่ที่ปากคลองบางยี่ขัน ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก ในท้องที่แขวงบางปูน เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร อันเป็นโรงงานมีประวัติเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองมาแต่ครั้งเริ่มสร้างกรุงเทพมหานคร ซึ่งเคยเรียกกันว่ากรุงรัตน โกสินทร์

สุนทร ภู่ บรมจินตกวีของไทยก็ยังเคยเขียนนิราศกล่าวถึงโรงงานสุราบางยี่ขันนี้

"ถึงโรงเหล้าเตากลั่นควันโขมง

มีคันโพงผูกสายไว้ปลายเสา"

ในสมัยนั้นโรงงานสุราบางยี่ขัน เป็นสมบัติของนายอากร ซึ่งได้รับอนุญาตจากรัฐบาล ให้ทำการผูกขาดผลิตสุราออกจำหน่ายในกรุงเทพมหานคร ซึ่งอาจรวมถึงหัวเมืองที่อยู่ติดต่อใกล้เคียงด้วย

สุราที่ผลิตคงเป็นสุราขาวหรือที่เรียกตามภาษาตลาดว่า เหล้าโรง

ในปีพ.ศ.2457 โรงงานสุราบางยี่ขัน จึงได้ตกมาเป็นสมบัติแผ่นดินโดยบัญญัติของกฎหมายสุรา กรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง ได้เป็นผู้ปกครองดูแลโรงงานนี้ตลอดมา แต่ได้เรียกประมูลเงินผลประโยชน์เข้ารัฐในรูปต่างๆ เช่น เงินพิเศษ เงินค่าปรับเนื่องจากจำหน่ายสุราต่ำกว่าจำนวนที่กำหนดในสัญญา ฯลฯ แล้วตั้งผู้ประมูล ได้ให้เป็นผู้รับอนุญาตผลิตสุราออกจำหน่าย ภายในเขตที่กำหนดให้เป็นเขต จำหน่ายสุราของโรงงานมา

พ.ศ.2470 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาล ที่ 7 ซึ่งการปกครองยังเป็นสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ครบกำหนดหมดอายุสัญญา อนุญาตให้ต้มกลั่นและจำหน่ายสุรา ซึ่งพระสวามิภักดิ์ภูวนารถเป็นผู้รับอนุญาต คู่สัญญากับกรมสรรพสามิตคนสุดท้าย กรมสรรพสามิตจึงได้ระงับการอนุญาตให้เอกชนเป็นผู้รับอนุญาตผลิตและจำหน่ายสุรา และกรมสรรพสามิตได้เข้าทำการผลิตสุราที่โรงงานสุราบางยี่ขันเอง แต่การจำหน่ายคงใช้วิธีประมูลเงินผลประโยชน์ตั้งผู้ทำการขายส่งเป็นเขตๆ ไป

สุราที่กรมสรรพสามิตทำการผลิตจำหน่ายยังคงเป็นสุราขาวอยู่ตามเดิม แล้วภายหลังได้ผลิตสุราผสม โดยใช้เครื่องสมุนไพรตามเภสัชตำรับของยาดองเหล้าในครั้ง โบราณสกัด โดยแช่ในสุราดีกรีสูง ทำเป็นน้ำเชื้อ แล้วนำมาปรุงแต่งรส กลิ่น สี และแรงแอลกอฮอล์ตามกรรมวิธีเป็นสุราผสมโดยไม่ผสมกับโซดา ทั้งนี้เพื่อสนองความต้องการของประชาชนที่นิยมดื่มยาดองเหล้าแทนสุราขาว

ต่อมากรมสรรพสามิตได้พยา-ยามพัฒนาการทำสุราผสมไปเป็นการทำสุราปรุงพิเศษ โดยค้นคว้าทดลอง สกัดทำน้ำเชื้อที่จะใช้ในการปรุงจากเครื่องสมุนไพรต่างชนิด กับที่ใช้ในการทำสุราผสม และสุราปรุงพิเศษนี้จะดื่มโดยผสมโซดาหรือไม่ผสมโซดาก็ได้ เพราะกำลังมีผู้นิยมดื่มสุราผสมโซดากันอย่างแพร่หลาย ซึ่งก็มีแต่สุราประเภทวิสกี้จากต่างประเทศเท่านั้น ต้องอาศัยเป็นผู้มีรายได้สูงจึงจะดื่มได้เพราะวิสกี้มีราคาแพง ถ้าหากหันมาดื่มสุราปรุงพิเศษของไทยแทนวิสกี้ ก็จะเป็นการประหยัด และไม่สิ้นเปลืองเงินตราต่างประเทศในการสั่งซื้อวิสกี้เข้ามาจำหน่าย

สุราปรุงพิเศษที่กรมสรรพสามิตได้ผลิตจากโรงงานสุราบางยี่ขันออกจำหน่ายเป็นครั้งแรกคือ สุรา ว.ก. (เรียกแทนวิสกี้) และสุรา บ.ด. (เรียกแทนบรั่นดี)

ต่อมาในไม่ช้าประเทศไทยเรียกร้องดินแดน ที่ฝรั่งเศสได้ใช้อำนาจบีบบังคับเอาไปผนวกเข้ากับประเทศ ในอาณานิคมของตนคืนจากฝรั่งเศส จนเกิดเป็นกรณีพิพาทกันขึ้น และหลวงวิจิทรวาทการ ได้ประพันธ์เพลงปลุกใจคนไทยให้รักชาติและกล้าเข้าสู่สมรภูมิ ดูเหมือนเพลงจะชื่อว่า "ข้ามโขงไปสู่แคว้นแดนไทย" และ "โขงสองฝั่งเหมือน ฝั่งเดียวกัน" อิทธิพลของเพลงจูงใจให้กรมสรรพสามิตตั้งชื่อสุราปรุงพิเศษ 35 ดีกรีที่ได้ผลิตขึ้นใหม่ในปีพ.ศ.2484 ว่า "แม่โขง" อันนับได้ว่าเป็นนามตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา จนกระทั่ง ณ บัดนี้ นับเวลาได้ 40 ปี ก็ยังคงดำรงอยู่และจะคงดำรงต่อไปชั่วกาลนาน

ในสมัยที่มีการผลิตสุราแม่โขง

ออกสู่ตลาดนั้น น.ต.จบ ศิริไพบูลย์ ร.น. เป็นผู้อำนวยการ โรงงานสุราบางยี่ขัน หลวงบรรณกรรัชตภัณฑ์ เป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงงาน และนายประเสริฐ เทพหัสดิน ณ อยุธยา เป็นพนักงานชั้นหัวหน้าของโรงงาน

เมื่อได้มีพระราชบัญญัติจัดตั้งกระทรวงอุตสาหกรรมขึ้นเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2486 ซึ่งเป็นระยะที่สงคราม โลกครั้งที่ 2 ได้ขยายตัวมาสู่เอเชียบูรพา และประเทศไทยได้เข้าอยู่ในสถานะสงครามด้วย โรงงานสุราบางยี่ขันพร้อม ด้วยโรงงานสุราจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และโรงงานสุราจังหวัดสงขลา ได้ถูกโอนจากกรมสรรพสามิตรวมเป็นโรงงานสุราในกรมโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นส่วนราชการของกระทรวงอุตสาหกรรม โดยพระราชกฤษฎีกาซึ่งออกตามพระราชบัญญัติดังกล่าว

หลวงบรรณกรรัชตภัณฑ์ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ โรงงานสุรากรม โรงงานอุตสาหกรรม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2488 แทน น.ต.จบ ศิริไพบูลย์ ร.น. ซึ่งได้ถึงแก่กรรม

นอกจากได้ริเริ่มที่จะใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์แผนใหม่ในบางขั้นตอนของการผลิตสุราแม่โขง เป็นการเร่งผลิตทั้งในทางคุณภาพ และปริมาณในขั้นต่อไปดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ยังเป็นผู้ทำการเปลี่ยนแปลงภาพพจน์ของสุราแม่โขงอีกหลายอย่าง เป็นต้นว่า ได้เปลี่ยนใช้ขวดกลมขาวขนาด 750 ลูกบาศก์เซนติเมตร บรรจุแทนขวดกลมสีเขียวขนาด 625 ลูกบาศก์เซนติเมตร ที่ได้ใช้อยู่เดิม ส่วนฉลากก็เปลี่ยนจากฉลากพื้นขาวลวดลายเขียนอย่างง่ายๆ สีเขียวมาใช้ฉลากพื้นขาวมีคำว่า "แม่โขง" เขียน เป็นลวดลายสีแดง ซึ่งใช้เป็นสัญลักษณ์ของสุราแม่โขงมาจนกระทั่งในปัจจุบัน ปากขวดเดิมใช้ชุบครั่งแดงหุ้มจุก ก็ได้เปลี่ยนใช้แคปซูลตะกั่วผลิตจากโรงกษาปณ์กระทรวงการคลังแทน ซึ่งเป็นการเปลี่ยนโฉมสร้างความน่าดูและความเชื่อถือในคุณภาพให้แก่สุราแม่โขงยิ่งขึ้น

ส่วนประกอบต่างๆ ของสุราแม่โขงนี้ ได้รับการปรับปรุงวิวัฒนาการในสมัยหลวงบรรณกรรัชตภัณฑ์ เป็นผู้อำนวยการ และในสมัยต่อมาอีกหลายประการ รวมทั้งได้ใช้ขวดแบนสีขาว ขนาด 375 ลูกบาศก์เซนติเมตร และ 187.5 ลูกบาศก์เซนติเมตร ออกจำหน่ายด้วย

ความต้องการบริโภคสุราแม่โขงได้เพิ่มตัวสูงขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง โดยความขาดแคลนสุราต่างประเทศ ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 กำลังดำเนินอยู่ เป็นกำลังกระตุ้นเตือนแต่เมื่อได้หมดภาวะสงคราม มีสุราต่างประเทศ ตกเข้ามามีปริมาณเพิ่มอยู่เรื่อยๆ ความต้องการบริโภคสุราแม่โขงก็คงยังมีเพิ่มขึ้นมากตลอดมา ทำให้การบรรจุสุราลงขวดเพื่อส่งออกจากโรงงานไปเพื่อการจำหน่าย จำเป็นต้องใช้เครื่องจักรกลเข้าช่วยนับตั้งแต่ชั้นทำความสะอาดของขวดจนถึงการบรรจุสุราลงขวด จึงได้มีการสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กเพื่อตั้งเครื่องล้างขวด และบรรจุสุรา และได้ทำการสั่งซื้อเครื่องจากประเทศฝรั่งเศสในสมัยนายนิตย์ ใบเงิน เป็นผู้อำนวยการโรงงานสุรา แต่ด้วยความจำเป็นบางประการ ได้ระงับการประกอบ ติดตั้งเครื่องซึ่งได้เข้ามาถึงแล้ว

ต่อมารัฐบาลในปีพ.ศ.2502 มีนโยบายให้เอกชนเช่าโรงงานสุราบางยี่ขันไปทำการผลิตสุราออกจำหน่าย ตั้งแต่ปีพ.ศ.2503 เป็นต้นไป มีกำหนดระยะเวลา 10 ปี ซึ่งบริษัทสุรามหาคุณ จำกัด ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้เช่าโดยเสียค่าเช่าปีละ 41 ล้านบาท แล้วภายหลังบริษัทน ี้ได้รับการต่อสัญญาอีก 10 ปี นับตั้งแต่ปีพ.ศ.2513 โดยเสียค่าเช่าปีละ 55 ล้านบาทกับส่วนแบ่งผลกำไรสุทธิอีกร้อยละ 25

บริษัท สุรามหาราษฎร จำกัดได้เข้าประมูลในปีพ.ศ.2522 ให้เงินค่าสิทธิสูงสุดและได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้เช่าโรงงานสุราบางยี่ขัน ตั้งแต่ปีพ.ศ.2523 มีกำหนด 15 ปี

(จากผู้จัดการฉบับเดือนเมษายน 2527)

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us