Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2543
พิพิธภัณฑ์ รัชกาลที่ 6 กรมการรักษาดินแดน             
 


   
search resources

Museum




พิพิธภัณฑ์รัชกาล ที่ 6 ในกรมรักษาดินแดนนั้น นับว่ามีความสำคัญอย่างมากๆ ที่เยาวชนไทย ในยุคการสื่อสารไร้พรมแดนควรจะได้ศึกษาอย่างยิ่ง เพื่อเป็นการสร้างจิตสำนึกทางประวัติศาสตร์ จิตสำนึกของความรักชาติ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ไม่สามารถหาได้จากเว็บไซต์ หรือโปรแกรม ในคอมพิวเตอร์เครื่องใดในโลก

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นผู้นำทางความคิดพระองค์หนึ่ง ที่สำคัญอย่างมากๆ ของสังคมไทย การที่ทรงเป็นผู้ก่อตั้ง "กิจการเสือป่า" หรือกรมการรักษาดินแดนในปัจจุบันนั้น มาจากแนวพระราชดำริ ที่ว่า เพื่อให้ชาวไทยทุกคนได้มีจิตใจ ที่เสียสละในการรับใช้ชาติบ้านเมือง ยึดมั่นในสัจธรรม และสัจวาจา ดังคำขวัญ ที่พระองค์ ได้พระราชทานไว้ว่า "เสียชีพ อย่าเสียสัตย์" นับเป็นแผนปฏิวัติจิตใจของคนไทยทั้งชาติ ที่ควรจะสานต่ออย่างมากในยุคปัจจุบัน

เพื่อเป็นการสดุดีเกียรติคุณของพระองค์ ในปี พ.ศ.2509 พลโทยุทธ สมบูรณ์ อดีตเจ้ากรมการรักษาดินแดน ได้มีหนังสือถึงสำนักพระราชวัง เพื่อขอพระราชทานฉลอง พระองค์ชุดต่างๆ พระมาลา ฉลองพระบาท และของใช้ส่วนพระองค์ นำมาเก็บรักษาไว้ ณ อาคารวชิราวุธ ซึ่งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของพื้นที่กรมการรักษาดินแดน

ปี 2537 ได้ย้ายจากอาคารวชิราวุธมา ที่อาคารสวนเจ้าเชตุ ต่อมาพลโทหาญ เพไทย เจ้ากรมการรักษาดินแดน จึงได้ริเริ่มพัฒนาปรับปรุง และจัดทำห้องพิพิธภัณฑ์แห่งใหม่ขึ้น ให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ ณ ห้องพระบารมีปกเกล้าฯ ชั้น 2 และพื้นที่บางส่วนบนชั้น 3 ของอาคารราชวัลลภ และได้ทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ เมื่อปลายปี 2542 ที่ผ่านมา

นับเป็นพิพิธภัณฑ์ ที่ได้รวบรวม ภาพพระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ ที่สำคัญ ฉลองพระองค์ต่างๆ รวมทั้งสิ่งของเครื่องใช้ ต่างๆ ในรัชกาล ที่ 6 ไว้อย่างมากมาย และสมบูรณ์แบบที่สุดเท่า ที่ลูกหลานไทยจะหาดูได้ในปัจจุบัน

หากมองย้อนไปในอดีตเมื่อ 100 กว่าปีก่อน พื้นที่ของกรมการรักษาดินแดนนี้ เดิมเป็นสวนต้นไม้โปร่งเรียกว่า สวนเจ้าเชตุ ตรงกลางก่อเนินดินขึ้นสูง ตั้งศาล "พระเสื้อเมือง" "ศาลพระทรงเมือง" และ "ศาลพระเจตคุปต์" ด้านตรงข้ามวัดพระเชตุพนฯ เป็นที่ตั้งคุก คุมขังนักโทษ

ต่อมาในปี 2374 พื้นที่สวนเจ้าเชตุ กลายเป็นที่ตั้งวังพระเจ้าลูกยาเธอในรัชกาล ที่ 2 มี 4 วัง คือ วังถนนสนามไชย และวังท้ายหับเผย 1, 2, 3 วังท้ายหับเผยทั้ง 3 ปัจจุบันเป็นที่ตั้งสนามฝึกยิงปืนของกรมการรักษาดินแดน ส่วนวังสนามไชยเดิมเป็นบ้านของเจ้าพระยาเสนาปลี สมุหกลาโหม ในรัชกาล ที่ 1 ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ โปรดเกล้าฯ ซื้อ ที่ดินวังเหล่านี้ เพื่อสร้างอาคารสำหรับทหารราชวัลลภ (ทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์)

อาคารราชวัลลภ หรืออาคารกรมการรักษาดินแดนแห่งนี้ ก่อสร้างตามแบบสถาปัตยกรรมยุโรปยุคหลัง ตัวอาคารเป็นปีกยาว 2 ชั้นขนานไปกับถนนเจริญกรุง ตรงข้ามพระราชอุทยานสราญรมย์ (ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ) ตรงมุขกลางเป็นอาคารคอนกรีต 3 ชั้น มีเสากลมขนาดใหญ่รองรับเป็นเสาแบบไอโอนิค หัวเสาขดเป็นรูปก้นหอย มีบันไดซ้ายขวา ขึ้นสู่เฉลียงรอบด้าน ในหน้ามุขชั้น 2 ด้านหน้าอาคารประดับประติมากรรมปูนปั้นนูนต่ำเขียนสีรูปตราราชวัลลภ ต่ำลงมาจารึกพุทธศักราช 2466 คือ ปีที่สร้างอาคารหลังนี้ ปัจจุบันอาคารหลังนี้ กรมศิลปากรได้รอขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานอีกแห่งหนึ่ง

ในปี 2498 กรมการรักษาดินแดนได้ย้าย ที่ตั้งจากบริเวณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มาเป็นที่ตั้งกองบัญชาการแทนกองพัน ที่ 4 กรมทหารราบ ที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ ซึ่งได้ย้ายออกไป

พื้นที่ของพิพิธภัณฑ์บนอาคารหลังนี้ แบ่งเป็น 2 ห้องใหญ่ ที่สำคัญ คือ "ห้องพระบารมีปกเกล้าฯ" ในชั้น 2 และ "ห้องรามจิตติ" ในชั้น 3 ภายในห้องแรกได้จัดแสดงภาพพระราชประวัติขณะทรงพระเยาว์ พร้อมทั้งสิ่งของเครื่องใช้ในพระองค์บางชิ้น

รัชกาล ที่ 6 เป็นพระราชโอรสองค์ ที่ 29 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว (ร.5) และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ หรือพระพันปีหลวง (พระมเหสี องค์ ที่ 3)

ขณะพระชนมายุ 13 พรรษา ได้เสด็จไปศึกษาต่อ ที่ประเทศอังกฤษ ณ โรงเรียนนายร้อยแชนด์เฮริต และได้เข้ารับราชการในกรมทหารราบเบาเดอรัม กองทัพบกอังกฤษ และศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด สาขาวิชาประวัติศาสตร์ และกฎหมาย ได้รับยศ พลเอกพิเศษแห่งกองทัพบกอังกฤษจากพระเจ้ายอร์ช ที่ 5

เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ เมื่อปี 2453 ขณะพระชนมายุ 31 พรรษา ครองราชสมบัติเพียง 15 พรรษา ก็เสด็จสวรรคต เมื่อพระชนมายุเพียง 46 พรรษา

พระราชประวัติได้ถูกเล่าร้อยไปกับภาพพระบรมฉายาลักษณ์ในช่วงเวลาต่างๆ อย่างน่าสนใจ เช่น ภาพเมื่อทรงพระเยาว์ ภาพการทรงเครื่องแบบฉลองพระองค์นายพลเอกพิเศษแห่งกองทัพบกอังกฤษ พร้อมฉลองพระบาททอปบูตสีน้ำตาล เมื่อครั้งรับราชการที่อังกฤษ ภาพ และประวัติของการจัดตั้งกองเสือป่า กิจการของยุวชนทหาร รวมทั้งพระราชกรณียกิจต่างๆ ที่พระองค์ได้ทรงวางรากฐานไว้ เช่น ทรงโปรดให้สร้างสะพานพระรามหก ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ทรงจัดตั้งบริษัทปูนซิเมนต์ไทยจำกัด ทรงโปรดให้สร้างสถานีหัวลำโพง ทรงสถาปนาโรงเรียนวชิราวุธ ทรงจัดตั้งคลังออมสิน ซึ่งปัจจุบันคือ ธนาคารออมสิน รวมทั้งพระปรีชาสามารถอย่างมากในเรื่องพระราชนิพนธ์ และการละคร ที่ล้วนแล้วแต่มีแง่คิด และคำสั่งสอน ที่น่าสนใจ

สุดท้ายคือ ภาพพระบรมศพบนรถปืนใหญ่เวียนเมรุมาศ ณ ท้องสนามหลวง ซึ่งโปรดเกล้าฯรับสั่งไว้ในพินัยกรรมว่าประสงค์จะเดินทางระยะสุดท้ายอย่างทหาร รวมทั้งพระสนับเพลา และผ้าซับพระพักตร์ ซึ่งซับรอยพระบาทเมื่อเสด็จสวรรคต ซึ่งคุณหญิงสุภัทรา สิงหลกะ อดีตพระกำนัลฝ่ายในในรัชกาล ที่ 6 มอบให้กรมการรักษาดินแดน เมื่อปี 2507

จากชั้น 2 เดินขึ้นบันได ซึ่งทอดไปสู่ชั้น 3 เข้าไปในห้องรามจิตติ ซึ่งเก็บสิ่งของเครื่องใช้ในพระองค์ไว้เป็นจำนวนมาก เช่น ตู้เก็บฉลองพระองค์ชั้นในแบบต่างๆ ตู้เก็บฉลองพระองค์เครื่องแบบทหาร และเสือป่า ตู้เก็บฉลองพระองค์แบบกันหนาว เครื่องหมายยศอินธนู สายคันชีพ พระมาลา และฉลองพระบาทแบบต่างๆ

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ทรงเป็นกษัตริย์ ที่ทรงโปรดการแต่งตัวเป็น อย่างมาก ฉลองพระองค์จำนวนมากมีสีสัน ที่สดใส มีพระมาลา และฉลองพระบาท ที่เข้าชุดกัน ภายในตู้หนึ่ง ซึ่งแขวนฉลองพระองค์หลากสี เจ้าหน้าที่ของพิพิธภัณฑ์ได้อธิบายว่าเป็นฉลองพระองค์ ซึ่งมีสีประจำวัน ลวดลายในเนื้อผ้าจะเป็นรูปของสัตว์มงคลจากประเทศต่างๆ เช่น หงส์ กิเลน ค้างคาว

นับว่าเป็นเรื่อง ที่น่าเสียดายอย่างมาก ที่ฉลองพระองค์เหล่านี้ไม่มีงบประมาณ ในการดูแลรักษาหลายร้อยองค์จึงถูกพับเก็บซ้อนๆ ไว้ในตู้ไม้ขนาดใหญ่ บางองค์ ที่ สามารถนำมาแสดงให้เห็นได้ชัดๆ ในตู้ไม้สัก ซึ่งเจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์บอกกับ "ผู้จัดการ" ว่า ตู้ยังมีไม่เพียงพอแต่ละใบจะต้องใช้เงินประมาณ 7,000 บาท

จากห้องเก็บฉลองพระองค์บนชั้นนี้ยังมีห้องทรงงาน ซึ่งมีพระบรมรูปขนาดเท่าพระองค์จริง พระอิริยาบถประทับบนพระเก้าอี้ทรงงาน ฉลองพระองค์เครื่องแบบเสือป่าพรานหลวงรักษาพระองค์ ด้านหลังเป็นตู้เก็บพระราชนิพนธ์ต่างๆ บางส่วน เช่น เรื่องกลแตก ธรรมาธรรมสงคราม ผิดวินัย หมอจำเป็น หาเมียให้ผัว ที่น่าประทับใจอย่างมากก็คือ สมุดบันทึกลายพระหัตถ์ในรัชกาล ที่ 6 จำนวน 2 เล่ม ซึ่งเมื่อใครได้ชมจะต้องพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ลายพระหัตถ์ในรัชกาล ที่ 6 ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษนั้น สวยงามมากจริงๆ

จากข้อมูลของพิพิธภัณฑ์ได้ระบุไว้ว่า พระราชนิพนธ์แบ่งออกเป็น 7 หมวดใหญ่ๆ มีทั้งโขน ละคร นิทาน ร้อยกรอง พระราชดำรัส-เทศนา บทความหนังสือพิมพ์ สารคดี และอื่นๆ อีก รวมทั้งหมดประมาณ 1,384 ชิ้น

และเมื่อเร็วๆ นี้ ทางพิพิธภัณฑ์ยังได้สร้างห้องจำลองบรรยากาศทุ่งนาในต่างจังหวัด มีพระเก้าอี้สนาม และเตียงนอนสนาม ที่พระองค์ทรงใช้จริงวางอยู่ด้วย

จากห้องทรงงานจะเป็นระเบียงยื่นออกไปมองเห็นวิวทิวทัศน์ของพระบรมมหาราชวัง และวัดพระแก้วอย่างชัดเจน เป็นจุดหนึ่ง ที่โปรดมายืนทอดพระเนตร ปัจจุบันตรงระเบียงนี้ทางพิพิธภัณฑ์ได้จัดให้มีกระถางประดับดอกกุหลาบสีแดงบานสะพรั่งวางไว้อยู่เสมอ เพราะกุหลาบเป็นดอกไม้ ที่พระองค์ทรงโปรดอย่างยิ่ง

กรมการรักษาดินแดนได้เปิดให้เข้าชมพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ได้ทุกวันในเวลาราชการ โดยเข้าชมได้ทั้งรายบุคคล และหมู่คณะ และ เพื่อรักษาสิ่งของต่างๆ ที่ประเมินค่าไม่ได้นี้ให้คนรุ่นหลังมีโอกาสได้ดู และศึกษาต่อไป ทางกรมการรักษาดินแดนก็พร้อม ที่จะรับบริจาคเงิน เพื่อใช้ในการบำรุงรักษา เพราะต้องเสียค่าใช้จ่ายอย่างมากในเรื่องของค่าแอร์ เพื่อรักษาอุณหภูมิของห้องให้คง ที่ งบประมาณในการซ่อมบำรุงฉลองพระองค์ และสิ่งของเครื่องใช้

หน่วยงานใด ที่มีความพร้อม ความเข้าใจในการดูแลรักษาก็สามารถติดต่อเข้ามาอบรมเจ้าหน้าที่ของพิพิธภัณฑ์ได้ทุกเวลาเช่นกัน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us