Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2542
คาร์ฟูร์รวมโปรโมเดส์             
 


   
search resources

เซ็นคาร์, บจก. - carrefour




ตอนนี้ฝรั่งเศสก็กลายเป็นผู้นำอันดับหนึ่งในธุรกิจค้าปลีกของยุโรปแล้ว หลังจากที่คาร์ฟูร์และโปรโมเดส์ กรุ๊ป ผนวกกิจการกันตั้งแต่วันที่ 30 สิงหาคม ที่ผ่านมา ผู้ที่หนักใจกับข่าวนี้ก็เห็นจะเป็นวอล มาร์ท สโตร์ อิงค์ แห่งสหรัฐฯ ที่กำลังผลักดันตนเองเพื่อขยายธุรกิจในตลาดโลกเช่นกัน

คาร์ฟูร์ซื้อกิจการโปรโมเดส์เป็นมูลค่า 16.5 พันล้านดอลลาร์ ส่งผลให้มีร้านค้าปลีกทั้งหมด 8,800 แห่ง ใน 26 ประเทศ กับยอดรายได้รวม 65 พันล้าน ดอลลาร์

การผนวกกิจการครั้งนี้ทำให้คาร์ ฟูร์ได้ส่วนลดมากเป็นพิเศษจากซัปพลาย เออร์ จึงสามารถตัดราคาคู่แข่งและเร่งผลักดันตนเองไปสู่ความแข็งแกร่งยิ่งขึ้นในธุรกิจแขนงนี้ โดยเฉพาะในตลาดละตินอเมริกาและเอเชียที่คาร์ฟูร์มีชื่อเป็นที่รู้จักดีอยู่แล้ว นอกจากนั้น คาร์ฟูร์ยังอาศัยฐานด้านระบบการจัดจำหน่าย และคลังสินค้าที่แข็งแกร่งของโปรโมเดส์ มาเสริมจุดอ่อนซึ่งแต่เดิมเป็นรองวอล-มาร์ทอยู่

"เรากำลังสร้างตัวเองให้เป็นผู้นำธุรกิจค้าปลีกระดับโลก" แดเนียล เบอร์นาร์ด ประธานบริหารของคาร์ฟูร์กล่าว เบอร์นาร์ดเป็นผู้กุมบังเหียนธุรกิจของคาร์ฟูร์หลังการควบกิจการแล้ว

ในตลาดยุโรป การควบกิจการครั้งนี้ทำให้วอลมาร์ทต้องประกาศซื้อกิจการตามอย่างบ้าง เพราะแม้วอล-มาร์ทจะมีบริษัทโฮลดิ้งส์อยู่ในอังกฤษและเยอรมนีแล้ว แต่หากไม่เร่งหาพันธมิตรใหม่ๆ แล้ว ก็คงก้าวเป็นผู้นำในธุรกิจแขนงนี้ในตลาดยุโรปไม่ได้ ปัจจุบันอาสดา กรุ๊ป ซึ่งเป็นบริษัทโฮล-ดิ้งใหญ่ที่สุดของวอลมาร์ทในยุโรป และ เป็นบริษัทสัญชาติอังกฤษ ก็มีขนาดเพียงหนึ่งในห้าของคาร์ฟูร์เท่านั้น ยิ่งกว่านั้น วอลมาร์ทยังต้องต่อกรกับการขยายฐานของคาร์ฟูร์ในตลาดใหม่ๆ ด้วย เพราะหลังจากที่คาร์ฟูร์ซื้อกิจการโปร-โมเดส์ได้ไม่นานก็เข้าซื้อเชนค้าปลีกอีกสามแห่งในบราซิล ทำให้ส่วนแบ่งตลาดในบราซิลเพิ่มเป็น 20% ทันที ในขณะที่ส่วนแบ่งตลาดของวอลมาร์ทมีเพียง 1.4%

แต่ทั้งหมดนี้ไม่ได้หมายความว่าคาร์ฟูร์จะล้มแชมป์อย่างวอลมาร์ทได้ง่ายๆ เพราะในขณะที่คาร์ฟูร์รั้งตำแหน่งอันดับสองของโลก แต่ก็ยังมียอดขายและมูลค่าตลาด ห่างไกลจากวอลมาร์ทอีกมาก และแม้ว่าวอลมาร์ทจะยังมีอุปสรรคในการเติบโตในตลาดยุโรป แต่ก็มีช่องทางขยายฐานในสหรัฐฯ ได้อีกมาก ในขณะที่คาร์ฟูร์กลับมีโอกาสขยายตัวได้น้อยเนื่องจากตลาดยุโรปนั้นอิ่มตัวแล้ว หรือหากพิจารณาจากข้อได้เปรียบที่คาร์ฟูร์มีอยู่ในตลาดเอเชียและละตินอเมริกา เนื่องจากได้เข้าไปเปิดตลาดในภูมิภาคเหล่านี้แล้ว แต่โอกาสของวอลมาร์ทก็ยังมีอีกมากไม่แพ้กัน เพราะธุรกิจค้าปลีกในแบบ mass scale ลักษณะนี้เพิ่งจะเริ่มต้นในตลาดเหล่านี้

อย่างไรก็ตาม คาร์ฟูร์ก็เป็นคู่แข่งที่มีจังหวะก้าวรุกรวดเร็ว เพราะนับตั้งแต่คาร์ฟูร์ริเริ่มไฮเปอร์มาร์เก็ตแห่งแรกของโลก เมื่อปี 1963 คาร์ฟูร์ก็ได้ขยายขอบข่ายบริการหลากหลายมากขึ้น ทุกวันนี้ลูกค้าของคาร์ฟูร์ไม่เพียงแต่แวะซื้อสินค้าประเภทของชำต่างๆ หรือเลือกซื้อรองเท้าเทนนิสสักคู่เท่านั้น แต่ยังสามารถสั่งซื้อโทรศัพท์เคลื่อนที่ เช่ารถ จองตั๋วเครื่องบินและโรงแรมได้อีกด้วย ในขณะที่บริการของวอลมาร์ทยังค่อนข้างจำกัด

คาร์ฟูร์ยังมีความคิดริเริ่มในแง่การออกแบบร้านซึ่งลดความแข็งกระด้าง ของรูปแบบอาคารที่เป็นคลังสินค้าขนาดใหญ่ โดยการปูพื้นไม้และใช้ไฟที่ไม่ใช่ฟลูออเรสเซนต์ในบางแผนก และยังมีเคาน์เตอร์บริการอยู่ในแผนกอาหาร เพื่อให้ลูกค้าสั่งซื้อเนื้อสัตว์ ชีส และขนมปังได้ตามสั่ง

"คาร์ฟูร์มีบริการทั้งในทางลึกและมีความหลากหลายพร้อมๆ กัน" ฟิลิปป์ คาส หุ้นส่วนของบริษัทที่ปรึกษาเชิงยุทธศาสตร์โอซีแอนด์ซีในฝรั่งเศสให้ความเห็น บริการเหล่านี้นี่เองที่ทำให้ส่วนต่างกำไรของคาร์ฟูร์เพิ่มมากขึ้น ผลกำไรของกิจการในปี 1998 เพิ่มขึ้น 13.6% จากปีก่อน หรือเป็น 755.2 ล้านดอลลาร์จากยอดขาย 32 พัน ล้านดอลลาร์

ความริเริ่มที่สำคัญอีกประการหนึ่งของคาร์ฟูร์ก็คือการรุกคืบออกไปในตลาดต่างประเทศ นั่นก็คือการขยายฐานทั่วยุโรปตะวันตกและเข้าไปในละติน อเมริกาในช่วงทศรรษ 1970 โดยเปิดกิจการแห่งแรกในบราซิลเมื่อปี 1975 ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา คาร์ฟูร์ยังขยายเข้าสู่เอเชียและยุโรปตะวันออก การผนวกกิจการกับโปรโมเดส์ยังผลให้คาร์ฟูร์เป็นเชนค้าปลีกอันดับหนึ่งในบราซิล อาร์เจนตินา ไต้หวัน ฝรั่งเศส สเปน โปรตุเกส กรีซ และเบลเยียม

อย่างไรก็ดี คาร์ฟูร์พลาดท่าอยู่เหมือนกันเมื่อขยายกิจการเข้าไปในสหรัฐฯ ในช่วงต้นทศวรรษ 1980 โดยเปิดร้านสาขาจำนวนหนึ่งในฟิลาเดลเฟีย แต่ท้ายที่สุดก็ต้องพับฐานไปเพราะยอดขายไม่กระเตื้อง ขณะเดียวกัน ธุรกิจของคาร์ฟูร์ในตลาดใหม่ๆ ก็ยังมีความเสี่ยงอยู่มาก เมื่อปีกลายคาร์ฟูร์มียอดขาดทุนสุทธิถึง 10.4 ล้านดอลลาร์ในเอเชีย นอกจากนั้น ภาวะเศรษฐกิจซบเซาในละตินอเมริกาเมื่อปีที่แล้วก็คงจะกระทบถึงยอดขายของคาร์ฟูร์ในปีนี้ด้วย

สิ่งที่ท้าทายความสามารถของคาร์ฟูร์ก็คือ ระบบการจัดส่งสินค้า วอล มาร์ทเอาชนะคู่แข่งในสหรัฐฯ โดยสร้างสายสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งกับซัปพลายเออร์ และปรับเปลี่ยนระบบการจัดจำหน่าย ซึ่งช่วยลดต้นทุนและทำให้ราคาสินค้าต่ำลง นักวิเคราะห์รายหนึ่งชี้ว่าการจะแข่งขันในจุดนี้ คาร์ฟูร์จะต้องควบคุมหน่วยงานระดับปฏิบัติการต่างๆ ให้มาก ขึ้นจากเดิมที่มีการกระจายอำนาจออกไป

นักวิเคราะห์ธุรกิจยังมองด้วยว่าคาร์ฟูร์กับวอลมาร์ทเป็นคู่แข่งที่ขับ เคี่ยวกันอย่างสมน้ำสมเนื้อ โดยในขณะที่คาร์ฟูร์งัดเอากลยุทธ์การตัดราคา การปรับปรุงรูปแบบร้าน รวมทั้งการย้ายทำเลร้าน วอลมาร์ทกลับต้องชะลอแผน เปิดร้านในอาร์เจนตินาเนื่องจากปัญหาการก่อสร้าง

ในทางตรงกันข้าม วอลมาร์ทมีความระมัดระวังมากกว่าคาร์ฟูร์ โดยเริ่มต้นขยายฐานตลาดต่างประเทศจากเม็กซิโกในปี 1991 ตามด้วยแคนาดา ก่อนที่จะผลักดันเข้าสู่อเมริกาใต้และยุ-โรป ขณะนี้วอลมาร์ทจึงเป็นเจ้าตลาดในเม็กซิโก ทว่ายอดขายในตลาดต่างประเทศเมื่อปีที่แล้วก็มีเพียง 9% ของยอดรายได้ทั้งหมด เทียบกับสัดส่วนของ 44% ของคาร์ฟูร์

ในด้านทำเลที่ตั้ง คาร์ฟูร์พยา-ยามเลี่ยงตลาดอังกฤษและเยอรมนีซึ่งวอลมาร์ทเข้าไปช่วงชิงที่มั่นไว้แล้ว ส่วนวอลมาร์ทก็หลีกห่างจากฐานที่มั่นของคาร์ฟูร์ในฝรั่งเศสและยุโรปตอนใต้ อย่างไรก็ตาม ในอนาคตคงมีการเปลี่ยน แปลงอีก เนื่องจากรัฐบาลเยอรมนี ฝรั่งเศสและอีกหลายประเทศเริ่มมีนโยบายปกป้องร้านค้าปลีกรายย่อย แนวทางการ เติบโตต่อไปจึงน่าจะเป็นการซื้อกิจการ เล็กๆ เหล่านี้

นักวิเคราะห์คาดว่าวอลมาร์ทคงกำลังหาลู่ทางซื้อกิจการในฝรั่งเศสเพิ่มเติม

แต่วอลมาร์ทก็ยังใช้แนวทางที่ระมัดระวังในการซื้อกิจการ จึงยังลังเลในเรื่องการซื้อกิจการในฝรั่งเศส ทั้งที่คู่แข่งรายอื่นอย่างอะโฮลด์แห่งเนเธอร์แลนด์ก็เผยทีท่าว่าสนใจซื้อกิจการในฝรั่งเศสเช่นกัน นักวิเคราะห์ให้ความเห็นว่าวอลมาร์ทจะต้องเร่งตัดสินใจให้เร็วขึ้น และการแข่งขันระหว่างสองยักษ์ใหญ่อย่างวอลมาร์ทกับคาร์ฟูร์ในตลาดโลกก็คงจะเข้มข้นต่อไป...

สำหรับผลกระทบของปรากฏ การณ์นี้ต่อคาร์ฟูร์ (ประเทศไทย) ที่บริหารโดย บริษัท เซ็นคาร์ จำกัด ณ วันนี้ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการดำเนินธุรกิจใดๆ ในประเทศไทย บริษัทยังคงมีนโยบายจะเป็นผู้นำตลาดในด้านใดด้านหนึ่งไม่ว่าจะด้านยอดขาย ผลกำไร การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย หรือจำนวนสาขามากที่สุดอย่างแน่นอน โดย ใช้กลยุทธ์ "ราคาต่ำ" ซึ่งคาร์ฟูร์ใช้มาตลอด 3 ปีเต็มนับตั้งแต่เข้ามาดำเนินธุรกิจในไทย ซึ่งเหมาะสมกับเศรษฐกิจ ในปัจจุบันที่มีการแข่งขันที่รุนแรงมาก อย่างไรก็ดี กลยุทธ์ "ราคาต่ำ" ใช้ได้กับผู้ประกอบธุรกิจที่มีสายป่านยาวเท่านั้น

นอกจากนั้น บริษัทมีแผนขยายสาขาปีละ 2 แห่ง ซึ่งในปีนี้ก็ครบแล้ว โดยล่าสุดได้เปิดคาร์ฟูร์สาขาที่ 9 ณ ถนนแจ้งวัฒนะ ซึ่งเป็นสาขาสุดท้ายของปีนี้ ต่อจากสาขารามอินทราที่เพิ่งเปิดในปีนี้เช่นเดียวกัน ทั้งนี้บริษัทจะทยอยปรับปรุงรูปแบบร้านใหม่ที่มีความทันสมัยมากขึ้นในรูปแบบของ Neighbourhood Mall ให้ครบทุกสาขาโดยเร็วที่สุด ส่วนแผนในปีหน้าก็จะเริ่มออกไปลงทุนเปิดสาขาในต่างจังหวัดให้มากขึ้น โดยจะเลือกลงทุนในจังหวัดใหญ่ๆ ก่อน

หมายเหตุ : "ผู้จัดการ" เคยลงเรื่องราวของคาร์ฟูร์ตั้งแต่แรกเริ่มที่มาเปิดสาขาในประเทศ ไทย ในฉบับเดือนสิงหาคม 2540

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us