Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2542
เครือข่ายข้อมูลข่าวสารแห่งแรก             
โดย วิรัตน์ แสงทองคำ
 





มกราคม 2534 บริษัทผู้จัดการ จำกัด ได้แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนากองบรรณาธิการ เพื่อศึกษาและวางแผนพัฒนากองบรรณาธิการ ทั้งในแง่บุคลากร และระบบงานในระยะปานกลางและระยะยาว โดยมี วิรัตน์ แสงทองคำ เป็นประธาน

กุมภาพันธ์ 2534 หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวันตัดสินใจเลือกใช้คอมพิวเตอร์ Macintosh เพื่อช่วยจัดระบบงานของกองบรรณาธิการ ตั้งแต่การจัดทำต้นฉบับ งานบรรณาธิกรณ์ ไปจนถึงการจัดหน้า และเก็บข้อมูลอัตโนมัติเป็นครั้งแรกในเมืองไทย โดยศึกษาและวางระบบเอง หลังจากศึกษาระบบต่างๆ มานานพอสมควร

ทั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2534 กองบรรณาธิการหนังสือพิมพ ์และนิตยสารย้ายสำนักงานไปยังอาคารเลขที่ 12-18 ตรอกโรงไหม ถนนเจ้าฟ้า แขวงชนะสงคราม เขตพระนคร โดยอาคารแห่งใหม่นี้วางเครือข่ายความเร็วสูงเพื่อเตรียมการพัฒนาระบบเครือข่ายออนไลน์ขึ้น

9 มกราคม 2536 คณะกรรมการพัฒนากองบรรณาธิการเสนอแนวงานวางเครือข่ายข่าว (Manager News Network) อย่างเป็นทางการ โดยถือหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน เป็นแกนกลางในการสร้างมูลค่าเพิ่มของข่าวสาร ที่สามารถเผยแพร่ออกมาทางสื่อต่างๆ ตั้งแต่สื่อสิ่งพิมพ์ จนถึงสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ตามฐานเวลาตั้งแต่ realtime จนถึง data base

14,15,18 มกราคม 2536 หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน ในคอลัมน์ "หมายเหตุธุรกิจ" โดยวิรัตน์ แสงทองคำ ลงบทความ 3 ตอนจบ เรื่อง National Newspaper เรียกร้องให้เจ้าของธุรกิจหนังสือพิมพ์ในประเทศไทย ปรับความคิดให้มีลักษณะทั่วทั้งชาติ (nationalization) เพื่อลดความเหลื่อมล้ำระหว่างเมืองกับชนบท เพราะคนต่างจังหวัดกว่าครึ่งของประเทศ ต้องอ่านหนังสือพิมพ์ลงวันที่วันเดียวกัน แต่ข่าวสารล่าช้ากว่ากรุงเทพฯ ถึง 24 ชั่วโมง ทั้งนี้ธุรกิจนี้สามารถระดมเงินจากประชาชน เพื่อซื้อเทคโนโลยีและสร้างระบบการผลิตให้เป็น National Newspaper ที่สามารถตอบสนองผู้บริโภค เพื่อความเท่าเทียมกันในการรับรู้ข่าวสารของสังคมได้

30 สิงหาคม 2536 หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวันประกาศเป็น National Newspaper โดยส่งภาพข่าวผ่านดาวเทียมไปยังหาดใหญ่ และตีพิมพ์ที่นั่น ทำให้หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวันภาคใต้เสนอข้อมูลข่าวสารได้พร้อมกับฉบับที่ออกในกรุงเทพฯ

มกราคม 2537 หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน ตั้งหน่วยงานใหม่ "สำนักข่าวผู้จัดการ" (Manager News Services) หลังจากทดลองป้อนข่าวสารผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยเริ่มต้นมีสัญญากับบิสนิวส์

7 พฤศจิกายน 2537 เปิดอาคารบ้านพระอาทิตย์ สำนักงานกองบรรณาธิการแห่งใหม่ ที่จัดระบบสำนักงานทันสมัย วางโครงข่าย fiber optic และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์สมบูรณ์แบบ เป็นศูนย์กลางเชื่อมเครือข่ายข่าวสารทั่วประเทศและภูมิภาค

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us